August 6, 2012

ว่าด้วยปรัชญาความเป็นผู้นำ


                          (นศ. ป.เอก รุ่น 7  มซจ. ไปดูงานที่ รร.มหิดลวิทยานุสรณ์)

 ในการสอนวิชา Strategic Leadership  สำหรับ นศ.ป.เอก ที่ มซจ. ต้องยอมรับว่า นศ. ป.เอก แต่ละรุ่น มีความตั้งใจ และมุ่งั่นในการศึกษาอยู่ในระดับ ที่สูงทีเดียว

ช่วงของเมษายน ปี ก่อน ได้หารือ ร่วมกับ ผศ.ดร.วินิจ เกตุขำ ที่เป็นผู้สอนหลักในวิชานี้ ว่า สิ่งที่เรายังติดใจกันในเรื่อง ความเป็นผู้นำ (Leadership) คือ

-ระบบการศึกษาของเรา ยังไม่มีทฤษฎีความเป็นผู้นำของไทย ที่สร้างขึ้นและใช้กันเอง
-การพัฒนา นศ. ระดับบัณฑิตศึกษา ยังก้าวไปอีกพอสมควรที่ จะสร้างผู้นำเก่ง ๆ ให้เป็นผลผลิตทางการศึกษาที่ดี

เราได้แลกเปลี่ยนสนทนา และ พยายามวิธีการในการสร้าง ทฤษฎีความเป็นผู้นำ (Theory of Leadership)  และได้ทิศทางคร่าว ๆ เพื่อเสริมให้ นศ.ระดับปริญญาเอกดังนี้่

1. คงต้อง เรียนในเรื่อง "ปรัชญาความเป็นผู้นำ"
อ่าน  ....บทความว่าด้วย "ปรัชญาความเป็นผู้นำ" ได้ครับ
2. คงต้องเสริมการศึกษาดูงาน ให้ มีมากขึ้น เพื่อให้ นศ.ป.เอก มีมุมุมองที่กว้างและหลากหลายมากขึ้น
3. หาวิธีการสอนแบบใหม่ ในชั้นเรียน ที่สามารถบูรณาการ ได้ ทั้ง  องค์ความรู้ทางหฤษฎี  การวิจัย  และ การสร้างความท้าทายสำหรับผู้นำ

ทั้งหมด นี้ เป็นจุดเริ่มต้นให้ีการ นำเรื่อง ปรัชญาความเป็นผู้นำ มาสอนนวิชานี้ และ วิธีการใหม่ที่ใช้ ซึ่งเป็นความสำเร็จจากธุรกิจระดับโลก  คือ  "การเรียนรู้บนความท้าทาย (Challenge based learning)"


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com


Strategic Leadership : การเรียนรู้บนความท้าทาย (CBL: Challenge based learning)



ในการสอนวิชา Strategic Leadership เพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต การบริหารศึกษาและ ภาวะผู้นำที่ ม.เซนต์จอห์น ในเทอม นี้ (ปี 2555)
 
ผู้เขียนได้ปรับเนื้อหาและแนวการสอนให้ทัน กับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ให้มากยิ่งขึ้นจากประสบการณ์ในฐานะที่ปรึกษาธุรกิจ    ผู้นำทางกลยุทธธุรกิจ และการบริหารคน

อย่างแรกเลย  ด้วยผู้เขียนเห็นว่า นศ. ป.เอก จะได้เรียนวิชา การวิเคราะห์ทฤษฎีภาวะผู้นำและการบริหารมาแล้ว จึงไม่น่าจะทำการสอนซ้ำ ควรสอนอะไรที่แตกต่างออกไปจากที่เคยเรียนมา

จึงได้วาง เนื้อหาเป็น  Module 1)  ปรัชญาความเป็นผู้นำ
                                   Module  2) Strategic Visionary Leadership
                                   Module 3) Strategic Innovative/Entrepreneurial Leadership
                                   Module 4) Strategic Change Leadership 
  โดยที่ในโลกความเป็นจริง ของผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาไป ต้องไปนำองค์กรในเรื่องเหล่านี้

อย่างที่สอง   วิธีการสอน จึงได้ออกแบบให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แนวใหม่ คือ  นำแนวคิดของ "การเรียนรู้บนความท้าทาย -Challenge based learning (CBL)" เข้ามาใช้แทนการสอนแบบ Problem based learning ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ใหม่ของประเทศ (เพราะติดกับดักแต่ปัญหา)

แล้วยังเสริมประสบการณ์ในการเรียนรู้ ด้วย
แนวคิดเสริมสมอง  เรื่อง  Military Leadership in 21st Century
1) การศึกษาดูงานในภาคปฏิบัติ โดยการ ไปศึกษาดูงาน รร. นายร้อยพระจุลจอมเกล้า พร้อมเข้าฝึกภาคสนามทดสอบ กำลังใจและความรู้
ในโครงการศึกษาดูงาน นี้ นศ. ต้อง สรุป CBL  ที่ได้ นำเสนอให้กับผู้เขียน 
การเรียนรู้จาก Best practices
2)  การเรียนรู้บทเรียนแห่งความเป็นเลิศ
    -ศึกษาดูงาน ความสำเร็จของ การบริหาร คณะแพทย์ มอ.
    -การศึกษาวิธีการจัดการ บริษัท ส่งออกชั้นนำ ที่ อ.หาดใหญ่
    -การดูงาน ไร่นาสวนเกษตร ที่ประสบความสำเร็จ  อ.กะปง ที่ จังหวัดพังงา

ทั้ง 3 กรณี นศ. ต้อง ส่งสรุป CBL พร้อมกับ การนำ 8 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง (Kotter) ประยุกต์กับโจทย์ของจริง ว่าจะใช้ได้อย่างไรมีไอเดียอะไรบ้าง   ส่งให้กับผู้เขียน

อย่างสุดท้าย  การวัดความสำเร็จของการเรียนรู้

1)  นศ. ยังต้องส่ง CBL ของแต่ละโมดูล พร้อม บทความ 1 เรื่อง ซึ่งสุดท้าย จะนำไปรวบรวมเป็น Pockbook   ส่ง เป็น งาน Mid-Term (ตามหลักการของ หน่วยงานทะเบียนที่ให้กรอกว่าต้องมีคะแนน Mid-Term) 
2)  Term paper ที่จะต้องส่ง งานวิจัย 3 บท ตาม Module 2-4 หรือ อาจจะทำจนเสร็จเลยก็ได้ 

พร้อม การนำเสนอ ก่อน สอบ Final
ทั้งหมดนี้เป็น "ความท้าทายทางการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต"  ที่มักไม่ค่อยจะเกิดขึ้นได้ง่ายนักกับ ระบบการศึกษาไทย  ที่ท่องบ่นกันแต่เรื่อง คุณภาพและมาตรฐาน (ชาติไหน)


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com