January 25, 2011

โมเดลการวิจัยและการพัฒนา (Research n Development Model)


การเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา หรือ โดยเฉพาะในระดับดุษฎีบัณฑิต หลาย ๆ มหา'ลัย พยายามผลักดันให้ นศ. ทำงานวิจัย หรือ ดุษฎีนิพนธ์ ที่เรียกว่า "การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)" 

สิ่งที่เป็นคำถามสำหรับผู้เขียนเสมอมา (ทั้งที่ในขณะศึกษาระดับปริญญาเอก และจบมาแล้ว พร้อมกับการสอนในปัจจุบันนี้)

คำถามแรก  หากต้องการให้ นศ.ป.เอก. ทำวิจัย ในลักษณะของการริเริ่มใหม่ ๆ หรือ เรื่องใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใครทำ

ข้อสงสัย    1. แล้ว ใครจะมีความรู้ในเรื่องที่เราทำ หรือให้ความเห็นได้ หากเป็นเรื่องใหม่จริง -ก็จะมีคนรู้ได้อย่างไรเพราะว่ายังใหม่ไม่มีใครทำ
                 2. เมื่อจบมาแล้ว คำตอบที่ชัดมาก คือ ยังเหมือนเดิมไม่มีใครรู้ แม้กระทั่งกรรมการสอบ  แต่กรรมการแต่ละท่านใช้ประสบการณ์ ใช้ความเชี่ยวชา่ญทางเนื้อหาเดิม และ กระบวนการวิจัยตรวจสอบ-สืบสวนหาตรรกของความรู้ 

คำถามต่อมา  การทำวิจัย หรือ ดุษฎีนิพนธ์ และ การเรียนความรู้ใหม่ ที่เรียกว่า Dissertation  สามารถสร้างหลักการ และทฤษฎีขององค์ความรู้ในศาสตร์ของสาขาวิชาเหล่านั้นได้จริงหรือ 
       หรือ เป็นการพูดให้เห็นว่าหลักสูตรการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพ (ชอบพูดกันมาก-คุณภาพการ
ศึกษาเนี่ย  แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไม่มีแล้วให้เปิดการเรียนการสอนทำไม)

ข้อสงสัย  อย่างนั้น การวิจัยและพัฒนา (R & D) ช่วยแก้ปัญหานี้ได้จริงหรือไม่สำหรับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา หรือ ปริญญาเอกที่เปิดกันแทบทุกมหา'ลัยไทย (บางคนก็บินไปคาบปริญญาจากแดนไกล มาบอกว่า เรามีแล้วนะ)

อย่างนั้นลองมหาความจริงกันว่า การวิจัยและพัฒนา (R&D) จริง ๆ แล้วทำแบบไหน ทำได้กี่โมเดลจึงจะบอกได้ว่า งานวิจัยนั้น สร้าง --New Product Development ยิ่งทางการศึกษา ที่เรียกว่า  New Education Products 

พบกันใหม่ ตอนต่อไป

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ

โทร 029301133

January 24, 2011

การศึกษาเพื่อประชากร 1,300ล้านคน


ผมมีโอกาสได้อ่านหนังสือ Education For 1.3 Billion: Former Chinese Vice-Premier of China Li Lanqing 
Education For 1.3 Billion: Former Chinese Vice Pre Mier Li Lanqing - On 10 Years Of Education Reform And Development
เขียนในปี 2003 ตีพิมพ์ในปี 2005และแปลเป็นภาษาไทยในปี 2552 โดย ดร.เนาวรัตน์ แย้มแสงสังข์

หนังสือเล่มนี้ หลี หลานชิง อดีตรองนายกรัฐมนตรีจีนที่รับผิดชอบการปฏิรูปการศึกษา ได้เล่าประสบการณ์การปฏิรูปการศึกษาของจีน ซึ่งมีผู้เรียนจำนวน  300 ล้านคนต้องอยู่ในระบบการศึกษาและสามารถทำสำเร็จเพียงชั่ว 1 ทศวรรษ  (ไม่เหมือนบ้านเรา 10 ปีแรกล้มเหลว เข้าทศวรรษที่ 2 ยังลูกผีลูกคนอยู่ ยิ่งครูพันธ์ใหม่ 6 ปี จะมี รร.เอกชนที่ไหนจ้างครู ป.โท หรือส่งให้ครูที่มีอยู่ไปเรียน ป.โท เพื่อมาสอน สุดท้ายเจ๊งหมด)
... 

เติ้งเสี่ยวผิง กล่าวไว้ว่า..ผู้นำที่ละเลยการศึกษาย่อมขาดวิสัยทัศน์และวุฒิภาวะ และขาดคุณสมบัติที่จะนำการขับเคลื่อนจีนไปสู่ความทันสมัย และ "เราต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะส่งเสริมการศึกษา ถึงแม้จะทำให้ภารกิจอื่นช้าลง" และ"ไม่ว่าเราจะยากจนแคไหนเราก็ยังคงต้องให้ความสำคัญสูงสุดในงบประมาณเพื่อการศึกษา" ...


น่าอ่านอย่างยิ่งครับ ..โดยเฉพาะพวกกำหนดนโยบาย และสร้างอะไรพันธุ์ใหม่ ๆ ทางการศึกษาว่า อีก 10 ปีจะทำแบบที่คิดไว้สำเร็จไหมหรือ จะถูกรื้อในทศวรรษที่ 3 ของการปฏิรูปการศึกษา

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ

โทร 029301133

January 22, 2011

สรุปการวิเคราะห์การดูงาน : ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธและการบริหารการเปลี่ยนแปลง-3








**





การวิเคราะห์ การบริหารการเปลี่ยนแปลง ถ้ามองในลักษณะของ Systematic approach คือ
(1)  มีเงื่ิอนไขปัจจัยด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input factors Condition) ในด้านพื้นฐาน เป็นเงื่อนไขการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบโลกความรู้ และโลกการทำมาหากิน กับ  การสนับสนุนในด้าน ความเป็นผู้นำจากพระบารมีของสมเด็จพระเทพ และ ผู้นำที่ไวต่อการปรับตัว ชุมชน และบทบาทจากภายนอก
(2) กระบวนการเรียนรู้(Learning process) เป็นลักษณะของการแก้ปัญหาแบบลงมือทำ    การเกิดความรู้จาก Explicit ไปสู้ Tacit ด้วยการแก้ปัญหาแบบอริยสัจ 4 โดยมีเครื่องสำคัญทั้ง ภาวะผู้นำ การลงแปลง-โรงเรือนฝึกอาชีพ เวทีแลกเปลี่ยน การทำโครงงาน และการสนับสนุนด้วย IT

(3) ผลลัพธ์ คนไทยได้รับการพัฒนา(เด็ก ๆ ในชุมชน) และสร้างชุมชนให้เติบโต

ข้อเสนอแนะ ต้องใช้วิธีการ Action research(Look -การเก็บข้อมูล , Think -การวิเคราะห์ และ Act-การลงมือ
ปฏิบัติ) ในการเรียนรู้และทำความเข้าใจของการวิจัยเชิงปฏิบัติต้องทำด้วยวิธีการไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) จะ
ทำให้สามารถแข่งขันสู้ชีวิตได้อย่างสมดุลกับธรรมชาติ  ได้ดังภาพ








ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ

โทร 029301133

ก่อนบทสรุป ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธสำหรับการบริหารการเปลี่ยนแปลงฯ


การบรรยายในวันอาทิตย์ที่ 16 ม.ค 54  สำหรับชั้นเรียน ป.เอก รุ่นที่ 7 วิชาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธฯได้ขมวดมาถึงตอนใกล้จบของเนื้อหาแล้ว
1.ได้ให้งานล่วงหน้า เพื่ออ่านกับดู Clip VDO และมา สรุปกันในชั้นเรื่องของ  Who moved my cheese ? ว่ามีเรื่องราวอะไรที่เป็นข้อสรุปของการเตรียมการเปลี่ยนแปลง และไม่เตรียม
2.สรุป ทฤษฎีหลัก ๆ 4 ทฤษฎีของการเปลี่ยนแปลง
  -Organization-Wide versus Subsystem Change
 -Remedial versus Development Change
 -Transformational versus Incremental Change
-Unplanned versus Planned Change
3.สิ่งที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงต้องจัดการในเรื่องการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงได้ โดยแนะนำและจัดกลุ่มคนในองค์กร ออกตามลักษณะของการต่อต้าน ไม่ต่อต้าน รอดูเฉย ๆ พร้อมยกตัวอย่างการสร้างทีมคู่ขนานในการปรับเปลี่ยนเอเย่นต์ ของกลุ่มบริษัทดัชมิลล์
4. แลกเปลี่ยนทัศนะของการเปลี่ยนแปลงองค์กรทางการศึกษา โดยเฉพาะการหยิบตัวอย่างที่ได้ไปดูงานของ รร.ตชด.สิงคโปร์แอร์ฯ และ รร.มหิดลวิทยานุสรณ์ ว่าในสำภาพจริง ๆ จะนำมาใช้ได้ไหมมีข้อประเด็นใดต้องพิจารณาและตระหนักถึง



January 15, 2011

การนำเสนอและวิเคราะห์การดูงาน ของ นศ. ป.เอก รุ่นที่ 7 มซจ. วิชา Strategic Leadership -2

                                                 (รูปที่ รร.มหิดลวิทยานุสรณ์)







ทรรศนะของ ดร.ดนัย เทียนพุฒเกี่ยวกับ บทสรุปของการวิเคราะห์

 รร.ตชด.สิงคโปร์แอร์ไลน์สเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ 
 ในส่วนแรก ความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ  (คลิก) หรืออ่านได้ ตามลิงค์


ส่วนที่สอง การจัดการศึกษาและบริหารหลักสูตร
หากเข้าธรรมชาติของ รร.ประถมศึกษา ในเรื่องโครงการอาหารกลางวัน  น่าจะมีมานานแล้ว
...ครั้งแรกที่ ผู้เขียนเข้ารับราชการบรรจุเป็น อาจารย์ 1 ระดับ 3 เข้าไปสอนวิชาคณิตศาสตร์ ที่ รร.ศีลาจารพิพัฒน์ ซึ่งเป็น รร. สังกัดกรมสามัญ และ มีบริเวณบางส่วนยังใช้ร่วมกับ รร.เวตวัน(วัดเชิงหวาย) เป็น รร.ประถมศึกษา ที่นี่เอง ผู้เขียนได้รู้จักโครงการอาหารกลางวันที่ทาง รร.มีการจัดทำให้และขายนร. ในราคาถูก(น่าจะขาย) สำหรับผู้เขียน เป็น อาจารย์ที่ รร.ศีลาฯ ก็มาทานทุกวัน ด้วยความที่ทั้ง 2 รร. ครู-อาจารย์ สนิดสนมกัน ในราคา 10-20 บาท ต่อหนึ่งมื้อ (อิ่ม)....
    ดังนั้นจึงไม่แปลกใจในเรื่องโครงการอาหารกลางวัน
แต่ที่น่าสนใจคือ การให้ นร. ทำมาหากินประกอบอาชีพ(ฝึกประสบการณ์) เข้าบูรณาการกับหลักสูตรปกติของ สพฐ. 
และความจำกัดด้านงบประมาณที่ ได้ค่าอาหารต่อหัววันละ 13 บาท ทำให้ครูใหญ่ต้องคิดหาวิธีบริหารจัดการให้มี อาหารกลางวันทาน และมี เงิน ใช้จ่ายใน รร.  โครงการพระราชดำริจึงเป็นทางออก พร้อมเป้าหมายของ รร. ที่ต้องการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการที่ นร. ส่วนใหญ่จบแล้วไม่ได้เรียนต่อ การเรียนรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพจึงเป็นหลักสำคัญของการจัดการศึกษา
ของ รร.

สิ่งที่วิเคราะห์ ได้1. หมายความว่า จะต้องมีการศึกษาหลักสูตรและ ดูว่า จะเชื่อมโยงวิชาที่เรียน กับ โลกอาชีพและการทำมาหากินได้ในลักษณะใด
2. และโครงการโลกอาชีพดังกล่าว เป็นพระปรีชาและความฉลาดของ สมเด็จพระเทพฯ ที่ให้ มี 8 โครงการพระราชดำริในการเป็นกลไก ขับเคลื่อนโลกอาชีพและการทำมาหากินกับ โลกความรู้ ได้อย่างลงตัว
 
สำหรับโครงการพระราชดำริ
1)โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน




เรือนเพาะเห็ดนางฟ้า


                                    โรงเลี้ยงไก่ ซึ่ง CPF จำหน่ายพันธุ์ให้ในราคาถูก
















เนื่องจากการรดน้ำของ นร. ที่รับผิดชอบ ต้องมีเวรกันมาคอยดูแลต้นไม้ที่ปลูก ทุกวัน ทาง รร.ตชด.ฯ  จึงคิดวิธีใหม่ โดยการใชระบบน้ำหยด ทำให้ไม่เป็นภาระมาดูแล และต้นไ้ม้จะได้น้ำตลอดเวลา
(ในรูป นศ. ป.เอก มซจ. ที่ไปดูงาน ไม่ใช่ น้อง ๆ นร. ที่ รร. )






2)โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    
3)โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4)โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ
5)โครงการฝึกอาชีพ
6)โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดิน





นร. ชั้นโต (พี่) ในแต่ละวันจะมีหน้าที่มาเติมสารไอโอดิน เพื่อให้ทุกคน (น้อง ๆ) ได้ดื่มกัน

7)โครงการส่งเสริมสหกรณ์
   (ลงรูปไว้ในตอนแรกแล้ว)
8)โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร


   สำหรับโครงการอาหารกลางวัน ทาง รร. จะได้แม่ครัว ที่เป็นผู้ปกครองเด็ก ในชุมชน มีเวร จัดตารางกันมาทำอาหารกลางวัน






สูตรอาหาร "ไข่" พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพฯ


                
   ก่อน ที่น้อง ๆ นร. ณ รร.ตชดฯ จะทานอาหารกลางวัน ต้องกล่าวคำปฏิญาณ แสดงถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพฯ



 ระบบการเรียนการสอนที่นี่ มีระบบ พี่ดูแลน้องตามที่ครูได้ให้งานไว้
 และที่ครู จะมีทั้งที่เป็น ข้าราชการจาก  ครู -ตชด. ครูที่เป็นคุรุทายาท ซึ่งจบจาก รร.ตชด. ได้ทุนไปศึกษากลับมาสอนที่ รร. และครูอัตราจ้าง   
นี่คือ หลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทของความเป็นจริงในประเทศไทย อาจจะดีกว่า การมีคณะกรรมการ รร. หรือ สถานศึกษา แต่ไม่เวิรคก์ เพราะไม่ได้คิดเรื่องเหล่านี้ และเชื่อ กระทรวงศึกษา หรือ นักวิชาการในห้องแอร์ทั้งหลาย
(ยังมีต่อ)

January 13, 2011

6 พันธกิจของมหา'ลัยทั่วโลก ตามยูเนสโก



เนื่องจากของเดิม มีปัญหาเรื่อง มัลแวร์ จึงนำมาโพลต์ลงใหม่ครับ 


เมื่อวานวันที่  22 ตค.53 ดร.ดนัย ได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา   “ระดมความคิดสวนดุสิตสู่สากล” ได้ฟังปาฏกถาพิเศษ  เรื่อง “บทบาทของมหาวิทยาลัยไทยในการพัฒนาประเทศ”ดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญของ พันธกิจมหา'ลัยในโลก (คือ มหา'ลัยทุกแห่งในโลกนี้)  ว่าควรมีพันธกิจ 6 อย่างคือ 
1.ผลิตความรู้ และเทคโนโลยี
2.ผลิตบัณฑิต
3.บริการวิชาการแก่สังคม
4.เสนอทางเลือกแก่ประชาชน
5.สนับสนุนการศึกษาระดับอื่น
และ  6.ทำนุบำรุงวัฒนธรรมและธรรมชาติ


อีกทั้งการยกระดับหรือการก้าวสู่ "ความเป็นสากลของมหา'ลัย"  สรุปง่าย ๆ คือ การปรับภารกิจทั้ง 6 ให้เป็นสากลนั่นเอง เพียงแต่ความยากคือ ไม่ได้ทำสำเร็จแบบลัดนิ้วมือชั่วข้ามคืนแต่ต้องใช้เวลาพัฒนาไปสู่ความเป็นสากล


เป็นประเด็นทางความคิดที่น่าขบปัญญาของ ชาวมหา'ลัยที่อยากไปสู่สากลเป็นอย่างยิ่ง


สรุปโดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     

January 11, 2011

การนำเสนอและวิเคราะห์การดูงาน ของ นศ. ป.เอก รุ่นที่ 7 มซจ. วิชา Strategic Leadership

การเรียนการสอนในวิชา Strategic Leadership  การบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา วันอาทิตย์ที่ 9 มค.54
ช่วงแรก นศ. ป.เอก ได้ นำเสนอ การศึกษาดูงาน ของ รร. ตชด.สิงคโปร์แอร์ไลน์สเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  และ รร.มหิดลวิทยานุสรณ์



โดยสรุปใน 2เรื่องหลักคือ  การวิเคราะห์ความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ  และ การบริหารการเปลี่ยนแปลง ของทั้ง 2 โรงเรียน ผลงานการนำเสนอของ นศ.ป.เอก
มีรายละเอียดสามารถดูได้ตาม Link (บางส่วน)
 -การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง
-การนำเสนอ รร.มหิดลวิทยานุสรณ์
(จาก Blog ของ นศ.ป.เอก รุ่นที่ 7  http://stjohnbatch753.blogspot.com/2010/12/1.html)

ทรรศนะของ ดร.ดนัย เทียนพุฒเกี่ยวกับ บทสรุปของการวิเคราะห์

อย่างแรก ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สิ่งที่ออกแบบให้นศ.ป.เอก ได้ไปศึกษาและดูงานทั้ง 2 รร. เพื่อต้องการให้เห็นสภาพจริง ๆ และ มีความแตกต่างกันอบ่างมาก หลังจากนั้น นศ.ป.เอก จะสามารถวิเคราะห์และสังเคราห์(เน้นอันนี้) ได้ข้อความรู้ใหม่อะไรภายใต้ ทฤษฎีและความรู้เรื่องการบริหารการ
เปลี่ยนแปลงของความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธกับสิ่งที่เป็นภาคปฏิบัติจริง



อย่างต่อมาเมื่อเป็นดังข้างต้น จึงให้ นศ.ป.เอก ได้มี จุดมุ่งในการดูงาน ทั้งเรื่องความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ หรือ การจัดการกลยุทธของสถานศึกษา(ทั้ง 2 รร. โดยมี 2 กลุ่มสลับกันคนละเรื่อง) และการบริหารการเปลี่ยนแปลง(ทั้ง 2 รร. ทำเช่นเดียวกัน)
และนำเสนอผลการศึกษา  สิ่งสำคัญที่อยากเห็นมาก ๆ คือ นศ.ป.เอก สามารถสังเคราะห์ ภาพรวมใน
แนวตั้งของแต่ละ รร.ออกมาได้หรือไม่ และมีข้อเสนอแนะอะไรใหม่ ๆ ต่อการจัดการศึกษาของไทย

อย่างไรก็ตามแม้ว่าการนำเสนอของ นศ.ป.เอก อาจไม่ได้ทั้งหมด ดร.ดนัย    ก็ได้สรุปวิเคราะห์เสริมให้เห็นในตอนท้ายของชั่วโมงเรียน

อย่างสุดท้าย 
ดร.ดนัย ได้สรุปให้เห็นในกรณีของ รร.ตขด.สิงคโปร์แอร์ไลน์สฯ ว่า
 1) ความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธนั้นมีอยู่ใน 2 ระดับ คือ
   - พระบารมีของสมเด็จพระเทพฯ ที่ทรงพระกรุณาเข้าดูและให้แนวทาง สร้างกลไกขับเคลื่อนการเรียนรู้และการทำอาชีพด้วย 8 โครงการพระราชดำริและการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่การจัดการศึกษา  และการทรงงานของพระองค์ท่าน มีรูปแบบคล้ายวงจร P-D-C-A ที่มีการติดตามงาน สอบถามความคืบหน้า และสำนักพระราชวังก็ยังช่วยในการประสานและติดตามด้วย  ทำให้ข้าราชบริพาร  ประชาชน ครู ผู้ปกครอง ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่างๆ ได้ดำเนินตามสนองพระราชดำริ  และยังความปราบปลี้ม ในพระมหากรุณาธิคุณ และเกิดความภูมิใจในสิ่งที่ทรงพระราชทานให้กับ ชุมชน รร. เด็ก นร. ในพระองค์ท่าน
    - ผู้นำแบบปรับตัวได้อย่างว่องไวตามสภาพการณ์ (Adaptive Leader)ของครูใหญ่ ร.ต.ท.เกื้อ เรือง
ทับ ที่สังเคราะห์ได้ตลอดช่วงเวลาที่ท่านกรุณาให้คำอธิบาย เล่าสิ่งที่ทำมา ซึ่งฉายแววออกมาให้เห็นถึงความภาคภูมิใจในสิ่งที่ได้ดำเนินตามพระราชดำริฯ และเห็นผลสำเร็จของเด็กที่เติบกล้าทั้งปัญญาและ
การดำเนินชีวิตเมื่อได้สำเร็จสอบผ่านการศึกษาไปจาก รร.แห่งนี้ (ทั้งการประกอบอาชีพในชุมชน-หลักใหญ่  การเรียนต่อ  -การเป็นคุรุทายาทที่จะกลับมาช่วยสอนใน รร.)
       อีกทั้งการดึงชุมชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษา การได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย ทั้งผลการเรียนและผล
การประเมินผ่านตามมาตรฐานที่ดีกว่า รร.ในระดับเดียวกันของ สพฐ.ในหลาย ๆ รร.(แม้ว่าวิธีการประเมินอาจไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของบริบทที่ รร. ตั้งและทำอยู่)


 2) รูปแบบการจัดการศึกษามีข้อสรุปดูได้จาก Clip VDO ที่เป็นภาพสรุปตามทรรศนะของ ดร.ดนัย
ซึ่งได้เสริมให้การนำเสนองานของ นศ.ป.เอก ได้เติมเต็มจนเห็นภาพรวมทั้งหมด

 (ยังมีต่อ)

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ
โทร 029301133

การจัดสวัสดิการในสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา วิชา HRM in Education



การเรียนการสอนในวันอาทิตย์ที่16 มค.54 เวลา13.00-16.00 น.                                 สำหรับ วิชา HRM in Education
อาจารย์ผู้สอน  ดร.ดนัย เทียนพุฒ

หัวข้อการศึกษาค้นคว้า “การจัดสวัสดิการในสถานศึกษา หรือหน่วยงานทางการศึกษา”

วัตถุประสงค์  1.ต้องการให้ นศ. ได้ เรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และแลกเปลี่ยน
                         เรียนรู้ ในเรื่องการจัดสวัสดิการทางการศึกษา
                      2.มีการคิดอย่างเป็นระบบและ เชื่อมโยงระหว่างหลักการและทฤษฎีสู่การ
                         ปฏิบัติได้กับตัวอย่างจริงทางการศึกษา

แนวทางการทำกิจกรรม
1. นศ. ที่ มี Notebook ให้นำมาใช้ในวันที่เรียนนี้ด้วย
2.แบ่งกลุ่ม นศ. ออกเป็น  4-5 กลุ่มงานเพื่อทำกิจกรรมการเรียนดังต่อไปนี้
  2.1 ให้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดของการจัดสวัสดิการในสถานศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
    2.2 เลือกศึกษา หน่วยงานหรือสถานศึกษา มาเป็นกรณีตัวอย่าง 1 ตัวอย่าง
    2.3 ให้ นศ. วิเคราะห์ว่า  สิ่งที่ทำอยู่ในด้านสวัสดิการมีอะไรบ้าง
3.นศ.คิดว่า ในการจัดสวัสดิการฯ แบบใดจึงจะมีส่วนช่วยให้ ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา มีพลังใจและทุ่มเทการทำงานให้ การปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ประสบความสำเร็จได้

การประเมินผล
     1. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม
     2. งานสำเร็จตามแนวทางที่กำหนด
     3.มีข้อเสนอแนะที่แสดงถึงศักยภาพของ นศ. ป.โท บริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
     4.เป็นคะแนนเก็บในระหว่างเทอม  20 คะแนน                      
                                                     -------------------------------

January 3, 2011

การดูงาน รร.ตชด.สิงคโปร์แอร์ไลน์ส เฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ของ นศ.ป.เอก รุ่น ที่ 7 มซจ. ตอนที่ 2

การที่ ดร.ดนัย เทียนพุฒ ได้พานศ.ป.เอก หลักสูตรบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ ใน  วิชาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ ฯ เดินทางเมื่อวันที่  20 ธ.ค.53  สู่ "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสิงคโปร์แอร์ไลน์สเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ " จัดตั้งขึ้น เมื่อ วันที่  3 มีค.2530
                                     
มีสิ่งที่ผู้เขียนนึกถึงอยู่ 2-3 อย่าง
อย่างแรก   ทำให้นึกถึงคำประพันธ์ที่ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ได้ประพันธ์ไว้ เกี่ยวกับโรงเรียนระดับพื้นฐาน


"ประเทศเรานั้นหรือคือตึกใหญ่ จะมั่นคงอยู่ได้เพราะรากฐาน เข็มตอกลึกศึกษาประชาบาล ส่วนนายงานนั้นหรือก็คือครู เราทำงาน
อาบเหงื่อเพื่อวางราก ไม่มีใครออกปากว่าสวยหรู บ้านเราเองจะหวังให้ใครมาดู แต่เรารู้เราเห็นเป็นสุขเอยฯ"
(นำมาจาก http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1149.0)


และ อีกบทประพันธ์


 "ถิ่นไทยในป่ากว้าง ห่างไกล
แสงวัฒนธรรมใด ส่องบ้าง
เห็นเทียนอยู่รำไร เล่มหนึ่ง
ครูนั่นแหละอาจสร้าง เสกให้ ชัชวาล"

                หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล 



อย่างที่สอง นึกถึงเมื่อ ตอนที่เป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่มบริษัทดัชมิลล์ และได้มีโอกาสแวะไปดูงาน ที่ วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีอุบลราชธานี เมื่อคราวที่เดินสายเยี่ยม เอเย่นต์ดัชมิลล์ ภาคอีสาน
   ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการศึกษา กับโลกอาชีพ ที่ลงตัวมาก ๆ และหลังจากนั้นได้เขียนเป็นบทความตีพิมพ์ใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ  ฉ. วันที่ 24 ธ.ค.41 เรื่อง " ยุทธศาสตร์การปฏิรูปธุรกิจกับการศึกษา" 

  เลยนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจ
ดร.ดนัย เทียนพุฒ : ยุทธศาสตร์การปฏิรูปธุรกิจกับการศึกษา



อย่างที่สาม ถ้าจะว่าไปแล้ว  วิธีการจัดการศึกษา ระหว่าง ร.ร.ประถม กับ วิทยาลัยเกษตรกรรมฯ  ดูจะมีอะไรที่คล้ายกันหลาย ๆ อย่างในบริบทที่แตกต่างกัน ของขนาดและระดับการ    ศึกษาที่ผู้เขียนจะได้สรุปในตอนจบ
สำหรับ สภาพโดยรวมของ รร.ตชด. สิงคโปร์แอร์ไลน์ส ฯ  สามารถดูรูปประกอบได้ครับ









 รุ่นพี่ ๆ ที่ตั้งหน้าตั้งตาเรียนกัน อย่างสนุกสนาน ครูให้งานแล้วทุกคนก็ทำ บางคน ถูกคัดเลือกให้ไปดูแล นร. รุ่นน้อง โดย น้อง ๆ เลือกพี่ได้ 





เด็กปฐมวัย หรือ เด็กเล็ก ที่ รร.ตชด.ฯ แห่งนี้ ต้องรับผิดชอบดูแลด้วย





ฝีมือ เด็กน้อย ทั้งหลายที่ทำให้สนามหน้า รร.ตชด.ฯ แห่งนี้ดูงดงาม  สะอาดตา

  
                                        

                        (คณะนศ. ป.เอก รุ่น ที่ 7 ที่ไปดูงาน -บางส่วน)


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา