เมื่อพูดถึงเรื่องราวของการเรียน MBA มักเป็นอะไรที่อยูในใจคนครับ เพราะคนหัวทันสมัยหน่อย และพวกที่ต้องการเรียนรู้ทางธุรกิจอยากจะเรียน เพื่อเอา "ใบกระดาษ" มาตีราคาให้สูงขึ้น และความนิยมนี้ก็ดูจะไม่ลดค่าลงแม้แต่น้อย
ถ้าพูดถึงสถาบันทางการศึกษาที่เปิดโปรแกรมสอนด้านนี้ในปัจจุบันก็มีอยู่อย่างดาษดื่น สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา-มีบางกลุ่มเท่านั้นที่ยังยึดติดกับชื่อเสียงของ มหา'ลัย ว่าจะต้องเรียนที่นั่นที่นี่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีอะไรที่เลิศเลอ หรือ มีคุณค่าสูงส่งปานนั้น เพราะถ้าสุดท้ายคว้ากระดาษออกมาใบหนึ่ง แต่ไป ทำธุรกิจเจ๊ง ก็แทบอยากฉีกกระดาษตรามหา'ลัย นั้นทิ้งไปอย่างไม่แม้จะเหลือบมอง-บางกลุ่มก็ใฝ่ฝันข้ามน้ำข้ามทะเล อุตสาห์ไปร่ำเรียนมา ประสบความสำเร็จก็มี ไม่สำเร็จก็มี อย่างนั้นอะไรเป็นสิ่งที่บอกความสำเร็จจริงๆ ของการเรียน MBA
ประการแรก การประกวดแผนธุรกิจ ของ นศ.MBA คือ หนทางสู่ความสำเร็จจริงหรือ คงจะไม่ใช่ทางสำเร็จ แต่เป็นการสนองตอบ " ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ทาง MBA " และ การทำการตลาด แบบCSR (อยากรับผิดชอบต่อสังคม แต่ที่ไม่พูด ...โฆษณา บริษัท ครับ !) แต่โดใจ บิดามารดาของ นศ. เพราะมันดู ไฮโซอย่างไงอย่างงั้น ในข้อเท็จจริงแล้ว การทำแผนธุรกิจที่เป็นบทเรียนของ MBA นั้นถือเป็นสุดยอดของการบูรณาการความรู้ทั้งหมดที่เรียนมา1-2 ปี ในรั้วมหา'ลัย แต่ก็อย่างว่าครับ มหา'ลัย คือ มหา'ลัย ไม่ใช่โลกความจริงของธุรกิจ (โดยเฉพาะในประเทศไทย) แล้วการเรียนกรณีศึกษา ซึ่งอย่าง Harvard Business Schoolเรียกว่าเป็นเอกอุโฆษ ด้านนี้สามารถนำมาเป็นบทเรียนแห่งความสำเร็จของ MBA ในเมืองไทยได้หรือไม่ ในทัศนะของ ดร.ดนัย เทียนพุฒ ได้ครับ แต่ต้องเป็น Case ที่มีทุกระดับ และสอดคล้องกับบริบทของเอเซีย ไม่ใช่บ้าเรียนแต่ Case ของอเมริกาเท่านั้น GE สำเร็จอย่างไร Apple ทำไมออก iPhone ฯลฯ แต่สุดยอดจริง ๆ ไม่อยู่สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเพียงหนทางที่สวยหรูนั้นเพียงสายเดียว ยังมีอีกหนทางที่มหา'ลัยไทย ไม่อยากทำ คือ การให้ นศ.ทำวิจัย เพื่อสร้างความรู้ เพราะ อจ.ผู้สอนเองไม่ว่าจะจบดีกรีสูงสุดก็ทำวิจัยแทบจะเอาตัวไม่รอด จึงพยายามหลีกเลี่ยงการให้ นศ. ทำวิจัย (สิ่งนี้คือ การประกันมาตรฐานคุณภาพ ที่ดีกว่าสิ่งที่ทำกันใน ปัจจุบัน ทั้งSAR,QA...PMQA ที่ระห่ำทำกันด้วยระบบเอกสารที่เข้าใจว่านี่คือ คุณภาพการศึกษา)
ประการต่อมา เราจึงไม่พบว่ามี อจ...รศ....ศ .ทางจัดการธุรกิจของไทย สร้างทฤษฎีทางการจัดการธุรกิจ(มีแต่ ผศ. รศ. ที่แต่งตำราแบบตัดแปะ หรือ สำรวจตรวจสอบทฤษฎี ฝรั่งวนเวียนเป็นสุนัขไล่กัดหางตัวเอง นี่ละครับ การศึกษา MBA เมืองไทย)ส่วนใหญ่จะพึมพำ หรือ บ่นถึง " ผี ..ทางธุรกิจ " ตนนั้น ตนนี้ว่า ได้ว่าอะไรไว้บ้าง แบบนกแก้วนกขุนทอง หรือ กูรูใหม่ ๆๆ ว่าได้ว่าอะไรไว้บ้างอีกเช่นกันได้อย่างภาคภูมิใจว่าไม่ตกหล่นแม้กระทั่ง เศษเสี้ยว ของเดือนเกิด
ดังนั้น ไม่ว่าจะจบมาจากที่ไหน ศิษย์ใคร ไม่สำคัญ สำคัญแต่ว่า มีความเชี่ยวชาญทางธุรกิจแบบเคยทำจริงหรือไม่ (การเป็นที่ปรึกษาธุรกิจแบบ ที่มหา'ลัย นิยมทำกันนั้น เป็นเพียงการชะโงกเช้าไปดูธุรกิจ ไม่ได้ทำให้เข้าใจธุรกิจได้จริงๆ แต่ก็ดีกว่าไม่ทำ ) สร้างให้นศ. สามารถสร้างทฤษฎีใหม่ได้หรือไม่ หรือ รู้วิธีการสร้างทฤษฎี หรือ มีผลงานจากการประยุกต์ ทฤษฎีจน ปรับสมมติฐาน หรือ สร้างองค์ความรู้ (Body of Knowledge)ที่เหมาะสมในบริบททางธุรกิจของประเทศ จนก้าวเข้าไปยืนแข่งขั้นได้ในเวทีโลก
ประการสุดท้าย ต้องได้เรียนกับ ผู้ที่เชี่ยวชาญและลึกซึ้งทางธุรกิจ และการออกแบบวิธีการสอน แบบที่ธุรกิจใช้กันจริง ๆ จึงจะออกไปดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ มาตรฐานการศึกษา หรือ คุณภาพการศึกษา ไม่ได้อยู่ที่การทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา อจ.ที่ต้องจมปรักอยู่กับมหา'ลัยเพียงหนึ่งเดียวนับ 10 ๆ ปี(คิดแบบนักการศึกษาวัย 60-70 ปี ที่แล้ว -การศึกษาชราภาพ)อยู่ติดอันดับ 500 กว่า ๆ ของมหา'ลัยโลกแล้วภูมิใจในความสำเร็จของคุณภาพดังกล่าว
แท้จริงแล้วคุณภาพการศึกษาของ MBA'2007 ต้องอยู่ที่ "มหา'ลัย อจ. นศ. สามารถ ทำโลกธุรกิจให้เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่" มีเท่านั้นจริงๆ ครับ
Dr.Danai Thieanphut
Managing Director
No comments:
Post a Comment