April 19, 2011

การวางแผนเรียนในระดับปริญญาเอก -ตอนที่ 1


Dear Dr.Danai
First of all , I have to introduce myself , I known you from your book .
Now , I have a question that need your advice.
I plan to study for doctorate but i aim to arrange or pave my way to success in this step.
Let me give you more background
Bachelor Degree in Business Administration
Master Degree in Business Administration also (Financial Managment Programme)
Next step Dotorate but need more info & planning   At the end I expected to be instructor.
Waiting for your suggestion
Rungaroon

Dear Khun Rungaroon


I would like to answer you in your native language, because it would be useful to others and if they have the same intention in the advancement of the profession.
****
การวางแผนเรียนในระดับ ปริญญาเอก ในทรรศนะของดร.ดนัย

การศึกษาในระดับใดก็ตามในส่วนตัวผมเห็นว่า "เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อคนเราเป็นอย่างยิ่ง" ผมจึงสนับสนุนทุกคนที่ประสงค์อยากจะเรียนต่อ หรือ เสริมเติมและเพิ่มความรู้ให้แก่ตนเอง

อย่างแรก คงต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า ที่ต้องการจะเรียนต่อนั้น จะเรียนไปเพื่ออะไร
    -เรียนเพื่อเพิ่มเติมความรู้ให้สูงขึ้นเพราะเป็นคนชอบเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ลักษณะอย่างนี้ สามารถเรียนได้ตลอดเวลา อาจไม่จำเป็นต้องไปแสวงหา ปริญญา  แต่ มุ่งไปที่มีความสนใจอะไร และอยากรู้ลุ่มลึกจนถึงขนาดนำไปสร้างอาชีพได้หรือไม่ 
      ลักษณะอย่างนี้อาจนำไปสู่การ "มีธุรกิจของตนเอง" ตามความสนใจและความรู้ที่ไม่ใช่ในลักษณะของใบปริญญา
     -อยากเรียนเพื่่อ นำวุฒิมาปรับตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือ เปลี่ยนอาชีพ ลักษณะนี้จำเป็นต้องวางแผนและเตรียมความพร้อมพอสมควร ซึ่งจะได้่เล่าต่อไป
    -อยากเรียนเพื่อเป็นเกียรติแก่ตนเอง และวงค์ตระกูล  หรือในครอบครัวคาดหวังว่า "เราน่าจะเป็นคนที่เรียนสูงสุดในตระกูล" ณ. ขณะนั้น  อย่างนี้ก็ไม่ยากอะไรในการเตรียมตัวเพราะมีครอบครัวสนับสนุน

      ความอยากและวัตถุประสงค์ในชีวิต ถ้าสำรวจตัวเองได้ คงต้องมาดูต่อว่า ...เออ เรานี้ก็ไม่ได้น้อยหน้าใคร ในครอบครัว  ในเพื่อนรุ่นเดียวกัน ไม่ว่าชั้น ประถม มัธยม ปริญญาตรี ...โท  ...หรือในที่ทำงาน
 และถึงเวลาต้องเรียนต่อแล้วละ....มาทางนี้เลย

อย่างที่สอง การเรียนในระดับ ปริญญาเอก
     หลายคงพอพูดถึงการเรียนปริญญาเอก บางคนก็คิดว่าไม่จำเป็น บางคนก็บอกไม่ไหว  แต่ก็มีบางคนที่มีความมุ่งมั่น...
     เนื่องจากการเรียน ป.เอก จะใช้เวลาทุ่มเท (เรียนจริงไม่ใช่เรียนแบบโฆษณา จบ  ๆๆ ๆ รุ่นเสี่ยใหญ่ มีเงินไม่มีสมองก็จบ..ฯลฯ) ที่นานพอสมควร 3-5 ปี อยู่ที่การวางแผนตนเอง และเวลาตรงนั้นเป็นเวลาที่ต้องมีวินัย จึงอาจไม่ได้ทำอะไรอย่างที่เคยทำ และหายหน้าหายตาไปจากครอบครัวและเพื่อนฝูง ..จนแทบนึกว่าไม่มีเราอยู่ หรือ เรายังอยู่อีกหรือ วะนี่ ในโลกเบี้ยว ๆ ใบนี้
       พร้อมหรือยัง ?
       1) หากสำรวจตัวเองแล้ว ว่า มี่ความสนใจจริง ๆ และอยากจะเรียนต่อ ให้ได้ ไม่ว่าอย่างไรก็จะต้องเรียนให้ได้
         -จะเรียนต่อในประเทศหรือต่างประเทศ  สิ่งนี้ต้องคิดตั้งแต่เริ่มแรก เนื่องจากมีความแตกต่างกัน
           (1) การเรียนต่อ ป.เอก ในต่างประเทศ หากถึง ณ  จุดนี้ การลงทุนไปเรียนเอง
                   -ถ้าครอบครัวมีฐานะไม่มีปัญหา .... GO   
                   -ไม่แคร์เรื่องตำแหน่งหน้าที่การงาน ลาออกไปเรียนได้ ...GO
                  -อายุยังเยาว์ ไม่เกิน 30 ปี ไม่มีภาระอะไร ....GO
                  -ที่สำคัญ ภาษาต่างประเทศไหว... เขียนได้ดี ... GO
          (2) หากไม่เป็นดังข้างต้น
                  -หาทุนเรียนดีกว่า ที่จะลงทุนเอง
                  -เรียนในเมืองไทยแล้วกัน
         อันนี้คือ สิ่งที่ท่านต้องตอบให้ได้
          
       2) สรุปแล้วจะเรียน (ผมขอพูดในเมืองไทย ส่วนใครจะไปอินเตอร์ ก็ใช้ได้ยกเว้นเรื่องการเตรียมเกี่ยวกับภาษา  หามหา'ลัย  และทุน ครับ)
       การเลือก มหา'ลัย ที่จะเรียนเป็นสิ่งที่มี่ความสำคัญ เช่นกัน
       - ให้ดูพื้นฐานทั้ง ป.ตรี และ ป.โท  การเรียนต่อ ป.เอก หากใช้พื้นฐานดังกล่าว จะช่วยให้เรียนจบง่ายกว่า  การที่ไปเรียนต่างหรือ สิ่งที่เราไม่มีพื้นฐาน
         ยกเว้นกรณีเดียว ว่า "เป็นเทรนด์ ที่ ใครเขาก็เรียน" อย่างนี้ถ้าจะเรียนต้องยอมรับว่าเราจะต้องเรียนหนักกว่าคนอื่นเพราะไม่มีพื้นฐาน 
       -พอรู้ตรงนี้แล้ว มาดูว่า มีมหา'ลัยไหน เปิดในสาขาที่เราสนใจจะเรียนบ้าง   คณะอะไร  อาจารย์ที่เป็น คณบดี  ผอ.หลักสูตรฯ  หรือ ประธานสาขา เป็นใคร  คนเหล่านี้สำคัญต่อเราในระหว่างเรียน  การจบและเมื่อเราจบไปแล้ว
          ..........อาจารย์ 3-4 คน ที่กล่าวข้างต้น เป็นใครก็ไม่รู้ ไม่มีใครรู้จัก  อย่างนี้ลำบากหน่อย เพราะเท่ากับเราอนาคตไปฝากไว้ กับคนไม่มีชื่อเสียง เราไม่ได้เรียนรู้การสร้างชื่อเสียงจากบุคคลเหล่านี้ 
          ..........อาจารย์ประจำวิชาเป็นใครบ้าง หรือ ว่า ดอกเตอร์ จบใหม่  โ นเนม  อย่างนี้เสียเวลาไปเรียนไม่ได้ประสบการณ์  มีแต่ตามตำราที่ตนเองเรียนมา (ยิ่งมาเป็นที่ปรึกษางานวิจัย ยิ่งน่ากลัว เพราะทั้งชีวิต ก็ทำวิจัยมาเล่มเดียวที่ขอจบปริญญา หรืออย่างเก่งก็มีอีกเล่มหลังจบ ตามหลักเกณฑ์ สกอ. ) 

        - สิ่งอำนวยความสะดวกของ มหา'ลัย โดยเฉพาะ ห้องสมุด กับ อินเตอร์เน็ต ทันสมัย และมีฐานข้อมูลมากพอไหม(ซื้อไว้)  เพราะเป็นหัวใจหลักอีกอย่างของการทำวิจัยว่าจะจบหรือไม่จบ
         -สองสิ่งสุดท้าย  ค่าใช้จ่าย ในการเรียน ประมาณว่า 3 ปี จะเป็นเงินเท่าไหร่ เรามีใช้พออย่างเพียงไม่ขัดสนไหม ซึ่งอาจจะต้องรวมการเดินทางไปดูงาน ต่างประเทศ หรือ ไปเรียน ภาษาเพิ่มเติม(เพื่อให้ OK)
         และ  ดุษฎีบัณฑิตที่จบมาแล้ว มี่ชื่อในแวดธุรกิจ หรือ วิชาการมากน้อยเพียงใด เพราะนั่นคือ การแผ้วทางเดินให้กับเราในอนาคต

         ทั้งหมดนี้หากท่านเป็น คนที่พอจะมี เนม-ชื่อเสียงอยู่บ้าง การเลือกมหา'ลัย ก็อาจไม่เข้มนัก ขอเพียงเป็นมหา'ลัย ที่เอ่ยชื่อไปน่าเกียจต้น ๆ   หลักสูตรมีการรับรองตามเกณฑ์ กระทรวงฯ  แต่อาจารย์ทั้งหลายต้องมีเนม ไม่ใช่โนเนม หรือ จบใหม่ ๆ ซิง ๆ 2-3 ปี ที่รุ่นพอ ๆ กับเราหรือ เหมือนเรา  คือ  อาจารย์ที่สอน มารอสร้างชื่อไปพร้อมกับเรา  ..เอวัง ก็มีด้วยประการ ละ ฉะนี้     

..โปรดติดตามตอนต่อไป. ...เร็ว ... ๆ นี้


No comments: