April 25, 2014

สร้าง World Class University --> หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือ ก้าวเหนือกว่าตัวเลข

   

บังเอิญว่า ไปงาน  การประชุมวิชาการ และการนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ  ครั้งที่ 5 จัดโดย บัณฑิตวิทยาลัย  มรภ. สวนสุนันทา  เมื่อ 24-25 เม.ย.57 โดยใช้ธีม  ว่า "The Enhancement to World-class University" และมีวิทยากรท่านหนึ่ง บรรยายเกี่ยวกับ อันดับความสำเร็จของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  ซึ่งเน้นมากเรื่อง การจัดอันดับของสถาบันต่าง ๆ ในระดับอุดมศึกษาของโลก
เลยทำให้นึกถึง เรื่อง World Class University  ที่เคยอ่านแต่ไม่ได้ติดใจอะไรเพราะ ในบ้านเรายังไม่ฮือฮามากนัก แต่ต้องย้อนกลับไปดูด้วยการถูกสะกิดใจเมื่อฟังการบรรยายข้างต้น
1.อธิการบดี Luis Maria R.Calingo ของ Woodbury University ( http://www.huffingtonpost.com/luis-maria-r-calingo... )  ได้อ้างถึง Dr.Samli เคยพูดไว้นานแล้ว ในเอกสารของธนาคารโลกปี 2009 ว่า  World Class University (WCU) มีผลได้ที่แตกต่างกันอยู่ 3 อย่าง ผมขอนำว่าให้เห็นดังนี้ 
   "first, highly sought graduates; second, leading-edge research; and third, dynamic knowledge and technology transfer." และผลได้นี้ทำให้เห็นถึงปัจจัยที่ประเมินการจัดอันดับมหา'ลัย ที่คลั่งกันทั้งโลก ประมาณ 15000 แห่ง และอันดับมหาวิทยาลัยที่อยู่ ใน 100 อันดับ ก็ไม่ถึง 1 % ด้วยซ้ำ 
2. อธิการบดี Luis Maria R.Calingo  ยังพูดไว้น่าสนใจมาก ว่า แนวคิดของ WCU สะท้อน นอร์มและคุณค่าที่ถูกครอบงำจาก มหา'ลัยวิจัยระดับโลก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน สหรัฐอเมริกาและ ยุโรปตะวันตกเป็นหลัก
และสิ่งที่ อธิการบดีท่านนี้ให้ข้อคิดว่า มหา'ลัย หรือสถาบันการศึกษา น่าจะ ปรับเปลี่ยนมหา'ลัย เน้นว่าใช้คำ "Transform" โดยมุ่งจาก "ดีไปสู่ยิ่งใหญ่ (Good to Great)" โดยอ้างคำกล่าวที่น่าจะเป็น อมตะ ดังนี้ ...........
This reminds me of the 1913 quote from the late Justice Oliver Wendell Holmes as he wrote about the mission of law schools: "I say the business of a law school is not sufficiently describe when you merely say that it is to teach law, or to make lawyers. It is to teach law in the grand manner, and to make great lawyers." A great university is best known by the quality of its graduates.............. (อ้างจาก เวบไซท์เดียวกับข้างต้น http://www.huffingtonpost.com/luis-maria-r-calingo...)
อยากให้ทุกท่านที่สนใจไปอ่านตามที่ อ้างไว้ข้างต้น (อาจได้ข้อคิดอะไรที่น่าสนใจ)
ทั้งหมดนี้ ทำให้ผมอดคิดเองไม่ได้ว่า   หลังจากได้ฟังการประชุมข้างต้น และ ก่อนหน้านั้นได้นั่งฟังน้องที่ มหา'ลัยแห่งหนึ่ง ทำ SAR สาขาวิชาที่เปิดสอน  พร้อมการ ทวนสอบ... ประจำปี  เลยเห็นภาพว่า  ถ้าอยากเป็นมหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ ให้รีบกลับไปสร้าง นศ. หรือ บัณฑิตที่ยิ่งใหญ่ มากกว่ามาบอกว่า ตอนนี้ มี อจ. ไป เพิ่มวุฒิกี่คน  อจ. ได้ ผศ. แล้ว และกำลังต่อคิว คาดว่าปีหน้าจะได้ แต้มเพิ่มขึ้น.....บันทึกนี้จึงเป็น เพราะความบังเอิญจริง ๆ ที่ได้ฟังจากการประชุม 

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

April 12, 2014

การแข่งขันในตลาดอุดมศึกษา

ตลาดอุดมศึกษาไทย ปัจจุบันแข่งขันกันสูงมาก  ปัจจัยที่ชี้ชนะคือ ทุนมนุษย์

April 11, 2014

ม.ศรีปทุม รุก เต็มสูบช่องทางรับสมัคร นศ.ใหม่ ปี 57



          มาพักเที่ยวนี้ ที่ตรัง-สตูล ได้เจอะเจอ อะไรหลายอย่าง  ทั้งการท่องเที่ยวประเภท Unseen  จริง ๆ แบบลุ้นสุดชีวิต และ หวานแหวว ก็มี  แต่ที่แน่ ๆ อาหารการกิน ราคาย่อมเยาว์ ที่แพงอย่างเดียว คือ ค่ารถ เดินทางไปที่ต่าง ๆ ซึ่งสุดท้ายจะเป็นตัวทำลายการท่องเที่ยว  (ภูเก็ตก็มีปัญหา ค่าเดินทางแพงมาก จากสนามบินเข้าเมือง ราคา ประมาณ 600 บาท)
         ผู้เขียนชอบเดินทาง ดังนั้น จึงมีโอกาสได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่หลากหลาย
         เมืองทับเที่ยง หรือ เมืองตรัง มีการศึกษาระดับ มหาวิทยาลัย แม้จะไม่ใช่  มหาวิทยาลัยแม่ แต่เป็น วิทยาเขต หรือ ศูนย์การศึกษา ทั้ง  มอ. มร.  มรภ.ภูเก็ต  มรภ.สวนดุสิต ฯลฯ
         สิ่งที่สุดุดตามากที่สุด  คือ  การทำตลาดของ ม.เอกชน ใน 2ลักษณะ
        อันแรก  เป็นการรุกตลาดเมืองตรัง ของ ม.ศรีปทุม
                     1)  ภาพที่เห็นเป็น รร. มัธยมเอกชน วัฒนาศึกษา  ซึ่งผ่านการรับรองของสมศ. (รับรองทุก รร. ละครับ ที่ไม่รับรองก็ถูกปิด ไม่มาเปิดให้เห็นหรอก)


                           1) เห็นว่า ม.ศรีปทุม มีการโฆษณารับ นศ.ใหม่ ทั้งตรี-โท-เอก ด้วยแผ่นไวนิล ทั้งหน้า รร. (ตรงข้าม)  ข้าง รร.  เรียกว่า ไม่มีที่ว่าง ให้ มหา'ลัย คู่แข่งได้มาติดป้ายโฆษณา



   
                          2) บริเวณที่ติดป้ายโฆษณา ยังมีบริเวณตลาด อีก อาจเป็นเพราะ  ผู้ปกครอง พ่อ-แม่ไปจ่ายตลาดย่อมต้องเห็นแน่นอน
                          3) ตืด บริเวณ ตำแหน่งจุดสำคัญหลัก ๆ ของเมืองตรัง
                    และเดาได้เลย ต้องมีกิจกรรม In-House  เข้าไป รับ นศ.ใหม่ โดยมีกิจกรรมแนะนำ  หรือ การทำ Open House ให้มาเข้าพักเยี่ยมชม มหา'ลัย ที่กรุงเทพ หรือ ชลบุรีแน่ ๆ

              อีกลักษณะ เป็นการโมษณาของ มหา'ลัย ออนไลน์ คือมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ทั้งตรี-โท-เอก(แต่ต้องเช็คการรับรองของ สกอ. ก่อนสมัครนะครับ หากใครอ่านตรงนี้ เพราะ สกอ. เน้นมากสำหรับ ม.ออนไลน์)  ตั้งป้าย ตามถนน หรือ แหล่งชุมชน
           

             การแข่งขันเมืองนี้ คงน่าดูอาจจะเป็นเพราะ ไม่ใช่เมืองหลัก ที่มีมหาวิทยาลัยแม่ ตั้งอยู่ จึงเป็นช่องว่างทางการตลาด ที่น่าสนใจ    แต่ ที่หน้า รร.สภาราชินี ทั้ง 2 แห่ง กลับไม่เห็น (หรือ นร. มีเป้าหมาย มหา'ลัย ระดับ Top Brands  หรือ สอบตรง ก็ได้)  นะครับ

                  ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081
         

April 6, 2014

อิทธิบาท 4 กับการวิจัย


ตั้งใจ มาเที่ยว แต่ระหว่างรอ ทัวร์ มารับ ได้อ่านหนังสือ  สำเร็จเมื่อคิด ของพระพิจิตรธรรมพาที แล้วจับมาคิดกับ การวิจัย ออกมาเป็น "อิทธิบาท4 กับการวิจัย" เอา The 4 Ps of Research Diamond  มาเชื่อมโยง เห็น ภาพ "สำเร็จเมื่อคิด สัมฤทธิ์เมื่อทำ"  ขุมทรัพย์จากพระพุทธองค์
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
7-04-2014

การบรรยายของ Headmaster -Mr.Neil Richards (ครั้งแรก 26 เม.ย.56)


        เมื่อ 27-29 มี.ค.ได้นำ นศ.ป.เอก รุ่น 10 มซจ.ไปดูงาน ที่ รร.BISP  เลยทำให้นึกถึงวีดีโอ  การบรรยายของ Headmaster -Mr.Neil Richards (ครั้งแรก 26 เม.ย.56) ในคราวนำ นศ.ป.เอก รุ่น 9 ม.เซนต์จอห์น ไปดูงาน จึงอัพโหลดมาย้อนดูว่า ท่านบรรยายอะไรไว้บ้าง

                                                     






                                                             




















               การบรรยายของคุณ Neil  เป็นที่ประทับใจมาก โดยเฉพาะสิ่งที่เขาว่า รร. ทำอะไร และการที่เขาต้องไปยืนหน้า รร. ทุกเช้า เพื่ออะไร  คุยกับผู้ปกครองทำไม

จึงนำมาสู่ การศึกษาดูงาน ในลักษณะของ "Strategic Leadership in Education" สำหรับ นศ.ป.เอก.รุ่นที่ 10 ม.เซนต์จอห์น 

                                                       ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

April 4, 2014

การดูงานรูปแบบใหม่ เรื่อง "Strategic leadership in Education" at BIS Phuket


           การสอนวิชา EAD 7205 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธฯ ได้ นำ นศ.ป.เอก รุ่น 10 มซจ. มาดูงานที่ รร.นานาชาติบริติช ภูเก็ต 3วัน และการปิดรายวิชา ด้วยการนำเสนอ "แนวคิดในการทำวิจัย (Concept paper)"

         1.เป็นครั้งแรกที่ผู้เขียนจัดการศึกษาดูงานในลักษณะนี้  ซึ่งเรียกว่า  "Transnational Education" ต้องขอขอบคุณ นศ .ทั้ง 13 ท่าน ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างสูง
          ป.เอกรุ่น10   9 ท่าน ( นศ. มี พระบุญมี   ศิรประภา  อาทิตยา ฟาติมา สุชาดา  สกุล  รุ่น 6  คุณถาวร ท่านหนึ่ง รุ่น 9 หนึ่งท่าน กฤติกา   รุ่น10 เชียงใหม่ 1ท่าน จงกลณี) และป.บัณฑิต 4ท่าน  (คุณอัญชลี  ธัญญานุช  ปอรวีร์ และ จักษ์กฤษณ์)  พร้อมนศ.รุ่น 9 มาช่วยประสานงาน 1ท่าน  (สุมิตรา) นั่นเป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้น

          ปฐมเหตุ เดิมที ความคิดในการนำ นศ.ป.เอก วิชา EAD 7205 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธสำหระบการบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา เกิดขึ้นตั้งแต่  ป.เอกรุ่น ที่ 7  แต่ตอนนั้นทำได้เพียง การไปดูงาน  2 แห่ง คือ รร. ตชด ฯ ที่จันทบุรี  และ รร.มหิดลวิทยานุสรณ์
         ผลสรุป คิดว่า ได้ประโยชน์มาก กับการเปิดโลกทรรศน์ในการเรียนการสอน
       
         พอมา ป.เอก รุ่นที่ 8   เห็นว่า หากได้จัดให้ หลากหลายมากขึ้นในการศึกษาดูงาน
         1) เป็นการดูงานและได้ฝึกกำลังใจด้วย โดยจัดไปที่ รร.นายร้อย จปร. พร้อม ฝึกในภาคทดสอบกำลังใจ
         2) การดูงานด้านการศึกษา คือ  ความสำเร็จของ คณะแพทย์ฯ มอ.
         3) การดูงานด้านการจัดการของ บ. ส่งออกรายใหญ่ของ จังหวัดสงขลา
         4) การดูงานในด้านความสำเร็จของผู้นำชุมชน คุณอเนก จิวะรัตน์ ที่ อ.กะปง จ.พังงา
         นับเป็นการเปิดมิติใหม่ในการบูรณาการดการเรียนรู้ได้อย่าไม่เคยเกิดขึ้นมากก่อน
         พร้อมกับการจัดทำ  CBL-Challenge based learning ของการศึกษาดูงาน
       
        รุ่นที่ 9 ปรับบางส่วน ในการศึกษาดูงาน  โดย  ความตั้งใจเดิม จะพา นศ. ไปดูงาน และ อบรมที่ ม. ในประเทศเกาหลีใต้ พร้อม ดูงาน ฮุนได
        แต่ความไม่แน่นอนคือ ความแน่นอน มีเค้าลางจะเกิดสงคราม จาก เกาหลีเหนือ เคลื่อนย้ายขีปนาวุธ โปรแกรม เกาหลีเลยยกเลิก (พร้อมความสบายใจของทุกฝ่าย ที่กลัวกันตาจะ ห่างมาก ๆๆ)
        การดูงานเลยปรับ ไปที่ พังงา-ภูเก็ต
        1)ดูงาน รร. BISP (British International School,Phuket)  
        2) ดูงานบริาัทด้านอาหารทะเลส่งออก อันดับชั้นนำของประเทศ
        3) การดูงานในด้านความสำเร็จของผู้นำชุมชน คุณอเนก จิวะรัตน์ ที่ อ.กะปง จ.พังงา
       พร้อมกับการจัดทำ  CBL-Challenge based learning ของการศึกษาดูงาน
       ผลการศึกษาดูงานและ การเรียนในชั้น มี นศ.ป.เอก บางคน ไม่เข้าใจ การเรียนรู้แบบบูรณาการ และ การเชื่อมโยงความรู้

     จึงเป็นที่มาของการปรับเปลี่ยนในรุ่นที่  10  เป็นการดูงานในลักษณะ "Transnational Education"
      คือ  การเรียนรู้กับคนเจ้าของภาษา ในพื้นที่ บ้านเรา

2.การดูงานครั้งนี้ ได้ทาง รร.BISP  จัดได้ดีมาก ตั้งแต่การเตรียมจาก คุณสุรางค์ และคุณวิคตอเรีย  และทีมงานคุณแอน  รายละเอียดดังนี้


 ILC 3-day training programme for PhD students from St John’s University
Strategic Leadership in Education
When: March 27 – 29 2014
Instructors: BISP staff
Target group: 13 PhD students from  St John’s University
Format: 15 hours of lectures and workshops
Venue: International Learning Centre (ILC) at British International School Phuket (BISP)

Programme
DAY 1             Thursday 27.03.14

8:30 – 9:00     Arrivals/Registration of participants (ILC, Kata house)
9:15 – 9:30     Opening of the programme. Welcome speeches (MTB, conference room)
9.30 -10.30     BISP’s vision and International School Management. N. Richards and S. Viponchai (MTB, conference room)
10.30-11.00   Coffee break (outside conference room)
11.00 – 12.00 Modern approaches in English language teaching . V. Sokolova (MTB, conference room)
12.00 -13.00  Lunch (refectory)
13.00 – 14.00 School tour (V. Sokolova )
14:00 – 14:30 Coffee break (IEC, Kata house, common room)
14:30 – 15:30   Digital School Administration System . N Wheeler (MTB, SLT room)

15:30 – 16:00   Discussions. End of Day 1 programme (MTB, SLT room)

DAY 2   Friday 28.03.14
8:30 – 9:00     Arrivals (ILC, Kata house)
9:00 – 10:00  Teaching in Primary vs Teaching in Secondary . V. Sokolova (ILC, Kata house Room 105)
10.00 -10.15  Coffee break (ILC, Kata house, common room)
10.15 – 11.15 Teaching ESL students in the mainstream. Cambridge English Assessment  at International Schools. V. Sokolova (ILC, Kata house Room 105)
11.15-11.45    Coffee break (ILC, Kata house, common room)
11.45 -12.45  Education in the Digital Age . P. Preen (ILC, Kata house Room 105)
12.45 – 13. 45 Lunch (refectory)
13.45 – 15.15 Learning to Learn. N. Richards (MTB, SLT room)
15:15 – 15:30 Coffee break (ILC, Kata house, common room)
15:30 – 16:00            Discussions. End of Day 2 programme (ILC, Kata house Room 105)

DAY 3 Saturday 29.03.14
9:00 – 9:30     Arrivals (ILC, Kata house)
9:30 – 10:30  Professional Teacher Development . V. Sokolova (ILC, Kata house Room 105)
10.30 -11.00  Coffee break (ILC, Kata house, common room)
11.00 – 12.00 Preparation for presentations by participants (ILC, Kata house Room 105)
12.00 – 13. 00 Lunch (refectory)
13.00 – 14.00 Participants’ presentations. N. Richards. V. Sokolova (ILC, Kata house Room 105)
14:00 – 14:30 Coffee break (ILC, Kata house, common room)
14:30 – 15:00 Closure, certificates. N. Richards. V. Sokolova (ILC, Kata house Room 105) 



เนื้อหาการบรรยายได้เจาะลึก
-บทบาทความเป็นผู้นำ และวิสัยทัศน์ของ Headmaster 
-เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ  ระบบการเรียนของอังกฤษ
-ICT ของเคมบริดจ์
-การพัฒนาการทางสมองและการให้โอกาส เด็ก
-Modern school
-ทักษะของ นร.ในศตวรรษที่ 21
-ทฤษฎีการเรียนรู้  และ ทบ .การเรียนรู้ภาษา
-ฯลฯ
พร้อมการดูงานทุกส่วนของ รร.


3.  ที่สำคัญการทำPresentation ของ นศ.ทุกคน  น่าสนใจดีครับ


    โดยเฉพาะ ได้ เจ้าของ รร. จากเกาหลีใต้ 2 คน มาร่วมกลุ่มครั้งนี้ด้วย  ทำให้ บรรยากาศ เป็น อินเตอร์ จริง ๆ เพราะต้องคุยกันเป็น ภาษาอังกฤษ
     หลังจาก นำเสนอสิ่งที่เรียนรู้กับการนำไปใช้  ก็ถึงพิธีการ รับวุฒิบัตรผ่านการดูงานและอบรม




4.การปิดท้ายวิชานี้  ด้วยการให้ นศ.ทุกคน นำเสนอ "แนวคิดการวิจัย (Concept paper)  ซึ่งโดยรวม ได้ความสนใจในการวิจัยในเรื่องใหม่ ๆ  และแนวทางที่จะไปทบทวนวรรณกรรมที่ชัดมาก  กับให้แนวทางและวิธีการกับ นศ.บางท่านไปศึกษาให้มากพอพร้อมกับข้อห่วงกังวลในการลงไปทำจริง   ทั้งหมดนี้ ได้รับความร่วมมือและมีทิศทางที่ดี

5. ท้ายที่สุด แจ้งให้ทราบว่า นศ.ที่ต้องการทำวิจัยหัวข้อกับผม   ต้องทำงานต่อเนื่อง  การติดต่อและรายงานความคืบหน้า หากเป็นแบบนี้ได้ผมพร้อมทำงานร่วมกันในหัวข้อวิจัยของ นศ.ทุกคนที่อยากทำงานวิจัยกับผม

(ค่อยเล่ารายละเอียดในตอนต่อไปครับ)
บันทึกไว้  29 มี.ค.57

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081



April 3, 2014

PISA ออกมาแล้ว 1 เม.ย.57 ประเทศไทย เด็กไทยไม่มีที่ยืนในเวทีโลก

     


           ชาติเอเซีย ยอดเยี่ยม  คะแนน PISA นำลิ่ว แซง ชาติ OECD หมด ทุกประเทศ
           ประเทศไทย เงียบไปเลย  หาไม่เจอในกราฟ (หลุดโผ ทั้ง ๆ ทีติวเข้ม) คะแนน PISA ออกมา (1 เม.ย.57) ด้าน Creative problem solving ปรากฎ เด็ก อายุ 15 ปี  ของ สิงคโปร์ 562 คะแนน มานำลิ่ว แซงเกาหลีใต้ เฉียดฉิว 561 คะแนน  มาเลเซีย ยังติด ได้ 422 คะแนน ค่าเฉลี่ย ประเทศ OECD 500 คะแนน
           "Asian countries dominated the problem-solving test, with Singapore ranking first, followed by South Korea; Japan; Macao, China; Hong Kong, China; Shanghai, China; and Taiwan (which the OECD delicately calls Chinese Taipei)."

         

ดูคะแนนตาม ภาพข้างบนได้  ตรวจสอบแล้วไม่มีประเทศไทยแน่นอน (ถ้าหลุดไปขออภัยครับ) 

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081