ผู้เขียนศึกษาตำราพิชัยสงครามในด้านกลยุทธ เป็นหลัก ดังนั้นการวิเคราะห์อาจจะเป็นคนละแนวทางทางด้านประวัติศาสตร์ ที่จะไปพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่จริง
เราทราบกันดีว่าพม่านั้นศึกษาหรือ เรียน ตำราพิชัยสงครามสามก๊ก มาตั้งแต่แผ่นดินพระเ จ้าบุเรงนอง แล้ว ขณะที่ไทยเราชัดเจนว่าเริ่มในรัชกาล ที่ 1 เมื่อให้เจ้าพระยาพระคลัง(หน) แปลตำราสามก๊ก จากฉบับงิ้ว
ภาพข้างล่างเป็นการจัดทัพของพม่า
รูปจาก ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (2550; อยุธยา. หน้า 144)
มาถึงการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ตำราพิชัยสงคราม (พิไชยสงคราม) ฉบับรัชกาลที่ 1
กับ ตำราพิชัยสงคราม จ.เพชรบูรณ์ เปิดเผย 11 ธ.ค.51
ความนำ
ในทางตำราพิชัยสงครามโบราณ ต้นแบบนั้นมาจากอินเดีย ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ศึกษาได้ คือ "พิชัยสงครามฮินดูโบราณ" จะมีสมุดพิชัยสงคราม 2 เรื่อง คือ ตำราอาวุธ ชื่อ "นีติประกาศิกา" และ ตำรายุทธสงครามของกษัตริย์ตระกูลฮินดูโบราณ ชื่อ "ศุกรนีติสาร"
และฉบับ พิชัยสงครามฮินดูโ บราณ ที่ ร้อยเอก ยี.อี.เ ยรินีแปล ในสมัย รัชกาลที่5 เป็นยผู้บังคับการโรงเรียน นายร้อย (สมัยนั้นเรียกว่า คะเด็ดสกูล) โดยตอนที่ 1 ว่าด้วยกองทัพและอาวุธของชาวฮินดูบราณ
ตอนที่ 2 ว่าด้วยพระศุกรและตำราศุกรนีติศาสตร์
ตำราพิไชยสงครามของไทย ที่เริ่มมีในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่2 นั้นไ ม่ปรากฎชัดเจนว่าเป็นอย่างไรเพราะหาหลักฐานยืนยันไม่ได้ (ก็ตั้งแต่ ปี 2041 ครับ)
มีหลักฐานต่อมาว่า มีการเขียนใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตามที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้ว
หลังจากนั้นไม่ปรากฎหลักฐานอะไรแต่ สมเด็จพระเกจ้าบรมวงค์เรธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงให้ความเห็นว่า ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ตำราพิไชยสงครามที่ปรากฎอยู่เป็นตำราดูนิมิตต์ ฤกษ์ยาม และทำเลขยันต์อาถรรพศาสตร์เ สียโ ดยมาก ตำราการรบพุ่งและอุบายสงตรามเหลืออยู่แต่ที่เก็บใจความแต่เป็นกลอนสำหรับท่องให้จำขึ้นใจ
การวิเคราะห์ตำราพิชัยสงคราม เปรียบเทียบ ฉบับรัชกาลที่1 กับ ฉบับ จ.เพชรบูรณ์
1. สิ่งที่น่าสนใจคือ ตำราพิชัยสงคราม จ.เพชรบูรณ์ มีการกำหนดแผนที่เมือง และระยะการเดินทางจากเมืองที่เป็นศูนย์กลางไปยังเมืองรอบ ๆ ตามตำราพิชัยสงครามฮินดูโบราณ และ ตำราพิไยชสงครามในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ตำราพิชัยสงคราม จ.เพชรบูรณ์
ตำราพิชัยสงครามในสมัยสมเด็จพระนเรศวร
คำถาม ที่ 1 คือ จ.เ พชรบูรณ์ มีการทำสงครามใหญ่ ๆ ในสมัยใด หรือ มีการตั้งทัพในยุคใด ที่อาจต้องใช้ตำราพิชัยสงคราม
ถ้าพิเคราะห์ตามการรบระหว่างไทยกับพม่า ใ นสมัยกรุงธนบุรี น่าจะมีคราว พ.ศ.2318 อะแซหวุ่นกี้ล้อมเมืองพิษณุโลก เมื่อพม่าตีและยึดเมืองพิษณุโลกได้ ก็ยกทัำพต่อมายังใต้เมืองเพชรบูรณ์ (พ.ศ.2319) เ จ้าพระยาทั้ง2( เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และ กรมพระราชวังบวรฯ ) นำกำลังข้ามเขาไปรวมกันอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์
และไทยสามารถตีพม่าแตกหนีไปทางล้านช้าง
เป็นไปได้ไหมที่จะมีตำราพิชัยสงครามตกทอดมาใ นช่วงนั้น หรือ หลังจากนั้น เพราะอาจจะต้องทำศึกกับพม่าอีก
คำถามที่ 2 ตำราพิชัยสงครามในสมัยนั้น จะมีได้แต่ผู้ที่จะเป็นนายทัพนายกอง เท่านั้น ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ผู้ที่จะเป็นแม่ทัพนายกอง ก็มีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และ กรมพระราชวังบวรฯ
หรือ มีการมาเขียนขึ้นในภายหลัง ซึ่งก็จะต่างกับที่ ผู้รู้บางท่านว่าเป็นตำราพิชัยสงคราม ฉบับกลางแปลง คือมีการใช้จริง และมีร่องรอยการเขียน เว้นว่างไว้
ขณะเดียวกัน จ. เพชรบูรณ์ หลังจากนั้นก็ได้มีสงครามอะไรใหญ่ ๆ อีก
ดังนั้นน่าจะเป็นการตกทอดมา ก็เป็นได้ แทนที่จะที่การเขียนในระหว่างการทำสงครามที่ จ.เพชรบูรณ์
2. ตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1 ชุบขึ้นใน พ.ศ.2325 เนื้อหาของตำราว่าด้วยกลศึก(21กล) วิธีใช้และรูปแบบการจัดทัพ การดูนิมิตและปรากฎการณ์บนท้องฟ้า รวมถึงหลักสำคัญ 9 ประการที่ต้องมีสติกำกับดูแลเพื่อดำรงชีวิตให้ประสบความสำเร็จทั้งในยามศึกและยามสงบ
หน้าต้น ที่ 16-18 ตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1 เลขที่122
หน้าต้น ที่1-4 ตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1 เลขที่ 181
รูปทั้งหมดจาก ตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1 ( มูลนิธิ"ทุนพระพุทธยอดฟ้า" ในพระบรมราชาชูปถัมภ์ ,กรมศิลปากร; 2545)
ตำราพิชัยสงคราม จ.เพชรบูรณ์ เปิดเผย 11 ธ.ค.51
หากเปรียบเทียบการจัดทัพ ของทั้ง 2 ฉบับ จะเห็นว่า ตำราพิชัยสงคราม จ.เพชรบูรณ์ มีความแ ตกต่างไปจาก ตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1 ดังนี้
1.รูปแบบพยุหะ ในการจัดทัพ จะคล้าย ๆ แต่ไม่เหมือนทีเดียวนัก
2.ตำราพิชัยสงครามเล่มนี้ จ.เ พชรบูรณ์ คือ ฉบับผังกองทัพ การจัดผังกำลังศึก และการจัดเข้ารูปในการตั้งทัพ ใช้ภาษาปัจจุบันคือ การบอกพิกัดทัพ (อ้างจาก นสพ.มติชน ฉ.15 ธ.ค.51)
ทำให้มีข้อสังเกตว่า น่าจะเป็น การเขียนขึ้นในสมัย หลังรัชกาลที่ 1 ผู้เขียนจะมาวิเคราะห์เจาะลึกต่อ ครับ
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ
No comments:
Post a Comment