สำนักความรู้สำหรับบัณฑิตศึกษาทางธุรกิจ ในด้านการจัดการกลยุทธ การบริหารทรัพยากรบุคคล นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ
October 29, 2008
อาจารย์ช่วยบอกถึงทฤษฎีสมัยใหม่หลังปี 1950เป็นทฤษฎีอะไรก็ได้
สินีนาฏ ทองสุภาภรณ์
ตอบ คงต้องย้อนกันมากเลยครับผมอาจจะแยกให้เห็นเพื่อเป็นแนวทางในการค้นคว้าและศึกษาจะดีกว่าครับ-ด้านกลยุทธ เช่น1.7-S Framework McKinsey2.Five forces3.Diamond Model4.BCG5.Scenario Analysis6.Core Competency7.Balanced Scorecard 8.Blue Ocean Strategyetc.สรุปแล้ว ผมแนะนำเวบไซท์ให้เข้าไปค้นแล้วกันนะครับมีตามที่อยากได้ทั้งหมดเลย 12การจัดการดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
@ เรียน อ.ดนัยเนื่องจากต้องทำการวิจัยเพื่อการศึกษา จึงขอทราบว่าถ้าต้องการหาหนังสื่อเรื่อง "การประเมินผลการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงาน บุคลากรสาธารณสุขระดับตำบล : รายงานการวิจัยระดับโครงการวิจัย เพื่อการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขระดับตำบล" จะไปหาได้ที่ไหนค่ะรบกวนด้วนนะคะ
ตอบ เรียนคุณอรทัยถ้าเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานทางธุรกิจพอจะแนะนำได้ครับค้นจากGoogle ได้เลย โดยเฉพาะในต่างประเทศตอนนี้จะใช้คำว่า Performance Management or Performance Measurement ครับ ซึ่งครอบคลุมในเรื่องนี้ส่วนในด้านราชการผมแนะนำที่ กพร. กับ สำนักงาน กพ.ซึ่งด้านสาธารณสุขเคยเห็นมีหน่วยงานทำระบบสาธารณะสุขโดยเฉพาะแต่ผมไม่แน่ใจว่าชื่ออะไร
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
@ เรียนท่าน ดร.ดนัย เทียนพุฒผมรับราชการครู ตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียน สนใจในเรื่องของ BSC ในความเห็นของอาจารย์ ถ้าเราจะนำBSC ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เราควรจะเริ่มต้นอย่างไร ควรออกมาในรูปแบบใด จะมีปัจจัยและองค์ประกอบอย่างไร(ต้องขออภัยที่ยังไม่ได้ศึกษา BSC ของอาจารย์ พรุ่งนี้จะไปซื้ออ่าน เพื่อเปรียบเทียบกับkaplan ตามที่อาจารย์กล่าวถึง)ขอขอบพระคุณครับธัญญา3/4/50
ตอบ ถ้าพิจารณาว่าโรงเรียนเป็นนิติบุคคล ในความเห็นผมการใช้ BSC จะมีความเหมาะสมมากๆๆๆ
1.เรา (โรงเรียน)สามารถคิดอะไรได้เอง ดังนั้นจึงมีสภาพเหมือนหน่วยงานอิสระ หรือ ใกล้เคียงกับหน่วยธุรกิจแต่มุ่งกำไรน้อย
2.โรงเรียน ระดับ สพฐ. อาจจะมองที่เป้าหมาย (Goal) เป็นหลักว่าถ้าจะจัดการศึกษาระดับนี้จะมีเป้าหมายอย่างไร ซึ่งอาจไม่จำเป็นที่จะต้องมีวิสัยทัศน์ก็ได้เพราะยังไงก็ถูกคุมด้วยหน่วยงาน 2 ระดับคือ เขตพื้นที่การศึกษา และ สพฐ. ที่ต้องมีวิสัยทัศน์อยู่แล้ว อย่างเก่งจะดูที่ภารกิจก็ได้
3.หลังจากนั้น หากต้องการทำ "แผนที่กลยุทธ" ( Strategy Maps) ให้นำเป้าหมาย หรือ ภารกิจของโรงเรียนมาจัดทำ-โมเดลกลยุทธ ที่ประกอบด้วย ขอบเขตผลลัพธ์สำคัญ สมมติฐานทางกลยุทธ หรือ แผนที่กลยุทธของเป้าหมาย และ KPIs-สรุปทุกโมเดลกลยุทธ จะได้ Strategy maps & Corporate KPIs ของโรงเรียน
4.ให้แต่ละหมวดวิชา หรือ กลุ่มวิชา(ไม่แน่ใจว่าเรียกอะไรครับ)จัดทำโมเดลกลยุทธระดับของตนเอง ทำกลยุทธย่อย และแผนปฏิบัติการ
5.ให้อจ.แต่ละท่านในหมวดวิชา จัดทำ แผนงาน และKPIs รายบุคคล
6.การวัดผลสำเร็จ ระดับ ผอ. ดูที่ Strategy maps & Corporate KPIs ระดับหัวหน้าหมวด หรือ กลุ่มวิชาดูที่ โมเดลกลยุทธระดับตนเอง และ KPIs ของ อจ.แต่ละท่านระดับ อจ. ดูที่ KPIs รายบุคคลของตนเองทั้งหมดมีเท่านี้ละครับ ตามแนวทางของผมที่นำ BSC & KPIs มาปรับใช้ในธูรกิจดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
October 28, 2008
MBA Case Study :Ampol Food Processing LTD
MBA Case Study : Oishi Group
MBA Case Study-D.H.A. Siamwalla
October 27, 2008
MBA Case Study- Krung Thai Bank
MBA Case Study: SE-ED Bookstore
October 25, 2008
Strategic Management-Case Study: THAI UNION FROZEN PRODUCTS PCL.
October 21, 2008
News : MBK รุกค้าปลีกย่านศรีนครินทร์
สัมภาษณ์
ได้รับความสนใจจากคนในวงการค้าปลีกไม่น้อย เมื่อ "เอ็มบีเค" ควงแขน "สยามพิวรรธน์" พร้อมกับทุ่มงบฯลงทุนใหม่อีกกว่า 975 ล้านบาท สำหรับการซื้อหุ้นใหญ่ของศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ล่าสุดในงานเปิดตัวธุรกิจประมูลรถยนต์ ออนไลน์ที่เป็นการร่วมทุนระหว่างเอ็มบีเคและแอ๊ปเปิล อินเตอร์เนชั่นแนล "สุเวทย์ ธีรวชิรกุล" กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้า ในการปลุกห้างเสรีเซ็นเตอร์ และการ เตรียมลงทุนในธุรกิจคอมมิวนิตี้มอลล์
- ถึงวันนี้การเข้าไปบริหารเสรี เซ็นเตอร์มีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง
ตอนนี้ยังไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม แต่มีแปลนไว้แล้วว่าจะทำอะไรบ้าง แต่เนื่องจากตารางสรุปยังไม่เสร็จจึงยังบอกไม่ได้ชัดเจน และสำหรับคอนเซ็ปต์โดยรวมเองก็ต้องดูแลให้เข้าที่ก่อนจึงจะเริ่มจัดงบฯสำหรับรีโนเวตได้ แต่คาดว่ากลุ่มเป้าหมายหลังการรีโนเวตน่าจะเป็นกลุ่มเดียวกันกับของห้างเสรีเซ็นเตอร์
- สาเหตุที่ตัดสินใจซื้อเสรีเซ็นเตอร์
หลักๆ เลยก็คำนึงถึงผลตอบแทน ผลลงทุนที่น่าพอใจ
- เสรีเซ็นเตอร์มีศักยภาพในเชิงธุรกิจในย่านนั้น
จากประสบการณ์การดำเนินธุรกิจของเราที่มีมาเกือบ 20 ปี ค่อนข้างมั่นใจว่าจะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ อย่างเรื่อง ผลประกอบการที่ไม่ค่อยดีก็ต้องค่อยๆ ทำต่อไป เราเองก็หวังว่าเมื่อเข้าไปแล้วเสรีเซ็นเตอร์น่าจะดีขึ้น เติบโตมากขึ้น
- ความท้าทายระหว่างทำศูนย์การค้าในแถบชานเมืองกับแหล่งช็อปปิ้งในกลางกรุงที่ เอ็มบีเคมีประสบการณ์มานาน
จริงๆ ก็ไม่เป็นชานเมืองมากนัก แต่มันก็คงใช้วิธีการบริหารจัดการที่ไม่เหมือนกันทีเดียวกับในกรุงเทพฯ ซึ่งก็ต้องรอให้คอนเซ็ปต์ต่างๆ เรียบร้อยเสียก่อน จึงจะบอกได้
ถามว่าตั้งแต่ตอนแรกที่ซื้อเสรีเซ็นเตอร์มา เรามีคอนเซ็ปต์ไว้ในใจหรือไม่ ก็ต้องบอกว่ามี เพียงแต่พอเข้าไปบริหารจริงๆ เราต้องดูทุกอย่างให้เหมาะสมจนมั่นใจว่าเราควรเดินต่อในทิศทางไหน
- ก่อนหน้านี้เอ็มบีเคซื้อที่ดินแถวพระรามที่ 9 ไว้ มีแผนจะพัฒนาใน รูปแบบไหน
ที่ดินแถวพระรามที่ 9 ตัดใหม่ เราซื้อมาสัก 1 ปีแล้ว ตั้งใจสร้างเป็นลักษณะเนเบอร์ฮูดมอลล์ หรือคอมมิวนิตี้มอลล์ แต่กว่าจะเสร็จก็คงใช้เวลาเป็นปี เพราะอย่างที่เสรีเซ็นเตอร์ อันนั้น เรามีห้างอยู่แล้ว แต่ที่นี่เป็น
พื้นที่เปล่า ก็น่าจะใช้เวลานานกว่า และ ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและจังหวะด้วย
เบื้องต้นใช้งบฯซื้อที่ดินแล้ว 300 ล้านบาท พื้นที่ 16 ไร่ คาดว่าต้องใช้งบฯสำหรับโครงการนี้อีก 200 ล้านบาท เบ็ดเสร็จทั้งโปรเจ็กต์นี้จะใช้เงินประมาณ 500 ล้านบาท โดยจะแบ่งใช้เป็นคอมมิวนิตี้มอลล์ 10 ไร่ ส่วนอีก 6 ไร่อาจจะทำเป็นเฮาซิ่ง
- มองภาพการแข่งขันของคอมมิวนิตี้มอลล์ในเวลานี้อย่างไร
ความจริงคอมมิวนิตี้มอลล์ที่จะทำ จะไม่เหมือนของพวกค้าปลีกอื่นๆ เสียทีเดียว คืออาจจะทำคล้ายๆ กับเจ อเวนิว (ทองหล่อ) ซึ่งอินเทรนด์มากกว่าของห้างค้าปลีกทั่วไป และจะทำในลักษณะเปิดให้เช่าพื้นที่เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่อยู่ไม่ไกลมากนัก เป็นคอนเซ็ปต์ให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการถี่ๆ แวะมาเกือบทุกวันเพื่อมาทำธุระโน่นนี่ แต่อาจจะไม่ได้ซื้ออะไรเยอะๆ
สำหรับคอนเซ็ปต์ทั่วไปของคอมมิวนิตี้มอลล์ คือ การเน้นขายสินค้าจำเป็น มีซูเปอร์มาร์เก็ตให้ซื้อกับข้าว ผักสด หรือเนื้อ ตลอดจนร้านอาหาร ร้านกาแฟ สำหรับครอบครัวที่อยากออกมารับประทานอาหารนอกบ้าน แต่ไม่อยากเดินทางไกลๆ
หลักๆ ของคอมมิวนิตี้มอลล์ก็จะแข่งขันกันที่ทำเล ขึ้นอยู่กับชุมชนรอบๆ ว่ามีศักยภาพมากพอที่จะดึงให้คนมาใช้บริการได้มากพอหรือเปล่า
- การลงทุนและความคาดหวังในธุรกิจประมูลรถยนต์ออนไลน์
ธุรกิจนี้เป็นการร่วมทุนระหว่างเอ็มบีเคกับแอปเปิล ออโต ออกชั่น พันธมิตรจากญี่ปุ่น ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 90 ล้านบาท ล่าสุดได้ลงทุนแล้ว 70 ล้านบาท และอีก 20 ล้านบาทจะเป็นการลงทุนในส่วน ของพื้นที่ประมูลมอเตอร์ไซค์มือสองในบริเวณเดียวกัน 10 ล้านบาท รวมทั้งจะกระจายศูนย์ประมูลไปยังต่างจังหวัดครอบคลุมทุกภาค เบื้องต้นจะกระจายไปยัง 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น อุดรธานี นครปฐม และสุราษฎร์ธานี
ช่วงแรกตั้งเป้าหมายจัดประมูลรถยนต์ให้ได้เดือนละประมาณ 1,000 คัน ซึ่งจะทำให้มีรายได้ประมาณเดือนละ 6 ล้านบาท และรถมอเตอร์ไซค์เดือนละ 800-900 คัน
ที่น่าสนใจคือ ตลาดประมูลรถมือสองเป็นตลาดใหญ่ มีมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท มีผู้ประกอบการรายใหญ่เพียง 4 ราย
- ตอนนี้จากปัญหานักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดส่งผลกระทบกับธุรกิจในเครืออย่างไรบ้าง
ต้องยอมรับว่าเราก็ได้รับผลกระทบนี้บ้าง โดยเฉพาะในธุรกิจโรงแรม แต่ความจริงแล้วมันเกิดจากปัจจัยทางการเมือง ซึ่งเป็นปัจจัยภายในประเทศมากกว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาก็ยกเลิกไป แต่ก็หวังว่าจะเกิดในช่วงสั้นๆ เท่านั้น
ส่วนการปรับแผนเพื่อรองรับปัญหานี้ ตอนนี้ธุรกิจโรงแรมกำลังสรุปงบประมาณอยู่ เลยยังประเมินไม่ได้ว่าจะทำยังไงต่อไป แต่เชื่อว่าบ้านเราน่าจะฟื้นตัวเร็ว เพราะยังไงก็แล้วแต่เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโลก ค่าครองชีพในบ้านเราก็ยังถูกกว่าที่อื่น
- รายได้ที่ตั้งเป้าไว้ในปีนี้
รายได้รวมตลอดทั้งปีที่โชว์ในตลาดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน หากเทียบกับปี 2551 ที่เพิ่งปิดไป คิดว่าน่าจะเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมเล็กน้อย เพราะมีธุรกิจอื่นๆ ที่ขยายออกไป เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างบ้านขายก็กำลังจะโอนในปีบัญชีปัจจุบัน
ปีหน้าก็มีโอกาสขยายตัวได้อีก อย่างเสรีเซ็นเตอร์ที่เรากำลังจะทำก็จะเพิ่มรายได้ให้ส่วนหนึ่ง
News : ยาฮู ยกแผงปลดพนักงาน1.5พันคน
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า แผนการปลดพนักงานครั้งนี้มีสัดส่วนคิดเป็น 10% ของพนักงานทั้งหมดที่มีอยู่ราว 15,000 ตำแหน่ง และถือเป็นครั้งที่สองในรอบ 9 เดือนที่ยาฮูได้ตัดสินใจลดพนักงานครั้งใหญ่อีกครั้งหลังจากที่ราคาหุ้นดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีครึ่ง ขณะที่นักลงทุนมองว่า ยาฮูหมดโอกาสที่จะขายธุรกิจที่ไมโครซอฟท์ได้พยายามทำข้อตกลงขอซื้อกิจการเป็นมูลค่า 4.75 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 33 ดอลลาร์ต่อหุ้นเมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ยาฮู กลายเป็นตัวแทนของกลุ่มธุรกิจไอทีในสหรัฐรายล่าสุดที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาในตลาดสิน เช่นเดียวกับกลุ่มธุรกิจธนาคารและธุรกิจค้าปลีกที่ถูกพิษสงของวิกฤตการณ์ดังกล่าวเล่นงานมาอย่างสาหัสสากรรจ์
จากสถานการณ์ของยาฮูที่ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันในช่วงไตรมาสสาม ด้วยตัวเลขผลประกอบการ 54.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4% ต่อหุ้น ซึ่งเป็นสถิติที่ดิ่งลง 64% จากระดับ 151.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐนช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมานั้น ทำให้ เบล็ก จอร์เกนเซน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของยาฮูถึงกับออกปากว่า "เรากำลังก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาที่เรียกว่าเป็นภาวะถดถอยอย่างชัดเจน"
อย่างไรก็ตาม หุ้นของยาฮูพุ่งขึ้น 7.6% ในการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกที่มีขึ้นหลังจากตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการเมื่อคืนนี้ ขณะที่ในระหว่างทำการซื้อขาย ราคาหุ้นยาฮูดิ่งลง 79 เซนต์ ปิดที่ระดับ 12.07 ดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนดูจะพอใจต่อการตัดสินใจของยาฮูที่มีแผนปรับลดพนักงานเพื่อควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายภายใต้แผนปรับลดต้นทุนเป็นเงิน 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากงบประมาณการใช้จ่ายประจำปีที่ระดับ 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงก่อนเดือนม.ค. หลังจากบริษัทคาดว่าสัญญาณความเลวร้ายของภาวะเศรษฐกิจอาจลากยาวไปจนถึงปีหน้า
นอกเหนือไปจากแผนการปรับลดพนักงานแล้ว ยาฮูยังกำลังพิจารณที่จะปิดสำนักงานบางแห่งในสหรัฐและอาจจ้างแรงงานราคาถูกจากต่างชาติมาทำงานในบางส่วน
ทั้งนี้ ยาฮูได้ปรับลดคาดการณ์รายได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยคาดว่าผลประกอบการประจำปี 2551 จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 7.18 -7.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 7.35-7.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐที่คาดการณ์ไว้เมื่อช่วง 3 เดือนก่อน
ข่าวจาก : โพสต์ทูเดย์ 22 ต.ค.51 http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=13578