August 28, 2011

ชุมนุมตำราพิชัยสงคราม

 ถ้าพูดถึงตำราพิชัยสงคราม ในโลกและบ้านเรา เชื่อว่า คงไม่มีใครไม่รู้จัก "ตำราพิชัยสงครามชุนวู (The Art of War)" ของจีนถือเป็นต้นตำรับของศิลปแห่งสงคราม ที่ทหาร นักธุรกิจ ทุกอาชีพต่างก็อ่านกันทั่วทุกคน

 
 ที่มาของรูป
 (http://www.spotlightofpeace.com/
wp-content/uploads/2011/01/The_Art_of_War_Book_Sun_Tzu.jpg)

ที่รองลงมาดูเหมือนจะเป็น "36 กลยุทธของซุนวู" มักเรียกกันอย่างนี้ซึ่งยังหาหลักฐานไม่ได้ว่าใครเขียนขึ้นมา  บางตำราก็ว่าเป็นคนนิรนาม  บางตำราก็ว่าเป็นซุนปิง ไม่มีข้อยุติ
สุดท้ายในกลุ่มนี้ คงหนีไม่พ้น "สามก๊ก" เพราะหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงการทำสงครามชิงอำนาจกัน 3 ยุคโดยใช้ตำราพิชัยสงครามจีน  ถึง 6 ตำราด้วยกัน

หากพูดถึง "ตำราพิชัยสงครามของไทย" ที่เห็นกันมักขึ้้นตาม เวบและ บล็อกต่าง ๆ ที่เอา 21 กลยุทธ มาอธิบายความกันนั้น ส่วนใหญ่นำมาจาก"ตำราพิไชยสงครามคำกลอน" ที่มีการพิมพ์ขึ้นมาในระยะหลัง

สายธารแห่งปัญญา


 ตามพงศาวดารไทยระบุไว้ว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2  แรกให้ทำตำราพิชัยสงคราม เมื่อ พุทธศักราช 2041
(บันทึกใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ)

ผู้เขียนศึกษาในเรื่องนี้ตั้งข้อสันนิษฐาน ว่าคงมีที่มาของตำราพิชัยสงครามจาก มหากาพย์ภารตยุทธที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียโบราณ 

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถหาอ่านได้เพราะมีผู้แปลเป็นหลายเล่ม  และยังสามารถใช้หนังสือ 
 "พิชัยสงครามฮินดูโบราณ" ที่ ร้อยเอก ยี.อี. เยรินี แปลและเรียบเรียงขึ้นจากตำรา นีติประกาศิกา (ตำราอาวุธ) และตำรายุทธสงคราม ศุกรนีติสาร จัดพิมพ์ใน ร.ศ.113 (ค.ศ.1894) ประกอบความเข้าใจได้(ดังรูปปกหนังสือข้างล่างเป็นเล่มที่พิมพ์ใหม่ ในปัจจุบัน-2548)



หนังสือตำราพิชัยสงคราม ที่ปรากฏเป็นอักษรปัจจุบัน ตามหลักฐานที่พิมพ์ขึ้นครั้งแรกปี 2418 โดยโรงพิมพ์ปลัดเลย์ หนังสือพิไชยสงครามไทย รวมห้าเล่มสมุดไทย คัดลอกมาจากต้นฉบับหลวงพิไชยสงคราม(เป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด)

ส่วนที่กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์ เล่มแรก ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ นายพลตรีพระยารามจตุรงค์(เพ็ชร บุณยรัตพันธ์) ปี 2469  เป็นตำราพิชัยสงครามคำกลอน ฉบับเดิมของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช(เวก บุณยรัตพันธุ์) และสมเด็จฯ กรมพระสวัสดิ์วัดนวิศิษฎ์ ได้ให้หอพระสมุดฯ ตรวจทานและจัดพิมพ์ และมีตำนานหนังสือตำราพิไชยสงคราม ของสมเเด็จ กรมพระยาดำรงราชานุภาพพิมพ์ไว้ด้วย  และกลยุทธ 21 ประการ พร้อมคำอธิบายเป็นคำกลอน 

ซึ่งยากในการตีความและการนำไปปรับใช้ (แม้จะมีหลายท่านพยายามทำอยู่ก็ตาม) เพราะหากอ่านเข้าใจได้เลย เกิดตกไปอยู่ในมือศัตรูก็คงจะแย่  ขนาดของซุนวู ก็ยังมีแปลแล้วแปลอีก ยกตัวอย่างแทบจะทุกภาษา  ภาษาไทยก็แปลกันหลายสำนัก






ส่วนเล่มต่อมา เป็นเล่มที่พิมพ์ครั้งที่ 5 ของกรมศิลปากร อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยเอกขุนวรนิติ์นิสัย นอกจากเหมือนเล่มแรกแล้วยังมีเพิ่ม ตำราพิชัยสงครามซุนวู แปลโดยนายเสถียร วีรกุล ไว้ด้วย












เล่มล่างเป็นการพิมพ์ครังที่ 6 ซึ่งเล่มนี้มักอ้างถึงกันมาก เนื่องจากพิมพ์ในปี 2512 ได้เพิ่มในส่วนของกระบวนพยุหะ หรือ การจัดกระบวนทัพ เข้ามา 17 ภาพ




เล่มสุดท้าย น่าสนใจมาก คือ  ฉบับของ พลเอกหลวงสวัสดิสรยุทธ  ว่าด้วยหลักการสงคราม และประวัติและกิจการทหารการยุทธครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325 ถึง พ.ศ.2475   พิมพ์ในปี 2512






















ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ
บจก. ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์
โทร 029301133
email: drdanait@gmail.com


August 24, 2011

การจัดทัพในกระบวนพยุหยาตรา



เป็นที่ทราบกันว่าเรื่องราวใน ตำราพิชัยสงคราม โดยเฉพาะการจัดทัพ ไม่ใช่เรื่องที่จะศึกษาและทำึความเข้าใจในตำราดังกล่าวได้ง่ายนัก เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ได้เปิดเผยและใช้กันในกลุ่มชนชั้นกษัตริย์ และแม่ทัพ ที่มีโอกาสได้ศึกษาร่ำเรียน ขณะเดียวกันแหล่งความรู้ในเรื่องนี้นอกจากตัวตำรา ประวัติศาสตร์ในพงศาวดาร วรรณคดีในสมัยก่อน และ จิตรกรรมฝาผนัง ยังสามารถร้อยเรียงเข้ามาทำความเข้าใจได้อีกด้วย

จิตรกรรมฝาผนังวัดประดู่ทรงธรรม เป็นหนึ่งในเรื่องนี้ที่มีการวาดภาพ การจัดทัพแบบจตุรงคเสนาของบรรดากษัตริย์ 7 นคร ที่ยกพยุหยาตรา(ทางสถลมารค)โยธาทัพเดินทางมาขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุที่เมืองกุสินารา  แต่ภาพจิตกรรมดังกล่าว นับวันจะเลือน เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา เพราะขาดการดูแลและบำรุงรักษา

ผู้เขียนได้บันทึกภาพเหล่านี้ไว้( ซึ่งไม่ใช่ช่างภาพมืออาชีพแต่เป็นตามระดับความสนใจ)





ตำราพิชัยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์ -ล่าสุด


การศึกษาเกี่ยวกับตำราพิชัยสงคราม ในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันดีว่า มีผู้รู้และเชี่ยวชาญอยู่ไม่มากและนับวันยิ่งคงจะหายากยิ่งขึ้น

ตามที่ปรากฏเป็นข่าว เมื่อ ประมาณ ปลายปี ธ.ค.51 ทางจังหวัดเพชรบูรณ์ได้รับมอบตำราพิชัยสงครามจากคุณมาวิณห์ พรหมบุญ  เป็นข่าวคราวเรื่อยมาในการที่จะพิสูจน์ว่า 
-มีความเป็นมาอย่างไร ใครเขียนขึ้น
-เนื้อหาในตำราพิชัยสงครามทั้งสอง เล่มสมุดไทย
-คุณค่าอื่น ๆ ทางประวัติศาสตร์


แต่ก็ยังไม่มีเรื่องราวเปิดเผยออกมา


ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่สนใจด้านกลยุทธ และได้ศึกษาตำราพิชัยสงครามดังกล่าวด้วย


เร็ว ๆ  นี้ได้รับเชิญจากวารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ให้ช่วยเขียวเกี่ยวกับ ตำราพิชัยสงคราม ฉบับเมืองเพชรบูรณ์



ผู้เขียนได้เขียนเสร็จเรียบร้อย ในชื่อ "ตำราพิชัยสงคราม: บทวิเคราะห์ฉบับจังหวัดเพชรบูรณ์ 

August 2, 2011

งานไหว้ครู ของนักศึกษาหลักสูตรบัณฑิตบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ ม.เซนต์จอห์น

 เมื่อวันที่ 24 ก.ค.54 ที่ผ่านมา ผมไปร่วมงานพิธีไหว้ครูซึ่ง นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ จัดขึ้นโดยมี นายกสภามหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น เป็นประธานในพิธี แลพ ศ.ดร.สำเนาว์ ขจรศิลป์ ที่ปรึกษาคณบดีคณะศึกษา เป็นอาจารย์ผู้ใหญ่ร่วมด้วย