March 6, 2009

ตำราพิชัยสงคราม : เจาะภูมิปัญญาไทย(3) โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

แรกมีตำราพิชัยสงครามไทย
           
        สิ่งที่ผู้เขียน สนใจและอยากรู้ว่าประเ ทศไทยเรามีตำราพิชัยสงครามจริง ๆ ตั้งแต่เมื่่อไหร่ ทั้งนี้จากการศึกษาและได้อ่านพงศาวดารประวัติศาสตร์ไทยหลายๆ ฉบับเพื่อศึกษาเกี่ยวกับตำราพิชัยสงครามที่จะทำให้เข้าใจเกี่ยวกับ  ยุทธศาสตร์ไทยโบราณ มีที่สดุดใจหลาย ๆ ประเด็นและที่ชวนแ ก่การค้นคว้าเป็นอย่างยิ่งใน 3-4 เรื่องคือ
        (1) ใครเป็นผู้เขียนตำราพิชัยสงครามของไทย
        (2) เราเริ่มมีและใช้ตำราพิชัยสงครามของไทยเมื่อใด สมัยใด
        (3) เราคิดขึ้นเองหรือ ปรับปรุงมาจากที่ใด
       และ (4) จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้ในยุคปัจจุบันได้หรือไม่
        
        เมื่อได้อ่านตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งถือว่าได้อ่านอย่างจริงจังและเปรียบเทียบกับหลาย ๆ ฉบับในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
       จนกระทั้งสามารถสรุปข้อความในตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์  ซึ่งเปิดเผยแพร่เมือเดือน ธ.ค.2551 ในโคลงสี่สุภาพ บทจบที่ว่า
         ..สมเด็จจักรพรรดิรู้     คัมภีร์
        ชื่อกามันทกี                  กล่าวแก้
         พิชัยสงครามศรี           สูรราช
         ยี่สิบเบ็ดกลแล้             เลิศให้เห็นกล

ถ้าถอดความและแปลออกมา   จะหมายความว่า ..สมเด็จจักรพรรดิ(หมายถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ตามเอกสารของสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร สมเ ด็จพระรามาธิบดีที่2 มีพระนามเ ต็ม คือ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชราเมศวรบรมนาถบรมบพิตร ) ทรงรู้ตำราพิชัยสงครามที่ชื่อว่า กามันทกี(นครอินเดียโบราณ หรือ ของคัมภีร์พิชัยสงครามจากเมืองกามันทกี)แล้วทรงแก้ไขตำราพิชัยสงครามของกษัตริย์ที่กล้าหาญ (สูรราช) มาเป็น ตำราพิชัยสงคราม กลศึก 21 กลศึก ในสมัยอยุธยาตอนต้น และได้ตกทอดมาถึงปัจจุบันทั้งในรัชกาลที่ 1 รวมถึงมีการชำระใหม่ในรัชกาลที่ 3  และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ที่เพิ่งเปิดเผยไม่นานนัก

การแปลความนี้เป็นครั้งแรกที่ผู้เขียนสรุปมาตามหลักฐานต่าง ๆ ที่แตกต่างไปจาก นักประวัติศาสตร์ชั้นครู
และผู้รู้ด้านตำราพิชัยสงคราม ในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งยังไม่เคยเห็นมีการแปลความในโคลงสีสุภาพบทนี้มาก่อนในที่ใด ๆ ทั้งสิ้น

และยังมีความเห็นแตกต่างออกไปอีกว่า 
"แรกให้ทำตำราพิชัยสงคราม" ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นั้น 

(จากพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยา ในเวบไซท์ของกรมศิลปากร)

ควรจะมีนัยสำคัญได้มากกว่าที่นักประวัติศาสตร์และนักการทหารไทยเข้าใจกันเกี่ยวกับต้นกำเนิด ตำราพิชัยสงครามของไทยโบราณ

ข้อพิจารณาใหม่เกี่ยวกับคำว่า "แรกให้ทำตำราพิชัยสงคราม"

                 ตามที่กล่าวไ ว้ข้างต้นว่าหนังสือพระราชพงศาวดารทุกฉบับจะบอกว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แรกให้ทำตำราพิไชยสงคราม"  นั้น
                 1.ตำนานหนังสือตำราพิไชยสงคราม ของสมเ ด็จพระเจ้าบรมวงค์เ ธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เขียนไว้ว่า
                 "อันหนังสือตำราพิไ ชยสงครามนี้ ปรากฎใ นหนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวว่า "สมเด็จพระรามาธิบดี(พระองค์ที่ 2) แรกให้ทำตำราพิไชยสงคราม" เมื่อปีมะเมียสัมฤทธฺศก(พ.ศ.๒๐๔๑) และมีเค้าเงื่อนเป็นที่สังเกตว่า ดูเหมือนสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะได้ให้แก้หรือเพิ่มเติมตำราพิไชยสงครามของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 อีก ครั้ง ๑ เห็นเค้าเงื่อนข้อนี้ ด้วยปรากฎแผนที่เมืองพิษณุโลกอยู่ในตำราพิไชยสงคราม  ....  ในเวลาเมื่อได้ทรงศึกษาทราบตำราพิไชยสงครามของพม่ามอญแล้ว จึงมาคิดชำระตำราพิไชยสงครามไทยให้ดีทันสมัย เช่นกระบวนใช้ปืนไฟใหญ่น้อยเป็นต้น ด้วยในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงแต่งตำราพิไชยสงครามยังหาชำนิชำนาญการใช้ปืนไฟไม่ ภายหลังครั้งสมเด็จพระนเรศวรฯมาก็เห็นจะมีการตรวจแก้และเพิ่มเติมตำราพิไชยสงครามอีก.....

                  2.หนังสือกรุงศรีอยุธยาของเราโดย ศรีศักร วัลลิโ ภคม (พิมพ์ครั้งที่ 7 , 2548) กล่าวไว้ว่า
" ตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ลงมากรุงศรีอยุธยาเข้าสู่ยุคทองของศิลปะและวิทยาการ
มีการค้าขายกับชาวยุโรป ผลคือ มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างป้อมปราการ  การสร้างอาวุธปืน และวิทยาการที่เกี่ยวกับการสงคราม เกิดระบบการจัดการทางทหาร การสำราจสารบาญชีพล การเขียนและการเรียนรู้ตำราพิชัยสงครามขึ้น" (หน้า 36)

                   ความเห็นในเรื่องดังกล่าวของผู้เขียน
                   ประการแรก  คำว่า แรกให้ทำ หมายความอย่างไรในสมัยอยุธยา 
                    ตามหนังสือ "คำให้การชาวกรุงเก่า " เป็นหนังสือบันทึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาที่ได้มาจากพม่า  พิมพ์ครั้งที่ 2 2468 (พิมพ์ใหม่  2544)
                    จะใช้คำว่า "แรก" ดังนี้ 
                     1) เรื่องพระร่วงสุโขทัย
                         พระเจ้าสุริยราชาเมื่อรกได้ราชสมบัติ พระชนม์ได้ 20 พรรษา 
                     2) พระเจ้าอินทปรัสถ์ผู้สืบพระวงค์พระเจ้าปทุมสุริยวงค์นั้น เมื่อแรกได้ครองราชสมบัตินั้นพระชนม์ 25 พรรษา ลุศักราช 566
                       ซึ่งทำให้ตีความได้ว่า แรกได้ เป็นวันแรกที่ครองราชนั้นมีพระชนมมายุ เท่าไหร่ คงไม่ได้หมายความว่าได้ราชสมบัติคนแรก

                     ในหนังสือ The short history of the Kings of SIAM 1640 By Jeremias Van Vliet 
                     ใช้ในภาษาแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า He was the first who established the large feasts and the game days (อ้างจาก  Van Vliet's Siam  by  Chris Baker et al,2005) 
                     โดย พลตรี หม่อมราชวงค์ ศุภวัฒย์ เกษมศรี แปล (จากต้นฉบับ) ว่าพระองค์แรกให้มีการพระราชพิธีใหญ่ และ วันการละเล่นขึ้น (พระราชพิธีโล้ชิงช้าในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2)
                      ลักษณะนี้หมายความว่าพระองค์เป็น คน(พระองค์)แรกที่ให้มีการทำ

                      สรุปที่ใช้ คำว่า " แรกให้ทำ  หรือ แรกให้มี น่าจะเป็น สิ่งแรกที่ทำในเฉพาะรัชกาลหรือสมัยของพระองค์ ซึงอาจจะไม่จำเป็นต้องเริ่มแรกในเมืองสยาม หรือประเทศไทย"
                 
                      ประการที่สอง ในความจริงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น  ยังมีตำราพิชัยสงครามมาก่อนสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
                      เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผู้เขียนอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งที่ไม่เคยมีการกล่าวถึงมาก่อน แต่มีหลักฐานยืนยันได้
                       จาก "ลิลิตยวนพ่าย หรือ โคลงย่วนพ่าย" เพื่อยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในคราวที่ยกทัพไปตีและปราบปรามพระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองเชียงใหม่จนพ่าย(ยวนพ่าย-โยนก)
                       โดยเนื้อหาของโคลงยวนพ่าย จะพรรณาถึงการทำสงครามตามหลักตำราพิไชยสงครามใน 3 ลักษณะด้วยกัน(ตัดตอน อธิบายเฉพาะการทำสงคราม)
                       1) การอธิบายถึง "หลักแ ห่งกลศึก หรือ กลยุทธการทำสงคราม" ดังโคลงต่อไปนี้
                          ศักดานุภาพแกล้ว              การรงค   รวจแฮ
                    สบสาตรตราคมสรรพ              ถ่องถ้วน
                    สรรเพชญแกว่นการทรง           สรรพสาตร
                    สบสิพาคมล้วน                        เลิศถมา ฯ

                           การช้างพิฆเนศรน้าว         ปูนปาน  ท่านนา
                   อัศวทำนยมกลางรงค               เลิศแ ล้ว
                   การยุทธช่ยวชาญกล                 กลแกว่น (แปลว่า กลเก่งกล้า)
                   ไกรกว่าอรชุนแก้ว                      ก่อนบรรพฯ 

                           กลริรณแม่นพ้ยง                พระกฤษณ
                   กลต่อกลกันกล                          กยจกั้ง (แปลว่าทรงใช้กลวิธีตอบโต้กลวิธี)
                   กลกลตอบกลคิด                       กลใคร่  ถึงเลย
                   กลแต่งกลตั้งรี้                           รอบรณ ฯ

                         เชองแก้เศอกใหญ่ใ ห้          หายแรง    รวจแฮ
                   เชองรอบรายพลชุก                   ซุ่มไว้
                   เชองเสอกสั่งแสวงเชอง            ลาลาด  ก็ดี
                   เชองชั่งเสียได้รู้                         รอบการย ฯ
    
                             2)การอธิบายถึง "หลักแห่งยุทธวิธี หรือ อุบายการสงคราม"
                                ดังตัวอย่างของโคลงต่อไปนี้
                                 เชองเข้าเชองออกอ้อม        เอาศึก   ก็ดี
                     พระสั่งสบเชองชาย                          ถี่ถ้อย
                     พระญาณพันฦกนิ์ฦก                         ชลธิศ   ทยมฤๅ
                     ตรัสแต่งพลน้อยให้                          คลี่คลา ฯ

                              3) การอธิบายถึง "การจัดกระบวนทัพ ทัพช้าง  ทัพม้า และ พลทหาร และทัพเรือ"
                               ดังตัวอย่างโคลงต่อไปนี้
                                 ช้างม้าเ ดียรดาษซ้าย          แซมขวา
                     หลังก่อนเป็นชนัดชนัน                      อยู่ยั้ง
                     อาวุธมลังเมลืองอา                          ภาเพรอศ   พรายแฮ
                     เสโล่หแพนดั้งตั้ง                              แ ห่แหน
                                  
                                  แวดในแวงนอกซ้าย            ขวาชนัน
                    ชนัดดาบเงินทองพราย                      เพรอศฟ้า
                    ดากันเกือบกันกรร                              กรีราช
                    เรืองซ่นเรืองก้อมผ้า                         ไ พร่แพรฯ
                 
                           พวกพลช้างต้นแต่                       ตัวหาญ
                    พันหนึ่งนับเปนหัว                               เชือกชี้
                    แก้วจักรรัตนชาญ                                ชยเ ดช
                    ทนหอกปืนป้องพี้                                เฟื่องบรฯ

                            แต่พลม้าแล้วเลิส                        สรวงสวรรค์
                    เบญจสัตสังขยา                                  คล่าวคล้อย
                    สยามกรรณ์สุพรรณหงษ์                     ขยนแข่ง    งามแฮ
                    สรรพแคบหมอนทองห้อย                   ภู่พรายฯ

                             รายเรือแผดงคู่ถ้วน                     แถวคับ   คั่งแฮ
                     สยงสรางชิงไชย                                 ชื่นผ้าย
                     เรือโยงแย่งโยงตับ                              แต่งต่อ   กันแฮ
                     หลังก่อนขวาซ้ายซ้อง                         แหล่เ หลือ ฯ 
  
                             4) อธิบายถึง "การทำสงคราม   หรือ  เนื้อหาแ ห่งการรบ"       
                              5) อธิบาย ถึง  " การดูฤกษ์ยาม และนิมิตแห่งการเคลื่อนทัพหรือ การเข้าตีข้าศึก"

                       ทุกท่านสามารถศึกษา  ลักษณะ ของตำราพิชัยสงครามจาก โคลงยวนพ่ายได้(แต่เป็นภาษาโบราณต้องทำความเข้าใจ)
                        ประการที่สาม  ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็มีปืนไฟใช้แล้ว
                         ที่กล่าวกันว่า การใช้ปืนไฟเพิ่งจะมีในสมัยสมเด็จพระนเรศวรฯ นั้นความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
เพราะ ตามโคลงยวนพ่าย หรือ ลิลิตยวนพ่าย(ภาษาชาวบ้าน) ปรากฎว่าทหารมีการใ ช้ทั้งปืนไฟ แ ละปืนใหญ่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  และในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 มีการค้าขายกับยุโรป ก็มีหลักฐานว่าปืนเหล่านี้ก็มีใช้กันแล้วไม่ใช่เพิ่งจะมีในสมัยปี  พ.ศ.2310
                          สำหรับโคลงยวนพ่ายที่กล่าวถึงการใช้ปืนไฟ มีดังนี้

                            ปืนอยาอย่าเบื่อง้วน              ขืนเขม  แต่งแฮ   
                      หอกดาบแหลนหลาวหลาย         ส่ำ่แกล้ว
                      ปืนไฟร่อรูเตม                             ตับอยู่
                      อำมรารยงร้อยแ ล้ว                    เขื่อนขนัน ฯ

                       ดังนั้นน่าจะเป็นข้อยุติได้ว่า ตามโคลงยวนพ่าย ที่แต่งชึ้นในยุคนั้นโดยผู้แต่งที่ไม่ปรากฎชื่อว่า  เป็นผู้ที่มีความรู้ในตำราพิไชยสงคราม  แสดงให้เห็นข้อสรุปคือ
                       "กรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นั้นมีตำราพิไชยสงครามอยู่ก่อนแล้ว และครบถ้วนกระบวนความทั้ง  ว่าด้วยการสงคราม   กลศึก   ยุทธวิธี หรือ อุบายแห่งสงคราม  กระบวนการจัดทัพ   ทั้งช้าง ม้า พลทหาร แ ละทัพเรือ  และ การดูนิมิตฤกษ์ยาม"  เพียงแต่อยู่ในรูปโคลงยวนพ่าย  หรือ อาจจะเรียกว่า   ตำราพิไชยสงครามโคลงยวนพ่าย

                      และคำว่า " แรกให้ทำตำราพิไชยสงคราม" ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 น่าจะเป็น  ฉบับตำราพิไำชยสงคราม คำกลอน ที่มี 21 กลศึก ซึ่งพระองค์ทรงแก้ไขและปรับปรุงให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะไม่ได้กล่าวอ้างถึง มหากาพย์มหาภารตะ  ที่มีปรากฎว่าเป็นหลักพื้นฐานแห่งตำราพิไชยสงครามในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่่งเป็นความแตกต่างที่ขัดเจนระหว่าง  
"ตำราพิไชยสงครามโคลงยวนพ่าย" กับ "ตำราพิไชยสงคราม คำกลอน 21 กลศึก ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 "  ดังที่ให้ความเห็นประกอบมาทั้งหมดข้างต้น


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ