งานวิจัย ...ชื่อนี้ เรื่องนี้ จับทีไร ก็รู้สึกว่าจะยากไปเสียทุกครั้ง (แล้วคนที่ไม่ชอบเลยละ...คงสุดจะบรรยาย) คงต้องอาศัยทำใจดีสู้เสือ ไปก่อน
หลังจากที่ผู้เขียนและทีมวิจัย จัดทำรายงานการวิจัยเสร็จ (เรื่องกลยุทธ์การจัดการทุนมนุษย์สำหรับมหาวิทยาลัยใหม่ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้เคยเล่ามาบ้างแล้ว) ก็ถึงช่วงการเผยแพร่ผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ ซึ่งก็คือ การตีพิมพ์ เผยแพร่ในวารสารนานาชาติ (International Journal)
เรามานั่งคิดกันว่า ( ดร.สุริยะ คร.จิรัสย์ ดร.ราเชนทร์) จะตีพิมพ์ กันที่ไหนดี เพราะเราเคยคิดไว้ว่าจะตีพิมพ์ ที่ HR Magazine ของ SHRM (สมาคม HR ของสหรัฐอเมริกา) กับ JKM (Journal of Knowledge Management) โดยการพิจารณาข้อดี-ข้อเสีย และผลได้ในระยะยาวกับ คณะเรา
สรุปแล้ว เราเลือก JKM เพราะ เป็นวารสารวิชาการ และ น่าจะเขียนเรื่องราวได้มากกว่า ซึ่ง HR Mag ให้พื้นที่ 5 หน้าเอง และนึกยากมากว่าจะเขียนให้โดนได้ยังไง ส่วน JKM กำหนดไว้ 7000-10000 คำ (น่าจะดีกว่า ไม่รู้จริงหรือเปล่า ....555)
เรา มาประชุมกัน โดยการศึกษา JKM ว่า
1) ข้อกำหนดในการเขียนบทความมีว่าอย่างไร เราจะต้องเตรียมอะไรบ้าง แล้วเราจะทำงานกันแบบไหน
2) เลือก เอาบทความใน JKM ที่ใกล้เคียงกับเรื่องของเรา มาศึกษาว่าเขาเขียนกันด้วยสไตล์อะไร ถึงได้ตั้ง 7000 คำ
3) เราจะเขียนกันพิศดารขนาดไหน เช่น เขียนเป็นภาษาอังกฤษเลยดีไหม จะได้ทำงานหนเดียว ไม่เสียเวลาหรือ จะมีใครเสนอวิธีอื่น
4) จะทำงานกันที่ไหน ก็พอดี ดร.ราเชนทร์ ที่ห้องทำงานหลักสูตร มีห้องประชุม ติดตั้ง LCD พร้อม Notebook พร้อม และออนไลน์ได้ ตลอดเวลา ทำกีโมงกี่ยามก็ได้ วันหยุดก็ได้ (ไม่มีปัญหาเรื่อง นโยบายประหยัดพลังงาน) จึงตกลงใช้ที่ห้องดร.ราเชนทร์
เราก็ว่ากันเลยครับ นั่งลุยทำ บทคัดย่อ Abstract ตามแนวทางของ JKM ปรากฎว่า ใช้เวลากันอยู่ 1 วัน เต็ม ๆ (เราใช้ฐานบทความที่ทำตอนเดือนเมย.57 ไปนำเสนอเพื่อจัดทำ Proceeding ในการประชุมงานวิชาการระดับนานาชาติ และงานวิจัยของ มรภ.สวนสุนัน ที่ทีมเราไปนำเสนอมาแล้ว)
หลังจากนั้น เรามานั่งคุยกันใหม่ ครับว่า ถ้าทางจะทำกันนานทีเดียว หากยังทำงานกันแบบนี้
หาวิธีที่เร็วกว่านี้ดีกว่า เรามีเวลาประมาณ เดือนเศษ ๆ ที่จะปิดงานให้เสร็จให้ได้
ข้อสรุปหลังจากนี้ คือ หาคนแปลขั้นต้นให้เรา แล้วเรามาแก้ไข ปรับเนื้อหา หรือ สิ่งที่ผู้แปลไม่ชำนาญ (แต่เอาโครงสร้างประโยคมาใช้ ) น่าจะทำให้เราเร็วขึ้น ตกลงเราให้ สถาบันด้านภาษา ที่น่าจะเชี่ยวชาญ ช่วยแปลขั้นต้นให้เรา (แม้ว่า จะไม่ดีมาก แต่ เป็นแนวทางให้เราทำงานต่อไปได้)
เรื่องราวก็ดูจะง่าย ๆ ครับ หลังจากที่เราได้บทความผ่านการแปลมาเรียบร้อย เรามาใช้เวลากันอีกหนึ่งวัน ในการปรับภาษา และเนื้อหาให้ตรงตามศัพท์งานวิจัย แต่ที่ยาก ๆ คือ ปรับให้ตรงตามแนวทางและจำนวนคำที่กำหนดของวารสาร (ในชั้นแรกนี้ก็บ่นกันอุบแล้วครับว่า โหดจริง ๆ) แม้เราจะชำนาญเนื้อหา แต่ภาษาที่จะเขียนให้ดีนั้นต้องใช้เวลาพอสมควรทีเดียว
แล้วก็ถึงเวลาส่ง ไปให้ JKM เราส่งไปไม่กี่วัน ก็ได้รับการตอบกลับมาเร็วมาก จาก Guest Editor ของ JKM ว่า ให้ส่ง Pdf ไฟล์ไปใหม่เพราะเขาเปิดไม่ได้ และจะรีบตอบกลับมาให้ทราบผลว่าการพิจารณาเป็นอย่างไร
จบตอนที่ 1 (โปรดติดตามตอนต่อไป) เมื่อ JKM แจ้งทั้งข่าวดีและข่าวร้าย 555
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
Line ID: thailand081
No comments:
Post a Comment