April 20, 2011

การวางแผนเรียนในระดับปริญญาเอก -ตอนที่ 2


การวางแผนเรียนปริญญาเอก ในตอนแรก ได้เขียนเกี่ยวกับการสำรวจตัวเอง และการเลือกคณะและมหา'ลัย (อ่านได้ที่ การวางแผนเรียนในระดับปริญญาเอก-ตอนที่1
http://newthaimba.blogspot.com/2011/04/1.html )

อย่างต่อมา  เราต้องเตรียมตัวอะไรบ้างก่อนจะเรียนปริญญาเอก


 * การเตรียมตัวไปสอบ เรื่องนี้ผมคิดว่าสำคัญ โดยเฉพาะผมแล้ว ถ้าลองว่าตั้งใจจะทำอะไรก็ต้องทำให้สำเร็จให้จงได้
    -เราต้องรู้เป้าหมายที่ชัดเจน ว่าจะเรียนไปเพื่อทำอะไร ซึ่งเป็นสิ่งที่เราหนีไม่พ้นในการอาจต้องเขียนสิ่งเหล่านี้เพื่อสมัครเข้าเรียนและ ก็จะถูกถามตอนสัมภาษณ์ด้วย
     สำหรับผมแล้ว ตอนที่ไปสมัครเรียน ต้องการพัฒนาตัวเองและนำมาใช้ในธุรกิจเพราะเป็นธุรกิจที่ปรึกษาและพัฒนาองค์กร ต้องใช้ความรู้ที่สูงกว่าที่องค์กรมี
    -มีประโยชน์อะไร กับสังคมและประเทศชาติถ้าเราเรียนจบมาแล้ว ประเด็นนี้ผมเชื่อว่าทุกท่านคงหาคำตอบที่สวยหรู ดูไฮโซได้
     -สนใจจะทำวิจัยเรื่องอะไร  เรื่องนี้เป็นหัวใจ เพราะท่านต้องเขียน Research proposal สมัครเข้าเรียนและกรรมการสัมภาษณ์ จะถามและซักท่านแน่นอน เพื่อให้รู้ว่าเรื่องที่ท่านสนใจตรงกับสาขาที่สมัครไหม ตรงกับภูมิหลังทางการศึกษาหรือการทำงานมาก่อนอย่างไร  และท่านพอมีพื้นฐานการวิจัยมาบ้างไหม
     ทั้ง 3 เรื่องนี้ท่านต้องเตรียมที่จะใช้สมัครและเตรียมเพื่อสัมภาษณ์ให้สอบได้เข้าเรียนปริญญาเอก

   *สิ่งสำคัญที่ท่านต้องพร้อมในการเรียนปริญญาเอก
     ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้คิดถึงกัน หรือคิดถึงบ้างแต่ไม่ได้ใส่ใจนัก
1) เงิน เงิน เงิน  เรื่องนี้สำคัญมาก บางคนเตรียมไปแค่เฉพาะค่าเทอม ทำตัวจน จน ๆๆ ทั้ง ๆ ที่ในโลกความจริงท่านต้องจ่ายเงินค่าเอกสาร ตำรา ซื้ออุปกรณ์การเรียน  กล้องถ่ายรูป มือถือใหม่ ความจริงอาจไม่จำเป็นนักแต่ในกลุ่มท่านมี ท่านก็หนีไม่พ้น
     การสังสรรค์ เลี้ยงขอบคุณอาจารย์ วันเกิดคณบดี วันปีใหม่-ผรั่ง-ไทย-จีน  วันพ่อ-วันแม่  ฯลฯ  ยังมีเพื่อนแต่งงาน รับขวัญหลาน อะไรจะขนาดนั้น  เป็นเงินทั้งนั้น
     และที่ใช้จริง ๆ ค่าไปดูงานต่างประเทศกับเงินติดกระเป๋า
     ตอนผมเรียนที่บ้านเรา 3ปี  มีไปอยู่ต่างประเทศ 1 เดือน (ออสเตรเลีย) ดูงานที่ อเมริกา 2 สัปดาห์ ได้วางงบประมาณที่จะใช้ประมาณ 1 ล้านบาท
2) เตรียม เวลาและ ปรับตัวเพื่อกลับเข้าโรงเรียน
   แม้ว่าจะเรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์  แต่ก็กินเวลาส่วนใหญ่ไปเพราะต้องค้นคว้า มีกิจกรรม  นัดติว  ฯลฯ หมายความว่า ใน 3 ปี ท่านเป็นนินจาหายไปจากชีวิตปกติ หรือ กับครอบครัวที่ท่านอยู่ด้วย และต้องปรับตัวเพื่อการเรียนไม่ใช่ใช้ชีวิตแบบเดิม บางที่อาจต้องไปเรียนเสริมภาษาให้ชำนาญขึ้น
  แต่ก็สนุกครับเพราะ เป็นบรรยากาศที่เหมือนกลับมาเป็นนักเรียนที่ไม่ต้องรับผิดชอบชีวิต รับผิดชอบอะไร(ทั้ง ๆ ที่ต้องทำหากถ้าท่านทำงานและเรียนไปด้วย)
 3) สุขภาพ
     หลาย ๆ คนแพ้ภัยตัวเองในเรื่องสุขภาพ มีเกิดให้เห็นหลายราย ป่วยตอนเรียน(เพราะเครียดเป็นอัมพาต-เส้นเลือดในสมองตีบ)  ป่วยหลังเรียน ไปทำบายพาสหัวใจ ก็ไม่คุ้มกับที่ไปเรียนมาแต่ไม่คืนทุน
  
   ต้องรู้จักบริหารสุขภาพ ซื้อไม่ได้แต่ต้องทำเองครับ

สุดท้ายในตอนนี้
   1)ท่านชอบการเรียนรู้ค้นคว้า หรือไม่ หากชอบท่านจะสนุกกับการเรียน แต่ไม่ชอบท่านอาจเริ่มต้นไม่ถูกว่าจะทำวิจัยอะไร หาจากที่ไหน และที่สำคัญเขียนหนังสือเป็นภาษาไหม ที่เขาเรียกกันทางวิชาการว่า "บทความวิชาการ"  อันนี้ต้องศึกษาหาเวลาซ้อมมือครับ
    2) ต้องสืบค้นข้อมูลเป็น ใช้อินเตอร์เน็ตคล่อง เพราะไม่มีแหล่งข้อมูลใดจะสู้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้ ดังนั้นถ้าท่านไม่อยู่ในห้องเรียน ก็อยู่ในห้องออนไลน์  ชีวิตท่าน อยู่ไม่กี่ห้องหรอกครับตอนเรียน
       -ห้องเรียน
       -ห้องสมุด
       -ห้องทำงาน
       -ห้องนอน
       -ห้องอาหาร
    แล้วก็โทร  ๆ   ๆๆๆๆๆๆ คุยกันตลอดเวลา คนโน้นคนนี้ ถามการบ้าน ถามหัวข้อ ขอข้อมูล ขอไปเจอ ฯลฯ
    3) มีพื้นฐานการวิจัยที่ดี   การวิจัยไม่มีใครช่วยท่านได้ เรียน ป.เอก จบหรือไม่จบสุดท้ายอยู่ที่วิจัยอย่างเดียว หากไม่เป็นภาษาคือไม่เคยทำตอน ป.โท หรือ ทำแค่ IS ต้องเข้มให้ได้
      หลายคนมองว่า งานวิจัย ป.โท เหมือน ป.เอก ความจริงไม่ใช่ เพราะ ป.เอก เป็นการเขียนความรู้ใหม่ ไม่ใช่แค่หาความสัมพันธ์ของตัวแปร แบบ ป.โท ต้องเติมในเรื่องวิจัยให้แกร่ง

....ไม่งั้นท่านจะ  ....หาหัวข้อวิจัยไม่เจอ-ไม่ได้ ขอก็ไม่มีใครให้  (ที่เขียนตอนสมัครมักไม่ได้ใช้-ส่วนใหญ่)
                       ---ทบทวนวรรณกรรมไม่เป็น ไม่รู้จะเริ่มจากที่ใด
                        ---เขียนบทที่ 1-3 ไม่ได้
                      ยิ่งปวดหัวใหญ่จะไปเก็บข้อมูลที่ไหนดี
....ทั้งหมดนี้ยังไม่เท่ากับว่า จะขอขึ้นสอบได้หรือยัง เพราะชีวิตท่านไปอยู่ในมือ อาจารย์ที่ปรึกษา

   "ท่านเก่ง -เด่น-โด่งดัง มาจากไหนไม่สำคัญ พอมาเรียน.ป.เอก ..ให้คิดเสมอว่า  เวทีนี้ไม่ใช่ของท่านแต่เป็นของคนที่ทำให้ท่านจบหรือไม่จบ ..."

ดร.ดนัย  เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ
บจก. ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์
โทร 029301133
email: drdanait@gmail.com

2 comments:

Unknown said...

ดีมากค่ะที่ได้ให้ข้อคิดดีๆ ได้เห็นแนวทางการจะเดินไปสู่เป้าหมาย...

ปริญญา said...

ทำให้ได้ข้อคิด ข้อแนะนำดี ขอบคุณมากนะครับ