February 9, 2009

ตำราพิชัยสงครามไทยเฟื่องฟูที่สุดในรัชกาลที่ 3 โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

มูลเหตุจาก ตำราพิชัยสงคราม ฉบับ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีการเปิดเผยเมื่อเดือน ธ.ค.51 ทำให้มีการศึกษาและสืบค้นกันว่า ตำราพิชัยสงครามฉบับดังกล่าว เขียนขึ้นในสมัยใด

ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่สนใจใน "ยุทธศาสตร์ไทยโบราณ" หรือ "ตำราพิชัยสงคราม"  สมัยก่อนที่เชื่อว่าน่าจะมีคุณค่าต่อการเรียนรู้และการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

หลังจากที่ไ ด้ข้อมูลแ ละภาพ จาก คุณสุนทร คงวราคม/เ พชรบูรณ์ ทำใ ห้อนุมานไ ด้ว่า ตำราพิชัยสงคราม ฉบับดังกล่าวน่าจะเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ระหว่างปีที่ไทยทำสงครามกับญวน (ตามที่ได้วิเคราะห์ไปแล้ว)

ทำไมจึงอนุมานว่า เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่3 

        เหตุสำคัญผลสำคัญคือ 
        1.ในรัชกาลที่ 3 เพิ่งมีการชำระตำราพิชัยสงครามเสร็จ โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์  เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  ซึ่งเป็นไปได้ว่าแม่ทัพและนายกองทั้งหมายคงต้องถูกให้เข้ารับการฝึกฝนและใช้ตำราดังกล่าว เพื่อเตรียมการสำหรับการรบทัพจับศึก
          ในขณะที่พม่า ไม่มีโอกาสมาทำสงครามกับไทยเพราะมัวรบอยู่กับอังกฤษ  แต่ไทยมีสงครามกับลาว เขมรและญวนแทน

       2. ตาม หนังสือ อานามสยามยุทธ ที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิง) ที่สมุหนายกในรัชกาลที่ 3เป็นผู้เรียบเรียงไว้ 55 เล่มสมุดไทยตัวรง ว่าด้วยรายงานราชการกองทัพไทย รวมเวลา 21 ปี ไทยรบกับญวน 14 ปี
ซึ่งในหนังสือดังกล่าวระบุเกี่ยวกับตำราพิชัยสงครามไว้ค่อนข้างมาก

ตัวอย่างความเฟื่องฟูของตำราพิชัยสงคราม
    
         ในหนังสือ "อานามสยามยุทธ" ของเ จ้าพระยาบดินทรเดชา มีระบุถึงตำราพิชัยสงคราม หลายครั้ง อาทิ
          
         1.ตามบันทึกในหนังสือระบุคราวทำสงครามกับลาว ว่า  
            "เจ้าอนุวงค์กับเจ้าสุทธิสารผู้บุตรใหญื ตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลทะเลหญ้าฝ่ายทิศตะวันออกนอกเมืองนครราชสีมา ตั้งค่ายเป็นเจ็ดค่ายชักปีกกาขุดสนามเพลาะพร้อมตามตำราพิไชยสงครามดยนาคนาม "
            
          "พระณรงค์สงคราม ปรึกษาราชการทัพศึกกับพระยาปลัด พระยายกกระบัตร ....  บัดนี้เราตระเตรียมจัดการให้เป็นภูมิฐาน ตามตำรับกระบวนพิชัยสงคราม ตามไปตีทัพลาวอีกสักคราวหนึ่งเห็นจะได้ชัยชนะ ..."
          
            ณ . ตำบลทุ่งบกหวาน " เจ้าพระยาราชสุภาวดี มีบัญชาสั่งให้นายทัพนายกองตั้งค่ายใหญ่ เป็นรูปกากางปีกตามความคิดของลาวชาวเมืองสุพรรณภูมิ ซึ่งจะได้เป็นนามค่ายอริกันกับค่ายศัตรู แล้วขุดสนามเพลาะปักขวากหนามตามตำราพิชัยสงคราม " 
     
           2. การรบกับญวน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในดินแดนเขมร
             รบกับญวนที่เมืองสะแดก " เพราะเรือรบไทยรู้จักการพิชัยสงครามว่า  ..ถ้าจอดเรือรบ หรือ ทอดสมอเรือรบนั้น ห้ามไม่ให้จอดและทอดสมอที่กระแสน้ำเชี่ยวเลยเป็นอันขาด เพราะกลัวจะถูกแพไฟของข้าศึกที่จะปล่อยตามน้ำมาไหม้เสีย "
              หมื่นสิทธิสงครามปราบพวกเขมรเหล่าร้ายตายหมด ..ก็ยกพลทหารข้ามลำห้วยเดินทัพไปข้างเหนือ ถึงตำบล ไพรทุกฉมา พิจารณาดูตามภูมิลำเนาป่านั้น เห็นหญ้าตามพื้นแผ่นดินเป็นรอยทางคนเดินหญ้าราบซ้ำเป็นแถวไป  หมื่นสิทธิสงครามเป็นผู้มีวิริยะปัญญาฉลาดในการพิไชยสงคราม เมื่อเหนหญ้าราบเป็นรอยเท้าคนเดินเป็นทางไปในป่าดังนั้นแล้ว ก็อาจสามารถ เข้าใจว่าพวกเขมรเหล่าร้ายมาแอบซุ่มด้อมมองคอยทำร้ายกองทัพไทยอยู่ที่นี่อีกเป็นมั่นคง  ..."

              การพูดถึงพระยาเพชรบูรณ์ ในการทำสงครามกับญวน
            1.จุลศักราช 1202 ปีชวดโทศก เป็นปีที่ 17 ในรัชกาลที่ 3 ครั้น ณ เดือน สิบสองขึ้นสิบสามค่ำ เจ้าพระยาบดิทรเดชาจัดกระบวนทัพที่จะไปรบกับญวนนั้นให้เจ้าพระยานครราชสีมาเป็นแม่ทัพ
             เจ้าพระยานครราชสีมาและพระยาพรหมสุรินทร์ยกทัพไปตีค่ายญวนที่กำพงปรัก แต่ ณ เดือนสิบสองแรมสิบเอ็ดค่ำ แล้วให้จัดทัพอีกกองหนึ่งไพร่ไทยในกรุงและหัวเมือง 1,520 คน ให้พระยาเพชรบูรณ์เป็นแม่ทัพหน้าคุมไ พร่ลาวหัวเมือง ...
             2.ครั้นเมื่อ เจ้าพระยานครราชสีมา(ทองอิน) ป่วยเป็นไข้พิษแล้วกลายเป็นไข้สันนิบาตลูกนก  ทำให้ขาดแม่ทัพ
              เจ้าพระยาบดินทรเดชา มีหนังสือถึง รัชกาลที่ 3   ว่าไ ม่มี ตัวคนที่จะเป็นแม่ทัพไปต่อรบกับญวน
รัชกาลที่ 3 จึงให้ว่ากล่าวกับพระยาเพชรบูรณ์ว่าอย่าท้อแท้เป็นใจหญิงหาควรไม่ ให้ตั้งใจทำราชการทัพศึกให้องอาจแข็งแรงขึ้นกว่าเก่า จึงจะสมควรที่เป็นเชื้อชายสืบตระกูลมาจากเจ้าพระยาพระคลังประตูจีนเก่า จะได้มีชื่อเสียงปรากฎในจดหมายเหตุตามวงค์ตระกูลของพระยาเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นวงค์สืบมาแต่เสนาบดีกรุงเก่าโน้น  ...พอจะทำการแทนเจ้าพระยานครราชสีมาได้ ให้ตั้งใจทำการให้ดีจะพระราชทานยศให้เป็นเจ้าพระยาเพชรบูรณ์ คู่กันกับโคราชเพราะเป็นพระยานาหมื่นอยู่แล้ว

        
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ

No comments: