April 7, 2011

การสอนไม่ตรงข้อสอบเด็ก ม.6 จึงตกโอเน็ตมาก

ประเด็นของเรื่องที่เด็กม6. ตก โอเน็ตต่ำติดเหว มาก ๆ ในวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ

- ถ้าพิจารณาตามคำชิี้แจงของ สพฐ. สรุปง่าย ๆ ว่า สอนไม่ตรงตรงข้อสอบ (555 อีกหน่อยก็เอาข้อสอบมาสอน จะได้ทำได้เยอะ ๆ)  และไม่น่าจะมาจากหลักสูตร (แล้วครู-อาจารย์ เค้าสอนเองหรือไง?

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ

อย่างแรก การที่เด้กไทย คะแนนโอเน็ต ต่ำ ต่ำมาก ๆ ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นแต่มีมานับ 10 ปีแล้วยังแก้ไม่ได้ สารพัดที่จะแก้(ไข)ตัว ครับ
   -ข้อสอบยากไปไม่ตรงกับที่สอน
   -เด็กไม่ตั้งใจทำข้อสอบเพราะไม่มีผลกับการเรียนต่อ
   -ครูสอนไม่สอนให้ทำได้ สอนไม่ตรงข้อสอบ (แต่ ข่้อสอบนี้ใช้ไม่กีปีเอง) 

แล้วอะไรคือสาเหตุ ถ้าเชื่อตาม สพฐ. ก็ข้อสอบออกไม่ตรงกับที่สอน (5555 +)

อย่างต่อมา  ถ้าเราคิดใหม่ไม่เชื่อจากอย่างแรก

ผุ้เขียนได้มีโอกาสไปพูดคุย กับเพื่อน ที่สอนอยู่ใน รร.ประจำจังหวัด หรือ ต่างอำเภอ ของประเทศไทย
ทุกคนสรุปเหมือนกันว่า 
1)เด็กอ่านไม่ออก เมื่อเข้ามาเรียนมัธยม ...เกิดอะไรขึ้นหว่า 
2) ขนาดสูตรคูณ ยังท่องไม่ได้ แล้วจะมีปัญญาไปคิดคำนวณอะไร 
   เพื่อนผม ยกตัวอย่าง เด็ก ม. 4  ให้ทำโจทย์ ห้องแรก  3 ยกกำลังสอง เท่ากับเท่าไหร่ 
     -ห้องแรก ตอบ เท่ากับ 9
     -ห้องแปด ลอกการบ้านจากห้องแรก กลายเป็น  a 
   5555 นี่ละครับ เด็กไทย ไม่ใช่สอนไม่ตรงข้อสอบ และไม่ใช่เป้นการสอนของครู
3) ปัญหาจริง อยู่ที่ประถมศึกษา 
   -ประถมศึกษา เป็นการสอนด้วยครูที่ไม่ตรงวุฒิ อย่างหนึ่ง
   -ประถมศึกษา ครูสนใจเศรษฐกิจมากกว่าการสอน
   -ฯลฯ  ครูสนใจวิทยะฐานะ / ค่าประจำตำแหน่ง มากกว่าที่จะสนใจเด็ก
    ปัญหาต่อมา ที่ตัวเด็กโดยเฉพาะต่างอำเภอ  ซึ่งไม่มีใครดูแลเด็ก พ่อ-แม่ มีลูกเกลื่อนตามที่ทำกิน 
ฝากให้คนแก่เฒ่าดุแล บ้านแตก
     เด็กในต่างอำเภอจึงมีชีวิตการเรียนที่แตกต่างไปจากเด็กครอบครัวที่ดี ทั้งพ่อค้า ข้าราชการและนักธุรกิจ   
     รากฐานที่ประถมศึกษาจึงสำคัญมาก และเป็นช่วงที่สมองกำลังเติบโต
     ปัญหาใหญ่อีกอย่างคือ เด็กไทย IQ เท่ากับ 91 โดยเฉลี่ย (ความหมายคือใกล้ทึบ-โง่) เพราะขาดสารไอโอดีน
    แล้วจะให้สอนให้ตายยังไงในระดับมัธยมเพื่อให้คะแนนโอเน็ตสูง ๆ ละครับ
4) ปัญหา World Class
    การศึกษาบนความตลกที่หัวเราะไม่ออกของการให้เด็กพูดภาษาอังกฤษ เขียนได้
    -การมี  EP โปรแกรม หรือ Mini EP ใน รร. ที่อยู่ต่างอำเภอ จึงเกิดการจ้าง"ฝรั่งข้างถนน" มาสอนภาษาอังกฤษ ด้วยความที่หัวแดง เป็นนักท่องเที่ยว พูดภาษาที่ไม่ใช่บ้านเกิดของไทยได้
     "ฝรั่งข้างถนน" เหล่านี้ ไม่มี "Content" เช่นการสอนคณิตศาสตร์ ใช้เครื่องคิดเลข การคำนวณสูตร ด้วยคอมพิวเตอร์ เด้กจึงคิดไม่เป็น แต่พูดภาษาได้แบบข้างถนน   ไม่รู้ว่ามี ตั๋วครู ด้วยไหม
    ผลที่เห็นชัด วิชาภาษาอังกฤษ  คะแนนโอเน็ต ก็ยังตก ค่าเฉลี่ยไม่ถึง 20
 
   
สรุป  ปัญหาจริงของการศึกษาจึงไม่ได้อยู่ที่การสอนของครู-อาจารย์ที่ไม่ตรงข้อสอบ แต่อยู่ที่จัดการศึกษาอย่างหลงทางมา 10 ปี แล้ว และยังจะหลงทางในทศวรรษที่ 2 อีก 
เพราะคนที่กำหนดนโยบายการศึกษาไม่รู้ว่า
       .... "เด็กต้องการเรียนรู้อย่างไร" แต่คิดว่าต้องให้เรียนอะไร
       ...."ไม่รู้ว่าครูเขาสอนอะไรกัน" แต่ต้องการให้มีตั๋วครูจึงจะสอนได้ 
       ...."ไม่รู้ว่าครูเขาพัฒนาหลักสูตรกันอย่างไร" แต่ไปบังคับให้ทำวิจัยเลื่อนตำแหน่ง 

แนะนำให้ไปอ่านหนังสือ "การศึกษาเพื่อประชากร 1300 ล้านคน"  โดย Li Lanqing  รองนายกฯ ของจีน


***************
หัวข่าว ...จาก  มติชนออนไลน์http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1302085756&grpid=&catid=19&subcatid=1903

"สพฐ."แจงเหตุคะแนนโอเน็ตต่ำ เพราะการสอนไม่สอดคล้องข้อสอบ

เมื่อวันที่ 6 เมษายน นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงสาเหตุที่คะแนนสอบโอเน็ตของนักเรียนชั้น ม.6 คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าปีที่ผ่านมาว่า น่าจะมีสองส่วนคือ 1.เด็กที่สอบปีนี้กับปีที่ผ่านมาคนละรุ่น ดังนั้น คะแนนก็ย่อมจะแตกต่างกันได้เพราะพื้นฐานของเด็กแต่ละปีและเด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน และ 2.ข้อสอบโอเน็ตที่ใช้ก็เป็นข้อสอบแบบย่อจึงสะท้อนผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้ในระดับหนึ่งเพราะแบบทดสอบมีข้อจำกัด

  
"ผมคิดว่าการที่เด็กทำข้อสอบไม่ได้ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะวิธีการเรียนการสอนในโรงเรียนอาจจะไม่สอดคล้องกับข้อสอบโอเน็ตที่ออกมา แต่ตอนนี้ก็เริ่มมีครูในโรงเรียนสังกัด สพฐ.เข้าไปร่วมออกข้อสอบโอเน็ตด้วย จึงเชื่อว่าน่าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องข้อสอบได้มากขึ้น จากเดิมในอดีตนั้นเวลาออกข้อสอบจะมีเฉพาะอาจารย์ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยต่างๆ ไปร่วมออกข้อสอบ" รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าว และว่า ตนคิดว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันไม่น่าจะเป็นสาเหตุทำให้ผลคะแนนในภาพรวมทั่วประเทศลดลง แต่ทุกอย่างน่าจะอยู่ที่กระบวนการจัดการเรียนการสอนมากกว่า

No comments: