ที่มาของภาพสู่การวิเคราะห์ ตำราพิชัยสงคราม ฉบับ จ.เพชรบูรณ์
ตามที่ผู้เขียนได้วิเคราะห์เกี่ยวกับตำราพิชัยสงคราม โดยเฉพาะ ฉบับ จังหวัดเพชรบูรณ์ และยังไม่มีโอกาสได้เห็นของจริง และโดยเฉพาะฉบับคำบรรยายตัวเขียน ซึ่งได้เขียนไว้ในครั้งก่อน
จนกระทั่งอาทิตย์ที่ผ่านมาได้รับ อีเมล์จากคุณสุนทร-เพชรบูรณ์ ได้สนใจในสิ่งที่ผู้เขียนได้ศึกษาและอนุเคราะห์จัดส่งภาพและอีกหลาย ๆ อย่างรวมทั้งความคืบหน้าในการศึกษาเกี่ยวกับตำราพิชัยสงคราม ฉบับ จ.เพชรบูรณ์ ทำให้การศึกษามีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะภาพที่นำมาเสนอนี้
ภาพประวัติศาสตร์หนึ่งหน้ามีคุณค่าร้อยเท่าพันทวี
ผู้เขียนได้มีโอกาสในช่วงวันหยุด 24-25 ม.ค.52 ที่ผ่านมาได้ค้นคว้าข้อมูลและเทียบเคียงตำราพิชัยสงคราม ฉบับร่วมสมัยรัชกาลที่1 และ ตำราพิชัยสงคราม ฉบับชำระในสมัยรัชกาลที่3 สามารถลงความเห็นประกอบการอนุมานไปสู่ข้อสรุปได้ดังนี้
ประการแรก ด้านภาษาที่เขียน
ตามที่ "ผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากรยืนยันตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์เก่าแก่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 24 อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1- 3 ความคืบหน้าการค้นพบตำราพิชัยสงครามเมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มกราคม น.ส.ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร พร้อมด้วยน.ส. น.ส.จตุพร ศิริสัมพันธ์ นักภาษาโบราณ หัวหน้ากลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึกและคณะ ให้ความเห็นว่า ตำราพิชัยสงครามที่เพิ่งถูกค้นพบที่เมืองเพชรบูรณ์ฉบับนี้มีความเก่าแก่ โดยอยู่ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ราวตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ระหว่างสมัยรัชกาลที่ 1-3 และจากคำยืนยันของผู้มอบเอกสารว่าเป็นสมบัติของต้นตระกูล จึงควรมั่นใจได้ว่าเป็นเอกสารของคนเพชรบูรณ์ไม่ได้มาจากที่อื่น น.ส.ก่องแก้วยังระบุเพิ่มเติมว่า “พิชัยสงครามสองเล่มนี้น่าจะเป็นตำราของบุคคลที่มีหน้าที่เป็นแม่ทัพ ถูกเขียนขึ้นเพื่อใช้ศึกษาการทำศึกสงคราม” ส่วนผู้คัดลอกจะเป็นฝีมือระดับช่างหลวงหรือไม่นั้นผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากรระบุว่า “ก็มีความเป็นไปที่ทำการคัดลอกและส่งมายังหัวเมือง และการคัดลอกในสมัยโบราณก็มาจากความจดจำและลอกจากตำราอีกเล่มมาใส่อีกเล่ม ซึ่งก็มีความเป็นต้นฉบับในตัวเองอยู่แล้ว และตำราใหญ่หน้ามากๆอย่างนี้ต้องใช้เวลาคัดลอกมาก”
การอนุมานของผู้เขียน
ผู้เขียนมีข้ออนุมานว่า ตำราพิชัยสงครามฉบับนี้เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี 2376-2391 ช่วงการทำสงครามระหว่างไทยกับญวน ซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทรเดชาสมุหนายกเป็นแม่ทัพใหญ่
1.เป็นที่ทราบกันอยู่ว่า ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการชำระตำีราพิชัยสงครามขึ้นใน พ.ศ.2368 ดังข้อความต่อไปนี้
" ตำราพิชัยสงคราม ฉบับพระบวระพิไชยสงคราม ตำรับไญย ชำระในรัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เ ริ่ม ทำใ นจุลศักราช 1187(พ.ศ.2368) จนสำเ ร็จไ ด้ คัดส่งเข้าไว้ข้างที่ฉบับหนึ่ง ไว้ ณ หอหลวงฉบับหนึ่ง"
สมเ ด็จฯ กรมพราะยาดำรงราชานุภาพ บันทึกไว้ว่า.. ปัจจุบันเป็นหนังสือกว่า 10 เล่มสมุดไทย เดี๋ยวนี้ก็ไม่มีแห่งใดที่จะบริบรูณ์ครบจำนวนสักแห่งเดียว แบ่งได้เป็น 3 แผนก คือว่าด้วยเหตุแห่งการสงคราม ว่าด้วยอุบายสงคราม และว่าด้วยยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี การถือนิมิตต์ฤกษ์ยามและเลขยันต์อาถรรพศาสตร์ก็จะมีมาบ้างแล้วแต่โบราณ...ตำราการรบพุ่งและอุบายสงครามเหลืออยู่แต่ที่เก็บใจความแต่งเป็นกลอน
ซึ่งน่าจะเสร็จก่อนที่จะมีการทำสงครามระหว่างไทยกับญวน
1.1 ตามภาพข้างต้น คำว่า มาถึง -พญา ตามภาพต้นฉบับ เป็น ภาษาเขียนในรัชกาลที่ 1 แต่เขียนตามภาษาปัจจุบันคือ พญา
แต่ืที่ข้อความบรรทัดแรก กับใช้คำว่าเจ้าพระยา
1.2 อย่างไรก็ตามก็สอดคล้องกับที่ผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากรว่าไว้ "ช่วงรัชกาลที่ 1-3
ประการที่ 2 ราชทินนาม และนามทัพหน้า
ในช่วงการทำสงครามไทยกับญวนช่วงแรก มีเจ้าพระยานครราชสีมา(ทองอิน) เป็นแม่ทัพ และมีพระยาเพชรบูรณ์ร่วมทัพไปด้วย โดยที่
2.1 เจ้าพระยานครราชสีมา นั้นเชี่ยวชาญในการทำสงครามมาก ตามที่เจ้าพระยาบดิทรเดชาว่าไว้ ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่าจะเชี่ยวชาญตำราพิชัยสงครามด้วย
และตอนที่มีกบถเจ้่าอนุวงค์ ข้าราชการและพระยา พระ หลวง ของเมืิองนครราชสีมาได้จัดกองทัพสู้กับทหารลาวในช่วงที่ถูกต้อนครัวไทยไปเวียงจันทร์ ตามตำราพิชัยสงคราม
ดังนั้นอนุมานได้ว่า แม่ทัพนายกองของเมืองนครราชสีมาเชี่ยวชาญตำราพิชัยสงครามอย่างยิ่ง
และราชทินนามของเจ้าพระยานครราชสีมาคือ
เจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดีพิริยะภาหุ (บางตำราก็ว่าเจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดีพิริยะภาหะ)
2.2 ตอนที่รบกับญวน เจ้าพระยานครราชสีมาเป็นแม่ทัพ พระยาเพชรบูรณ์ในขณะนั้นมีอาวุโสกว่า ประมาณ7-10 ปี ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเสนาบดีกรุงเก่าน่าจะเป็นทัพหน้่า
อนุมานได้จาก เจ้าพระยานครราชสีมามีนามว่าทองอิน ดังนั้นตามตำราพิชัยสงครามทัพหน้าจะต้องใช้ "สุนัขนาม"
ดังนั้น ข้อความสองบรรทัดนี้ น่าจะเป็น
"ท่านเจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดีพิริยะภาหะ มาถึงพระยาเพชรรัตน์สงครามรามภักดีพิริยะภาหะ"
พระยาเพชรรัตน์สงครามรามภักดีพิริยะภาหะ เป็นราชทินนามของพระยาเพชรบูรณ์
และ หน้าแรกของข้อความที่เขียนก็เป็นรูป "สุนัขนาม" ตามตำราพิชัยสงครามสำหรับทัพหน้า
อีกทั้งคำว่ามาถึง น่าจะใช้สำหรับบุคคลที่เสมอกัน หรือต่ำกว่า ทั้งเจ้าพระยานครราชสีมา(ได้เป็นเจ้่าพระยาภายหลังเสร็จศึกเวียงจันทร์) พระยาเพชรบูรณ์ในขณะนั้น มีศักดินา 10000 เท่ากัน
หมายเหตุ: มีผู้รู้บางท่าน อ่านบรรทัดแรก ส่วนต้นว่า ปลัด
ผู้เขียนมีข้อสังเกตุว่า 1) ปลัดทัพ ในขณะนั้นไม่ปรากฎชื่อ หรือมีในภายหลังไม่มีชื่อดังกล่าว และ ปลัดทัพ ก็ไม่มีราชทินนาม ที่จะลงท้ายได้ว่า รามภักดีพิริยะภาหะ
2)ออกญา ได้เลิกการใช้เป็นราชทินนาม ในสมัยรัตนโกสินทร์แล้ว
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ
No comments:
Post a Comment