March 13, 2011

ทิศทางการศึกษาไทยในอนาคต (ที่น่าจะพอมี)

วันนี้ 13 มี.ค.54 ผู้เขียน(ดร.ดนัย เทียนพุฒ) และ ผศ.ดร.วินิจ เกตุขำ ไ้ด้มาสนทนาร่วมกัน ในวันปิดชั้นเรียนของ วิชา ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธสำหรับการบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา หลักสูตร ป.เอก รุ่นที่ 7 มซจ. ตามที่เคยเล่า มาอย่างต่อเนื่อง

เริ่มจากผู้เขียนได้ฉายภาพ การจัดการศึกษาในอดีต ที่เหมาะสมในสมัยนั้นเพื่อผลิตบุคลากรรองรับระบบราชการและการบริหารประเทศ  ไล่มาถึงการนำการศึกษาของญี่ปุ่นมาครอบการศึกษาไทย และก็ปรับเปลี่ยนเรื่อยมา บทเรียนที่สรุปได้
1) เรามีความเป็นอารยะในด้านการจัดการศึกษาให้กับประชาชน
2) เราไม่ได้มุ่งเน้น อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม แต่เราเอาที่ทำได้คือ พาณิชยกรรม
3) ทศวรรษแรกของการปฏิรูปการศึกษา
    -มีความสำเร็จ ในด้านการออก พรบ.การศึกษาชาติ (ท่าน ดร.วินิจ)
    -ครูมีตำแหน่งทางวิชาการที่ชัดขึ้น (ท่าน ดร.วินิจ)
    -เข้าถึงเด็กมากขึ้น (ท่าน ดร.วินิจ)
    -ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนถ้าดูผลสอบ O-Net วิชาหลัก 5 วิชา ค่าเฉลี่ย(ต่ำกว่า 50) ตกต่อเนื่องมาตลอดทศวรรษ (อาจมีบางปีในวิชาภาษาไทย พ้นน้ำนิดหน่อย)
    -การปรับเงินเดือนครู ที่เป็นรูปธรรม

ความท้าทายในอนาคตของการศึกษาในทรรศนะของผู้เขียน

อย่างแรก ทำอย่างไรเราจึงจะไม่จัดการศึกษาในแบบทฤษฎีเอ็กซ์(Theory X)  แต่เป็นทฤษฎีใหม่
   -เป็นการศึกษา ที่มี" หัวใจแห่งความเสรี" ที่อยากจะโบยบินไปหาความรู้ตามแต่ใจปรารถนา
    -เป็นการศึกษาแบบ " เป้าหมายเสรี " โดยใครอยากมีเป้าหมายเสรี ต้องยอมจ่ายเอง แต่ถ้าอยากให้รัฐจ่ายก็ เป็นเป้าหมายบังคับ ตามมาตรฐานไป ไม่ใช่มีแค่แบบเดียว ... One-Size -Fit -All
  
ประการต่อมา การวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาต้องเปลี่ยนเป็นการวัดทั้งช่วงชั้น ไม่ใช่วัดวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นสุดท้าย(เช่น ม.3) แต่ต้องวัดวิชาคณิตศาสตร์ จากการสอนของอาจารย์ (ผมว่ามันศักดิ์สิทธิ์ กว่าคำที่ใช้ในปัจจุบัน(ครู)แต่ในยุค 20ปีที่แล้วกลับกันครับ)
ทั้ง 3 ชั้น(ม.1-ม.3) การวัดผลงานอาจารย์เพื่อให้ความดีความชอบต้องวัดทั้ง 3 ชั้นร่วมกัน เพื่อให้อาจารย์คณิตฯ ทั้ง 3 ชั้นสอนเป็นทีม

ประการที่สาม ทำอย่างไรจึงจะให้ด็กสอบเกินค่าเฉลี่ยในทศวรรษหน้า
ต้องกลับมาพิจารณาใหม่ที่ว่า
    ......เราคิดว่าเราเข้าใจผู้ปกครอง จริงๆ เราอาจไม่เข้าใจจริง เราจึงไม่รู้ว่า พ่อ-แม่เด็กต้องการอะไร คงไม่ใช่จบ ม.3 ไปเรียนอาชีพ เพราะมีงาน 500,000 ตำแหน่ง แต่ต้องมาถามว่า เรียนอาชีวะเพื่ออะไร หรือเพราะอุตสาหกรรมต้องการแรงงานราคาถูก ใช้เครื่องจักรโบราณ(ประเทศไทยในอุตสาหกรรมครึ่งหนึ่งเป็นเครื่องจักรเก่า ไม่ได้ผลิตภาพถึง 100 %) แต่ผู้ประกอบการไม่ลงทุนเครื่องจักรสมัยใหม่ แรงงานที่วุฒิสูงกว่าอาชีวะ
    ....เราเข้าใจว่า เรารู้ถึงพฤติกรรมเด็ก แต่ จริง ๆ เราไม่รู้ว่าเด็กต้องการเรียนแบบไหน ไม่อยากถูกบังคับรอบตัวไปหมด เพราะคิดว่าถ้าไม่บังคับจะกลายเป็นเด็กเลวตามที่คนกำหนดนโยบายคิด
    ....เราไม่เข้าใจอย่างแท้จริงว่า ผู้ใช้ต้องการคนแบบไหนที่จบการศึกษาออกมา
     
     ---การศึกษาในระดับอุดมศึกษา  ที่ท่องบ่นแต่คำว่า  คุณภาพ ๆๆๆ ทำแต่ มคอ. (ไม่ควรอ่าน) มันทำให้ ประเทศชาติแข่งขันกับเพื่อนบ้านและเวทีโลกได้จริง ๆ หรือ ...หรือนั่งมองตาปริบ ๆ เห็นประเทศที่ล้าหลังแซงหน้า แซงโค้ง ไปประเทศ 2 -3, 4 , 5....แล้ว สุดท้ายเราบอกว่า มีคุณภาพเพื่อแข่งกับตัวเอง (เพราะต่ำกว่าเราหันไปดูไม่มีอีกแล้ว)

     ---เราแก้ปัญหาปลายเหตุ จึงเป็นอะไรที่ชอบแก้เป็นเรื่อง ๆ เช่นคิดวิเคราะห์ไม่เป็น ก็ออกข้อสอบวัดการคิดวิเคราะห์  เพราะเราจัดการศึกษาแบบทฤษฎีเอ็กซ์ ผู้กำหนดนโยบายการศึกษาของ เราสนใจเพียงระบบรายงานตามเอกสาร  สนใจเพียงหาให้ได้ว่า " ความผิดของท่านคืองานของเรา" เป็นยุคแห่งการเบ่งบานของ องค์กรทางการศึกษา ฯลฯ

สิ่งสำคัญต่ออุดมศึกษาไทย ..เราต้องกล้ายุบ-ควบรวม-เลิก สถาบันการศึกษาที่เป็นความซ้ำซ้อน การใช้งบประมาณอย่างมหาศาลที่ไม่มีทางพอ เพราะมีอุปกรณ์เหมือนกันทุกมหา'ลัย
เรา น่าจะมี มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (ทีเดียว)  มหาวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์แห่งชาติ (ที่เดียว) ไม่ต้องไปเที่ยวเปิด วิทยาเขต ศูนย์ทั่วประเทศ ดังกับเหมือนมีมหา'ลัยตั้ง อยู่ภาคเหนือ กลับอยากมามีวิทยาเขตที่ ปากอ่าวไทย เพราะ มี มหา'ลัยจาก กทม. ขึ้นไปเปิดภาคเหนือ  ฯลฯ แล้วมีพวกมาไล่ปิดด้วยความรู้สึกภูมิใจ(ใคร) อย่างยิ่ง

ประการสุดท้าย (ครู-)อาจารย์สายพันธุ์ใหม่ ต้องเป็นผู้สอนที่
  เก่ง ดี มีสุข มีความหมายเป็นที่เข้าใจอยู่แล้ว แต่ต้องขยายมากกว่านั้นอีก

1) ผู้สอน ต้องสามารถเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ ให้แก่ผู้เรียน
2) ต้องเป็น " Play Maker" ในการจัดการเรียนการสอน -ผู้สร้างสรรค์การเรียนรู้
3) ต้องเป็นบุคคลที่สามารถ สร้าง สิ่งที่เรียกว่า " Social Contributor"
 และเราอยากเห็นมีการวิจัย ใหม่ ๆ ที่เป็นทัศนภาพใหม่ (New Scenarios) ในด้านการศึกษาที่ควบคู่ไปกับอนาคตของสังคมใหม่ไม่ใช่ภาพเก่า ภาพในความทรงจำถึงวันวานของการศึกษาไทย  ไม่อยากให้เกิดภาพของการขีดวงจำกัดให้มีเพียงชนชั้นเราเท่านั้น.....
 
นี่คือ ทิศทางอนาคตการศึกษาไทย ที่น่าพอจะมีหวัง

ดร.ดนัย เทียนพุฒ 
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ

บจก.ดี เอ็น ที คอนซัลแตนทฺ์

 email:DrDanaiT@gmail.com
โทร 029301133

March 9, 2011

ดูผลสอบ โอเน็ต (ม.6) ปี 2552 แล้วคิดอะไรไม่ออกต่ออนาคตประเทศไทย


เราเห็นข่าวคราวการปฏิรูปการศึกษา การทำมาตรฐาน คุณวุฒิวิชาชีพ  ครูพันธุ์ใหม่ สารพัดโครงการ ฯ ซึ่งไม่รู้ว่า "ก้าวหน้าหรือถอยหลังเข้าคลอง"  แต่ถ้ามองโลกในแง่ดีก็คงก้าวไปข้างหน้า ตัวคนเรานะครับ
ชื่อวิชา#ผู้เข้าสอบ (n)คะแนนต่ำสุดคะแนนสูงสุดค่าเฉลี่ย
ภาษาไทย350,8210.0092.0046.47
คณิตศาสตร์353,6120.00100.0028.56
วิทยาศาสตร์349,7103.7591.2531.03
สังคมศึกษา354,3348.0085.0036.00
สุขศึกษา348,5660.0078.0045.37
ศิลปะ348,5662.0075.0037.75
การงานอาชีพ348,5660.0076.6732.98

อยากให้ดูตรงค่าเฉลี่ย ปี 52  โดยรวมเฉลี่ยตกทุกวิชาและวำหรับวิชา ฮิต ๆ ภาษาอังกฤษ ตก (คะแนนเฉลี่ย 23.98)
คณิตศาสตร ตก (คะแนนเฉลี่ย 28.56) วิทยาศสาตร์ ตก (คะแนนเฉลี่ย 31.03) สังคม ตก (คะแนนเฉลี่ย 36.00)  ภาษาไทย ตก ( คะแนนเฉลี่ย 46.47)

ประเด็นที่น่าสนใจ
1.เราปฏิรูปการศึกษามาเกิน 10 ปี แล้ว แต่ค่าเฉลี่ยของเด็ก ม.6 ก็ยังไม่มีทางที่จะเกินครึ่ง สิ่งที่ซ่อนไว้คือ ไม่บอกว่า สอบเกิน 50.00 แต่ละวิชาสักกี่คนของเด็กเข้าสอบ  และน่าสังเกต มีบางวิชาได้ ศูนย์ (0) มักจะอะไรนักหนา

2. การจัดการศึกษาที่เป็นอยู่ี ถ้าผลยังเป้นอย่างนี้ แสดงว่ามาไม่ถุกทางใช่ไหม
3.การศึกษาที่เป็นระบบควบคุม มากกว่าส่งเสริม พิสูจน์ชัดเจนว่าล้มเหลว (อนุมานได้ต่อว่าสังคมที่เน้นทฤษฎี เอ็กซ์ก็ล้มเหลวเช่นกัน)
4.เราทำวิจัยกันมากมาย มีระบบมากมาย ทั้งการประกันคุณภาพ แบบ หมู(P)  หมา(D)  แมว (C) มด (A) ไม่ได้ช่วยให้การศึกษาดีขึ้น
5. เราจะหวังอะไรจากอุดมศึกษา เมื่อ เมล็ดพันธุ์ที่เข้ามาเพาะบ่ม ไม่มีอะไรในสมองมากนัก และยิ่งอุดมศึกษา ปัจจุบันเป็นเสมือนเรือเก่า ๆ ชราภาพ ที่การควบคุมยิ่งกว่าโซ่ตรวน
จึงไม่เห็นอนาคตของชาติเลย อุดมศึกษาห่วงตัวเอง ไม่ได้มองสังคมหรือไม่มีอะไรมาแก้สังคมและประเทศที่แตกแยกได้


ดร.ดนัย เทียนพุฒ 
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ

บจก.ดี เอ็น ที คอนซัลแตนทฺ์

 email:DrDanaiT@gmail.com
โทร 029301133