January 18, 2008

Show Time..Open Session on Strategic Management Concept

เปิดฉากแรก...การจัดการกลยุทธ:Strategic Management โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ


ความเห็นของ ดร.ดนัย เทียนพุฒ ที่มีประสบการณ์ตรงในการจัดทำด้านแผนกลยุทธองค์กร การสร้างวิสัยทัศน์ธุรกิจและข้อความภารกิจ ( Creating Corporate Vision and Mission statement ) และได้พัฒนาสิ่งใหม่ขึ้นมาสำหรับธุรกิจในประเทศไทยคือ การวิเคราะห์ทัศนภาพ ( Scenario Analysis ) ที่จะนำไปสู่การวางแผนทัศนภาพ และการจัดทำวิสัยทัศน์และภารกิจที่ดีกว่าเดิม
รวมถึงการเป็นผู้ริเริ่มและบุกเบิกในวิธีการจัดทำกลยุทธแบบใหม่(New Strategic Management) บนพื้นฐานของแนวคิดใหม่ในระบบการวัดผลกลยุทธด้วย The Balanced Scorecard (BSC) and KPIs (Key Performance Indicators ) หรือ "การประเมินองค์กรแบบสมดุล (BSC)และ ดัชนีวัดผลสำเร็จธูรกิจ(KPIs)" พร้อมทั้งเพิ่มกลยุทธการวิเคราะห์ทัศนภาพเข้ามาพบว่า

ในการวางแผนองค์กร และกำหนดนโยบายธุรกิจ เป็นวิธีการ ในอดีตที่ใช้เมื่อประมาณ 20 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งในขณะนั้นสนใจทำกัน เพราะเป็นยุคสมัยของการตื่นตัวในการจัดทำ " แผนวิสาหกิจ " ( Corporate Planning)
และโรงเรียน/สำนัก MBA ในยุคนั้นจะมีการเรียนการสอนในวิชา " นโยบาย และ กลยุทธธุรกิจ " ( Business Policy & Strategy ) แต่ในสมัยนี้อาจจะดูเชยไปแล้วเพราะเป็นแนวคิดที่แคบ และมีจุดอ่อนมากมายในภาคปฏิบัติของธุรกิจ (สามารถศึกษาได้จากตำราประเภทประวัติศาสตร์กลยุทธ )

หลังจากนั้นเกือบสิบปีมีการเปลี่ยนแปลงในทางการวางแผนธุรกิจ โดยได้มองมิติของกลยุทธใหม่ในมุมที่แตกต่างออกไปจาก "แผนวิสาหกิจ " โดยเริ่มพิจารณาในลักษณะของ "การวางแผนกลยุทธ " ( Strategic Planning ) ซึ่งทำให้จำเป็นจะต้องพิจารณากลยุทธในรูปแบบของการจัดการเพื่อให้มีความครบถ้วนสมบรูณ์
นั่นจึงถือว่าเป็นการเริ่มย่างก้าวเข้าไปสู่แนวคิดของ "การจัดการกลยุทธ " ( Strategic Management )

การจัดการกลยุทธดังกล่าวจะมองเรื่องของกลยุทธธุรกิจในลักษณะที่เป็นระบบและมีมิติของความกว้างขึ้นใน 3
เรื่องด้วยกันคือ 1) การวางแผนกลยุทธ ( Strategic Planning) 2) การนำกลยุทธไปปฏิบัติ ( Strategic Implementation ) และ 3) การควบคุมกลยุทธ ( Strategic Controlling ) ซึ่งได้รับความสนใจและตำราส่วนใหญ่ทางกลยุทธโดยเฉพาะในประเทศไทยอาจจะ ยังไม่สามารถหนีออกไปจากมุมมองนี้ได้

จุดจบของการจัดการกลยุทธเริ่มส่อเค้ารางให้เห็น ดังนี้

1) มีการนำแนวคิดในเรื่องของการจัดทำ " วิสัยทัศน์ และ ภารกิจ " ( Vision & Mission Statement )
เข้ามาใช้ในธุรกิจ และพบว่า การวางแผนกลยุทธตามกระบวนการจัดการกลยุทธทั้ง 3 เรื่อง ไม่เพียงพอในการจัดทำวิสัยทัศน์ธุรกิจ และการเขียนข้อความภารกิจ แม้ว่าจะมีการนำเครื่องมือทางกลยุทธเข้ามาช่วยดำเนินการ เช่น การจัดทำ " SWOT Analysis " ธุรกิจจึงเริ่ม คิดใหม่ที่จะหาวิธีการที่จะดำเนินการให้สำเร็์จ
จึงเริ่มพูดถึงในเรื่อง "การคิดเชิงกลยุทธ" ( Strategic Thinking ) ( คนละเรื่อง กับ "ทักษะการคิด -Thinking Skills" และ "กลยุทธการคิด-Thinking Strategy" )

2) การควบคุมทางกลยุทธจะมีลักษณะของแนวคิดที่เหมือนกับวิธีการควบคุมข้อมูลทางบัญชี และ ระบบการรายงานการดำเนินงาน เสียมากกว่าการวัดผลความสำเร็จของกลยุทธ และ การนำกลยุทธไปสู่การปฏิบัติมักจะไม่สามารถกระจายลงไปสู่ระดับล่างได้อย่างเห็นผลจริง ๆ และการเชื่อมโยงกลยุทธหลักของธุรกิจก็ไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์

3) การจัดการธุรกิจได้ขยายขอบเขตกว้างมากขึ้นโดยเข้าไปสู่ มิติทางเศรษฐกิจ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ในระดับโลก การจัดการด้านทุนความรู้ ( Knowledge Capital Management ) การสร้างนวัตกรรมใหม่ ฯลฯ

ทั้งหมดนี้จึงเปรียบดังคลื่นแห่งสหัสวรรษ ที่ถาโถมเข้าใส่ธุรกิจและองค์ความรู้ทางกลยุทธธุรกิจ ซึ่งแม้ว่าจะมีการปรับตัวอยู่พอสมควรแต่ก็ไม่พ้นความล้าสมัยและไม่เพียงพอให้ธุรกิจหยิบองคความ์รู้นั้นไม่ใช้ได้อย่างทันใจธูรกิจ และเห็นผลความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็ว

ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง สำหรับนักกลยุทธ และ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการสอนวิชาการจัดการกลยุทธระดับบัณฑิตศึกษา ที่จะฉีกตำรากลยุทธแบบเดิมเพื่อก้าวไปสู่ การทำการจัดการกลยุทธแนวใหม่ หรือสอนวิชาการจัดการกลยุทธแนวใหม่ หรือ New Strategic Management
นี่คือ บทเริ่มแรกที่ ดร.ดนัย เทียนพุฒ กล่าวถึง การจัดการกลยุทธ ....ที่จะต้องเดินหรือ สร้างองค์ความรู้ใหม่ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจในศตวรรษที่ 21

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
Managing Director
DNTConsultants Co.,Ltd.

No comments: