December 4, 2011

การบริหารHR เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์(2) -ดร.ดนัย เทียนพุฒ

             ( ระหว่างรอรถไฟด่วน -KTX (Korea Train Express) จาก Seoul ไป Busan)

ในคราวก่อนได้เล่าให้ฟังถึงการเปิดชั้นเรียนวิชา HRM in Ed. ของ ป.โท บริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ ที่ ม.เชนต์จอห์น วันแรกได้พูดไป 2เรื่องยังไม่จบ จึงมาขอต่อ
1. การจัดการเป็นสิ่งสำคัญในทุก ๆ องค์กรของประเทศไทย และกรณีน้ำท่วม ได้เห็นภาพนี้ชัดเจนว่า รัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพในการจัดการน้ำ  ซึ่งสะท้อนกลับไปที่การศึกษาของชาติว่า มีปัญหา

2.การศึกษาที่สมดุลทั้ง อดีต (ประวัติศาสตร์-รักชาติและราชวงค์  วัฒนธรรม และศาสนา) กับ อนาคต (ยุคดิจิตอล)ของเกาหลี 
 ได้ยกตัวอย่างการเรียน ของเด็กระดับ ปฐมวัย และพื้นฐานการศึกษา ที่เรียน ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนา นอกชั้นเรียน
(อ่านได้ที่นี่ คลิก...)
ความงดงามและน่าเคารพศรัทธา ที่วัด พุกกุกซา

            (ห้ามถ่ายรูป หากจะถ่ายรูปต้องจ่ายเงินเข้าไปในโบสถ์  ผมเลยซูมภาพนอกโบสถ์ จะเห็นว่าองค์พระงดงามจริงครับ)


ยังมีอีกสถานที่อีก 2แห่งจะเห็น นร.มากันเยอะแยะไปหมด พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ (ที่นี่ผมเดินนานกว่าเพื่อนจนกลายเป็นคนสุดท้ายที่ไปขึ้นรถ )

ระฆังในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ตามประวัติ ช่างหล่อทำไม่สำเร็จเพราะ ตีแล้วเสียงไม่ดังกังวาร ต้องมีพิธีกรรม สังเวยหญิงสาวพรหมจรรย์ เป็นส่วนผสม ภรรยาช่างจึงปรึกษษกับลูกสาว แลลูกสาวยอมตายเพื่อให้พ่อทำระฆังใบนี้สำเร็จ  (ทำให้ผมดูห่าง ๆ )
                     
                                         


  ชุดฉลองพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ทำด้วยทองทั้งหมด ใน ศตวรรษที่ 4-5


 -บรรดา นร. ที่เข้าชม "ที่ฝังพระศพของพระราชินี ..."

                         
ส่วนอีกด้านหนึ่งของการเรียนรู้เป็น Digital World

ที่ Digital Pavilion  กรุงโซล
(Nuritkum Square Digital Pavilion ห้องแสดงนิทรรศการดิจิตอลแห่งใหม่ล่าสุดของเกาหลี)

                                




                                          สระเลี้ยงปลาดิจิตอล (ปลาก็ดิจิตอล)

                                     

ตัดภาพกลับมาที่การบริหาร HR ให้การคิดอย่างแรกว่า
1) การบริหารคน นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  (The art and science of HRM)
2)ไม่ใช่การบริหารหรือจัดการพนักงาน แต่เป็น"การบริหารคน (People Management)"
  ทำอย่างไรถึงจะเข้าใจและดูแลคนได้ดี
3) ได้ขยายความว่า
  ศาสตร์หมายถึง หลักการ ทฤษฎี ที่เราสามารถเรียนรู้ได้ทุกคน
  ศิลป์   หมายถึง เป็นสิ่งเฉพาะบุคคล ความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคลที่ผ่านประสบการณ์การลองผิด ลองถูก สอนได้ไหมค่อนข้างยาก  เพราะขึ้นอยูกับผู้สอน โดยทำแบบ 1 to 1 Coaching
   แต่ผู้สอน อาจจะ "ฝึกความอดทนผู้เรียนก่อน ว่า อึดไหม"
                  "มีแววและศักยภาพเพียงพอที่จะเรียนรู้ได้แค่ไหน มากน้อยเพียงใด"
ทิ้งท้ายให้คิดว่า การบริหารคนในทางการศึกษา ต้องหาไอเดียใหม่  วิธีการเรียนรู้ใหม่ ฯลฯ





ดร.ดนัย เทียนพุฒ
ผู้อำนวยการ ดี.เอ็น.ที.เน็ต(D n t Net)
http://www.drdanai.blogspot.com
โทร 029301133

การบริหารHR เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ -ดร.ดนัย เทียนพุฒ

                                         (สถานที่ ณ พระราชวังเคียงบก ประเทศเกาหลี)

วันนี้ 4 ธ.ค.54 เป็นวันแรกของการเรียนวิชา HRM in Ed. ระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ คณะศึกษาศาสตร์ ม.เชนต์จอห์น  หลังจากต้องเลื่อนมาจากน้ำท่วมใหญ่ เพราะการบริหารจัดการเรื่องน้ำผิดพลาดของรัฐบาล ทำให้เสียหายทั้งประเทศ และยากที่จะให้คืนกลับในเร็ววันและไม่มีหลักประกันอะไร ที่บอกได้อีกว่า ปีหน้าจะดีกว่านี้หรือไม่ท่วม

ผู้เขียนได้หยิบเรื่องนี้มาพูดพร้อมชี้ให้เห็นถึง
1.การบริหารจัดการเป็นเรื่องสำคัญ  ไม่ใช่ใครก็จะทำได้ ยิ่งไม่มี "ความสามารถ(Competency)การบริหาระดับประเทศ ก็ยังเหมือนกับเกิดสงคราม ที่ขาดอาหาร  มีคนโฉยโอกาส ซ้ำเติมคนเดือดร้อน  การช่วยเหลือเป็นการเมืองและเลือกปฏิบัติ
จุดสำคัญ ชี้ให้เห็นว่า  การศึกษาของชาติ มีปัญหา ไม่สามารถสอนคนให้ออกไปจัดการสิ่งที่ตาดการณ์ไม่ได้  สิ่งที่ไม่มีประสบการณ์


2.การศึกษาที่สมดุลทั้ง อดีต (ประวัติศาสตร์-รักชาติและราชวงค์  วัฒนธรรม และศาสนา) กับ อนาคต (ยุคดิจิตอล)ของเกาหลี


 ผู้เขียนได้ยกกรณี  ของเด็กเล็ก และเด็กประถมศึกษาของประเทศเกาหลีที่ได้มีโอกาสไปดูงาน
 -เด็กนร. ปฐมวัยของเข้าจะได้ออกนอกสถานที่ ไปร่วมงานสำคัญของเมือง อยูในชุดพร้อมเดินทางโดยมีครูนำทาง  ณ. บริเวณสถานีรถไฟ Daejion Station

 -เด็กนร. ชั้นประถม จะมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์นอกสถานที่ ซึ่งเป็น วัดพุทธ ชื่อ Seokguram Grotto  สร้างในสมัย Silla King Dyeongdeok                                   




                                       
   

 -เด็กนร.ชั้นเล็กก็ยังมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์นอกสถานที่ ซึ่งเป็น วัดพุทธ ที่เป็นมรดกโลก มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในเกาหลี ชื่อ  วัดพุกกุกซา สร้างในปี คศ.535



                                       (หน้าตาวัยรุ่นเกาหลี ที่ยังรอการ Mold  ให้สมบูรณ์)


ส่วนนี้ เป็นการศึกษา ที่เรียนรู้ด้าน ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา นอกสถานที่ และเด็กได้ซึมซับสิ่งเหล่านี้เข้าไปในความคิดและจิตใจ
(ยังมีต่อ)


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
ผู้อำนวยการ ดี.เอ็น.ที.เน็ต(D n t Net)
http://www.drdanai.blogspot.com
โทร 029301133

November 2, 2011

การใช้ Facebook ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา

                                              (ที่สถานีรถไฟด่วน KTX  พูซาน (Busan) )

                มีตัวเลขมากมายที่บอกถึงการเติบโตของ Social Media  โดยเฉพาะ Facebook มีผู้ใช้ในเดือน ก.ย. 2011 จำนวน 712.4 ล้านราย คิดเป็นอัตราเติบโต 42.9 %  สำหรับประเทศไทยอยู่ในอันดับ ที่ 16 ของโลก มีผู้ใช้ 11.9 ล้านราย อัตราเติบโต 131.7  %  (อ้างจาก http://gold.insidenetwork.com/facebook)
                ผู้เขียนได้ทดลองใช้ Facebook  Twitter และ Blog  สำหรับการเรียนการสอนในระดับบัณทิตศึกษา
                -วิชาการจัดการเชิงกลยุทธ หลักสูตร MBA ของ ม.ธนบุรี
                -วิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทางการศึกษา หลักสูตร M.Ed. ม.เซนต์จอห์น  และ วิชาภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา หลักสูตร Ph.D. บริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ ม.เซนต์จอห์น
                -วิชาการพัฒนาองค์การและการเปลี่ยนแปลง หลักสูตร MBA ม.วลัยลักษณ์

               1. ใน Blog (ที่บล็อกนี้)  เป็นส่วนของการบอกถึง รายละเอียดรายวิชาที่สอน  การสอนและงานที่มอบหมายงาน และการสรุปเนื้อหาการบรรยาย รวมถึงการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายเพิ่มเติมในสิ่งที่ นศ. ไม่เข้าใจ  อีกทั้งการนำเสนองานของ นศ. ทั้ง Clip VDO และ Paper
               2. Twitter และ Facebook  เป็นส่วนของการแจ้งข่าวคราว หรือ งานที่ นศ. จะต้องทำในแต่ละสัปดาห์  และจะต้องเตรียมตัวอย่างในในการมาเรียน
                  รวมถึงการแจ้งถึงผลการเรียน เช่น แบบฝึกหัด ใครส่งไม่ส่ง การประกาศชื่่อกิจกิจกรรม
               3. ในเทอมใหม่นี้ กำลังจะใช้ Facebook ในหน้า Fan page สื่่อสารและกระจายข่าว จากBlog อีกทีหนึ่ง
                 ซึ่่งอาจจะมีผู้สนใจ นอกชั้นเรียน ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์  นอกจากเพียงการกด Like

               ผู้เขียนเห็นว่า Facebook น่าจะใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนได้มากขี้น  เพราะ
                  -มีผู้ที่เป็น Creators ซึ่งสามารถสร้างเนื้อหา และความรู้ ในวิชาที่ใช้เรียนหรือสอนได้
                  -มีกลุ่ม Commentor  ที่จะเข้ามาให้ความเห็น หรือ แสดงทัศนะที่แตกต่าง แต่อาจยังไม่พร้อมในการสร้างเนื้อหา
                  -กลุ่ม Follower ที่สนใจเป็นแฟนคลับ ติดตามความรู้ หรือสนใจใน Post
                  -กลุ่มที่ชื่่นชอบ คือ  Likeable  หรือ +1   ทีชอบจริง ๆ ในเนื้้อหา อาจตามบ้าง ให้ความเห็นบ้าง แต่ไม่ได้สร้างเนื้อหา  หรือ อาจแค่ชอบอย่างเดียว
 

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ
โทร 029301133

             

September 28, 2011

สนใจทำวิจัย HR or Knowledge Organization


สวัสดีค่ะท่านอาจารย์


หนูได้อ่านบล็อกของอาจารย์ค่ะ เป็นประโยชน์อย่างมากเลยค่ะ หนูมีปัญหาในเรื่องของหัวข้ออยากเรียนปรึกษาอาจารย์ค่ะ
ตอนนี้หนูกำลัง Research  Proposal  ระดับปริญญาเอก เพื่อเสนอกับทางมหาวิทยาลัยอยู่ค่ะ หัวข้อที่ทำเสนอจะเป็นในเรื่องของ
การพัฒนาทุนทางปัญญาและการจัดการองค์ความรู้เพื่อเพิ่มมูลค่าแก่องค์กร รบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะในเรื่องของหัวข้อนี้ด้วยค่ะ
หนูสนใจศึกษาด้านHRหรือKnowledge Organization ค่ะ



ขอบพระคุณค่ะ
กมลชนก  ทองประเสริฐ



-----


ถึงคุณกมลชนก

ลองไปอ่าน ที่นี่ก่อนครับ
1.http://research-cafe.blogspot.com/2010/04/thesis-dissertation.html



September 16, 2011

ตำราพิชัยสงครามไทย ฉบับจัดกระบวนทัพ รัชกาลที่ 3





เรื่องราวของตำราพิชัยสงครามไทย  เป็นสิ่งที่มีผู้สนใจและติดตามศึกษากันอย่างกว้างขวาง แต่โอกาสที่จะได้อ่านหรือ เห็นฉบับจริงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ  ถือเป็นมงคลอย่างยิ่งถ้าใครได้ศึกษา "ภูมิปัญญาและมรดกของชาติที่พระมหากษัตริย์ และแม่ทัพนายกอง"  ได้มีการรวบรวมและบันทึกสืบทอดตกมาถึงปัจจุบัน


ผมนำ ภาพวีดีโอที่ได้บันทึก "ตำราพิชัยสงครามไทย ฉบับจัดกระบวนทัพ  รัชกาลที่ 3 " มาให้ได้ชมกัน





เป็นฉบับสมุดไทยดำลงเส้นสีทอง กล่องใส่ ด้านหน้าฝังมุก อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ
บจก.ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์
โทร 029301133
email: drdanait@gmail.com

September 8, 2011

ระบบการศึกษาระบบควบคุมหรือระบบส่งเสริมความงอกงาม โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี

ผมเห็นด้วยและชื่นชมในสิ่งที่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี เขียนบทความเกี่ยวกับระบบการศึกษาที่องค์กรทางการศึกษา หริอผู้กำหนดนโยบายทางการศึกษา ใช้"สมองส่วนหลัง" คิดและทำงาน

จึงขอนำบทความนี้มาเผยแพร่ต่อ...
---------------------
ระบบการศึกษาระบบควบคุมหรือระบบส่งเสริมความงอกงาม
ศ.นพ.ประเวศ วะสี


วันที่ 7 กันยายน 2554
จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ http://goo.gl/pvzwx


*เหตุเกิดที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ ดร.สุกรี เจริญสุข คณบดีประท้วงด้วยการยื่นใบลาออก

วิทยาลัยคิดว่าวิทยาลัยรู้ดีกว่า สกอ. และคิดว่า สกอ. ใช้อำนาจโดยไม่รู้
การศึกษากับระบบที่ใช้กับการศึกษาเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกัน และเป็นต้นเหตุของความอ่อนแอของการศึกษาไทยที่แก้เท่าไรๆก็แก้ไม่ตก เพราะไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ
การศึกษาเป็นระบบของความงอกงามอย่างหลากหลาย แต่ระบบราชการเป็นระบบของการควบคุม
เมื่อเอาระบบการควบคุมมาใช้กับการศึกษาความงอกงามก็ไม่บังเกิดสมกับที่เป็นการศึกษา
การศึกษานั้นควรจะเป็นการกระตุ้นสมองส่วนหน้า แต่การควบคุมนั้นกระตุ้นสมองส่วนหลัง สมองส่วนหลังนั้นเป็นสมองสัตว์เลื่อยคลาน (Reptilian brain) มีหน้าที่เกี่ยวกับความอยู่รอด เช่น การกิน การสืบพันธุ์ การต่อสู้ การหลบภัย การทำร้ายสัตว์อื่น หรือคนอื่น สมองส่วนหน้า (Neo-cortex) เป็นสมองมนุษย์ทำหน้าที่เกี่ยวกับสติปัญญาขั้นสูง จินตนาการ วิจารณญาน ศีลธรรม
ถ้าผู้เรียนรู้มีอิสระที่จะจินตนาการ ที่จะเลือกเรียนรู้อย่างหลากหลายได้ทดลองของใหม่ๆจะกระตุ้นสมองส่วนหน้าให้เจริญ มีสติปัญญาสูง มีวิจารณญาน มีความเห็นใจเพื่อนมนุษย์ (Empathy) มีจิตใจเพื่อเพื่อนมนุษย์ (Altruism) มีศีลธรรม
การถูกควบคุมจะไปกระตุ้นสมองส่วนหลังซึ่งเป็นสมองสัตว์เลื่อยคลานทำให้ขาดจินตนาการ (ตะกวดไม่มีจินตนาการ) ขาดสติปัญญา ขาดวิจารณญาน ขาดศีลธรรม มีความหยาบและการทำร้ายกันสูง
การที่คนไทยเป็นอย่างนี้ๆก็เพราะเราอยู่ในระบบอำนาจแบบ top down ทุกแห่งหน พ่อแม่ก็ top down กับลูก  ครูก็ top down กับนักเรียน  เจ้านายก็ top down กับลูกน้อง ระบบการศึกษาก็ใช้ระบบราชการซึ่งเป็นระบบควบคุมมากกว่าระบบส่งเสริมความงอกงาม จึงไม่แปลกที่สังคมไทยเป็นสังคมที่ใช้สมองส่วนหลังมากเกิน และใช้สมองส่วนหน้าน้อยเกิน
การต่อสู้ทางการเมืองเป็นตัวอย่างของการใช้สมองส่วนหลัง ในการใช้สมองส่วนหลังนั้นจะไม่คำนึงถึงความจริงและศีลธรรม แต่มุ่งเอาชนะอย่างเดียว การต่อสู้กันโดยไม่ใช้ความจริงและศีลธรรม ทำให้สังคมแบนราบขาดความสูงส่งทางคุณค่าหรือจิตวิญญาน สังคมที่ขาดคุณค่าของความดีงามเป็นสังคมที่น่ากลัวยิ่งนัก
เนื่องจากระบบการศึกษาไทยเป็นระบบการควบคุม กระทรวงศึกษาธิการจึงหนักอึ้งรกรุงรังไปด้วยเครื่องมือในการควบคุม การกำหนดมาตรฐานต่างๆก็คือการควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงกำหนด การกำหนดชื่อปริญญา กำหนดอัตราเงินเดือน กำหนดตัวชี้วัด ล้วนเป็นการควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐาน
การควบคุมทำให้เกิดความบีบคั้น ความขัดแย้ง และความไม่งอกงามอย่างหลากหลาย มนุษย์นั้นไม่มีใครสองคนในโลกที่เหมือนกันแม้แต่ฝาแฝดไข่ใบเดียวกัน ควรจะมีโอกาสงอกงามหลากหลายแตกต่างกัน การพัฒนามนุษย์ไม่ใช่การหล่อหลอมให้ออกจากเบ้าเดียวกันเหมือนการปั๊มขวดปั๊มกระป๋องออกมาจากโรงงาน
การศึกษาไม่ใช่การหล่อหลอมให้เหมือนกันแต่เป็นการส่งเสริมความงอกงามอย่างหลากหลายจึงไม่ควรมีมาตรฐานเดียวหรือตัวชี้วัดเดียวที่ใช้ทั่วไปหมด ซึ่งจะไปทำลายความงอกงามอย่างหลากหลาย
ถ้าระบบการศึกษาจะเป็นระบบการส่งเสริมความงอกงามแล้วไซร้จะเบาสบาย สวยสดงดงาม สร้างสรรค์ และประหยัดกว่าปัจจุบันนี้มาก กล่าวคือ ส่งเสริมให้บุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน องค์กรต่างๆ มีอิสระในการจัดการการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ตามความต้องการของบุคคล ชุมชน ท้องถิ่น และองค์กรต่างๆ จะเกิดจินตนาการใหม่ๆ ความริเริ่มใหม่ๆ ความสร้างสรรค์ใหม่ๆ อย่างหลากหลาย มีความยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ต่างๆ จะเกิดนวัตกรรมการเรียนรู้เต็มแผ่นดิน ความหลากหลายของจินตนาการและนวัตกรรมการเรียนรู้เป็นความงามที่ก่อให้เกิดความปิติสุขแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ในระบบการศึกษาที่ส่งเสริมความงอกงามอย่างหลากหลาย กระทรวงศึกษาธิการไม่เหมือนเดิม น้ำหนักจะไปอยู่ที่ครูมากกว่าผู้บริหาร(ควบคุม) การศึกษา ครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้และร่วมเรียนรู้จะกลายเป็นครูที่เก่ง ครูที่ใช้อำนาจจะเป็นครูที่ไม่เก่ง เราก็ได้แต่ร้องว่าครูไม่เก่งๆ โดยไม่เปลี่ยนระบบอำนาจ กระทรวงศึกษาธิการจะมีขนาดเล็กลง เหมือนในประเทศที่เจริญทั้งหลาย และปรับบทบาทจากผู้ควบคุมกลายเป็นผู้สนับสนุนเชิงนโยบายและเชิงวิชาการ การที่จะสนับสนุนทางนโยบายและทางวิชาการได้ ตัวเองจะต้องเก่ง ถ้ามีอำนาจและใช้อำนาจตัวเองก็ไม่ต้องเก่งและจะไม่เก่ง กระทรวงศึกษาธิการในรูปใหม่จะไปติดตามชื่นชมความงอกงามอย่างหลากหลาย ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อยอดให้งดงามและดียิ่งๆขึ้นไป คนทั้งประเทศจะถูกปลดปล่อยไปเป็นอิสระและพัฒนาอย่างหลากหลายเต็มตามศักยภาพของความเป็นมนุษย์ ประเทศไทยจะเข้มแข็งขึ้น
ในท้ายที่สุดผมขออาราธนาอาจารย์สุกรี  เจริญสุข อย่าไปโกรธใครเลย ไม่ว่าจะเป็นหมอวิจารณ์หรือใครอื่น เพราะในระบบการควบคุมทุกคนล้วนตกอยู่ภายใต้ความบีบคั้น ขอให้อาจารย์สุกรีและคณะจงบรรเลงเพลงปฏิรูประบบการศึกษาไทยให้กระหึ่มไปทั้งประเทศ ประเทศไทยพยายามปฏิรูปการศึกษามาด้วยวิธีต่างๆมากแล้วแต่ไม่สำเร็จ การใช้ดนตรีปฏิรูปอาจสำเร็จ เพราะเมื่อผู้คนได้ฟังดนตรีแล้วจะมีความสุข เมื่อมีความสุขแล้วสมองจะดี เรียนรู้เรื่องที่ซับซ้อนได้ดีขึ้น
ถึงเวลาประเทศไทยจะต้องเข้าเกียร์ใหม่ เปลี่ยนจากเกียร์ใช้สมองส่วนหลัง ไปใช้เกียร์สมองส่วนหน้าหรือสมองแห่งความเป็นมนุษย์ซึ่งทำให้เกิดจินตนาการ สติปัญญาที่ลึกซึ้ง มีวิจารณญาน มีสุนทรียธรรม และมีศีลธรรม
ด้วยการปรับระบบการศึกษา จากระบบการควบคุมไปเป็นระบบส่งเสริมความงอกงามอย่างหลากหลาย

August 28, 2011

ชุมนุมตำราพิชัยสงคราม

 ถ้าพูดถึงตำราพิชัยสงคราม ในโลกและบ้านเรา เชื่อว่า คงไม่มีใครไม่รู้จัก "ตำราพิชัยสงครามชุนวู (The Art of War)" ของจีนถือเป็นต้นตำรับของศิลปแห่งสงคราม ที่ทหาร นักธุรกิจ ทุกอาชีพต่างก็อ่านกันทั่วทุกคน

 
 ที่มาของรูป
 (http://www.spotlightofpeace.com/
wp-content/uploads/2011/01/The_Art_of_War_Book_Sun_Tzu.jpg)

ที่รองลงมาดูเหมือนจะเป็น "36 กลยุทธของซุนวู" มักเรียกกันอย่างนี้ซึ่งยังหาหลักฐานไม่ได้ว่าใครเขียนขึ้นมา  บางตำราก็ว่าเป็นคนนิรนาม  บางตำราก็ว่าเป็นซุนปิง ไม่มีข้อยุติ
สุดท้ายในกลุ่มนี้ คงหนีไม่พ้น "สามก๊ก" เพราะหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงการทำสงครามชิงอำนาจกัน 3 ยุคโดยใช้ตำราพิชัยสงครามจีน  ถึง 6 ตำราด้วยกัน

หากพูดถึง "ตำราพิชัยสงครามของไทย" ที่เห็นกันมักขึ้้นตาม เวบและ บล็อกต่าง ๆ ที่เอา 21 กลยุทธ มาอธิบายความกันนั้น ส่วนใหญ่นำมาจาก"ตำราพิไชยสงครามคำกลอน" ที่มีการพิมพ์ขึ้นมาในระยะหลัง

สายธารแห่งปัญญา


 ตามพงศาวดารไทยระบุไว้ว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2  แรกให้ทำตำราพิชัยสงคราม เมื่อ พุทธศักราช 2041
(บันทึกใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ)

ผู้เขียนศึกษาในเรื่องนี้ตั้งข้อสันนิษฐาน ว่าคงมีที่มาของตำราพิชัยสงครามจาก มหากาพย์ภารตยุทธที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียโบราณ 

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถหาอ่านได้เพราะมีผู้แปลเป็นหลายเล่ม  และยังสามารถใช้หนังสือ 
 "พิชัยสงครามฮินดูโบราณ" ที่ ร้อยเอก ยี.อี. เยรินี แปลและเรียบเรียงขึ้นจากตำรา นีติประกาศิกา (ตำราอาวุธ) และตำรายุทธสงคราม ศุกรนีติสาร จัดพิมพ์ใน ร.ศ.113 (ค.ศ.1894) ประกอบความเข้าใจได้(ดังรูปปกหนังสือข้างล่างเป็นเล่มที่พิมพ์ใหม่ ในปัจจุบัน-2548)



หนังสือตำราพิชัยสงคราม ที่ปรากฏเป็นอักษรปัจจุบัน ตามหลักฐานที่พิมพ์ขึ้นครั้งแรกปี 2418 โดยโรงพิมพ์ปลัดเลย์ หนังสือพิไชยสงครามไทย รวมห้าเล่มสมุดไทย คัดลอกมาจากต้นฉบับหลวงพิไชยสงคราม(เป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด)

ส่วนที่กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์ เล่มแรก ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ นายพลตรีพระยารามจตุรงค์(เพ็ชร บุณยรัตพันธ์) ปี 2469  เป็นตำราพิชัยสงครามคำกลอน ฉบับเดิมของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช(เวก บุณยรัตพันธุ์) และสมเด็จฯ กรมพระสวัสดิ์วัดนวิศิษฎ์ ได้ให้หอพระสมุดฯ ตรวจทานและจัดพิมพ์ และมีตำนานหนังสือตำราพิไชยสงคราม ของสมเเด็จ กรมพระยาดำรงราชานุภาพพิมพ์ไว้ด้วย  และกลยุทธ 21 ประการ พร้อมคำอธิบายเป็นคำกลอน 

ซึ่งยากในการตีความและการนำไปปรับใช้ (แม้จะมีหลายท่านพยายามทำอยู่ก็ตาม) เพราะหากอ่านเข้าใจได้เลย เกิดตกไปอยู่ในมือศัตรูก็คงจะแย่  ขนาดของซุนวู ก็ยังมีแปลแล้วแปลอีก ยกตัวอย่างแทบจะทุกภาษา  ภาษาไทยก็แปลกันหลายสำนัก






ส่วนเล่มต่อมา เป็นเล่มที่พิมพ์ครั้งที่ 5 ของกรมศิลปากร อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยเอกขุนวรนิติ์นิสัย นอกจากเหมือนเล่มแรกแล้วยังมีเพิ่ม ตำราพิชัยสงครามซุนวู แปลโดยนายเสถียร วีรกุล ไว้ด้วย












เล่มล่างเป็นการพิมพ์ครังที่ 6 ซึ่งเล่มนี้มักอ้างถึงกันมาก เนื่องจากพิมพ์ในปี 2512 ได้เพิ่มในส่วนของกระบวนพยุหะ หรือ การจัดกระบวนทัพ เข้ามา 17 ภาพ




เล่มสุดท้าย น่าสนใจมาก คือ  ฉบับของ พลเอกหลวงสวัสดิสรยุทธ  ว่าด้วยหลักการสงคราม และประวัติและกิจการทหารการยุทธครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325 ถึง พ.ศ.2475   พิมพ์ในปี 2512






















ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ
บจก. ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์
โทร 029301133
email: drdanait@gmail.com


August 24, 2011

การจัดทัพในกระบวนพยุหยาตรา



เป็นที่ทราบกันว่าเรื่องราวใน ตำราพิชัยสงคราม โดยเฉพาะการจัดทัพ ไม่ใช่เรื่องที่จะศึกษาและทำึความเข้าใจในตำราดังกล่าวได้ง่ายนัก เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ได้เปิดเผยและใช้กันในกลุ่มชนชั้นกษัตริย์ และแม่ทัพ ที่มีโอกาสได้ศึกษาร่ำเรียน ขณะเดียวกันแหล่งความรู้ในเรื่องนี้นอกจากตัวตำรา ประวัติศาสตร์ในพงศาวดาร วรรณคดีในสมัยก่อน และ จิตรกรรมฝาผนัง ยังสามารถร้อยเรียงเข้ามาทำความเข้าใจได้อีกด้วย

จิตรกรรมฝาผนังวัดประดู่ทรงธรรม เป็นหนึ่งในเรื่องนี้ที่มีการวาดภาพ การจัดทัพแบบจตุรงคเสนาของบรรดากษัตริย์ 7 นคร ที่ยกพยุหยาตรา(ทางสถลมารค)โยธาทัพเดินทางมาขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุที่เมืองกุสินารา  แต่ภาพจิตกรรมดังกล่าว นับวันจะเลือน เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา เพราะขาดการดูแลและบำรุงรักษา

ผู้เขียนได้บันทึกภาพเหล่านี้ไว้( ซึ่งไม่ใช่ช่างภาพมืออาชีพแต่เป็นตามระดับความสนใจ)





ตำราพิชัยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์ -ล่าสุด


การศึกษาเกี่ยวกับตำราพิชัยสงคราม ในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันดีว่า มีผู้รู้และเชี่ยวชาญอยู่ไม่มากและนับวันยิ่งคงจะหายากยิ่งขึ้น

ตามที่ปรากฏเป็นข่าว เมื่อ ประมาณ ปลายปี ธ.ค.51 ทางจังหวัดเพชรบูรณ์ได้รับมอบตำราพิชัยสงครามจากคุณมาวิณห์ พรหมบุญ  เป็นข่าวคราวเรื่อยมาในการที่จะพิสูจน์ว่า 
-มีความเป็นมาอย่างไร ใครเขียนขึ้น
-เนื้อหาในตำราพิชัยสงครามทั้งสอง เล่มสมุดไทย
-คุณค่าอื่น ๆ ทางประวัติศาสตร์


แต่ก็ยังไม่มีเรื่องราวเปิดเผยออกมา


ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่สนใจด้านกลยุทธ และได้ศึกษาตำราพิชัยสงครามดังกล่าวด้วย


เร็ว ๆ  นี้ได้รับเชิญจากวารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ให้ช่วยเขียวเกี่ยวกับ ตำราพิชัยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์



ผู้เขียนได้เขียนเสร็จเรียบร้อย ในชื่อ "ตำราพิชัยสงคราม: บทวิเคราะห์ฉบับจังหวัดเพชรบูรณ์ 

August 2, 2011

งานไหว้ครู ของนักศึกษาหลักสูตรบัณฑิตบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ ม.เซนต์จอห์น

 เมื่อวันที่ 24 ก.ค.54 ที่ผ่านมา ผมไปร่วมงานพิธีไหว้ครูซึ่ง นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ จัดขึ้นโดยมี นายกสภามหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น เป็นประธานในพิธี แลพ ศ.ดร.สำเนาว์ ขจรศิลป์ ที่ปรึกษาคณบดีคณะศึกษา เป็นอาจารย์ผู้ใหญ่ร่วมด้วย














May 26, 2011

Top 20 Asian Universities Rankings in 2011



ผลการจัดอันดับ ปี 2011 ของ  QS Asian University Rankings.  20 อันดับแรก ของมหา'ลัยในเอเซียปี 2011 ปรากกฎว่า ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และ จีน กวาดหมด  ส่วนไทย มหิดล อันดับที่ 34  77.09 คะแนน และ จุฬา ฯ อันดับที่ 47  69.9 คะแนน




From : http://goo.gl/r4tF1