May 14, 2013

CBL : Challenge based learning (ริเริ่มและพัฒนาแล้วในเมืองไทย)

          การเรียนรู้สมัยใหม่ ไม่ใช่แบบที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการศึกษา กำลังท่องบ่นกันอยู่ (ไม่ใช่ Teaching ต้องเป็น Doing) แต่ผมว่าต้องไปไกลกว่านั้น โดยเป็น "การเรียนรู้บนความท้าทาย (Challenge based learning:CBL)" ผมเริ่มใช้สอน ป.เอก รุ่นที่ 8 ที่ มซจ.(ม.เซนต์จอห์น)  เป็นแห่งแรกในปีที่แล้ว ( ปี 2552) ขณะที่ ป.โท ใช้ที่ MBA มวล.(ภาคเรียน2/2555 ที่แล้ว ณ. ท่าศาลา ใช้ต่อเนื่อง มา เทอมใหม่ ที่ ศูนย์สุราษ์)  และ ที่สถาบันพระปกเกล้า (ผมปรับมาจาก ของ บริษัท Apple ตอนที่ Steve Jobs ยังอยู่และพัฒนาขึ้นมาใช้)




          ภาพข้างบนเป็นการปรับให้เหมาะสมกับ ธุรกิจและองค์กรในบ้านเรา ซึ่ง ได้ขยายผลไปในหลายหน่วยงาน ซึ่งมีทั้งหมด 6 ขั้นตอนคือ  1) Big Idea 2) คำถามสำคัญ  3)ความท้าทาย 4) การออกแบบ ซึ่งประกอบด้วย  แนวคำถาม  แนวทางกิจกรรม  แนวทางการใช้ทรัพยากร 5) โซลูชั่นและการปฏิบัติ  6) การประเมิน หรือวัดความสำเร็จ

        (โปรดติดตามได้ ที่นี่ ในรายละเอียดที่ใช้งานจริงมาแล้วกับธุรกิจและสถาบันการศึกษา)

 ดร.ดนัย เทียนพุฒ
  นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
          

การเรียนรู้บนความท้าทาย : CBL (Challenge based learning)



             Challenge based learning (CBL) หรือ ผู้เขียนริเริ่มใช้ ในภาษาไทยว่า "การเรียนรู้บนความท้าทาย"

             CBL  เป็นแนวคิดใหม่ที่ ใช้ในการเรียนรู้ ซึ่งผู้เขียนพบว่า น่าสนใจและได้ผลมาก หลังจากที่ได้อ่านและศึกษาแนวคิดจาก หลักการและแนวทางจาก บริษัท Apple ในขณะที่ Steve Jobs ยังมีชีวิตอยู่ ใช้ทำโครงการนี้สำเร็จมาแล้วก่อนเสียชีวิต

              ผู้เขียนได้นำแนวคิดของ CBLเข้ามาเผยแพร่ให้วงการธุรกิจได้เรียนรู้ ในการเปิดหลัสูตรสัมมนา และถือเป็นวิธีการใหม่ในการพัฒนาคน หรือการเรียนรู้ของคนในองค์กร
             

            (แต่หากต้องการดู รากแนวคิดเลยไปที่  ttp://www.apple.com/education/docs/CBL_Classroom_Guide_Jan_2011.pdf  )

              ผู้เขียนได้พัฒนาเต็มรูปแบบสำหรับใช้ในการเรียนการสอนในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ รุ่นที่ 8 (เดือน กันยายน ปี 2555)  สำหรับวิชา ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา (EAD 7205)
              โดยใช้ทั้ง 6-7 ขั้นตอน ตามรูปข้างต้น ประเมินผลด้วย การเขียนบทความ (ส่วนขั้นที่ 7 คือการเผยแพร่ บนออนไลน์ ค่อยดำเนินการภายหลังได้)
             

              ที่สำคัญอย่างยิ่ง นศ. ป.เอก ต้องทำ CBL พร้อมเขียนบทความ ในแต่ละโมดุล ที่เรียนรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคสนาม และสุดท้ายต้องจัดทำ Pocket book 1 เล่มที่เป็นงานของทั้งชั้น        

             ตัวอย่างนี้เป็นการปรับมาจาก การเขียนของ นศ. ป.เอก รุ่นที่ 8 มซจ .(ม.เซนต์จอห์น)
             






ดร.ดนัย เทียนพุฒ
  นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com