ในคราวก่อนได้เล่าให้ฟังถึงการเปิดชั้นเรียนวิชา HRM in Ed. ของ ป.โท บริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ ที่ ม.เชนต์จอห์น วันแรกได้พูดไป 2เรื่องยังไม่จบ จึงมาขอต่อ
1. การจัดการเป็นสิ่งสำคัญในทุก ๆ องค์กรของประเทศไทย และกรณีน้ำท่วม ได้เห็นภาพนี้ชัดเจนว่า รัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพในการจัดการน้ำ ซึ่งสะท้อนกลับไปที่การศึกษาของชาติว่า มีปัญหา
2.การศึกษาที่สมดุลทั้ง อดีต (ประวัติศาสตร์-รักชาติและราชวงค์ วัฒนธรรม และศาสนา) กับ อนาคต (ยุคดิจิตอล)ของเกาหลี
ได้ยกตัวอย่างการเรียน ของเด็กระดับ ปฐมวัย และพื้นฐานการศึกษา ที่เรียน ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนา นอกชั้นเรียน
(อ่านได้ที่นี่ คลิก...)
ความงดงามและน่าเคารพศรัทธา ที่วัด พุกกุกซา
(ห้ามถ่ายรูป หากจะถ่ายรูปต้องจ่ายเงินเข้าไปในโบสถ์ ผมเลยซูมภาพนอกโบสถ์ จะเห็นว่าองค์พระงดงามจริงครับ)
ยังมีอีกสถานที่อีก 2แห่งจะเห็น นร.มากันเยอะแยะไปหมด พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ (ที่นี่ผมเดินนานกว่าเพื่อนจนกลายเป็นคนสุดท้ายที่ไปขึ้นรถ )
ระฆังในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ตามประวัติ ช่างหล่อทำไม่สำเร็จเพราะ ตีแล้วเสียงไม่ดังกังวาร ต้องมีพิธีกรรม สังเวยหญิงสาวพรหมจรรย์ เป็นส่วนผสม ภรรยาช่างจึงปรึกษษกับลูกสาว แลลูกสาวยอมตายเพื่อให้พ่อทำระฆังใบนี้สำเร็จ (ทำให้ผมดูห่าง ๆ )
ส่วนอีกด้านหนึ่งของการเรียนรู้เป็น Digital World
ที่ Digital Pavilion กรุงโซล
(Nuritkum Square Digital Pavilion ห้องแสดงนิทรรศการดิจิตอลแห่งใหม่ล่าสุดของเกาหลี)
สระเลี้ยงปลาดิจิตอล (ปลาก็ดิจิตอล)
ตัดภาพกลับมาที่การบริหาร HR ให้การคิดอย่างแรกว่า
1) การบริหารคน นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ (The art and science of HRM)
2)ไม่ใช่การบริหารหรือจัดการพนักงาน แต่เป็น"การบริหารคน (People Management)"
ทำอย่างไรถึงจะเข้าใจและดูแลคนได้ดี
3) ได้ขยายความว่า
ศาสตร์หมายถึง หลักการ ทฤษฎี ที่เราสามารถเรียนรู้ได้ทุกคน
ศิลป์ หมายถึง เป็นสิ่งเฉพาะบุคคล ความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคลที่ผ่านประสบการณ์การลองผิด ลองถูก สอนได้ไหมค่อนข้างยาก เพราะขึ้นอยูกับผู้สอน โดยทำแบบ 1 to 1 Coaching
แต่ผู้สอน อาจจะ "ฝึกความอดทนผู้เรียนก่อน ว่า อึดไหม"
"มีแววและศักยภาพเพียงพอที่จะเรียนรู้ได้แค่ไหน มากน้อยเพียงใด"
ทิ้งท้ายให้คิดว่า การบริหารคนในทางการศึกษา ต้องหาไอเดียใหม่ วิธีการเรียนรู้ใหม่ ฯลฯ
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
โทร 029301133