ในคราวก่อน ได้ย้อนนึกถึงตอนที่ JKM (Journal of Knowledge Management) กำหนดเงื่อนไขในการเขียนบทคัดย่อ พร้อมกับยกตัวอย่างให้ทุุกท่านที่สนใจได้เห็นเป็นแนวทางแต่ก็ไม่ได้อธิบายอะไร
บทคัดย่อในทั้งหมด 7 หัวข้อ มีบังคับ 4 หัวข้อซึ่งต้องมี คือ
Purpose (วัตถุประสงค์) , Design/methodology/approach (แบบแผนการวิจัย/ระเบียบวิธีวิจัย/วิธีการที่ใช้) , Findings (ข้อค้นพบ) และ Originality/value (ความใหม่/คุณค่า )
ส่วนที่เหลืออีก 3 เป็น Research limitations/implications (ข้อจำกัดของการวิจัย/ การนำไปสู่การใช้) , Practical implications (การสามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติจริง), and Social implications (การสามารถนำไปใช้ทางสังคม) สามารถละไว้ได้ถ้าไม่ได้มีการศึกษาไว้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
(*อ้างจาก http://www.emeraldgrouppublishing.com/authors/guides/write/abstracts.htm?part=1#2)
1.วัตถุประสงค์ (Purpose)
อะไรคือเหตุผลในการเขียน บทความ หรือจุดมุ่งหมายของการวิจัย
2. แบบแผน/ระเบียบวิธีการวิจัย/วิธีการที่ใช้ (Design/methodology/approach)
วัตถุประสงค์ประสบความสำเร็จได้อย่างไร? รวมถึงวิธีการหลักที่ใช้ในการวิจัย อะไรคือ วิธีการตามหัวข้อเรื่ิอง และ สิ่งที่เป็นทฤษฎีหรือขอบเขตของเรื่องในบทความ?
3. ข้อค้นพบ (Findings)
อะไรคือสิ่งทีค้นพบจากการศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งจะต้องอ้างอิงถึง การวิเคราะห์ การอภิปรายผล หรือ ผลลัพธ์
4. ข้อจำกัดของการวิจัย /การสามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติจริง (ถ้ามี) (Research limitations/implications) (if applicable)
ถ้าเป็นการวิจัยที่จะมารายงานในบทความนี้ ต้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว และควรมีข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคต และควรบอกข้อจำกัดในกระบวนการวิจัยไว้ด้วย
5. การสามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติจริง (ถ้ามี) (Practical implications ) (if applicable)
ต้องระบุว่ามี ผลได้ (Outcome) และการสามารถนำไปปฏิบัติ การประยุกต์ใช้ และผลต่อเนื่องที่ตามมาอะไรบ้าง การวิจัยจะมีผลกระทบกับธุรกิจหรือองค์กรอย่างไร การเปลี่ยนแปลงอะไรในการปฏิบัติที่ควรจะทำซึ่งเป็นผลมาจากการวิจัยในครั้งนี้ได้ อะไรตือผลกระทบในเชิงพาณิชย์หรือทางเศรษฐกิจ บทความทั้งฉบับคงไม่ได้มีผลกระทบในทางปฏิบัติได้ไปเสียหมด
6.การสามารถนำไปปฏิบัติได้ทางสังคม (ถ้ามี) (Social implications) (if applicable)
สิ่งใดที่จะเป็นผลกระทบต่อสังคมจากการวิจัยครั้งในนี้ แล้วจะมีอิทธิพลต่อทัศนคติของประชาชน จะมีผลต่อ ความรับผิดชอบต่อสังคม (ขององค์กร) หรือประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม จะแจ้งให้ประชาชนอย่างไร หรือ นำไปสู่นโยบายด้านอุตสาหกรรม อาจจะมีผลต่อคุณภาพของชีวิตอย่างไร บทความทั้งฉบับคงไม่ได้นำไปใช้ปฏิบัติทางสังคมได้ไปเสียหมด
7.ความใหม่ /คุณค่า (Originality/value)
อะไรคือสิ่งใหม่ในบทความนี้ ชี้ให้เห็นคุณค่าของบทความ และต่อใคร
อะไรคือสิ่งใหม่ในบทความนี้ ชี้ให้เห็นคุณค่าของบทความ และต่อใคร
ความจริงแล้ว ทั้งหมดก็ดูไม่ยาก แต่ทำจริงค่อนข้างยาก เพราะ บังคับรวมทั้งหมดบวก คำสำคัญ (Key words) ไว้ไม่เกิน 250 คำ
1ในการทำจริง ของการเขียนบทความวิจัย โดยเฉพาะ บทคัดย่อ นั้นทำที่หลังจากการเขียนบทความทั้งหมดเสร็จแล้ว ใช่หรือไม่ เพราะตามที่มีการบอกต่อ ๆ มา (บรรยาย) หรือ เอกสารที่เผยแพร่ ทั่วไปบนอินเตอร์เน็ต บอกไว้เช่นนั้น
สำหรับ ผู้เขียนและคณะวิจัย ไม่ได้ได้ทำอย่างนั้น เราเขียน บทคัดย่อ (Abstract) ในภาษาอังกฤษก่อนเนื้อหาครับ เราไม่ได้เก่งกว่า แต่เรามีต้นทุนที่ดีกว่า เท่านั้นเอง เพราะเราทำ Proceeding ในงานประชุมทางวิชาการงานวิจัยระดับประเทศและนานาชาติมาก่อน ครับ
2. เราไม่ได้ทำตาม ที่แบบ บอก ๆ ๆ กัน มา หรือ ที่มีเขียนกันไว้อย่างมากมาย ตามที่บอกไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ได้ศึกษา บทเรียนของแต่ละท่านเหล่านั้นนะครับ เพราะเราคิดไว้คนละอย่าง อาจไม่เหมือนรุ่นก่อน ๆ ครับ
แล้วเราเริ่มอย่างไร เราถูกบังคับไว้ว่าจะต้องตีพิมพ์ผลงานในวารสารนานาชาติ
ผู้เขียนเชื่อว่าหาก ท่านอยู่ในวงวิชาชีพของท่าน วารสารนานาชาติอะไร ที่ดัง ๆ และท่านใช้ค้นคว้า เป็นประจำอยู่แล้ว แค่ค้นนิดเดียวก็ทราบ Impact factor จึงอาจไม่จำเป็น (ก็ได้ เพราะวารสารนั้นดังอยู่แล้ว เช่น The Academy of Management Journal (AMJ) ใครได้ตีพิมพ์ก็สุดยอดแล้ว (ไม่ต้องไป เช็ค Impact factor ให้เสียเวลา ปัจจุบันถ้าอยากทราบมีค่า 4.974 )
อย่างแรก เราไม่ได้เริ่มว่าจะตีพิมพ์ วารสารอะไร มี Impact factor เท่าไหร่ เราต่างกันครับเพราะเรารู้แต่ต้นแล้วว่า ถ้าเป็นงานด้าน "กลยุทธการจัดการทุนมนุษย์" ควรจะตีพิมพ์ในวารสารอะไร ส่วน Impact factor บอกตรง ๆ เราไม่ได้สนใจหรอกครับ เรามาดูกันทีหลังว่ามากน้อยแค่ไหน อย่าง JKM มีค่า 1.257 ครับ
แต่เราคิดแนวทางตามรูปครับ โดยเริ่มตั้งแต่ ทำโครงร่างการวิจัย (Research proposal) เราก็คิดแล้วว่าถ้าหากต้องตีพิมพ์ จะตีพิมพ์วารสารนานาชาติอะไร ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาชีพของเรา (เป็นไอเดียเริ่มต้น เพราะเราคุ้นเคยทั้งการสืบค้นและการอ่านอยู่แล้วเป็นเบื้องต้น)
ต่อมา ในการออกแบบวิจัย (Research Design) เราคิดแต่แรกว่าจะมีแบบแผนการวิจัยอย่างไร จึงตอบวัตถุประสงค์และ เป็นสิ่งที่แตกต่างจากที่เคย ๆ ทำกันมา
ในไอเดียของผู้เขียน คิดในลักษณะของ "การวิจัยและพัฒนา (R & D) " หรือ ไม่เต็มรูปก็ใกล้เคียงครับ ทำให้แบบแผนการวิจัยเราโดดเด่น และไม่จำเป็นต้องใช้สถิติชั้นสูง (แบบที่ชอบอ้างกันว่า หากใช้สถิติขั้นสูง โอกาสการได้รับการพิจาณาตีพิมพ์ จากวารสารนานาชาติจะมีมากขึ้น ซึ่งไม่จริงเสมอไป ครับ)
แต่ที่เราทำมากขึ้นคือ การหาวิธีการ นำสู่การปฏิบัติได้ในองค์กร (Practical Implication) ทำให้งานวิจัยไม่อยู่บนหิ้ง และ ได้ผู้ใช้ระดับตัดสินใจของหน่วยงาน พิจารณาความเหมาะสมสู่การปฏิบัติ
ในงานวิจัยเรื่อง "กลยุทธ์การจัดการทุนมนุษย์สำหรับมหาวิทยาลัยใหม่ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต" หลังจากดำเนินการเสร็จเรียบร้อย เราได้นัดนำเสนอท่านอธิการบดี ในขั้นต้น และนำเสนอทีมบริหารมหาวิทยาลัย ทั้งอธิการบดี รองอธิการบดี ที่ปรึกษา ผอ.สนอ. และ ผอ.กองบริหารงานบุคคล ทำให้ด้าน การสามารถนำสู่การปฏิบัติ มีความเหมาะสมมากขึ้น
ซึ่งทำให้ในการเขียน ส่วนนี้ในบทคัดย่อ ไม่ใช่เรื่องยาก
สุดท้าย เราคิดกันว่า ทำอย่างไร ผลการวิจัยจึงจะเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ไม่ใช่แต่แค่ในเพียงมหาวิทยาลัย (มสด.) ของเราเท่านั้น เราจึงหาเวที่ งานประชุมวิชาการงานวิจัยระดับประเทศและนานาชาติ (International Conference) เพื่อไปนำเสนอผลงาน (Proceeding) ผลที่ได้รับ คือ
1) งานวิจัย มีผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาให้ความเห็นว่าเป็นอย่างไร หรือพูดง่าย ๆ คุ้มค่าที่ไปนำเสนอเพราะได้ประเด็นการเสนอแนะของงานวิจัยทั้งหมด
2) บทความวิชาการภาษาไทย ได้เกิดขึ้น เพื่อนำเสนอให้ คณะกรรมการพิจารณารับเข้านำเสนอผลงานวิจัยในการประชุม (เท่ากับเราได้ซ้อมมือทำบทความวิจัย ไปล่วงหน้าแล้ว และ ต้องดีระดับหนึ่งด้วย)
ซึ่งผลที่ได้ เรามองในเชิง "Value Implication" ที่เราคิดกันในทีมวิจัยครับ
ทั้งหมดนี้ คือ วิธีคิดของทีมวิจัยเรา ในการเตรียมการสู่ "การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารต่างประเทศ (ระดับนานาขาติ) "
ปล. ตอนก่อนหน้านี้
1. การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารนานาชาติ-ตอนที่ 1 จะส่งที่ไหนดี
2. JKM กำหนดการเขียนบทคัดย่อ (Abstract) ไว้อย่างไร
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
Line ID: thailand081