1. บทเรียน จาก "Building good school through Great school leader"
"การ
สร้างโรงเรียนที่ดี" จะสร้างได้อย่างไร บ้าง "เป็นความท้าทายใหม่ของผม "
ผมคิด ๆ อยู่ในระหว่างที่ บรรยายให้กับ ผู้อำนวยการ รร. ของ สพฐ.
เมื่อปีก่อน(2557) พอต้นปีนี้ (2558) ได้มีโอกาส ไปจัดทำกลยุทธให้กับ รร.
แห่งหนึ่งในสังกัด อบจ. ที่ภาคเหนือ
ผม ได้ใช้เรื่องราวของ
"ผู้นำแห่งวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ (Strategic Visionary Leader)"
มาช่วยในการผลักดันการทำวิสัยทัศน์ พันธกิจ และ กลยุทธของ รร.ดังกล่าว
แต่สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ผมได้พบ (การสังเกตตลอดเวลาและการสนทนา กับ ผอ.รร) คือ
1) ผู้นำ รร.(ผู้บริหารสูงสุด) ดังกล่าว ต้องเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ด้วย
จึงจะสามารถ"สร้างรร. ที่ดี" ได้ จากความเป็นผู้นำของบริหารสูงสุดของ รร.
เช่น คิดคำถามให้ ครู ช่วยกันตอบ
-ทำอย่างไร จะให้ รถบัส
รถปิกอัพ ที่ วิ่งมารับ เด็ก จาก หมู่บ้านที่ รร. ตั้งอยู่ ไปเรียนในเมือง
ขอให้ เหลือ แค่ รถปิกอัพ หรือ เป็นรถเก๋งวิ่งออกไป
-จะมีหลักสูตร อะไร ที่จะทำให้เด็ก เก่ง มาเรียนที่ รร. แ่ห่งนี้
-มีทางไหม ที่จะสร้าง บ้านเล็กในป่าใหญ่ (Schools in School)
2) ความสามารถเชื่อมโยง "ชุมชน กับ รร." ซึ่งเท่าที่พบ
ชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของ รร. (รร.ตั้งมาเกือบ 100ปี) รร.ทำอะไรไม่ได้
ชุมชนเข้ามาช่วยโดยแทบไม่ต้องร้องขอ และ ศิษย์เก่า รู้ประวัติ รร.
ได้ดีมากกว่า ครูรุ่นใหม่ ๆ (เสียอีก)
ช่วงที่ผม จัดทำ Workshop
-SWOT Analysis ปรากฎว่า นอกจากผู้บริหาร อจ. -ครู เข้าร่วมสัมมนาแล้ว
ยังมีทั้ง คนขับรถ แม่บ้าน นร. ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า กรรมการสถานศึกษา
ฯลฯ เข้ามามีส่วนร่วมตลอด โดยช่วยกันทำอย่างจริง ๆ จัง ๆ
ผมคิดว่า เล่าเพียง 2 ลักษณะของผุู้นำ รร.แห่งนี้ บวกกับ ผู้นำแห่งวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ ที่ผมนำมาใช้ตลอดการสัมมนา
ทุกท่านคงนึกภาพออกว่า ...."เราสามารถสร้าง รร. ที่ดี ได้อย่างแน่นอนโดยไม่มีข้อสงสัย หรือ กังขาแต่อย่างใด"
ถ้ามีโอกาส ได้ไป รร. แห่งนี้อีก ผมจะมารายงานความคืบหน้าต่อครับ
อ่านความคิดเรื่องนี้ได้จาก
3. ในวันที่ 9 พ.ค.58 ในชั้น ป.เอก รุ่น 11
หลักสูตร บริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มซจ. วิชา Strategic leadership
ผู้เขียนได้บรรยาย เกี่ยวกับ การสร้างแนวคิดใหม่ในเรื่อง หลักการของความเป็นผู้นำ (เมื่อทฤษฎีความเป็นผู้นำของตะวันตก สามารถใช้ได้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ เราจะ มีพาราไดม์ใหม่อย่างไร ) แต่ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องดู "บทเรียนที่เป็นเลิศ (Best practices) จากคนอื่น ๆ (ที่จัดการศึกษาประสบความสำเร็จ)
ได้จุดประกายความคิดให้ นศ. ด้วย "Educational Transformation" ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา (Change in Education) แบบที่เข้าใจและว่า ๆ กัน แต่พูดในเรื่อง การปรับเปลี่ยนรูปแบบ (Transformation) ซึ่ง กว้างและลึกกว่า
ประเด็นที่พูดคุยกันเป็นเรื่อง การปรับเปลี่ยนรูปแบบ ระบบการศึกษาปัจจุบันไปสู่ "Organic Education" คือ คิดแบบเกษตรอินทรีย์(จัดการศึกษาแบบอินทรีย์) คิดแบบธุรกิจ (สถานศึกษาต้องพิจารณาว่า ลูกค้าที่จะให้รายได้อยู่ที่ไหน กับรายได้และ ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน) สถานศึกษา (เป็นชุมชนของคนที่เข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน) ผู้เรียนต้อง (ได้รับการพัฒนา และมีศักยภาพ ทั้ง Health Ecology Fairness and Care) ผู้สอนหรือ ครู-อาจารย์ ต้องเป็น "Wonderful teachers" และที่สำคัญ The Principle for Principal คือการเข้าใจ "รากเหง่าของความสำเร็จ (The Root of Achievement)"
(ตามรูป ซึ่งผู้เขียนได้มอบหมายให้ นศ. เขียนเป็นบทความภายหลังจากที่ได้ฟังแนวคิดนี้แล้ว จะได้มาขยายความต่อขอติดไว้ก่อน)
ช่วงบ่าย ๆ ให้ นศ. ทำกิจกรรม ฝึกปฏิบัติว่า ตาม วัฎจักรชีวิตขององค์กร ใน 4 ขั้น ผู้นำจะมี ความเป็นผู้นำในแต่ละขั้นอย่างไร (ในด้าน ทักษะ พฤติกรรม และวิธีการ)
หลังจากนำเสนอเสร็จ ให้ข้อคิดเห็น ได้มอบให้ นศ. ไป ปรับเป็นการบ้านมาส่ง ครับ
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
Line ID: thailand081