December 13, 2014

การบุกเบิกพรมแดนแห่งความรู้ : Pioneering the Frontier of Knowledge


              หนังสือใหม่ในปี 2558 สำหรับ  ผู้ที่สนใจ การวิจัยและพัฒนา (โมเดลและกลยุทธการทำวิจัย)  แนวคิดการทำวิจัยทั้งวิทยานิพนธ์-ดุษฎีนิพนธ์ และ การเขียนบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ
(จำหน่าย แล้ว ราคา 260 บาท  ค่าส่ง 40 บาท )



หนังสือ เล่มนี้มีอะไร 
                       
ถอดบทเรียนการวิจัยชุดที่ 1 : การวิจัยบุกเบิกความรู้             
1. คุณค่าความสำคัญของการวิจัย                                   
2. วงล้อวิจัย : หมุนทับรอยเดิมหรือสร้างรอยใหม่                
3. วิจัยเพื่อพัฒนาโมเดลใหม่หรือรูปแบบใหม่  (New Model)                          
5. R&D สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่                                            
6. R&D Strategy                                                          
 7. วิสัยทัศน์การวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการธุรกิจ     
              
 ถอดบทเรียนการวิจัยชุดที่ 2 : การเขียนความรู้ใหม่ (Dissertation)            
9. ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน (ของผู้เรียน)  ในระดับดุษฎีบัณฑิต 
10.เมื่อนักศึกษาอยากทำงานวิจัย (Thesis/Dissertation)  
11.การพัฒนาโมเดล ..งานวิจัยระดับดุษฎีบัณฑิต           
12.บทเรียน การเขียนความรู้ใหม่ จากของจริง                 
13.อิทธิบาท 4 กับการวิจัย                                               

ถอดบทเรียนการวิจัยชุดที่ 3 : Manuscript Submission          
15.JKM กำหนดการเขียนบทคัดย่อ (Abstract) ไว้อย่างไร?   
16.การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารนานาชาติ เราเริ่มต้นอย่างไร? 
17.นักวิจัย : ค่า Impact Factor ค่าชีวิตนักวิจัย                  
18.Review Reports อีเมล์ตอบกลับจาก   บรรณาธิการวารสาร JKM  
19.Revision Revision!! การแก้ไขบทความวิจัยจากความเห็นผู้ประเมินอิสระของ JKM
20. Decision on Manuscript                                        
บทสรุป ท้าทายต่อการพัฒนาความรู้ให้ลุ่มลึก                     
อ้างอิง                                                                                     

สนใจสั่งซื้อได้ เขี่ยนเพิ่มในรายการสั่งซื้อ 
คลิก  ที่น่ี่ ใบสั่งซื้อ  (จำหน่าย แล้ว ราคา 260 บาท  ค่าส่ง 40 บาท )
ติดต่อคุณธิติรัตน์ โทร 081-8338505


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

November 27, 2014

การบุกเบิกพรมแดนแห่งความรู้


(จำหน่าย แล้ว ราคา 260 บาท  ค่าส่ง 40 บาท )

บทนำ: การบุกเบิกพรมแดนแห่งความรู้

                ความท้าทายอย่างหนึ่งในการทำงานเกี่ยวกับวิจัย น่าจะเป็นการเขียนประสบการณ์ซึ่งถอดออกมาจากช่วงเวลาของการทำวิจัยตลอดโครงการ หรือแม้กระทั้งการทำงานร่วมกันระหว่าง อาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต ให้เป็นบทเรียนเพื่อการเรียนรู้
                ทำไมผู้เขียนถึงอยากพูด อยากเขียนเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้ (Body of Knowledge) หรือไปไกล ๆ ที่เรียกว่า “การบุกเบิกพรมแดนแห่งความรู้ (Pioneering Frontier of Knowledge)” เพราะได้เห็น “การพัฒนาวิธีการสร้างทฤษฎีของต่างประเทศ”  โดยเฉพาะจากสถาบันการศึกษาและวารสารชั้นนำระดับโลกเช่น  Academy of Management  (สามารถศึกษาได้ จากเวบไซท์ของ AOM ) ส่วนตัวอย่างของ
การสร้างทฤษฎี  ผู้เขียนนำมาจาก   COPENHAGEN BUSINESS SCHOOL วิชา Theory Building at the Intersections of Organizing and Communication  ( http://www.cbs.dk/en/theory-building-the-intersections-of-organizing-and-communication)  เช่น
                -บทนำสู่ทฤษฎี : ทฤษฎีคืออะไร และทำไมเราจึงต้องสนใจ
                -กระบวนการสร้างทฤษฎี (The Theory-Building Process)
                -อะไรคือ ทฤษฎี (การจัดการ) (What is (Management) Theory?)
                - โมเดลของการอธิบาย  กลไก และบทบาทของข้อตกลงเบื้องต้น
                -การนิยามสร้างและการวัดทฤษฎี
                -โมเดลสาเหตุ  โมเดลภาคตัดขวางและโมเดล
                - มุมมองด้านเครือข่ายและการศึกษาองค์กร
                -ทฤษฎีพหุระดับ : ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างทฤษฎีในระดับที่แตกต่างกัน
                -ทฤษฎีใหม่เกิดมาได้อย่างไร : ทำอย่างไรให้เกิดการรังสรรค์
                การสอนในประเด็นข้างต้น ต้องยอมรับว่าไม่เคยได้ยิน หรือ มีการพูดกันน้อยในระบบการศึกษาของไทยเรา แต่มักจะได้ยินการกล่าวถึงทฤษฎีต่าง ๆ ที่ได้มีการพัฒนาในโลกวิชาการ หรือ เป็นกรณีตัวอย่างกันมาอย่างมากมายและภาคภูมิใจที่ได้พูดถึง หรือ การได้ทำวิจัยตรวจสอบว่าสามารถนำมาใช้ในบริบทของสังคมไทย หรือ ใช้บริหารจัดการข้ามวัฒนธรรมได้ 
                หากไม่มีการศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อการสร้างทฤษฎีใหม่  แม้ว่าเรา (หน่วยงานรัฐด้านนโยบายการวิจัยของประเทศ) พยายามทุ่มงบวิจัยอย่างมาก เพื่อให้ศาสตราจารย์ทางสายวิทยาศาสตร์พยายาม คิดค้นและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่  แต่ไม่แน่ใจว่าเราจะก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี ได้อย่างประเทศเกาหลีใต้ได้ทันไหม (แม้จะไม่ได้ผลเร็วก็ดีกว่าไม่ทำในปัจจุบันนี้)  ในขณะที่ประเทศจีนกลับคิดตรงกันข้าม ได้บอกว่า การส่งคนไปเรียนปริญญาเอกในต่างประเทศแม้ว่าจะยังจำเป็น แต่ใช้เวลานานมากในการให้ คนที่จบปริญญาเอกกลับมาสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ และ ก็มีธรรมชาติของการทะเลาะกัน ต่างคนต่างเดิน  เป็นการสูญเสียเวลาของประเทศ จีนเลือกใช้วิธีการที่รวดเร็วกว่าในการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีคือ การเข้าไปกว้านซื้อหรือควบรวมกิจการ (M&A) บริษัทเทคโนโลยีในโลกนี้ดีกว่าโดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีในเยอรมัน ในด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์ของอุตสาหกรรม  ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์พลังงานกลับมาใช้ใหม่  อิเลคทรอนิกส์    เคมี พลาสติกและยาง

                  ในเดือน มกราคม 2012  LDK Solar ผู้ผลิตแผ่นพลังงานแสงอาทิตย์ ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน เข้าไปซื้อ Sunways หนึ่งในผู้ผลิตแผ่นพลังงานแสงอาทิตย์ของเยอรมันซึ่งมีปัญหากับการต่อสู้ในการแข่งขันจากคู่แข่งเอเชีย Sany Heavy Industry ตกลงซื้อ  Putzmeister Holding  ผู้ผลิต cement-pump ที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมัน ด้วยมูลค่า  653  ล้าน US ดอลลาร์ พร้อมหนี้เสีย  และ XCMG ผู้ผลิตเครื่องจักรก่อสร้าง ได้เข้าไปซื้อ Schwing ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของ Putzmeister (อ้างจาก http://www.businessweek.com/articles/2012-06-14/china-goes-shopping-for-german-factories)
               ทั้งหมดนี้กำลังบอกทิศทางใหม่ ในการเรียนลัดสำหรับประเทศเกิดใหม่ เช่น  จีน ซึ่งร่ำรวยขึ้นมาและใช้วิธีการ “การซื้อและควบรวมกิจการ (M&A)”  เป็นการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี (แต่จีนก็น่าจะมีเทคโนโลยีระดับหนึ่งที่จะต่อยอดได้มิฉะนั้นได้เทคโนโลยีมาก็ไม่มีประโยชน์อะไร)
               แล้วประเทศไทยเราจะสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี และการสร้างองค์ความรู้แบบใดสำหรับการแข่งขันที่จะเหมาะสมกับเรา  คงต้องช่วยกันคิดใหม่  คิดต่างจากที่ยังไม่เคยคิด และคงเดินในเส้นทางที่คุ้นเคยไม่ได้อีกต่อไปแล้ว


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

October 31, 2014

การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารนานาชาติ ตอนที่ 3 ( เราเริ่มยังไง)


             ในคราวก่อน ได้ย้อนนึกถึงตอนที่  JKM (Journal of Knowledge Management) กำหนดเงื่อนไขในการเขียนบทคัดย่อ  พร้อมกับยกตัวอย่างให้ทุุกท่านที่สนใจได้เห็นเป็นแนวทางแต่ก็ไม่ได้อธิบายอะไร
              บทคัดย่อในทั้งหมด 7 หัวข้อ  มีบังคับ 4 หัวข้อซึ่งต้องมี คือ
            Purpose (วัตถุประสงค์) , Design/methodology/approach (แบบแผนการวิจัย/ระเบียบวิธีวิจัย/วิธีการที่ใช้)  , Findings  (ข้อค้นพบ)  และ Originality/value  (ความใหม่/คุณค่า )
           
            ส่วนที่เหลืออีก 3  เป็น  Research limitations/implications  (ข้อจำกัดของการวิจัย/ การนำไปสู่การใช้) , Practical implications  (การสามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติจริง), and Social implications  (การสามารถนำไปใช้ทางสังคม)  สามารถละไว้ได้ถ้าไม่ได้มีการศึกษาไว้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

(*อ้างจาก http://www.emeraldgrouppublishing.com/authors/guides/write/abstracts.htm?part=1#2)
         
          1.วัตถุประสงค์ (Purpose)
            อะไรคือเหตุผลในการเขียน บทความ หรือจุดมุ่งหมายของการวิจัย

          2. แบบแผน/ระเบียบวิธีการวิจัย/วิธีการที่ใช้ (Design/methodology/approach)
          วัตถุประสงค์ประสบความสำเร็จได้อย่างไร? รวมถึงวิธีการหลักที่ใช้ในการวิจัย  อะไรคือ วิธีการตามหัวข้อเรื่ิอง  และ สิ่งที่เป็นทฤษฎีหรือขอบเขตของเรื่องในบทความ?
       
           3. ข้อค้นพบ (Findings)
           อะไรคือสิ่งทีค้นพบจากการศึกษาในครั้งนี้  ซึ่งจะต้องอ้างอิงถึง การวิเคราะห์  การอภิปรายผล หรือ ผลลัพธ์ 


           4. ข้อจำกัดของการวิจัย /การสามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติจริง (ถ้ามี)  (Research limitations/implications) (if applicable)
            ถ้าเป็นการวิจัยที่จะมารายงานในบทความนี้ ต้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว และควรมีข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคต  และควรบอกข้อจำกัดในกระบวนการวิจัยไว้ด้วย


            5. การสามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติจริง (ถ้ามี) (Practical implications ) (if applicable) 
           ต้องระบุว่ามี ผลได้ (Outcome) และการสามารถนำไปปฏิบัติ  การประยุกต์ใช้ และผลต่อเนื่องที่ตามมาอะไรบ้าง  การวิจัยจะมีผลกระทบกับธุรกิจหรือองค์กรอย่างไร  การเปลี่ยนแปลงอะไรในการปฏิบัติที่ควรจะทำซึ่งเป็นผลมาจากการวิจัยในครั้งนี้ได้   อะไรตือผลกระทบในเชิงพาณิชย์หรือทางเศรษฐกิจ   บทความทั้งฉบับคงไม่ได้มีผลกระทบในทางปฏิบัติได้ไปเสียหมด


            6.การสามารถนำไปปฏิบัติได้ทางสังคม (ถ้ามี)  (Social implications) (if applicable) 
            สิ่งใดที่จะเป็นผลกระทบต่อสังคมจากการวิจัยครั้งในนี้   แล้วจะมีอิทธิพลต่อทัศนคติของประชาชน  จะมีผลต่อ ความรับผิดชอบต่อสังคม (ขององค์กร) หรือประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม  จะแจ้งให้ประชาชนอย่างไร หรือ นำไปสู่นโยบายด้านอุตสาหกรรม อาจจะมีผลต่อคุณภาพของชีวิตอย่างไร บทความทั้งฉบับคงไม่ได้นำไปใช้ปฏิบัติทางสังคมได้ไปเสียหมด 

            7.ความใหม่ /คุณค่า (Originality/value) 
             อะไรคือสิ่งใหม่ในบทความนี้   ชี้ให้เห็นคุณค่าของบทความ และต่อใคร 

              ความจริงแล้ว ทั้งหมดก็ดูไม่ยาก  แต่ทำจริงค่อนข้างยาก เพราะ บังคับรวมทั้งหมดบวก คำสำคัญ (Key words) ไว้ไม่เกิน 250 คำ  
             
             1ในการทำจริง ของการเขียนบทความวิจัย โดยเฉพาะ บทคัดย่อ นั้นทำที่หลังจากการเขียนบทความทั้งหมดเสร็จแล้ว ใช่หรือไม่  เพราะตามที่มีการบอกต่อ ๆ มา (บรรยาย) หรือ เอกสารที่เผยแพร่ ทั่วไปบนอินเตอร์เน็ต บอกไว้เช่นนั้น

              สำหรับ ผู้เขียนและคณะวิจัย ไม่ได้ได้ทำอย่างนั้น เราเขียน บทคัดย่อ (Abstract)  ในภาษาอังกฤษก่อนเนื้อหาครับ  เราไม่ได้เก่งกว่า แต่เรามีต้นทุนที่ดีกว่า เท่านั้นเอง เพราะเราทำ Proceeding  ในงานประชุมทางวิชาการงานวิจัยระดับประเทศและนานาชาติมาก่อน ครับ 

              2. เราไม่ได้ทำตาม ที่แบบ บอก ๆ ๆ กัน มา หรือ ที่มีเขียนกันไว้อย่างมากมาย ตามที่บอกไปแล้ว  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ได้ศึกษา บทเรียนของแต่ละท่านเหล่านั้นนะครับ   เพราะเราคิดไว้คนละอย่าง อาจไม่เหมือนรุ่นก่อน ๆ ครับ


             แล้วเราเริ่มอย่างไร       เราถูกบังคับไว้ว่าจะต้องตีพิมพ์ผลงานในวารสารนานาชาติ  
            ผู้เขียนเชื่อว่าหาก ท่านอยู่ในวงวิชาชีพของท่าน วารสารนานาชาติอะไร ที่ดัง ๆ และท่านใช้ค้นคว้า เป็นประจำอยู่แล้ว แค่ค้นนิดเดียวก็ทราบ Impact factor  จึงอาจไม่จำเป็น (ก็ได้ เพราะวารสารนั้นดังอยู่แล้ว เช่น   The Academy of Management Journal (AMJ) ใครได้ตีพิมพ์ก็สุดยอดแล้ว  (ไม่ต้องไป เช็ค Impact factor ให้เสียเวลา ปัจจุบันถ้าอยากทราบมีค่า 4.974 )

            อย่างแรก เราไม่ได้เริ่มว่าจะตีพิมพ์ วารสารอะไร มี Impact factor เท่าไหร่   เราต่างกันครับเพราะเรารู้แต่ต้นแล้วว่า ถ้าเป็นงานด้าน "กลยุทธการจัดการทุนมนุษย์" ควรจะตีพิมพ์ในวารสารอะไร ส่วน Impact factor  บอกตรง ๆ เราไม่ได้สนใจหรอกครับ เรามาดูกันทีหลังว่ามากน้อยแค่ไหน อย่าง JKM มีค่า 1.257 ครับ

          




            แต่เราคิดแนวทางตามรูปครับ โดยเริ่มตั้งแต่ ทำโครงร่างการวิจัย (Research proposal) เราก็คิดแล้วว่าถ้าหากต้องตีพิมพ์ จะตีพิมพ์วารสารนานาชาติอะไร  ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาชีพของเรา (เป็นไอเดียเริ่มต้น เพราะเราคุ้นเคยทั้งการสืบค้นและการอ่านอยู่แล้วเป็นเบื้องต้น)

           ต่อมา ในการออกแบบวิจัย (Research Design) เราคิดแต่แรกว่าจะมีแบบแผนการวิจัยอย่างไร จึงตอบวัตถุประสงค์และ เป็นสิ่งที่แตกต่างจากที่เคย ๆ ทำกันมา 
           ในไอเดียของผู้เขียน คิดในลักษณะของ "การวิจัยและพัฒนา (R & D) " หรือ ไม่เต็มรูปก็ใกล้เคียงครับ  ทำให้แบบแผนการวิจัยเราโดดเด่น และไม่จำเป็นต้องใช้สถิติชั้นสูง (แบบที่ชอบอ้างกันว่า หากใช้สถิติขั้นสูง โอกาสการได้รับการพิจาณาตีพิมพ์ จากวารสารนานาชาติจะมีมากขึ้น ซึ่งไม่จริงเสมอไป ครับ)
          แต่ที่เราทำมากขึ้นคือ  การหาวิธีการ นำสู่การปฏิบัติได้ในองค์กร (Practical Implication) ทำให้งานวิจัยไม่อยู่บนหิ้ง และ ได้ผู้ใช้ระดับตัดสินใจของหน่วยงาน พิจารณาความเหมาะสมสู่การปฏิบัติ

          ในงานวิจัยเรื่อง "กลยุทธ์การจัดการทุนมนุษย์สำหรับมหาวิทยาลัยใหม่ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต"  หลังจากดำเนินการเสร็จเรียบร้อย เราได้นัดนำเสนอท่านอธิการบดี ในขั้นต้น และนำเสนอทีมบริหารมหาวิทยาลัย ทั้งอธิการบดี รองอธิการบดี  ที่ปรึกษา   ผอ.สนอ.  และ ผอ.กองบริหารงานบุคคล ทำให้ด้าน การสามารถนำสู่การปฏิบัติ มีความเหมาะสมมากขึ้น
          ซึ่งทำให้ในการเขียน ส่วนนี้ในบทคัดย่อ ไม่ใช่เรื่องยาก

          สุดท้าย เราคิดกันว่า ทำอย่างไร ผลการวิจัยจึงจะเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ไม่ใช่แต่แค่ในเพียงมหาวิทยาลัย (มสด.) ของเราเท่านั้น  เราจึงหาเวที่ งานประชุมวิชาการงานวิจัยระดับประเทศและนานาชาติ (International Conference) เพื่อไปนำเสนอผลงาน (Proceeding)  ผลที่ได้รับ คือ
          1) งานวิจัย มีผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาให้ความเห็นว่าเป็นอย่างไร  หรือพูดง่าย ๆ คุ้มค่าที่ไปนำเสนอเพราะได้ประเด็นการเสนอแนะของงานวิจัยทั้งหมด
           2) บทความวิชาการภาษาไทย  ได้เกิดขึ้น เพื่อนำเสนอให้ คณะกรรมการพิจารณารับเข้านำเสนอผลงานวิจัยในการประชุม  (เท่ากับเราได้ซ้อมมือทำบทความวิจัย ไปล่วงหน้าแล้ว และ ต้องดีระดับหนึ่งด้วย)
       
           ซึ่งผลที่ได้ เรามองในเชิง  "Value Implication"  ที่เราคิดกันในทีมวิจัยครับ

          ทั้งหมดนี้ คือ วิธีคิดของทีมวิจัยเรา ในการเตรียมการสู่ "การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารต่างประเทศ (ระดับนานาขาติ) "      

ปล. ตอนก่อนหน้านี้
1.  การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารนานาชาติ-ตอนที่ 1 จะส่งที่ไหนดี
2.  JKM กำหนดการเขียนบทคัดย่อ (Abstract) ไว้อย่างไร


         ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

October 26, 2014

การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารนานาชาติ-ตอนที่ 1 จะส่งที่ไหนดี


               งานวิจัย  ...ชื่อนี้  เรื่องนี้ จับทีไร ก็รู้สึกว่าจะยากไปเสียทุกครั้ง (แล้วคนที่ไม่ชอบเลยละ...คงสุดจะบรรยาย)  คงต้องอาศัยทำใจดีสู้เสือ ไปก่อน

                หลังจากที่ผู้เขียนและทีมวิจัย จัดทำรายงานการวิจัยเสร็จ (เรื่องกลยุทธ์การจัดการทุนมนุษย์สำหรับมหาวิทยาลัยใหม่ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้เคยเล่ามาบ้างแล้ว)  ก็ถึงช่วงการเผยแพร่ผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ ซึ่งก็คือ การตีพิมพ์ เผยแพร่ในวารสารนานาชาติ (International Journal)
               เรามานั่งคิดกันว่า ( ดร.สุริยะ   คร.จิรัสย์  ดร.ราเชนทร์) จะตีพิมพ์ กันที่ไหนดี  เพราะเราเคยคิดไว้ว่าจะตีพิมพ์ ที่  HR Magazine ของ SHRM (สมาคม HR ของสหรัฐอเมริกา) กับ JKM (Journal of Knowledge Management)   โดยการพิจารณาข้อดี-ข้อเสีย และผลได้ในระยะยาวกับ คณะเรา
              สรุปแล้ว เราเลือก JKM เพราะ เป็นวารสารวิชาการ และ น่าจะเขียนเรื่องราวได้มากกว่า ซึ่ง HR Mag ให้พื้นที่ 5 หน้าเอง และนึกยากมากว่าจะเขียนให้โดนได้ยังไง  ส่วน JKM กำหนดไว้  7000-10000 คำ (น่าจะดีกว่า ไม่รู้จริงหรือเปล่า ....555)
    
              เรา มาประชุมกัน โดยการศึกษา  JKM  ว่า 
              1) ข้อกำหนดในการเขียนบทความมีว่าอย่างไร  เราจะต้องเตรียมอะไรบ้าง  แล้วเราจะทำงานกันแบบไหน
              2)  เลือก เอาบทความใน JKM  ที่ใกล้เคียงกับเรื่องของเรา มาศึกษาว่าเขาเขียนกันด้วยสไตล์อะไร ถึงได้ตั้ง 7000 คำ
              3) เราจะเขียนกันพิศดารขนาดไหน  เช่น เขียนเป็นภาษาอังกฤษเลยดีไหม จะได้ทำงานหนเดียว ไม่เสียเวลาหรือ จะมีใครเสนอวิธีอื่น
              4) จะทำงานกันที่ไหน ก็พอดี ดร.ราเชนทร์ ที่ห้องทำงานหลักสูตร มีห้องประชุม  ติดตั้ง LCD พร้อม Notebook พร้อม และออนไลน์ได้ ตลอดเวลา ทำกีโมงกี่ยามก็ได้ วันหยุดก็ได้ (ไม่มีปัญหาเรื่อง นโยบายประหยัดพลังงาน)  จึงตกลงใช้ที่ห้องดร.ราเชนทร์

             ว่ากันฉากแรกเลย  ชื่อเรื่อง ต้องไม่เกิน 16 คำ ...5555 เจอเข้าไป จังงังเลยครับ พอดีเป๊ะพอแปลไทยเป็นอังกฤษ ตามที่ใช้ตั้งแต่แรก ไม่งั้นคงเหนื่อยทีเดียว (ข้อคิดสำคัญ เวลาตั้งชื่อเรื่อง ก็ดูตาม้าตาเรื่อ ไว้ก่อนเอาฤกษ์เอาชัยครับ)

         
     
                  เราก็ว่ากันเลยครับ  นั่งลุยทำ บทคัดย่อ Abstract ตามแนวทางของ JKM  ปรากฎว่า ใช้เวลากันอยู่ 1 วัน เต็ม ๆ (เราใช้ฐานบทความที่ทำตอนเดือนเมย.57  ไปนำเสนอเพื่อจัดทำ Proceeding ในการประชุมงานวิชาการระดับนานาชาติ และงานวิจัยของ มรภ.สวนสุนัน ที่ทีมเราไปนำเสนอมาแล้ว)
                  หลังจากนั้น เรามานั่งคุยกันใหม่ ครับว่า ถ้าทางจะทำกันนานทีเดียว หากยังทำงานกันแบบนี้
                  หาวิธีที่เร็วกว่านี้ดีกว่า  เรามีเวลาประมาณ เดือนเศษ ๆ ที่จะปิดงานให้เสร็จให้ได้
                  ข้อสรุปหลังจากนี้ คือ หาคนแปลขั้นต้นให้เรา แล้วเรามาแก้ไข ปรับเนื้อหา หรือ สิ่งที่ผู้แปลไม่ชำนาญ (แต่เอาโครงสร้างประโยคมาใช้ ) น่าจะทำให้เราเร็วขึ้น  ตกลงเราให้ สถาบันด้านภาษา ที่น่าจะเชี่ยวชาญ ช่วยแปลขั้นต้นให้เรา (แม้ว่า จะไม่ดีมาก แต่ เป็นแนวทางให้เราทำงานต่อไปได้)
                 เรื่องราวก็ดูจะง่าย ๆ ครับ หลังจากที่เราได้บทความผ่านการแปลมาเรียบร้อย   เรามาใช้เวลากันอีกหนึ่งวัน ในการปรับภาษา และเนื้อหาให้ตรงตามศัพท์งานวิจัย แต่ที่ยาก ๆ คือ ปรับให้ตรงตามแนวทางและจำนวนคำที่กำหนดของวารสาร (ในชั้นแรกนี้ก็บ่นกันอุบแล้วครับว่า โหดจริง ๆ) แม้เราจะชำนาญเนื้อหา แต่ภาษาที่จะเขียนให้ดีนั้นต้องใช้เวลาพอสมควรทีเดียว

                 แล้วก็ถึงเวลาส่ง  ไปให้ JKM  เราส่งไปไม่กี่วัน ก็ได้รับการตอบกลับมาเร็วมาก จาก Guest Editor ของ JKM  ว่า ให้ส่ง Pdf ไฟล์ไปใหม่เพราะเขาเปิดไม่ได้  และจะรีบตอบกลับมาให้ทราบผลว่าการพิจารณาเป็นอย่างไร

                จบตอนที่ 1 (โปรดติดตามตอนต่อไป)  เมื่อ JKM แจ้งทั้งข่าวดีและข่าวร้าย 555


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

             

September 1, 2014

บรรยายเรื่องการนำแผนไปสู่การปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

June 25, 2014

การแข่งขันในตลาดการศึกษา : ความท้าทายด้านทุนมนุษย์ของมหาวิทยาลัยใหม่



 
 ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

May 6, 2014

งานวิจัยดุษฎีนิพนธ์แบบไหนถึงระดับปริญญาเอก


                 หลายคนที่เป็น นศ.ระดับปริญญาเอก มักมีคำถามว่า  การทำดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) ที่ผู้เขียนเรียกว่าการเขียนความรู้ใหม่  ทำกันแบบไหนจึงจะเรียกว่าเป็นงานพอสมศักดิ์ศรีของการเรียนระดับปริญญาเอก
                  เนื่องจากการเรียนในระดับนี้เป็นการศึกษาในระดับสูงสุด ดังนั้น นศ.จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสามารถสร้างความรู้ใหม่ได้
                  หากพิจารณาอย่างไม่ยากนัก พอจะมีแนวทางให้ผู้เรียนระดับ ป.เอก ได้ 3 แนวทางดังนี้

                 1. ระดับความยาก (Level of Difficult)  ของงานวิจัยหรือ ดุษฎีนิพนธ์  คำว่ายากในที่นี้ไม่ใช่
                  -การใช้สถิติที่ยาก เช่น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA)  จากโปรแกรมสำเร็จรูป
                  -เป็นงานศึกษาทาง วิศวกรรมศาสตร์  หรือ การเป็นวิชาชีพที่มีความเฉพาะ เช่นนักบินรบนักการเมืองในประเทศกำลังพัฒนา (เป็นงานยากเนื่องจากต้องให้ ความสุขช่ั่วคราวกับประชาชนตลอดเวลา เช่น สัญญาแจกเงิน )
                  - นศ. บางคน บอก ผมใช้การเก็บขัอมูลด้วยวิธีที่ยาก  ใช้ LISREL  Mplus ก็ยากแล้ว

                  แต่ความยากในที่นี้เป็น ความยากในการใช้หลายองค์ความรู้  หรือ บูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge)  ยากในการใช้หลาย ๆ วิธีการวิจัย  ยากในการกำหนดกรอบความคิดที่เฉพาะเจาะจง ต้องลงไป จัดทำด้วย ทฤษฎีจากฐานราก (Grounded theory)
                 
                   2. ระดับลุ่มลึก (Level of Mastery) ผู้เขียนอาจจะเรียกว่า เป็นการศึกษาลงลึกใน องค์ความรู้ใดความรู้หนึ่ง คล้าย   In-depth specialist  เพื่อ เปิดพรมแดนใหม่แห่งความรู้  พัฒนาวิธีวิทยาการใหม่  พัฒนาเครื่องมือใหม่ทางการบริหารองค์กร   ศึกษาสิ่งตรงกันข้ามกับความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

                   3.ระดับผลกระทบ (Level of Impact) หมายถึง เป็นการศึกษาในระดับที่กว้าง คลุมใหญ่ขึ้นและส่งผลกระทบสูงต่อสาขาวิชาชีพ  ชุมชน ประเทศ หรือ สังคมโลก หรือ อาจสามารถนำไปสู่ การใช้ได้อย่างกว้างขวาง (Generalization)

                   ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านงานวิจัยระดับปริญญาเอกชิ้นหนึ่ง เรื่ององค์ประกอบและตัวบ่งชี้้การบริหารเครือข่าย รร.คริสเตียน สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย   มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ศึกษาองค์ประกอบการบริหารเครือข่าย ของ รร.ดังกล่าว  และ พัฒนาตัวบ่งชี้องค์ประกอบการบริหารเครือข่ายของ รร.ดังกล่าว (วารสารวิชาการ วารสารเซนต์จอห์น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ปีที่ 16 ฉ.19 ก.ค. -ธ.ค. 56 หน้า 22-23)
                    หากลองว่า ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น  ก็ต้องทำการศึกษาและตีความจากตัวเล่มสมบูรณ์เพราะในบทความ ไม่ได้อธิบายจนสามารถจะหยิบเกณฑ์ มาพิจารณาได้

                    ผู้เขียนมีคำแนะนำให้ ผู้ที่กำลังเรียนระดับปริญญาเอก และปวดหัวกับหัวข้อวิจัยว่าจะทำวิจัยได้หรือไม่ได้ ถึงระดับปริญญาเอก หรือไม่ หรือกระหยิ่มยิ้มย่องว่าใช้สถิติขั้นสูงเทียมเมฆแล้ว เป็นงานวิจัยถึงระดับนี้ อาจคว่ำข้าวเม่าก็ได้ครับ

                    อย่างแรก พิจารณาตาม 3 แนวทางข้างต้น และ อย่างที่สอง อ่านงานวิจัย ป.เอกเยอะๆ  และอย่างที่ 3 การทำวิจัยแบบ R& D  ดีกว่า เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ครับ


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

April 25, 2014

สร้าง World Class University --> หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือ ก้าวเหนือกว่าตัวเลข

   

บังเอิญว่า ไปงาน  การประชุมวิชาการ และการนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ  ครั้งที่ 5 จัดโดย บัณฑิตวิทยาลัย  มรภ. สวนสุนันทา  เมื่อ 24-25 เม.ย.57 โดยใช้ธีม  ว่า "The Enhancement to World-class University" และมีวิทยากรท่านหนึ่ง บรรยายเกี่ยวกับ อันดับความสำเร็จของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  ซึ่งเน้นมากเรื่อง การจัดอันดับของสถาบันต่าง ๆ ในระดับอุดมศึกษาของโลก
เลยทำให้นึกถึง เรื่อง World Class University  ที่เคยอ่านแต่ไม่ได้ติดใจอะไรเพราะ ในบ้านเรายังไม่ฮือฮามากนัก แต่ต้องย้อนกลับไปดูด้วยการถูกสะกิดใจเมื่อฟังการบรรยายข้างต้น
1.อธิการบดี Luis Maria R.Calingo ของ Woodbury University ( http://www.huffingtonpost.com/luis-maria-r-calingo... )  ได้อ้างถึง Dr.Samli เคยพูดไว้นานแล้ว ในเอกสารของธนาคารโลกปี 2009 ว่า  World Class University (WCU) มีผลได้ที่แตกต่างกันอยู่ 3 อย่าง ผมขอนำว่าให้เห็นดังนี้ 
   "first, highly sought graduates; second, leading-edge research; and third, dynamic knowledge and technology transfer." และผลได้นี้ทำให้เห็นถึงปัจจัยที่ประเมินการจัดอันดับมหา'ลัย ที่คลั่งกันทั้งโลก ประมาณ 15000 แห่ง และอันดับมหาวิทยาลัยที่อยู่ ใน 100 อันดับ ก็ไม่ถึง 1 % ด้วยซ้ำ 
2. อธิการบดี Luis Maria R.Calingo  ยังพูดไว้น่าสนใจมาก ว่า แนวคิดของ WCU สะท้อน นอร์มและคุณค่าที่ถูกครอบงำจาก มหา'ลัยวิจัยระดับโลก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน สหรัฐอเมริกาและ ยุโรปตะวันตกเป็นหลัก
และสิ่งที่ อธิการบดีท่านนี้ให้ข้อคิดว่า มหา'ลัย หรือสถาบันการศึกษา น่าจะ ปรับเปลี่ยนมหา'ลัย เน้นว่าใช้คำ "Transform" โดยมุ่งจาก "ดีไปสู่ยิ่งใหญ่ (Good to Great)" โดยอ้างคำกล่าวที่น่าจะเป็น อมตะ ดังนี้ ...........
This reminds me of the 1913 quote from the late Justice Oliver Wendell Holmes as he wrote about the mission of law schools: "I say the business of a law school is not sufficiently describe when you merely say that it is to teach law, or to make lawyers. It is to teach law in the grand manner, and to make great lawyers." A great university is best known by the quality of its graduates.............. (อ้างจาก เวบไซท์เดียวกับข้างต้น http://www.huffingtonpost.com/luis-maria-r-calingo...)
อยากให้ทุกท่านที่สนใจไปอ่านตามที่ อ้างไว้ข้างต้น (อาจได้ข้อคิดอะไรที่น่าสนใจ)
ทั้งหมดนี้ ทำให้ผมอดคิดเองไม่ได้ว่า   หลังจากได้ฟังการประชุมข้างต้น และ ก่อนหน้านั้นได้นั่งฟังน้องที่ มหา'ลัยแห่งหนึ่ง ทำ SAR สาขาวิชาที่เปิดสอน  พร้อมการ ทวนสอบ... ประจำปี  เลยเห็นภาพว่า  ถ้าอยากเป็นมหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ ให้รีบกลับไปสร้าง นศ. หรือ บัณฑิตที่ยิ่งใหญ่ มากกว่ามาบอกว่า ตอนนี้ มี อจ. ไป เพิ่มวุฒิกี่คน  อจ. ได้ ผศ. แล้ว และกำลังต่อคิว คาดว่าปีหน้าจะได้ แต้มเพิ่มขึ้น.....บันทึกนี้จึงเป็น เพราะความบังเอิญจริง ๆ ที่ได้ฟังจากการประชุม 

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

April 12, 2014

การแข่งขันในตลาดอุดมศึกษา

ตลาดอุดมศึกษาไทย ปัจจุบันแข่งขันกันสูงมาก  ปัจจัยที่ชี้ชนะคือ ทุนมนุษย์

April 11, 2014

ม.ศรีปทุม รุก เต็มสูบช่องทางรับสมัคร นศ.ใหม่ ปี 57



          มาพักเที่ยวนี้ ที่ตรัง-สตูล ได้เจอะเจอ อะไรหลายอย่าง  ทั้งการท่องเที่ยวประเภท Unseen  จริง ๆ แบบลุ้นสุดชีวิต และ หวานแหวว ก็มี  แต่ที่แน่ ๆ อาหารการกิน ราคาย่อมเยาว์ ที่แพงอย่างเดียว คือ ค่ารถ เดินทางไปที่ต่าง ๆ ซึ่งสุดท้ายจะเป็นตัวทำลายการท่องเที่ยว  (ภูเก็ตก็มีปัญหา ค่าเดินทางแพงมาก จากสนามบินเข้าเมือง ราคา ประมาณ 600 บาท)
         ผู้เขียนชอบเดินทาง ดังนั้น จึงมีโอกาสได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่หลากหลาย
         เมืองทับเที่ยง หรือ เมืองตรัง มีการศึกษาระดับ มหาวิทยาลัย แม้จะไม่ใช่  มหาวิทยาลัยแม่ แต่เป็น วิทยาเขต หรือ ศูนย์การศึกษา ทั้ง  มอ. มร.  มรภ.ภูเก็ต  มรภ.สวนดุสิต ฯลฯ
         สิ่งที่สุดุดตามากที่สุด  คือ  การทำตลาดของ ม.เอกชน ใน 2ลักษณะ
        อันแรก  เป็นการรุกตลาดเมืองตรัง ของ ม.ศรีปทุม
                     1)  ภาพที่เห็นเป็น รร. มัธยมเอกชน วัฒนาศึกษา  ซึ่งผ่านการรับรองของสมศ. (รับรองทุก รร. ละครับ ที่ไม่รับรองก็ถูกปิด ไม่มาเปิดให้เห็นหรอก)


                           1) เห็นว่า ม.ศรีปทุม มีการโฆษณารับ นศ.ใหม่ ทั้งตรี-โท-เอก ด้วยแผ่นไวนิล ทั้งหน้า รร. (ตรงข้าม)  ข้าง รร.  เรียกว่า ไม่มีที่ว่าง ให้ มหา'ลัย คู่แข่งได้มาติดป้ายโฆษณา



   
                          2) บริเวณที่ติดป้ายโฆษณา ยังมีบริเวณตลาด อีก อาจเป็นเพราะ  ผู้ปกครอง พ่อ-แม่ไปจ่ายตลาดย่อมต้องเห็นแน่นอน
                          3) ตืด บริเวณ ตำแหน่งจุดสำคัญหลัก ๆ ของเมืองตรัง
                    และเดาได้เลย ต้องมีกิจกรรม In-House  เข้าไป รับ นศ.ใหม่ โดยมีกิจกรรมแนะนำ  หรือ การทำ Open House ให้มาเข้าพักเยี่ยมชม มหา'ลัย ที่กรุงเทพ หรือ ชลบุรีแน่ ๆ

              อีกลักษณะ เป็นการโมษณาของ มหา'ลัย ออนไลน์ คือมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ทั้งตรี-โท-เอก(แต่ต้องเช็คการรับรองของ สกอ. ก่อนสมัครนะครับ หากใครอ่านตรงนี้ เพราะ สกอ. เน้นมากสำหรับ ม.ออนไลน์)  ตั้งป้าย ตามถนน หรือ แหล่งชุมชน
           

             การแข่งขันเมืองนี้ คงน่าดูอาจจะเป็นเพราะ ไม่ใช่เมืองหลัก ที่มีมหาวิทยาลัยแม่ ตั้งอยู่ จึงเป็นช่องว่างทางการตลาด ที่น่าสนใจ    แต่ ที่หน้า รร.สภาราชินี ทั้ง 2 แห่ง กลับไม่เห็น (หรือ นร. มีเป้าหมาย มหา'ลัย ระดับ Top Brands  หรือ สอบตรง ก็ได้)  นะครับ

                  ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081
         

April 6, 2014

อิทธิบาท 4 กับการวิจัย


ตั้งใจ มาเที่ยว แต่ระหว่างรอ ทัวร์ มารับ ได้อ่านหนังสือ  สำเร็จเมื่อคิด ของพระพิจิตรธรรมพาที แล้วจับมาคิดกับ การวิจัย ออกมาเป็น "อิทธิบาท4 กับการวิจัย" เอา The 4 Ps of Research Diamond  มาเชื่อมโยง เห็น ภาพ "สำเร็จเมื่อคิด สัมฤทธิ์เมื่อทำ"  ขุมทรัพย์จากพระพุทธองค์
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
7-04-2014

การบรรยายของ Headmaster -Mr.Neil Richards (ครั้งแรก 26 เม.ย.56)


        เมื่อ 27-29 มี.ค.ได้นำ นศ.ป.เอก รุ่น 10 มซจ.ไปดูงาน ที่ รร.BISP  เลยทำให้นึกถึงวีดีโอ  การบรรยายของ Headmaster -Mr.Neil Richards (ครั้งแรก 26 เม.ย.56) ในคราวนำ นศ.ป.เอก รุ่น 9 ม.เซนต์จอห์น ไปดูงาน จึงอัพโหลดมาย้อนดูว่า ท่านบรรยายอะไรไว้บ้าง

                                                     






                                                             




















               การบรรยายของคุณ Neil  เป็นที่ประทับใจมาก โดยเฉพาะสิ่งที่เขาว่า รร. ทำอะไร และการที่เขาต้องไปยืนหน้า รร. ทุกเช้า เพื่ออะไร  คุยกับผู้ปกครองทำไม

จึงนำมาสู่ การศึกษาดูงาน ในลักษณะของ "Strategic Leadership in Education" สำหรับ นศ.ป.เอก.รุ่นที่ 10 ม.เซนต์จอห์น 

                                                       ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081