April 20, 2011

การวางแผนเรียนในระดับปริญญาเอก -ตอนที่ 2


การวางแผนเรียนปริญญาเอก ในตอนแรก ได้เขียนเกี่ยวกับการสำรวจตัวเอง และการเลือกคณะและมหา'ลัย (อ่านได้ที่ การวางแผนเรียนในระดับปริญญาเอก-ตอนที่1
http://newthaimba.blogspot.com/2011/04/1.html )

อย่างต่อมา  เราต้องเตรียมตัวอะไรบ้างก่อนจะเรียนปริญญาเอก


 * การเตรียมตัวไปสอบ เรื่องนี้ผมคิดว่าสำคัญ โดยเฉพาะผมแล้ว ถ้าลองว่าตั้งใจจะทำอะไรก็ต้องทำให้สำเร็จให้จงได้
    -เราต้องรู้เป้าหมายที่ชัดเจน ว่าจะเรียนไปเพื่อทำอะไร ซึ่งเป็นสิ่งที่เราหนีไม่พ้นในการอาจต้องเขียนสิ่งเหล่านี้เพื่อสมัครเข้าเรียนและ ก็จะถูกถามตอนสัมภาษณ์ด้วย
     สำหรับผมแล้ว ตอนที่ไปสมัครเรียน ต้องการพัฒนาตัวเองและนำมาใช้ในธุรกิจเพราะเป็นธุรกิจที่ปรึกษาและพัฒนาองค์กร ต้องใช้ความรู้ที่สูงกว่าที่องค์กรมี
    -มีประโยชน์อะไร กับสังคมและประเทศชาติถ้าเราเรียนจบมาแล้ว ประเด็นนี้ผมเชื่อว่าทุกท่านคงหาคำตอบที่สวยหรู ดูไฮโซได้
     -สนใจจะทำวิจัยเรื่องอะไร  เรื่องนี้เป็นหัวใจ เพราะท่านต้องเขียน Research proposal สมัครเข้าเรียนและกรรมการสัมภาษณ์ จะถามและซักท่านแน่นอน เพื่อให้รู้ว่าเรื่องที่ท่านสนใจตรงกับสาขาที่สมัครไหม ตรงกับภูมิหลังทางการศึกษาหรือการทำงานมาก่อนอย่างไร  และท่านพอมีพื้นฐานการวิจัยมาบ้างไหม
     ทั้ง 3 เรื่องนี้ท่านต้องเตรียมที่จะใช้สมัครและเตรียมเพื่อสัมภาษณ์ให้สอบได้เข้าเรียนปริญญาเอก

   *สิ่งสำคัญที่ท่านต้องพร้อมในการเรียนปริญญาเอก
     ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้คิดถึงกัน หรือคิดถึงบ้างแต่ไม่ได้ใส่ใจนัก
1) เงิน เงิน เงิน  เรื่องนี้สำคัญมาก บางคนเตรียมไปแค่เฉพาะค่าเทอม ทำตัวจน จน ๆๆ ทั้ง ๆ ที่ในโลกความจริงท่านต้องจ่ายเงินค่าเอกสาร ตำรา ซื้ออุปกรณ์การเรียน  กล้องถ่ายรูป มือถือใหม่ ความจริงอาจไม่จำเป็นนักแต่ในกลุ่มท่านมี ท่านก็หนีไม่พ้น
     การสังสรรค์ เลี้ยงขอบคุณอาจารย์ วันเกิดคณบดี วันปีใหม่-ผรั่ง-ไทย-จีน  วันพ่อ-วันแม่  ฯลฯ  ยังมีเพื่อนแต่งงาน รับขวัญหลาน อะไรจะขนาดนั้น  เป็นเงินทั้งนั้น
     และที่ใช้จริง ๆ ค่าไปดูงานต่างประเทศกับเงินติดกระเป๋า
     ตอนผมเรียนที่บ้านเรา 3ปี  มีไปอยู่ต่างประเทศ 1 เดือน (ออสเตรเลีย) ดูงานที่ อเมริกา 2 สัปดาห์ ได้วางงบประมาณที่จะใช้ประมาณ 1 ล้านบาท
2) เตรียม เวลาและ ปรับตัวเพื่อกลับเข้าโรงเรียน
   แม้ว่าจะเรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์  แต่ก็กินเวลาส่วนใหญ่ไปเพราะต้องค้นคว้า มีกิจกรรม  นัดติว  ฯลฯ หมายความว่า ใน 3 ปี ท่านเป็นนินจาหายไปจากชีวิตปกติ หรือ กับครอบครัวที่ท่านอยู่ด้วย และต้องปรับตัวเพื่อการเรียนไม่ใช่ใช้ชีวิตแบบเดิม บางที่อาจต้องไปเรียนเสริมภาษาให้ชำนาญขึ้น
  แต่ก็สนุกครับเพราะ เป็นบรรยากาศที่เหมือนกลับมาเป็นนักเรียนที่ไม่ต้องรับผิดชอบชีวิต รับผิดชอบอะไร(ทั้ง ๆ ที่ต้องทำหากถ้าท่านทำงานและเรียนไปด้วย)
 3) สุขภาพ
     หลาย ๆ คนแพ้ภัยตัวเองในเรื่องสุขภาพ มีเกิดให้เห็นหลายราย ป่วยตอนเรียน(เพราะเครียดเป็นอัมพาต-เส้นเลือดในสมองตีบ)  ป่วยหลังเรียน ไปทำบายพาสหัวใจ ก็ไม่คุ้มกับที่ไปเรียนมาแต่ไม่คืนทุน
  
   ต้องรู้จักบริหารสุขภาพ ซื้อไม่ได้แต่ต้องทำเองครับ

สุดท้ายในตอนนี้
   1)ท่านชอบการเรียนรู้ค้นคว้า หรือไม่ หากชอบท่านจะสนุกกับการเรียน แต่ไม่ชอบท่านอาจเริ่มต้นไม่ถูกว่าจะทำวิจัยอะไร หาจากที่ไหน และที่สำคัญเขียนหนังสือเป็นภาษาไหม ที่เขาเรียกกันทางวิชาการว่า "บทความวิชาการ"  อันนี้ต้องศึกษาหาเวลาซ้อมมือครับ
    2) ต้องสืบค้นข้อมูลเป็น ใช้อินเตอร์เน็ตคล่อง เพราะไม่มีแหล่งข้อมูลใดจะสู้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้ ดังนั้นถ้าท่านไม่อยู่ในห้องเรียน ก็อยู่ในห้องออนไลน์  ชีวิตท่าน อยู่ไม่กี่ห้องหรอกครับตอนเรียน
       -ห้องเรียน
       -ห้องสมุด
       -ห้องทำงาน
       -ห้องนอน
       -ห้องอาหาร
    แล้วก็โทร  ๆ   ๆๆๆๆๆๆ คุยกันตลอดเวลา คนโน้นคนนี้ ถามการบ้าน ถามหัวข้อ ขอข้อมูล ขอไปเจอ ฯลฯ
    3) มีพื้นฐานการวิจัยที่ดี   การวิจัยไม่มีใครช่วยท่านได้ เรียน ป.เอก จบหรือไม่จบสุดท้ายอยู่ที่วิจัยอย่างเดียว หากไม่เป็นภาษาคือไม่เคยทำตอน ป.โท หรือ ทำแค่ IS ต้องเข้มให้ได้
      หลายคนมองว่า งานวิจัย ป.โท เหมือน ป.เอก ความจริงไม่ใช่ เพราะ ป.เอก เป็นการเขียนความรู้ใหม่ ไม่ใช่แค่หาความสัมพันธ์ของตัวแปร แบบ ป.โท ต้องเติมในเรื่องวิจัยให้แกร่ง

....ไม่งั้นท่านจะ  ....หาหัวข้อวิจัยไม่เจอ-ไม่ได้ ขอก็ไม่มีใครให้  (ที่เขียนตอนสมัครมักไม่ได้ใช้-ส่วนใหญ่)
                       ---ทบทวนวรรณกรรมไม่เป็น ไม่รู้จะเริ่มจากที่ใด
                        ---เขียนบทที่ 1-3 ไม่ได้
                      ยิ่งปวดหัวใหญ่จะไปเก็บข้อมูลที่ไหนดี
....ทั้งหมดนี้ยังไม่เท่ากับว่า จะขอขึ้นสอบได้หรือยัง เพราะชีวิตท่านไปอยู่ในมือ อาจารย์ที่ปรึกษา

   "ท่านเก่ง -เด่น-โด่งดัง มาจากไหนไม่สำคัญ พอมาเรียน.ป.เอก ..ให้คิดเสมอว่า  เวทีนี้ไม่ใช่ของท่านแต่เป็นของคนที่ทำให้ท่านจบหรือไม่จบ ..."

ดร.ดนัย  เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ
บจก. ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์
โทร 029301133
email: drdanait@gmail.com

April 19, 2011

การวางแผนเรียนในระดับปริญญาเอก -ตอนที่ 1


Dear Dr.Danai
First of all , I have to introduce myself , I known you from your book .
Now , I have a question that need your advice.
I plan to study for doctorate but i aim to arrange or pave my way to success in this step.
Let me give you more background
Bachelor Degree in Business Administration
Master Degree in Business Administration also (Financial Managment Programme)
Next step Dotorate but need more info & planning   At the end I expected to be instructor.
Waiting for your suggestion
Rungaroon

Dear Khun Rungaroon


I would like to answer you in your native language, because it would be useful to others and if they have the same intention in the advancement of the profession.
****
การวางแผนเรียนในระดับ ปริญญาเอก ในทรรศนะของดร.ดนัย

การศึกษาในระดับใดก็ตามในส่วนตัวผมเห็นว่า "เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อคนเราเป็นอย่างยิ่ง" ผมจึงสนับสนุนทุกคนที่ประสงค์อยากจะเรียนต่อ หรือ เสริมเติมและเพิ่มความรู้ให้แก่ตนเอง

อย่างแรก คงต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า ที่ต้องการจะเรียนต่อนั้น จะเรียนไปเพื่ออะไร
    -เรียนเพื่อเพิ่มเติมความรู้ให้สูงขึ้นเพราะเป็นคนชอบเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ลักษณะอย่างนี้ สามารถเรียนได้ตลอดเวลา อาจไม่จำเป็นต้องไปแสวงหา ปริญญา  แต่ มุ่งไปที่มีความสนใจอะไร และอยากรู้ลุ่มลึกจนถึงขนาดนำไปสร้างอาชีพได้หรือไม่ 
      ลักษณะอย่างนี้อาจนำไปสู่การ "มีธุรกิจของตนเอง" ตามความสนใจและความรู้ที่ไม่ใช่ในลักษณะของใบปริญญา
     -อยากเรียนเพื่่อ นำวุฒิมาปรับตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือ เปลี่ยนอาชีพ ลักษณะนี้จำเป็นต้องวางแผนและเตรียมความพร้อมพอสมควร ซึ่งจะได้่เล่าต่อไป
    -อยากเรียนเพื่อเป็นเกียรติแก่ตนเอง และวงค์ตระกูล  หรือในครอบครัวคาดหวังว่า "เราน่าจะเป็นคนที่เรียนสูงสุดในตระกูล" ณ. ขณะนั้น  อย่างนี้ก็ไม่ยากอะไรในการเตรียมตัวเพราะมีครอบครัวสนับสนุน

      ความอยากและวัตถุประสงค์ในชีวิต ถ้าสำรวจตัวเองได้ คงต้องมาดูต่อว่า ...เออ เรานี้ก็ไม่ได้น้อยหน้าใคร ในครอบครัว  ในเพื่อนรุ่นเดียวกัน ไม่ว่าชั้น ประถม มัธยม ปริญญาตรี ...โท  ...หรือในที่ทำงาน
 และถึงเวลาต้องเรียนต่อแล้วละ....มาทางนี้เลย

อย่างที่สอง การเรียนในระดับ ปริญญาเอก
     หลายคงพอพูดถึงการเรียนปริญญาเอก บางคนก็คิดว่าไม่จำเป็น บางคนก็บอกไม่ไหว  แต่ก็มีบางคนที่มีความมุ่งมั่น...
     เนื่องจากการเรียน ป.เอก จะใช้เวลาทุ่มเท (เรียนจริงไม่ใช่เรียนแบบโฆษณา จบ  ๆๆ ๆ รุ่นเสี่ยใหญ่ มีเงินไม่มีสมองก็จบ..ฯลฯ) ที่นานพอสมควร 3-5 ปี อยู่ที่การวางแผนตนเอง และเวลาตรงนั้นเป็นเวลาที่ต้องมีวินัย จึงอาจไม่ได้ทำอะไรอย่างที่เคยทำ และหายหน้าหายตาไปจากครอบครัวและเพื่อนฝูง ..จนแทบนึกว่าไม่มีเราอยู่ หรือ เรายังอยู่อีกหรือ วะนี่ ในโลกเบี้ยว ๆ ใบนี้
       พร้อมหรือยัง ?
       1) หากสำรวจตัวเองแล้ว ว่า มี่ความสนใจจริง ๆ และอยากจะเรียนต่อ ให้ได้ ไม่ว่าอย่างไรก็จะต้องเรียนให้ได้
         -จะเรียนต่อในประเทศหรือต่างประเทศ  สิ่งนี้ต้องคิดตั้งแต่เริ่มแรก เนื่องจากมีความแตกต่างกัน
           (1) การเรียนต่อ ป.เอก ในต่างประเทศ หากถึง ณ  จุดนี้ การลงทุนไปเรียนเอง
                   -ถ้าครอบครัวมีฐานะไม่มีปัญหา .... GO   
                   -ไม่แคร์เรื่องตำแหน่งหน้าที่การงาน ลาออกไปเรียนได้ ...GO
                  -อายุยังเยาว์ ไม่เกิน 30 ปี ไม่มีภาระอะไร ....GO
                  -ที่สำคัญ ภาษาต่างประเทศไหว... เขียนได้ดี ... GO
          (2) หากไม่เป็นดังข้างต้น
                  -หาทุนเรียนดีกว่า ที่จะลงทุนเอง
                  -เรียนในเมืองไทยแล้วกัน
         อันนี้คือ สิ่งที่ท่านต้องตอบให้ได้
          
       2) สรุปแล้วจะเรียน (ผมขอพูดในเมืองไทย ส่วนใครจะไปอินเตอร์ ก็ใช้ได้ยกเว้นเรื่องการเตรียมเกี่ยวกับภาษา  หามหา'ลัย  และทุน ครับ)
       การเลือก มหา'ลัย ที่จะเรียนเป็นสิ่งที่มี่ความสำคัญ เช่นกัน
       - ให้ดูพื้นฐานทั้ง ป.ตรี และ ป.โท  การเรียนต่อ ป.เอก หากใช้พื้นฐานดังกล่าว จะช่วยให้เรียนจบง่ายกว่า  การที่ไปเรียนต่างหรือ สิ่งที่เราไม่มีพื้นฐาน
         ยกเว้นกรณีเดียว ว่า "เป็นเทรนด์ ที่ ใครเขาก็เรียน" อย่างนี้ถ้าจะเรียนต้องยอมรับว่าเราจะต้องเรียนหนักกว่าคนอื่นเพราะไม่มีพื้นฐาน 
       -พอรู้ตรงนี้แล้ว มาดูว่า มีมหา'ลัยไหน เปิดในสาขาที่เราสนใจจะเรียนบ้าง   คณะอะไร  อาจารย์ที่เป็น คณบดี  ผอ.หลักสูตรฯ  หรือ ประธานสาขา เป็นใคร  คนเหล่านี้สำคัญต่อเราในระหว่างเรียน  การจบและเมื่อเราจบไปแล้ว
          ..........อาจารย์ 3-4 คน ที่กล่าวข้างต้น เป็นใครก็ไม่รู้ ไม่มีใครรู้จัก  อย่างนี้ลำบากหน่อย เพราะเท่ากับเราอนาคตไปฝากไว้ กับคนไม่มีชื่อเสียง เราไม่ได้เรียนรู้การสร้างชื่อเสียงจากบุคคลเหล่านี้ 
          ..........อาจารย์ประจำวิชาเป็นใครบ้าง หรือ ว่า ดอกเตอร์ จบใหม่  โ นเนม  อย่างนี้เสียเวลาไปเรียนไม่ได้ประสบการณ์  มีแต่ตามตำราที่ตนเองเรียนมา (ยิ่งมาเป็นที่ปรึกษางานวิจัย ยิ่งน่ากลัว เพราะทั้งชีวิต ก็ทำวิจัยมาเล่มเดียวที่ขอจบปริญญา หรืออย่างเก่งก็มีอีกเล่มหลังจบ ตามหลักเกณฑ์ สกอ. ) 

        - สิ่งอำนวยความสะดวกของ มหา'ลัย โดยเฉพาะ ห้องสมุด กับ อินเตอร์เน็ต ทันสมัย และมีฐานข้อมูลมากพอไหม(ซื้อไว้)  เพราะเป็นหัวใจหลักอีกอย่างของการทำวิจัยว่าจะจบหรือไม่จบ
         -สองสิ่งสุดท้าย  ค่าใช้จ่าย ในการเรียน ประมาณว่า 3 ปี จะเป็นเงินเท่าไหร่ เรามีใช้พออย่างเพียงไม่ขัดสนไหม ซึ่งอาจจะต้องรวมการเดินทางไปดูงาน ต่างประเทศ หรือ ไปเรียน ภาษาเพิ่มเติม(เพื่อให้ OK)
         และ  ดุษฎีบัณฑิตที่จบมาแล้ว มี่ชื่อในแวดธุรกิจ หรือ วิชาการมากน้อยเพียงใด เพราะนั่นคือ การแผ้วทางเดินให้กับเราในอนาคต

         ทั้งหมดนี้หากท่านเป็น คนที่พอจะมี เนม-ชื่อเสียงอยู่บ้าง การเลือกมหา'ลัย ก็อาจไม่เข้มนัก ขอเพียงเป็นมหา'ลัย ที่เอ่ยชื่อไปน่าเกียจต้น ๆ   หลักสูตรมีการรับรองตามเกณฑ์ กระทรวงฯ  แต่อาจารย์ทั้งหลายต้องมีเนม ไม่ใช่โนเนม หรือ จบใหม่ ๆ ซิง ๆ 2-3 ปี ที่รุ่นพอ ๆ กับเราหรือ เหมือนเรา  คือ  อาจารย์ที่สอน มารอสร้างชื่อไปพร้อมกับเรา  ..เอวัง ก็มีด้วยประการ ละ ฉะนี้     

..โปรดติดตามตอนต่อไป. ...เร็ว ... ๆ นี้


April 7, 2011

การสอนไม่ตรงข้อสอบเด็ก ม.6 จึงตกโอเน็ตมาก

ประเด็นของเรื่องที่เด็กม6. ตก โอเน็ตต่ำติดเหว มาก ๆ ในวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ

- ถ้าพิจารณาตามคำชิี้แจงของ สพฐ. สรุปง่าย ๆ ว่า สอนไม่ตรงตรงข้อสอบ (555 อีกหน่อยก็เอาข้อสอบมาสอน จะได้ทำได้เยอะ ๆ)  และไม่น่าจะมาจากหลักสูตร (แล้วครู-อาจารย์ เค้าสอนเองหรือไง?

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ

อย่างแรก การที่เด้กไทย คะแนนโอเน็ต ต่ำ ต่ำมาก ๆ ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นแต่มีมานับ 10 ปีแล้วยังแก้ไม่ได้ สารพัดที่จะแก้(ไข)ตัว ครับ
   -ข้อสอบยากไปไม่ตรงกับที่สอน
   -เด็กไม่ตั้งใจทำข้อสอบเพราะไม่มีผลกับการเรียนต่อ
   -ครูสอนไม่สอนให้ทำได้ สอนไม่ตรงข้อสอบ (แต่ ข่้อสอบนี้ใช้ไม่กีปีเอง) 

แล้วอะไรคือสาเหตุ ถ้าเชื่อตาม สพฐ. ก็ข้อสอบออกไม่ตรงกับที่สอน (5555 +)

อย่างต่อมา  ถ้าเราคิดใหม่ไม่เชื่อจากอย่างแรก

ผุ้เขียนได้มีโอกาสไปพูดคุย กับเพื่อน ที่สอนอยู่ใน รร.ประจำจังหวัด หรือ ต่างอำเภอ ของประเทศไทย
ทุกคนสรุปเหมือนกันว่า 
1)เด็กอ่านไม่ออก เมื่อเข้ามาเรียนมัธยม ...เกิดอะไรขึ้นหว่า 
2) ขนาดสูตรคูณ ยังท่องไม่ได้ แล้วจะมีปัญญาไปคิดคำนวณอะไร 
   เพื่อนผม ยกตัวอย่าง เด็ก ม. 4  ให้ทำโจทย์ ห้องแรก  3 ยกกำลังสอง เท่ากับเท่าไหร่ 
     -ห้องแรก ตอบ เท่ากับ 9
     -ห้องแปด ลอกการบ้านจากห้องแรก กลายเป็น  a 
   5555 นี่ละครับ เด็กไทย ไม่ใช่สอนไม่ตรงข้อสอบ และไม่ใช่เป้นการสอนของครู
3) ปัญหาจริง อยู่ที่ประถมศึกษา 
   -ประถมศึกษา เป็นการสอนด้วยครูที่ไม่ตรงวุฒิ อย่างหนึ่ง
   -ประถมศึกษา ครูสนใจเศรษฐกิจมากกว่าการสอน
   -ฯลฯ  ครูสนใจวิทยะฐานะ / ค่าประจำตำแหน่ง มากกว่าที่จะสนใจเด็ก
    ปัญหาต่อมา ที่ตัวเด็กโดยเฉพาะต่างอำเภอ  ซึ่งไม่มีใครดูแลเด็ก พ่อ-แม่ มีลูกเกลื่อนตามที่ทำกิน 
ฝากให้คนแก่เฒ่าดุแล บ้านแตก
     เด็กในต่างอำเภอจึงมีชีวิตการเรียนที่แตกต่างไปจากเด็กครอบครัวที่ดี ทั้งพ่อค้า ข้าราชการและนักธุรกิจ   
     รากฐานที่ประถมศึกษาจึงสำคัญมาก และเป็นช่วงที่สมองกำลังเติบโต
     ปัญหาใหญ่อีกอย่างคือ เด็กไทย IQ เท่ากับ 91 โดยเฉลี่ย (ความหมายคือใกล้ทึบ-โง่) เพราะขาดสารไอโอดีน
    แล้วจะให้สอนให้ตายยังไงในระดับมัธยมเพื่อให้คะแนนโอเน็ตสูง ๆ ละครับ
4) ปัญหา World Class
    การศึกษาบนความตลกที่หัวเราะไม่ออกของการให้เด็กพูดภาษาอังกฤษ เขียนได้
    -การมี  EP โปรแกรม หรือ Mini EP ใน รร. ที่อยู่ต่างอำเภอ จึงเกิดการจ้าง"ฝรั่งข้างถนน" มาสอนภาษาอังกฤษ ด้วยความที่หัวแดง เป็นนักท่องเที่ยว พูดภาษาที่ไม่ใช่บ้านเกิดของไทยได้
     "ฝรั่งข้างถนน" เหล่านี้ ไม่มี "Content" เช่นการสอนคณิตศาสตร์ ใช้เครื่องคิดเลข การคำนวณสูตร ด้วยคอมพิวเตอร์ เด้กจึงคิดไม่เป็น แต่พูดภาษาได้แบบข้างถนน   ไม่รู้ว่ามี ตั๋วครู ด้วยไหม
    ผลที่เห็นชัด วิชาภาษาอังกฤษ  คะแนนโอเน็ต ก็ยังตก ค่าเฉลี่ยไม่ถึง 20
 
   
สรุป  ปัญหาจริงของการศึกษาจึงไม่ได้อยู่ที่การสอนของครู-อาจารย์ที่ไม่ตรงข้อสอบ แต่อยู่ที่จัดการศึกษาอย่างหลงทางมา 10 ปี แล้ว และยังจะหลงทางในทศวรรษที่ 2 อีก 
เพราะคนที่กำหนดนโยบายการศึกษาไม่รู้ว่า
       .... "เด็กต้องการเรียนรู้อย่างไร" แต่คิดว่าต้องให้เรียนอะไร
       ...."ไม่รู้ว่าครูเขาสอนอะไรกัน" แต่ต้องการให้มีตั๋วครูจึงจะสอนได้ 
       ...."ไม่รู้ว่าครูเขาพัฒนาหลักสูตรกันอย่างไร" แต่ไปบังคับให้ทำวิจัยเลื่อนตำแหน่ง 

แนะนำให้ไปอ่านหนังสือ "การศึกษาเพื่อประชากร 1300 ล้านคน"  โดย Li Lanqing  รองนายกฯ ของจีน


***************
หัวข่าว ...จาก  มติชนออนไลน์http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1302085756&grpid=&catid=19&subcatid=1903

"สพฐ."แจงเหตุคะแนนโอเน็ตต่ำ เพราะการสอนไม่สอดคล้องข้อสอบ

เมื่อวันที่ 6 เมษายน นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงสาเหตุที่คะแนนสอบโอเน็ตของนักเรียนชั้น ม.6 คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าปีที่ผ่านมาว่า น่าจะมีสองส่วนคือ 1.เด็กที่สอบปีนี้กับปีที่ผ่านมาคนละรุ่น ดังนั้น คะแนนก็ย่อมจะแตกต่างกันได้เพราะพื้นฐานของเด็กแต่ละปีและเด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน และ 2.ข้อสอบโอเน็ตที่ใช้ก็เป็นข้อสอบแบบย่อจึงสะท้อนผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้ในระดับหนึ่งเพราะแบบทดสอบมีข้อจำกัด

  
"ผมคิดว่าการที่เด็กทำข้อสอบไม่ได้ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะวิธีการเรียนการสอนในโรงเรียนอาจจะไม่สอดคล้องกับข้อสอบโอเน็ตที่ออกมา แต่ตอนนี้ก็เริ่มมีครูในโรงเรียนสังกัด สพฐ.เข้าไปร่วมออกข้อสอบโอเน็ตด้วย จึงเชื่อว่าน่าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องข้อสอบได้มากขึ้น จากเดิมในอดีตนั้นเวลาออกข้อสอบจะมีเฉพาะอาจารย์ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยต่างๆ ไปร่วมออกข้อสอบ" รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าว และว่า ตนคิดว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันไม่น่าจะเป็นสาเหตุทำให้ผลคะแนนในภาพรวมทั่วประเทศลดลง แต่ทุกอย่างน่าจะอยู่ที่กระบวนการจัดการเรียนการสอนมากกว่า

April 5, 2011

เด็ก ม.6 ไทย ปีนี้ ผลสอบโอเน็ต ทุบสถิติ ต่ำติดเหว

ข้อมูลจาก  http://data.bn.ac.th/forum/index.php?topic=902.0


ดูกันจะ ๆ ตกแหลกทุกวิชา ตกต่อเนื่องมานับสิบปี ปี้นี้ ทุบสถิติคุณภาพการศึกษา สพฐ. ของประเทศไทย
คะแนนเต็ม 100 คะแนน วิชาคณิตศาสตร์ ได้เฉลี่ย แค่ 14.99  วิชาภาษาอังกฤษ ได้เฉลี่ย 19.22  นี่ละครับกำลังปฏิรูปรอบสอง สู่ World Class

นี่แหละ ! ฝีมือปฏิรูป ....บอกได้ชัดเจน..หลงทาง ทั้ง EP  IP  World Class   ครูพันธุ์ใหม่ หก" 9 " (ปี)  มาตรฐานคุณวุฒิ-วิชาชีพ สารพัด ...