January 18, 2008

MBA - Case Study Technic

เรื่องราวของการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาโดยเฉพาะสำนัก MBA ของ Harvard ขึ้นชื่อลือชาว่าเชี่ยวชาญในการสร้าง Case Study เพื่อให้เหล่านักศึกษาชั้นนำจากทุกมุมโลกได้ขบคิดกันจนหัวแทบแตก
ในเมืองไทยมีการใช้ Case Study ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาบ้าง หรืออาจจะใช้ Case จากต่างประเทศ การที่จะพัฒนากรณีศึกษาจากธุรกิจไทยยังเป็นสิ่งที่ไม่เปิดเผยหรือไม่แพร่หลายมากนัก
ผู้ที่คิดและพัฒนาเทคนิคกรณีศึกษาคือ Cristopher Langdell ในปี 1880 สำหรับคณะนิติศาสตร์ของ Harvard Law School


* ผู้คิดสำคัญและการใช้กรณีศึกษา
- ในอดีต Harvard
- ปัจจุบัน Wharton School Method (Life Cases)
- Center European Education Permanents (การศึกษาแล้วกลับไปทำที่บริษัท)
- Henley Syndicate


* รูปแบบของกรณีศึกษาที่นิยมใช้กัน จะเป็นดังนี้
แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบของกรณีศึกษาจะมีโดยสรุปย่อๆ ดังนี้
1. กรณีศึกษาเชิงวิเคราะห์เหตุการณ์ (Critical Incident)
เป็นกรณีศึกษาที่มีลักษณะเป็นสถานการณ์หรือเหตุการณ์ปัญหาของบริษัทหนึ่งๆ อย่างสั้นๆ (เฉพาะที่เป็นปัญหา) จะไม่กล่าวลึกลงไปในรายละเอียดอื่นใดนอกจากข้อมูลพื้นฐานที่ก่อให้เกิดปัญหาเท่านั้น Case Study ลักษณะนี้ต้องการโซลูชั่นที่มี Impact ในทันที
2. กรณีศึกษาชนิดสมบูรณ์ (Comprehensive Case Study)
เป็นกรณีศึกษาที่ยากขึ้นโดยระบุรายละเอียดสำหรับการพิจารณาปัญหาและต้องตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาอย่างสมเหตุสมผล พร้อมแนวคิดหรือมีทฤษฎีสนับสนุน
Case จะมีรายละเอียดทั้งหมดของปัญหาไม่ว่าจะเป็น STEEP O มีระยะเวลาอันยาวนานและเหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกัน เปิดเผยให้ทราบถึงสถานการณ์ของปัญหาและต้นเหตุของปัญหาที่บางครั้งบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญในเรื่องก็อาจจะไม่ทราบถึงปัญหาบางด้าน
Case Study ในลักษณะนี้จะเน้นการวิเคราะห์องค์ประกอบที่ก่อให้เกิดปัญหา เช่น องค์กร สภาพทางสังคม การเมืองและพฤติกรรมของพนักงานหรือผู้บริหาร ซึ่งมีอิทธิพลต่อปัญหาหรืออาจจะต้องการคำตอบในลักษณะ Turnaround ธุรกิจก็เป็นได้

* ลักษณะฟอร์แมทของกรณี (Case) จะเป็นดังนี้


* ข้อเสนอแนะในการศึกษาและวิเคราะห์ Case Study
1) อ่านเรื่องราวทั้งหมด (คร่าว ๆ ก่อนและโดยละเอียด 2-3 ครั้ง)
2) ถ้า Case Study ยาวมากทำเป็นบันทึกย่อเรื่องที่สำคัญๆ หรือน่าสนใจเป็นพิเศษ อาทิ สำคัญ vs ปลีกย่อย
3) เขียนปัญหาออกมาให้ชัดเจน -วิเคราะห์ไม่ใช่เรียบเรียง
บุคคลหรือตัวเหตุการณ์ในเรื่อง ผู้วิเคราะห์จะต้องพิจารณาว่า
1. คิดอะไร และทำอะไร
2. ทำไมจึงต้องทำเช่นนั้น
4) นำเสนอหรือให้โซลูชั่นทางเลือกต่างๆ ที่บุคคลหรือตัวเหตุการณ์ในเรื่องสามารถจะเลือกตัดสินใจดำเนินการต่อไปได้
ขั้นนี้เป็นการระบุถึงองค์ประกอบที่สำคัญต่อการแก้ปัญหาใน Case Study
- แนวคิดที่จะนำมาใช้สนับสนุน
- สมมติฐานต่างๆ ของเรื่องที่ศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
5) ตั้งคำถามเกี่ยวกับ “แนวคิด” ข้างต้น
? มีทางเป็นไปได้หรือไม่
? มีผลได้และจุดอ่อนอย่างไร
? มีผลกระทบต่อกิจการหรือฝ่ายงานต่างๆ ในด้านใดบ้าง
? จะต้องการอะไรบ้างที่จะดำเนินการตามแนวคิดนี้ให้สำเร็จ

* สรุป Case Study ที่ดีต้องทำให้ผู้วิเคราะห์เกิดการค้นพบข้อความรู้พร้อมทั้งสามารถหยิบฉวยทฤษฎีหรือแนวคิดมาใช้กับ Case ได้อย่างเหมาะสม

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
Managing Director
DNT Consultants

******************************************

สำหรับ นศ. MBA วิชาการบริหารกลยุทธ


แนวทางสำหรับการวิเคราะห์กรณีศึกษา (Case Study Analysis Guideline)
1. Identifying = การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก หรือ STEEP O ด้วย SWOT Analysis
2. Problems/ Situation = การค้นหาปัญหา หรือ เหตุการณ์สำคัญ
2.1. ปัญหาสำคัญที่ 1 และสิ่งที่เป็นผลที่เกิดขึ้น
2.2. ปัญหาสำคัญที่ 2 และสิ่งที่เป็นผลที่เกิดขึ้นตามมา
2.3. ปัญหาสำคัญที่ 3 และสิ่งที่เป็นผลที่เกิดขึ้นตามมา(ถ้ามี)
3. Options = การกำหนดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
3.1. บรรยายรายละเอียดของทางเลือกที่ 1
- จุดเด่น - จุดด้อย
3.2. บรรยายรายละเอียดของทางเลือกที่ 2
- จุดเด่น - จุดด้อย
4. Decision=การตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด และการข้อเสนอในการนำไปปฏิบัติ
4.1. เหตุผลสำคัญต่อทางเลือก 4.2 ข้อแนะนำที่เหมาะสมกับทางเลือก
5. Summary=ข้อสรุปการวิเคราะห์ Case Study
6. ข้อมูลอ้างอิง (Reference)
7. ส่วนที่คิดว่าควรเพิ่มเติม (ภาคผนวก) ทางด้านเทคนิค
7.1. การวิเคราะห์ทางการเงิน ( Financial Analysis) 7.2 ข้อมูลอื่นๆ

No comments: