(ล่องแม่น้ำไรน์ ที่ เยอรมัน )
ในวันที่ 21 เม.ย.55 ผู้เขียนได้เปิดเรียนวิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา สำหรับ นศ. M.Ed. หลักสูตรการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
ได้อธิบายให้เห็นถึงคำ 3 คำ คือ (1)การบริหาร (2) ทรัพยากรมนุษย์ และ (3) การศึกษา
อ่านบทสรุปได้ ของการบริหารที่ เป็น ทั้ง ศาสตร์ ศิลป์ และฝีมือ พร้อมทั้ง ทรัพยากรมนุษย์หรือ ทรัพยากรบุคคล ที่ผู้เขียนมีมุมมองอย่างไร
ส่วนการศึกษา ล้มเหลวมาแล้ว 1 ทศวรรษ และกำลังเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 มา ระยะหนึ่ง ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตถึงการศึกษาชาติว่า
-วิสัยทัศน์ ที่ต้องการให้คนไทยทุกคนเรียนรู้ตลอดชีวิตฯ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปได้ เพราะ คนไทย มีตั้ง 67 ล้านคน กระทรวงศึกษา จะดูแลทุกคนได้อย่างไร เช่น แม่ค้าขายของในตลาด จะไปเรียนรู้อะไรตลอดชีวิต
- การทดสอบของเด็ก ผลปรากฎว่า โอเน็ต เด็กส่วนใหญ่โดยคะแนนต่ำกว่าเฉลี่ย แต่โรงเรียนผ่านการประเมินของ สมศ. แสดงว่า การประเมินของ สมศ. ไม่ได้ช่วยอะไรในการพัฒนาการศึกษาให้ดีขึ้น ทำไปแบบเปลืองงบประมาณ
-ที่เราโทษว่าการศึกษาไม่มีคุณภาพ และคิดว่าครูไม่พัฒนา น่าจะมองใหม่ว่า เราอาจไม่รู้ความต้องการและพฤติกรรมของเด็กอย่างแท้จริงว่าเด็ก ในศตวรรษที่ 21 ต้องการเรียนรู้อย่างไร เราคิดเอาเองว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น
-ผู้กำหนดนโยบายการศึกษา ควรเอาคนรุ่นใหม่ (ไม่ใช่มีแต่ สว. (สูงวัย))ที่ทันกับโลกสมัยใหม่มาร่วมกำหนดนโยบายการศึกษา ไม่ใช่อยู่ในมือของ "คนที่มองโลกด้วยสายตาเก่า ๆ สายตาที่ไม่เข้าใจโลกสมัยใหม่" อาจทำให้การศึกษามีหวังในอนาคตได้
ดร.ดนัย เทียนพุฒ