February 24, 2009

ตำราพิชัยสงคราม : เจาะภูมิปัญญาไทย(2) โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

  เจาะภูมิปัญญาไทย (2) ใครรจนาตำราพิชัยสงคราม หรือใครแต่งกันแน่!



    สิ่งที่่ผู้เขียนสงสัยมานานว่าตำราพิชัยสงครามของไทยนั้นใครรจนาขึ้้น หรือ ใครแต่งกันแน่ และแต่งขึ้นในสมัยใด เพราะเท่าที่ปรากฎหลักฐานอ้างต่อ ๅ กันมาว่า 
    "ศักราช 860 ปีมะเมีย สัมฤทธิศก สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แรกให้ทำตำราพิชัยสงคราม และแรกทำสารบัญชี"(อ้างจาก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา -ฉบับหมอบรัดเลพิมพ์ครั้งที่ 2  2549 )
     และในเล่มอื่น ๆ อีกหลายเล่มก็อ้างเช่นนี้
     ผู้เขียนเอง มีข้อสันนิษฐานในหลาย ๆ เรื่องที่ชวนแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

ต้นกำเหนิดที่แท้จริงของตำราพิชัยสงครามไทย

       หากเปิดดูตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ หรือ ในตำราพิชัยสงครามฉบับรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 3 และฉบับของสมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ จะมีความแตกต่างในเรื่องการถอดเป็นภาษาปัจจุบันโดยเฉพาะส่วนที่เป็นสาระสำคัญ แต่ปราชญ์และผู้รู้ทางประวัติศาสตร์อาจจะมองข้ามไป หรือไม่มีเครืองมือสืบค้นดังเช่นในปัจจุบันที่สามารถค้นทางอินเตอร์เน็ตได้รวดเร็วดังใจนึก
       สิ่งที่ควรพิจารณาในการศึกษาเกี่ยวกับตำราพิชัยสงครามฉบับเมืองเพชรบูรณ์ หรือ ฉบับก่อนหน้านี้
       1)ในตำราพิไชยสงคราม คำกลอน ฉบับรัชกาลที่ 1
              ตำราวรวากยไว้           วิถาร
        พิไชยสงครามการ             ศึกสิ้น
        จงหาที่พิศฎาร               เติมต่อ
        จงอย่าฟังกลสิ้น              เล่หเลี้ยวจำความ

               สมเดจ็จักระพรรดิรู้       คำภีร 
        ชื่อว่านามกามมนทกี          กลา่่่่่่่ ่วแก้
        พิไชยสงครามศรี            สูรราช
        ญี่สิบเบดกลแล้             เลิศให้เหนกล

 ถอดความโดยกรมศิลปากร
                 ตำราวรวากยไว้        วิถาร
          พิชัยสงครามการ           ศึกสิ้น
          จงหาที่พิสดาร            เติมต่อ
          จงอย่าฟังกลสิ้น           เล่ห์เลี้ยวจำความ
                  สมเด็จจักรพรรดิรู้      ศัมภีร์
           ชื่อว่านามกามมนทกี        กล่าวแก้
           พิชัยสงครามศรี          สูรราช
           ยี่สิบเบ็ดกลแล้          เลิศให้เห็นกล                  

          2) ตำราพิไชยสงคราม  คำกลอน  ของกรมศิลปากร (ฉบับรัชกาลที่ 3)  และจากตำนานหนังสือตำราพิไชยสงคราม ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ถอดความแล้ว
                  
                 ตำราวรวากไว้            วิถาน
          พิไชยสงครามการ             ศึกสิ้น
          จงหาที่พิศฎาร               เติมต่อ
          จงอย่าฟังกลสิ้น              เล่ห์เลี้ยวจำความ
                  สมเด็จจักรพรรดิรู้          ศัมภีร์
           ชื่อว่านามกามมนทกี            กล่าวแก้
           พิชัยสงครามศรี              สูรราช
           ยี่สิบเบ็ดกลแล้              เลิศให้เห็นกล

         3) ตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ ตามภาพข้างบน
                      ตำราวรวากยใว         วิฺฺถาร
           พิไชยสงครามการ             ศึกสิ้น
           จงหาที่อพิศะฎาร             เตืมต"อ
           จงอย่าลืมกลสิน             เล่หเลียวจำความ
                      สมเดจ็จักระพัรรดิรู้       คัมภีร์
            ชืว่ากามมนทะกี             กล่าวแก
            พิใชยสงครามศรี             สูรราช
            ญี้สิบเบ็ดกนแล             เลืศให้เหนกล (สะกดตามต้นฉบับเดิม)
   ถอดความโดยผู้เขียน(ดร.ดนัย เทียนพุฒ)
                       ตำราวรวากยไว้       วิถาร
           พิชัยสงคราม              ศึกสิ้น 
           จงหาที่พิสดาร             เติมต่อ
           จงอย่าลืมกลสิ้น            เล่ห์เลี้ยวจำความ
                        สมเด็จจักรพรรดิรู้      คัมภีร์
           ชื่อว่ากามันทกี             กล่าวแก้
           พิชัยสงครามศรี             สูรราช
           ยี่สิบเบ็ดกลแล้             เลิศให้เห็นกล

     ข้อสันนิษฐานโดยผู้เขียน
              
     ประการแรก ตำราพิชัยสงครามฉบับแรกใครเป็นผู้ทำและเริ่มทำเมื่อใด หรือเป็นตามที่เข้าใจกันว่าเริ่มทำครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 
              1.1 ถ้าจะว่ากันตามแบบแผนของโคลงสี่สุภาพ ปกติแล้วโคลงบทสุดท้ายจะบอกไว้ว่าใครเป็นผู้แต่งหรือผู้ประพันธ์
              ดังนั้นตามบทของโคลงสี่สุภาพที่ยกมาจากตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์
     จะพบว่า "สมเด็จจักรพรรดิ์" แต่งโดยการแก้ฉบับของ "กามันทกี" และแก้ไขมาเป็น กลศึก 21 กลศึ
      การสันนิษฐานตรงนี้ ถือเป็นเรื่องใหญ่มากเพราะไม่ปรากฎว่ามีใครเคยเสนอ หรือ ทำมาก่อน

       ทำไมผู้เขียนจึงสันนิษฐานเช่นนั้น
        (1)  ชื่อกามันทกี ที่ผู้เขียนถอดความมาจากคำว่า กามมนทะกี หรือ กามมนทกี โดยที่ยังไม่ปรากฎคำนี้ในฉบับถอดความของฉบับใดมาก่อน
         เพราะหากถอดเป็นกามมนทกี ไม่ได้สื่อความหมายใด ๆ และไม่สามารถหาความหมายได้
              แต่ถ้าใช้ คำว่า กามันทกี จะมีความหมายที่หมายถึง ชื่อนครโบราณของอินเดียตอนใต้ 
             ซึ่งใน นิทานเวตาลเรื่องที่ 3 ได้ระบุชื่อเมืองนี้ไว้ว่ามีอยู่ทางอินเดียตอนใต้
               (2)  ชื่อของนครโบราณของอินเดียตอนใต้เกี่ยวข้องอะไรกับตำราพิชัยสงครามไทย
                  ด้วยเหตุที่ว่า อักษรไทยที่พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์ขึ้นมาใช้นั้นดังปรากฎในหลักศิลาจารึกสมัยสุโขทัย และผู้เชี่ยวชาญทางภาษาโบราณของกรมศิลปากร ได้ศึกษาว่า มีการดัดแปลงมาจาก อักษรอินเดียตอนใต้
       (3) ผู้แต่งคือ สมเด็จจักรพรรดิ์   และจะหมายถึงพระมหากษัตริย์องค์ใดของไทยที่แต่งตำราพิชัยสงครามในสมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
                 นี่เป็นข้อสันนิษฐานแรกที่ได้จาก ตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์

     1.2 ที่ว่า " แรกให้ทำตำราพิชัยสงคราม"  ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หมายความว่าอย่างไร
            ความหมายนี้ หมายความว่าเป็นการทำตำราพิชัยสงครามเล่มแรกของเมืองไทยใช่หรือไม่ หรือ มีนัยเป็นอย่างอื่น
   
            ผู้เขียนคิดว่าเป็นการท้าทายความรู้ทางด้านยุทธศาสตร์ไทยโบราณ  และบรรดาความรู้ในเรื่องตำราพิชัยสงครามเป็นอย่างยิ่ง ที่คนไทยเราจะได้ศึกษาและทำให้เกิดความกระจ่างชัดขึ้นมา
     ประการที่สอง  ตำราพิชัยสงครามก่อนสมัยอยุธยาตอนต้น
     ความจริงในเรื่องตำราพิชัยสงครามตามที่ผู้เขียนสนใจมักจะได้มาจากการศึกษาในตำราเก่าทางด้านกลยุทธ  หรือ ยุทธศาสตร์  พร้อมกับการได้รับความอนุเคราะห์ หรือผู้ที่รู้จักให้การสนับสนุนจึงได้มีโอกาสหยิบยืมมาศึกษา  หรืออาจเป็นความบังเอิญที่ไปเจอเข้าพอดีด้วยความที่สนใจและชอบอ่านหนังสือ
            (1) ร่องรอย เริ่มแรกของหลักฐานเกี่ยวกับตำราพิชัยสงคราม ผู้เขียนได้มีโอกาสไปไหว้พระธาตุลำปางหลวงที่จังหวัด ลำปางและ บังเอิญได้อ่านประวัติพระนางจามเทวีพบข้อความที่ตื่นเต้น คือ พระนางจามเทวีทรงเรียนรู้ตำราพิชัยสงคราวตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และมีพระพี่เลี้ยงสอนตำราพิชัยสงครามให้ด้วยซึ่งเป็นพระธิดาของเจ้าเมืองรัตนปุระ
      หลักฐานนี้บอกอะไร
     -อย่างแรก  พระนางจามเทวีเรียนตำราพิชัยสงครามอะไร และจากใคร
     " ข้อมูลประวัติพระนางจามเทวี...
                เรื่องราวต่างๆ ที่กล่าวถึง “พระนางจามเทวี” และ “นครหริภุญไชย” นั้นปรากฏอยู่ในตำนานต่างๆ หลายเล่ม อาทิ จามเทวีวงศ์ ทีแต่งโดยพระมหาเถราจารย์นามว่า “พระโพธิรังษี” ตำนานมูลศาสนา ตำนายไฟบ้างกัปป์ และชินกาลมาลีปกรณ์ ฯลฯ
                 กำเนิดของ “พระนางจามเทวี” มีปรากฏในเอกสานดังที่ยกมา กล่าวกันว่าพระองค์ทรงมีชาติกำเนิดเป็นชาวหริภุญไชยแต่เดิม โดยเป็นบุตรีของคหบดีผู้หนึ่งนามว่า “อินตา” (ไม่ปรากฏนามมารดา) ได้มีการบันทึกดวงพระชะตาของพระนางจามเทวี เมื่อแรกประสูติไว้ว่าตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พ.ศ.1176 เวลาจวนจะค่ำ เมื่อยังทรงพระเยาว์มีเรื่องเล่าว่า
               วันหนึ่งเมื่อยังทรงพระชนมายุได้ 3 เดือน กำลังประทับนอนบนเบาะ พญานกใหญ่ได้บินเข้าไปจกพระวรกายถึงในบ้านพาขึ้นไปบนท้องฟ้า พอดีกับท่านสุเทวฤาษีแห่งระมิงค์นครกำลังบำเพ็ญตบะอยู่ ณ อุจฉุตบรรพต ได้เห็นพญานกบินผ่านและเห็นกรงเล็บของมันได้จิกร่างทารกน้อยมาด้วย ท่านฤาษีจึงได้แผ่นเมตตาให้พญานกปล่อยพระนางเสีย พญานกจึงคลายกรงเล็บให้เด็กนั้นร่วงลง แต่ก่อนที่ร่างของพระนางจะตกถึงพื้นก็เกิดมีลมหอบพาไปตกในสระใหญ่ โดยมีดอกบัวหลวงขนาดมหึมารองรับ บังเกิดความปลอดภัยโดยปาฏิหาริย์
                ท่านฤาษีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ไม่สามารถใช้มื้ออุ้มร่างเด็กหญิงขึ้นมาได้ จึงตั้งสัตย์อธิษฐานว่า “หากทารกหญิงผู้นี้มีบุญญาธิการ จะได้เป็นใหญ่ในภายหน้าแล้วก็ขอให้พัดของเรานี้รองรับร่างเธอไว้ได้โดยมิ ร่วงหล่นเถิด” จากนั้นท่านก็ใช้พัดช้อนร่างพระนางขึ้นมาได้จริงๆ และด้วยเหตุที่ท่านได้ใช้พัดช้อนทารกขึ้นมานี้จึงได้ตั้งชื่อเด็กหญิงว่า “วี” และได้มอบให้พญาวานรชื่อกากะวานรและบริวารรวม 35 ตัวช่วยเลี้ยงดู ทั้งยังได้สอนศิลปวิทยากรต่างๆ รวมทั้งวิชาฝ่ายบุรุษ เช่นการพิชัยสงครามและการต่อสู้ด้วยอาวุธต่างๆ ซึ่งพระนางก็เรียนได้อย่างคล่องแคล่ว มีพระสติปัญญาดีเยี่ยม (อ้างจาก 
http://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=794.0)
    ต่อมา.......ภายหลังพระราชพิธีอภิเษก พระเจ้ากรุงละโว้ได้พระราชทานพระธิดาในพระเจ้าทศราชแห่งกรุงรัตนปุระ ๒ พระองค์ คือ เจ้าหญิงปทุมวดี และ เจ้าหญิงเกษวดี ให้เป็นพระพี่เลี้ยงคอยถวายการดูแลพระธิดาพระองค์ใหม่ รวมทั้งเป็นผู้ถวายการสอนวิชาศิลปะศาสตร์แขนงต่างๆ เพิ่มเติมแก่พระธิดาน้อยด้วย(http://blog.eduzones.com/tambralinga/3774) "


         อย่างที่สอง   หลักฐานนี้บอกร่องรอย  เกี่ยวกับตำราพิชัยสงครามคือ

        (1) ท่านสุเทวฤษี ราชสำนักแห่งกรุงละโว้ ซึ่งน่าจะเป็นตำราพิชัยสงครามของอินเดีย หรือ ฮินดูโบราณ

         และพระธิดาพี่เลี้ยงซึ่งมาจากเมือง รัตนปุระ หรือ อาณาจักรนครศรีธรรมราช ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจาก ขอม หรือ ไม่ก็อินเดียเพราะ ความรุ่งเรืองของอินเดียได้เข้ามาสู่ขอมตั้งแต่สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2  และอิทธิพลของขอม ก็มียุครุ่งเรือง อีกยุคคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก่อนที่จะเสื่อมถอยจน ชาวสยามสามารถขับไล่ขอมออกไป แล้วตั้งอาณาจักรสุโขทัยให้เติบใหญ่เข้ามามีอำนาจแทน

        (2) ตำราพิชัยสงครามของอินเดียที่เป็น   มหากาพย์ 2 เรื่องดั้งเดิม คือ 1. รามายะณะ ( ฤาษีวาลมีกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤตเมื่อ 2,400 ปี เศษ และเป็นเค้าเรื่อง รามเกียรติ์ ที่รัชกาลที่ 1  ไ ด้  ทรงนิพนธ์ไว้ และมีเขียนอยู่รอบระเบียงวัดพระแก้ว (แต่เรื่องราวเป็นวิถีชีวิตคนไทยจนเราเข้าใจว่าเกิดขึ้นในบ้านเราโดยแทบไม่มีเค้าเดิมของอินเดียเลย)  และ  2.มหาภารตะ (รจนา ไว้เป็นโศลก หนึ่งแสนโศลก ที่เรารู้จักเช่น ภควัตคีตา )

       (จะได้แสดงเค้าเงื่อนในเรื่องนี้ต่อไป)


 
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ

February 12, 2009

ตำราพิชัยสงคราม : เจาะภูมิปัญญาไทย(1) โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

เกริ่นนำ
         
         การเจาะภูมิปัญญาไทยจาก "ตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์" ในครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่คุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้าน"ยุทธศาสตร์ไทยโบราณ" แต่ก็ยังได้คุณค่าในด้านอื่น ๆ อีกโดยจะกล่าวในลำดับต่อ ๆ ไป



(ภาพ ตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณสุนทร คงวราคม-เพชรบูรณ์)


       ผู้วิเคราะห์ตีความและอนุมานไปตามหลักฐานเท่าที่สืบได้ ดังนั้นหากผู้รู้ท่านใดมีหลักฐานและเข้าใจกลในของตำราพิชัยสงครามทั้งฉบับนี้และ อื่น ๆ ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะแลกเปลี่ยนและปรับปรุงแก้ไข  ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเรียนรู้ในสิ่งที่ บรรพบุรุษของเราได้รังสรรค์ไว้ให้ลูกหลานในยุคต่อๆ มา
       เมื่อผู้วิเคราะห์ได้มีโอกาสศึกษา "ตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์" ทั้งหมดในฉบับคำกลอนและ ฉบับผังภาพ(ตามที่เรียกกัน)
       ได้ข้ออนุมานและนำไปสู่ความเข้าใจที่มากมายนับทวีคูณในตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ 
       
        และมากยิ่งไปกว่านั้นสำหรับ ยุทธศาสตร์ไทยโบราณ จาก "ตำราพิไชยสงคราม"  คือ
 
         (1) การได้มีโอกาสศึกษาด้านประวัติศาสตร์และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทำให้ได้ข้ออนุมาน และการวิเคราะห์ที่ทำให้สามารถเกิดความเข้าใจและความชัดเจนใน "ตำราพิไชยสงครามของไทย" ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงการกล่าวอ้างกันตามหลักฐานจากพระราชพงศาวดารและลอกหรือ สำเนาเรื่องดังกล่าวต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน
         (2) ได้คุณค่าใ นวิธีการวิเคราะห์ตำราพิชัยสงคราม จากการใช้กรอบความคิดของพลตรี หม่อมราชวงค์ ศุภวัฒย์ เกษมศรี นักประวัติศาสตร์อาวุโสดีเด่น ดังนี้
            -การใช้หลักฐานและกระบวนการทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นข้อเท็จจริง
            -การใช้ความรู้ทางภาษา นิรุกติประวัติ และวรรณคดีเพื่อชี้ให้เห็นว่า ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยสมัยใด ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องและสืบต่อกันมาอย่างใกล้ชิด
            -การใช้ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาพิสูจน์คำและข้อความที่ปรากฎ

           ความคิดที่จะเพียงแค่ศึกษาเกี่ยวกับ ตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์  ให้ได้รู้เรื่องราวและยังความสนุกสนานทางกลยุทธเพื่อนำไปเป็นเกร็ดและที่มาของกลยุทธธุรกิจสำหรับ สอนในวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ ใ ห้กับ นศ. MBA และเล่าในการบรรยายสำหรับธุรกิจ จึงกลายเป็น ศึกษาถึง "ยุทธศาสตร์ไทยโบราณ"ไปอย่างอัตโนมัติ

เจาะภูมิปัญญาไทย

         สิ่งที่เป็นความรู้สึกแรกที่ผู้เขียนได้เห็นตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ ทั้งฉบับ (แม้จะเป็นรูปภาพแต่ด้วยคุณภาพของผู้ถ่ายภาพทำให้เห็นรายละเอียดย่อ-ขยายรูป ด้วยโปรแกรมดูภาพได้เป็นอย่างดี)
         ถึงกับคิดว่า   "ทำไมจึงมีความสมบูรณ์มาก และ ตกมาอยู่ที่ จ.เพชรบูรณ์ จนถึงปัจจุบันได้อย่างไร" -นี่ก็น่าศึกษาสืบค้นเส้นทางประว้ติศาสตร์สายนี้เป็นอย่างยิ่งอีกเช่นกัน

      ข้อค้นพบที่ 1  ตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ทั้ง 2 เล่มสมุดไทย
      จากการเทียบเคียงตำราพิไชยสงครามฉบับรัชกาลที่ 1 (ฉบับร่วมสมัย)  ตำราพิไชยสงคราม ของกรมศิลปากร ฉบับรัชกาลที่ 3 และตำนานหนังสือตำราพิไชยสงคราม พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพสามารถประมวลสรุปในเบื้องต้นได้ว่า
         1.  ตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ ฉบับคำกลอน มีเนื้้้อความเทียบได้เท่ากับ
             1) ตำราพิไชยสงครามคำกลอน ฉ.รัชกาลที่ 1 เล่ม 1 ทั้งหมด เลขที่ 177 ของหอสมุดแห่งชาติ(ด้านเนื้อหายกเว้นบางคำและตัวสะกด)
             2) ตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1 เลขที่ 125 (เกือบทั้งเล่ม) ของหอสมุดแห่งชาติ ซึ่่งเป็นเนื้้อความต่อจากเล่มที่ 1
             3) ตำราพิไชยสงคราม ฉ.รัชกาลที่ 1 เล่ม 3 ว่าด้วยแผนที่ตั้งทัพจนถึงวิธีตั้งทัพ เลขที่ 181 (ไม่ครบทั้งฉบับ และไม่มีภาพประกอบ)  ของหอสมุดแห่งชาติ
         2. ตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ ฉบับกระบวนพยุหะ (หรือการตั้งและจัดทัพ)
            มีลักษณะโดดเด่นโดยเฉพาะ คือ เป็นเรื่อง แผนที่ตั้งทัพ วิธีตั้งทัพ และ การจัดกำลังพลและกองทัพ ที่ยังไม่เคยเห็นมีเป็นเล่มโดยเฉพาะที่เป็นลักษณะการใช้จริง หรือ กลางแปลง ซึ่งมีถึง 64 ภาพ   (ไม่มีคำอธิบายแยกต่างหาก )

            เนื่องจาก ในฉบับรัชกาลที่ 1 ส่วนใหญ่จะมี ภาพแสดง แผนที่ตั้งทัพ วิธีตั้งทัพ และการคำนวณกำลังพล พร้อมคำอธิบายประกอบด้วย(ทำให้ตีความได้)
            ขณะที่ฉบับหลังรัชกาลที่ 1 ในรัตนโกสินทร์ เช่นที่ กรมศิลปากรพิมพ์ครั้งแรกในงานพระราชทานเพลิงศพของพลตรีพระยารามจตุรงค์ เมื่อ พ.ศ.2469   ได้ใช้ต้นฉบับที่จารลงในคัมภีร์ลานของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช(เวก บุณยรัตพันธ์)  และพิมพ์เพิ่มเติมครั้งที่ 6 พ.ศ.2512 ในตอนว่าด้วยกล 21 กลศึกและว่าด้วยแผนที่ตั้งทัพจำนวน 17 ภาพ

            ดังนั้น ตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ ทั้ง 2 เล่มสมุดไทยจะว่าไปแล้ว เสมือนหนึ่งมี 3-4 เล่มสมุดไทย  ก็ถือว่า ครบแก่นของตำราพิชัยสงคราม จะขาดเพียง การดูนิมิต มหาเวทยาตรา อธิไทยโพธิบาทว์ การเกณฑ์ทัพ ตรีเสนา และ เบญจเสนา รวมถึง เนาวพยัตติ
 
            และตามหลักฐานตำราพิชัยสงคราม ครบ 1 ชุด จะมี 5 เล่มสมุดไทย ถ้าเป็นฉบับหลวงจะมี 2 ชุดเท่านั้น(ตามหลักฐานการชำระตำราพิชัยสงคราม ในสมัยรัชกาลที่ 3 ) พร้อมบอกผู้ชุบ (ผู้เขียน) ว่าใครเป็นผู้อาลักษณ์ แต่สำหรับฉบับเมืองเพขรบูรณ์ไม่ระบุว่าใครเขียนในฉบับคำกลอน
           แค่พบเท่านี้ก็ยินดีกับคนเพชรบูรณ์แล้วครับที่มีสมบัติล้ำค่าทางประว้ติศาสตร์กองทัพไทยสมัยโบราณ
           
      ข้อค้นพบที่ 2  ฉันทลักษณ์ไทย (ด้านภาษาการเขียน และรูปแบบการเขียน) ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
        ตามลักษณะของฉันทลักษณ์ไ ทยที่ใ ช้ใ นตำราพิชัยสงครามเ มืองเ พชรบูรณ์ จะมีลักษณะที่โดดเด่นมากและแตกต่างไปจาก ตำราพิชัยสงครามในฉบับที่ผู้เขียนใช้เทียบเคียงคือ
           1. ฉันทลักษณ์ ที่่ใช้ในตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ จะประกอบด้วย 
                  -เริ่ม ชม ยอหรือให้เกียรติ ด้วยโคลงสี่สุภาพ (โคลงกระทู้ 1 คำ)

                     พิ        เคราะห์การศึกใช้     โดยขบวน
                     ไชยะ  สฤดีทั้งมวล             ท่านไว้
                     สง       สัยสิ่งใดควร           คิดร่ำเรียนนา
                     คราม   ศึกกลศึกให้            ถ่องแท้หรือไทยหวัง
                         (ถอดเป็นภาษาปัจจุบัน)
                 
                  -บรรยายความด้วย กาพย์ฉบัง 16  กับ ร่าย,  กาพย์ฉบัง 16 และ กาพย์ยานี 11  กับ โคลงสี่่สุภาพ เช่น
                     
                    นโมนมัสสิวาย          อิศวรนารายณ์   อันเป็นปิ่นโลกโลกีย์ 
                ขอพรสิีริสวัสดิ์จงมี      เดโชชัยศรี       กำจัดวิบัตินานา
                    ตำนานโบราณสืบมา ประสิทธิ์วาจา   ประเสริฐ์ให้เชี่ยวชาญ
               เราท่านร่ำเรียนชำนาญ  สำหรับทหาร  จะร่ำจะเรียนสืบไป

                  กลหนึ่งฤทธี กลสีหจักร กลลักษณ์ซ่อนเงื่อน กลเถื่อนกำบัง  กลพังภูผา กลม้ากินสวน กลพวนเรือโยง กลโพงน้ำบ่อ กลล่อช้างป่า กลฟ้างำดิน กลอินทรพิมาน  กลผลาญศัตรู  กลชูพิษแสลง กลแข็งให้อ่อน กลยอนภูเขา กลเย้าให้ผอม กลจอมประสาท  กลราชปัญญา กลฟ้าสนั่นเสียง  กลเรียงหลักยืน กลปืนพระราม
        ........  

               ประดับสรรพด้วยพลพัน  ยืนช้างแปรผัน พักตร์ไปตามเกล็ดนาคา
            ยืนช้างให้พิจารณา   ดูเมฆเกลื่อนมา  ยาตราให้ได้ฤกษ์ดี

                เมฆเกลื่่อนทิฆัมพร    อุดรทิศชอุ่มสี
            ลาถึงทักขิณศรี       เข้ากลุ้มเกลื่อนพระสุริยน

       ......

             ตำราวรวากยไว้      วิถาร
          พิชัยสงครามการ       ศึกสิ้น
          จงหาที่พิสดาร           เติมต่อ
          จงอย่าลืมกลสิ้น        เล่ห์เลี้ยวจำความ
              สมเด็จจักรพรรดิรู้  คัมภีร์
          ชื่อว่ากามันทกี           กล่าวแก้
          พิชัยสงครามศรี         สูรราช
          ยี่สิบเบ็ดกลแล้           เลิศให้เห็นกล

  
            -และในส่วน 21 กลศึก เป็นร่ายยาว

             กลศึกอันหนึ่ง ชื่อว่าฤทธีนั้น ชั้นทนงองอาจ 

            -จบด้วย โคลงสี่สุภาพ(โคลงกระทู้ 1 คำ)

             จบ   เรื่่องกลยาตราพยุหะ  แผนณรงค์
             บ     อานัยเขตจง              บอกแจ้ง
              ริ     ร่ำหฤทัยปง               รักษาศาสตร์
             บูรณ์ ภาคเพิ่มกลแถลง     กล่าวไว้หวังผดุง
                 (คาดเดาบางคำ)

             2.ลักษณะของการใช้ฉันทลักษณ์ ดังกล่าวมีจุดเด่นคือ
                -การเริ่มด้วยโคลงสี่สุภาพ หมายถึงต้องการเยินยอ หรือชม อวยยศ        นั้นหมายความได้ว่าจะเป็นการสรรเสริญ พระมหากษัตริย์ หรือ ไม่ก็แม่ทัพใหญ่ เช่นเจ้าพระยาสมุหนายก หรือ เจ้าพระยาสมุหกลาโหม
               -การใช้กาพย์ฉบัง 16 ต้องการที่จะให้เกิดความเร้าใจ หรือ รวดเร็ว ซึ่งเหมาะกับตำราพิชัยสงคราม 
               -การใช้กาพย์ยานี 11  เป็นลักษณะของการพรรณาโวหาร หรือ บทเห่
               -และ การ "ร่าย" ถือเป็นสิ่งพื้นฐานของคนไทยที่เป็นเจ้าบทเจ้ากลอน จะร่ายกี่ประโยคก็ได้ เพราะเรานิยมคำกลอน และร่ายนี้เป็นของคนไทยแท้ ๆ 
               -บทจบด้วยโคลงสี่สุภาพ  ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับบทนำ
         ดังนั้น ถ้าจะว่าไปแล้วผู้แต่งหรือเขียนตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์เล่มนี้แต่งถูกต้องตามตำราไทย  และเลือกใช้ฉันทลักษณ์ได้อย่างงดงาม  
          และที่สำคัญยังบอกให้รู้ด้วยว่า ใครเป็นผู้รจนาเริ่มแรก  ...อยากรู้ต้องติดตามตอน 2 ครับ



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ

February 9, 2009

ตำราพิชัยสงครามไทยเฟื่องฟูที่สุดในรัชกาลที่ 3 โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

มูลเหตุจาก ตำราพิชัยสงคราม ฉบับ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีการเปิดเผยเมื่อเดือน ธ.ค.51 ทำให้มีการศึกษาและสืบค้นกันว่า ตำราพิชัยสงครามฉบับดังกล่าว เขียนขึ้นในสมัยใด

ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่สนใจใน "ยุทธศาสตร์ไทยโบราณ" หรือ "ตำราพิชัยสงคราม"  สมัยก่อนที่เชื่อว่าน่าจะมีคุณค่าต่อการเรียนรู้และการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

หลังจากที่ไ ด้ข้อมูลแ ละภาพ จาก คุณสุนทร คงวราคม/เ พชรบูรณ์ ทำใ ห้อนุมานไ ด้ว่า ตำราพิชัยสงคราม ฉบับดังกล่าวน่าจะเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ระหว่างปีที่ไทยทำสงครามกับญวน (ตามที่ได้วิเคราะห์ไปแล้ว)

ทำไมจึงอนุมานว่า เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่3 

        เหตุสำคัญผลสำคัญคือ 
        1.ในรัชกาลที่ 3 เพิ่งมีการชำระตำราพิชัยสงครามเสร็จ โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์  เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  ซึ่งเป็นไปได้ว่าแม่ทัพและนายกองทั้งหมายคงต้องถูกให้เข้ารับการฝึกฝนและใช้ตำราดังกล่าว เพื่อเตรียมการสำหรับการรบทัพจับศึก
          ในขณะที่พม่า ไม่มีโอกาสมาทำสงครามกับไทยเพราะมัวรบอยู่กับอังกฤษ  แต่ไทยมีสงครามกับลาว เขมรและญวนแทน

       2. ตาม หนังสือ อานามสยามยุทธ ที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิง) ที่สมุหนายกในรัชกาลที่ 3เป็นผู้เรียบเรียงไว้ 55 เล่มสมุดไทยตัวรง ว่าด้วยรายงานราชการกองทัพไทย รวมเวลา 21 ปี ไทยรบกับญวน 14 ปี
ซึ่งในหนังสือดังกล่าวระบุเกี่ยวกับตำราพิชัยสงครามไว้ค่อนข้างมาก

ตัวอย่างความเฟื่องฟูของตำราพิชัยสงคราม
    
         ในหนังสือ "อานามสยามยุทธ" ของเ จ้าพระยาบดินทรเดชา มีระบุถึงตำราพิชัยสงคราม หลายครั้ง อาทิ
          
         1.ตามบันทึกในหนังสือระบุคราวทำสงครามกับลาว ว่า  
            "เจ้าอนุวงค์กับเจ้าสุทธิสารผู้บุตรใหญื ตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลทะเลหญ้าฝ่ายทิศตะวันออกนอกเมืองนครราชสีมา ตั้งค่ายเป็นเจ็ดค่ายชักปีกกาขุดสนามเพลาะพร้อมตามตำราพิไชยสงครามดยนาคนาม "
            
          "พระณรงค์สงคราม ปรึกษาราชการทัพศึกกับพระยาปลัด พระยายกกระบัตร ....  บัดนี้เราตระเตรียมจัดการให้เป็นภูมิฐาน ตามตำรับกระบวนพิชัยสงคราม ตามไปตีทัพลาวอีกสักคราวหนึ่งเห็นจะได้ชัยชนะ ..."
          
            ณ . ตำบลทุ่งบกหวาน " เจ้าพระยาราชสุภาวดี มีบัญชาสั่งให้นายทัพนายกองตั้งค่ายใหญ่ เป็นรูปกากางปีกตามความคิดของลาวชาวเมืองสุพรรณภูมิ ซึ่งจะได้เป็นนามค่ายอริกันกับค่ายศัตรู แล้วขุดสนามเพลาะปักขวากหนามตามตำราพิชัยสงคราม " 
     
           2. การรบกับญวน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในดินแดนเขมร
             รบกับญวนที่เมืองสะแดก " เพราะเรือรบไทยรู้จักการพิชัยสงครามว่า  ..ถ้าจอดเรือรบ หรือ ทอดสมอเรือรบนั้น ห้ามไม่ให้จอดและทอดสมอที่กระแสน้ำเชี่ยวเลยเป็นอันขาด เพราะกลัวจะถูกแพไฟของข้าศึกที่จะปล่อยตามน้ำมาไหม้เสีย "
              หมื่นสิทธิสงครามปราบพวกเขมรเหล่าร้ายตายหมด ..ก็ยกพลทหารข้ามลำห้วยเดินทัพไปข้างเหนือ ถึงตำบล ไพรทุกฉมา พิจารณาดูตามภูมิลำเนาป่านั้น เห็นหญ้าตามพื้นแผ่นดินเป็นรอยทางคนเดินหญ้าราบซ้ำเป็นแถวไป  หมื่นสิทธิสงครามเป็นผู้มีวิริยะปัญญาฉลาดในการพิไชยสงคราม เมื่อเหนหญ้าราบเป็นรอยเท้าคนเดินเป็นทางไปในป่าดังนั้นแล้ว ก็อาจสามารถ เข้าใจว่าพวกเขมรเหล่าร้ายมาแอบซุ่มด้อมมองคอยทำร้ายกองทัพไทยอยู่ที่นี่อีกเป็นมั่นคง  ..."

              การพูดถึงพระยาเพชรบูรณ์ ในการทำสงครามกับญวน
            1.จุลศักราช 1202 ปีชวดโทศก เป็นปีที่ 17 ในรัชกาลที่ 3 ครั้น ณ เดือน สิบสองขึ้นสิบสามค่ำ เจ้าพระยาบดิทรเดชาจัดกระบวนทัพที่จะไปรบกับญวนนั้นให้เจ้าพระยานครราชสีมาเป็นแม่ทัพ
             เจ้าพระยานครราชสีมาและพระยาพรหมสุรินทร์ยกทัพไปตีค่ายญวนที่กำพงปรัก แต่ ณ เดือนสิบสองแรมสิบเอ็ดค่ำ แล้วให้จัดทัพอีกกองหนึ่งไพร่ไทยในกรุงและหัวเมือง 1,520 คน ให้พระยาเพชรบูรณ์เป็นแม่ทัพหน้าคุมไ พร่ลาวหัวเมือง ...
             2.ครั้นเมื่อ เจ้าพระยานครราชสีมา(ทองอิน) ป่วยเป็นไข้พิษแล้วกลายเป็นไข้สันนิบาตลูกนก  ทำให้ขาดแม่ทัพ
              เจ้าพระยาบดินทรเดชา มีหนังสือถึง รัชกาลที่ 3   ว่าไ ม่มี ตัวคนที่จะเป็นแม่ทัพไปต่อรบกับญวน
รัชกาลที่ 3 จึงให้ว่ากล่าวกับพระยาเพชรบูรณ์ว่าอย่าท้อแท้เป็นใจหญิงหาควรไม่ ให้ตั้งใจทำราชการทัพศึกให้องอาจแข็งแรงขึ้นกว่าเก่า จึงจะสมควรที่เป็นเชื้อชายสืบตระกูลมาจากเจ้าพระยาพระคลังประตูจีนเก่า จะได้มีชื่อเสียงปรากฎในจดหมายเหตุตามวงค์ตระกูลของพระยาเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นวงค์สืบมาแต่เสนาบดีกรุงเก่าโน้น  ...พอจะทำการแทนเจ้าพระยานครราชสีมาได้ ให้ตั้งใจทำการให้ดีจะพระราชทานยศให้เป็นเจ้าพระยาเพชรบูรณ์ คู่กันกับโคราชเพราะเป็นพระยานาหมื่นอยู่แล้ว

        
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ