January 31, 2008

36 กลยุทธแห่งชัยชนะ

The Thrity - Six Winning Strategies

1. Deceive the sky to cross the ocean
Moving about in the darkness and shadows, occupying isolated places, or hiding behind screens will only attract suspicious attention.
To lower an enemy's guard you must act in the open and hide your true intentions under the guise of common every day activities.
2. Besiege Wèi to rescue Zhào
When the enemy is too strong to be attacked directly, then attack something he holds dear. Know that in all things he cannot be superior. Somewhere there is a gap in the armour, a weakness that can be attacked instead.
The origins of this proverb is from the Warring States Period. The state of Wèi attacked Zhao and laid siege to its capital Handan.
Zhào turned to Qí for help, but the Qí general Sun Bin determined it would be unwise to meet the army of Wèi head on, so he instead attacked their capital at Daliang.
The army of Wèi retreated in haste, and they were ambushed and defeated at the Battle of Guiling, with the Wèi general Pang Juan slain on the field.
3. Kill with a borrowed knife
Attack using the strength of another (in a situation where using one's own strength is not favourable).
Trick an ally into attacking him, bribe an official to turn traitor, or use the enemy's own strength against him.
4. Substitute leisure for labour
It is an advantage to choose the time and place for battle. In this way you know when and where the battle will take place, while your enemy does not.
Encourage your enemy to expend his energy in futile quests while you conserve your strength. When he is exhausted and confused, you attack with energy and purpose.
5. Loot a house on fire
When a country is beset by internal conflicts, when disease and famine ravage the population, when corruption and crime are rampant, then it will be unable to deal with an outside threat.
This is the time to attack.
6. Make a sound in the east, then strike in the west
In any battle the element of surprise can provide an overwhelming advantage. Even when face to face with an enemy, surprise can still be employed by attacking where he least expects it.
To do this you must create an expectation in the enemy's mind through the use of a feint.

7. Create something from nothing You use the same feint twice.

Having reacted to the first and often the second feint as well, the enemy will be hesitant to react to a third feint. Therefore the third feint is the actual attack catching your enemy with his guard down.
8. Sneak through the passage of Chencang
Attack the enemy with two convergent forces. The first is the direct attack, one that is obvious and for which the enemy prepares his defense.
The second is the indirect, the attack sinister, that the enemy does not expect and which causes him to divide his forces at the last minute leading to confusion and disaster.
This (confrontation strategies) proverb is literally translated as "openly repair the gallery roads, but sneak through the passage of Chencang".
The phrase originated from the Chu-Han contention, where Liu Bang retreated to the lands of Sichuan to prepare for a confrontation with Xiang Yu.
Once he was fully prepared, Liu Bang sent men to openly repair the gallery roads he had destroyed earlier, while secretly moving his troops towards Guanzhong through the small town of Chencang instead.
When Xiang Yu received news of Liu Bang repairing the gallery roads, he dismissed the threat since he knew the repairs would take years to complete.
This allowed Liu Bang to retake Guanzhong by surprise, and eventually led to his victory over Xiang Yu and the birth of the Han Dynasty.
9. Watch the fires burning across the river
Delay entering the field of battle until all the other players have become exhausted fighting amongst themselves. Then go in full strength and pick up the pieces.
10. Hide a knife behind a smile
Charm and ingratiate yourself to your enemy. When you have gained his trust, you move against him in secret.
11. Sacrifices the plum tree to preserve the peach tree

There are circumstances in which you must sacrifice short-term objectives in order to gain the long-term goal. This is the scapegoat strategy whereby someone else suffers the consequences so that the rest do not.
Cao Cao of the Three Kingdoms Period demonstrated this strategy. During a siege, Cao supplies ran low so he called in the supply captain and told him to dilute the rice with water to save grains.
When the soldiers started to complain, Cao ordered for the captain to be killed. He would explain to his troops that the captain has been selling supplies to the enemy.
This raises the army morale and they were victorious in a few more days.
12. Take the opportunity to pilfer a goat
While carrying out your plans be flexible enough to take advantage of any opportunity that presents itself, however small, and avail yourself of any profit, however slight.

13. Startle the snake by hitting the grass around it.
When preparing for battle, do not alert your enemy to your intentions or give away your strategy prematurely.
14. Borrow another's corpse to resurrect the soul.
Take an institution, a technology, or a method that has been forgotten or discarded and appropriate it for your own purpose.
Revive something from the past by giving it a new purpose or to reinterpret and bring to life old ideas, customs, and traditions.
15. Entice the tiger to leave its mountain lair
Never directly attack an opponent whose advantage is derived from its position. Instead lure him away from his position thus separating him from his source of strength.
16. In order to capture, one must let loose.
Cornered prey will often mount a final desperate attack. To prevent this you let the enemy believe he still has a chance for freedom.
His will to fight is thus dampened by his desire to escape.
When in the end the freedom is proven a falsehood the enemy's morale will be defeated and he will surrender without a fight.
17. Tossing out a brick to get a jade
Prepare a trap then lure your enemy into the trap by using bait.
In war the bait is the illusion of an opportunity for gain.
In life the bait is the illusion of wealth, power, and sex.
This proverb is based on a story involving two famous poets of the Tang Dynasty.
There was a great poet named Zhao Gue and another lesser poet by the name of Chang Jian. While Chang Jian was traveling in Suzhou, he heard news that Zhao Gu would be visiting a temple in the area.
Chang Jian wished to learn from the master poet, so he devised a plan and went to the temple in advance, then wrote a poem on the temple walls with only two of the four lines completed, hoping Zhao Gu would see it and finish the poem.
Zhao Gu acted as Chang Jian forsaw, and from this story came the proverb.
18. Defeat the enemy by capturing their chief
If the enemy's army is strong but is allied to the commander only by money or threats, then take aim at the leader.
If the commander falls the rest of the army will disperse or come over to your side. If, however, they are allied to the leader through loyalty then beware, the army can continue to fight on after his death out of vengeance.

19. Remove the firewood under the cooking pot
When faced with an enemy too powerful to engage directly you must first weaken him by undermining his foundation and attacking his source of power.
20. Catch a fish while the water is disturbed
Before engaging your enemy's forces create confusion to weaken his perception and judgement. Do something unusual, strange, and unexpected as this will arouse the enemy's suspicion and disrupt his thinking. A distracted enemy is thus more vulnerable.
21. Slough off the cicada's shell
When you are in danger of being defeated, and your only chance is to escape and regroup, then create an illusion. While the enemy's attention is focused on this artifice, secretly remove your men leaving behind only the facade of your presence.
22. Shut the door to catch the thief
If you have the chance to completely capture the enemy then you should do so thereby bringing the battle or war to a quick and lasting conclusion.
To allow your enemy to escape plants the seeds for future conflict.
But if they succeed in escaping, be wary of giving chase.
23. Befriend a distant state while attacking a neighbour
It is known that nations that border each other become enemies while nations separated by distance and obstacles make better allies.
When you are the strongest in one field, your greatest threat is from the second strongest in your field, not the strongest from another field.
24. Obtain safe passage to conquer the State of Guo
Borrow the resources of an ally to attack a common enemy. Once the enemy is defeated, use those resources to turn on the ally that lent you them in the first place.

25. Replace the beams with rotten timbers
Disrupt the enemy's formations, interfere with their methods of operations, change the rules in which they are used to following, go contrary to their standard training.
In this way you remove the supporting pillar, the common link that makes a group of men an effective fighting force.
26. Point at the mulberry tree while cursing the locust tree
To discipline, control, or warn others whose status or position excludes them from direct confrontation; use analogy and innuendo. Without directly naming names, those accused cannot retaliate without revealing their complicity.
27. Play dumb
Hide behind the mask of a fool, a drunk, or a madman to create confusion about your intentions and motivations. Lure your opponent into underestimating your ability until, overconfident, he drops his guard. Then you may attack.
28. Remove the ladder when the enemy has ascended to the roof.
With baits and deceptions lure your enemy into treacherous terrain. Then cut off his lines of communication and avenue of escape.

31. The honey trap
Send your enemy beautiful women to cause discord within his camp.
This strategy can work on three levels.
First, the ruler becomes so enamoured with the beauty that he neglects his duties and allows his vigilance to wane.
Second, other males at court will begin to display aggressive behaviour that inflames minor differences hindering co-operation and destroying morale.
Third, other females at court, motivated by jealousy and envy, begin to plot intrigues further exasperating the situation. Even though this has been done many times, perhaps the most famous historical example is Xi Shi who was sent to the State of Wu during the Spring and Autumn Period.
32. The empty fort strategy
When the enemy is superior in numbers and your situation is such that you expect to be overrun at any moment, then drop all pretence of military preparedness and act casually.
Unless the enemy has an accurate description of your situation this unusual behaviour will arouse suspicions.
With luck he will be dissuaded from attacking.
From Desperate Situations Strategies.
33. Let the enemy's own spy sow discord in the enemy camp
Undermine your enemy's ability to fight by secretly causing discord between him and his friends, allies, advisors, family, commanders, soldiers, and population. While he is preoccupied settling internal disputes his ability to attack or defend, is compromised.
34. Inflict injury on one's self to win the enemy's trust
Pretending to be injured has two possible applications. In the first, the enemy is lulled into relaxing his guard since he no longer considers you to be an immediate threat. The second is a way of ingratiating yourself to your enemy by pretending the injury was caused by a mutual enemy.
This strategy was perhaps best demonstrated during the Spring and Autumn Period.
After his defeat by King Fu Chai of Wu, King Gou Jian of Yue pretended to go to Wu to become a servant of Fu Chai.
After gaining Fu Chai's trust, Guo Jian was allow back to Yue. There he strengthen his military and in 482 BC while Fu Chai was trying to gain hegemony, he attacked and conquered the capital. Some years later in 478 BC, he annexed Wu and forced Fu Chai to commit suicide.
35. The strategy of combining tactics
In important matters one should use several strategies applied simultaneously. Keep different plans operating in an overall scheme; in this manner if any one strategy fails you would still have several others to fall back on.
36. If all else fails, retreat
If it becomes obvious that your current course of action will lead to defeat then retreat and regroup. When your side is losing there are only three choices remaining: surrender, compromise, or escape. Surrender is complete defeat, compromise is half defeat, but escape is not defeat.
As long as you are not defeated, you still have a chance.
This is the most famous one of the 36th strategy, immortalized in the form of a Chinese idiom: "Of the Thirty-Six Strategies, fleeing is best."

From:http://www.easy-strategy.com/thirty-six-strategies.html

36กลยุทธ์แห่งชัยชนะ

ในการสัประยุทธ์ทุกปริมณฑลแบ่งเป็น6ส่วนส่วนละ6กลยุทธ์ทั้งหมด36กลยุทธ์กลยุทธ์ชนะศึก "ยามเมื่อเราเป็นฝ่ายเหนือกว่า ก่อนอื่นจะต้องสยบข้าศึกลงไป ใช้การรุกรบอย่างเป็นฝ่ายกระทำ ทำสงครามด้วยรูปการที่เป็นผลดีที่สุด"

.....กลยุทธ์ที่ 1 ปิดฟ้าข้ามทะเล กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า สิ่งที่ตนคิดว่าได้ตระเตรียมไว้อย่างพร้อมมูลแล้ว ก็มักจะมึนชาและประมาทศัตรูได้ง่าย สิ่งที่พบเห็นอยู่เสมอในยามปรกติก็ไม่เกิดความสงสัยอีกต่อไป

.....กลยุทธ์ที่ 2 ล้อมเว่ยช่วยเจ้า กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกรวมศูนย์กำลังพลไว้ ควรจะใช้กลอุบายดึงแยกข้าศึกออกไป ทำให้กำลังพลกระจัดกระจาย ห่วงหน้าพะวงหลัง ครั้นแล้วจึงเข้าโจมตี นี้ก็คือ “ศัตรูรวมมิสู้ศัตรูแยก” และตำราพิชัยสงครามในสมัยโบราณ ขนานนามยุทธศาสตร์การส่งทหารเข้าบุกข้าศึกก่อนเป็น “ศัตรูแจ้ง” ส่วนยุทธศาสตร์กำราบข้าศึกทีหลังเป็น “ศัตรูมืด”

.....กลยุทธ์ที่ 3 ยืมดาบฆ่าคน กลยุทธ์นี้มีความหวายว่า เมื่อศัตรูปรากฏแน่ชัด แต่มิตรยังลังเล สิ่งที่พึงกระทำก็คือล่อให้พันธมิตรออกไปปะทะศัตรู นี้เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งใช้ความขัดแย้ง ยืมกำลังของคนอื่นไปทำลายศัตรู เพื่อรักษากำลังตนเองไว้ แต่การยืมเช่นนี้จะต้องให้แนบเนียน มิฉะนั้นแล้วก็ไม่อาจทำลายศัตรูได้ กลับอาจถูกศัตรูย้อนรอย

.....กลยุทธ์ที่ 4 รอซ้ำยามเปลี้ย กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อประสงค์จักทำให้ข้าศึกตกอยู่ในภาวะลำบาก ไม่แน่ว่าจะต้องใช้วิธีรบแต่ฝ่ายเดียว อาจจะใช้วิธี "แกร่งเสียอ่อนได้” ตามที่กล่าวไว้ใน “คัมภีร์อี้จิง สูญเสีย เพื่อให้ได้รับชัยชนะก็ได้” "ยามเมื่อเราเป็นฝ่ายเหนือกว่า ก่อนอื่นจะต้องสยบข้าศึกลงไป ใช้การรุกรบอย่างเป็นฝ่ายกระทำ ทำสงครามด้วยรูปการที่เป็นผลดีที่สุด"

.....กลยุทธ์ที่ 5 ตีชิงตามไฟ กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกอยู่ในภาวะวิกฤติ ควรฉวยโอกาสรุกรบโจมตี เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ หรือให้ผู้เข้มแข็งออกโรงเข้าแทรกแซงให้ผู้อ่อนกว่ายอมสยบด้วย นี้ก็คือที่เรียกว่า “ใช้ความแกร่งพิชิตความอ่อน”

.....กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสียงบุรพาฝ่าตีประจิม กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ตามคำอธิบายของ “คัมภีร์อี้จิง ปั่นป่วน” คำว่า “ดุจจมในปลัก” ก็คือตกอยู่ในภาวะที่รวมตัวอยู่ในที่เดียวกัน แต่ขยับตัวหรือกระจายแนวออกต่อตีมิได้ มีอันตรายที่จะพังพินาศได้ทุกเวลา ประดุจฝูงสัตว์ที่ขาดหัวหน้า มิมีการบัญชาที่ถูกต้อง ก็จักต้องพ่ายแพ้ไม่ช้าก็เร็ว กลยุทธ์เผชิญศึก“ยามเมื่อเผชิญศึก เท็จลวงกับจริงแท้ พึงใช้สอดแทรกซึ่งกันและกันอย่างสลับซับซ้อน ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ”

.....กลยุทธ์ที่ 7 มีในไม่มี กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ให้ใช้ภาพลวงล่อหลอกข้าศึก แต่มิใช้จะล่อลวงจนถึงที่สุด หากแต่เพื่อแปรเปลี่ยนจากลวงเป็นจริง ทำให้ข้าศึกเกิดความหลงผิด ที่ว่า “ลวง” ก็คือ “หลอกลวง” ที่ว่า “มืด” ก็คือ “เท็จ” จากมืดน้อยไปถึงมืดมาก จากมืดมากแปรเปลี่ยนเป็นสว่างแจ้ง ก็คือใช้ภาพลวงปกปิดภาพจริง ผันจากเท็จลวงให้กลายเป็นแท้จริงแท้ นี้เป็นเรื่องในการศึกเท็จลวงและแท้จริงแท้สลับกันเป็นฟันปลา ในจริงมีเท็จ ในเท็จมีจริง

.....กลยุทธ์ที่ 8 ลอบตีเฉินชัง กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ในการศึก ใช้โอกาสที่ฝ่ายข้าศึกตัดสินใจจะรักษาพื้นที่ แสร้งทำเป็นจะโจมตีด้านหน้า แต่เข้าจู่โจมในพื้นที่ที่ข้าศึกไม่สนใจอย่างมิได้คาดคิด ใน “คัมภีร์อี้จิง ประโยชน์” เรียกว่า “เข้าจู่โจมดุจพายุ” ซึ่งก็คือกลวิธีวกวนลอบเข้าจู่โจมอย่างเป็นฝ่ายกระทำ เข้าตีข้าศึกโดยมิได้ระวังตัว เอาชนะอย่างมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง

.....กลยุทธ์ที่ 9 ดูไฟชายฝั่ง กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อประสบกับภาวะที่ข้าศึกแตกแยกวุ่นวายปั่นป่วนอย่างหนัก พึงรอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสงบ หากข้าศึกใช้ความป่าเถื่อนแก่กัน ต่างพิพากเข่นฆ่ากัน แนวโน้มก็จักพาไปสู่ความวินาศเอง ในเวลาเยี่ยงนี้จำต้องปฏิบัติให้คล้อยตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพข้าศึก ตระเตรียมไว้ก่อนล่วงหน้า เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ชิงมาซึ่งชัยชนะโดยใช้การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของทางฝ่ายข้าศึกให้เป็นประโยชน์

.....กลยุทธ์ที่ 10 ซ่อนดาบบนรอยยิ้ม กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จะต้องทำให้ข้าศึกเชื่อว่าเรามิได้เคลื่อนไหวอะไรเลย จึงสงบไม่เคลื่อนเช่นกัน ทั้งเกิดความคิดมึนชาขึ้น แต่เรากลับดำเนินการตระเตรียมเป็นการลับ รอคอยโอกาส เพื่อที่จะออกปฏิบัติการ โดยฉับพลันทันที แต่ต้องระวังมิให้ข้าศึกล่วงรู้ก่อน อันจะทำให้สภาพการณ์เกิดเปลี่ยนแปลงไป

.....กลยุทธ์ที่ 11 หลี่ตายแทนถาว กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อการพัฒนาของสถานการณ์มิเป็นผลดีแก่ตน จักต้องเกิดความเสียหายอย่างหลียกเลี่ยงไม่พัน เพื่อที่จะแปรความเสียเปรียบเป็นความได้เปรียบ ก็จะต้องยอมเสีย “มืด” เพื่อประโยชน์แก่ “สว่าง” ซึ่งก็หมายความว่าจำต้องเสียสละส่วนหนึ่ง เสียค่าตอบแทนน้อย เพื่อแลกกับชัยชนะทั่วทุกด้าน

.....กลยุทธ์ที่ 12 จูงแพะติดมือ กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า แม้จะเป็นความเลินเล่อของข้าศึกเพียงเล็กน้อย เราก็พึงฉกฉวยเอาประโยชน์ แม้จะเป็นชัยชนะเพียงเล็กน้อย ก็จะต้องชิงเอามาให้ได้ กลยุทธ์เพื่อการเข้าตี “เมื่อสองฝ่ายเริ่มรบด้วยกลศึก พึงใช้ทุกมาตรการถือเพทุบายเป็นวิถี เอาชนะด้วยเล่ห์กล”

.....กลยุทธ์ที่ 13 ตีหญ้าให้งูตื่น(ปัจจุบันกลายเป็นแหวกหญ้าให้งูตื่น) กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อมีสิ่งใดพึงสงสัย ควรจังส่งคนสอดแนมให้รู้ชัด กุมสภาพข้าศึกได้แล้ว จึงเคลื่อน นี้เรียกว่า “สงสัยพึงแจ้ง สังเกตจึงเคลื่อน” .....ใน “คัมภีร์อี้จิง ซ้ำ” ได้อธิบายไว้ว่า “ใช้มรรควิธีเดิมกลับไปมา 7 วัน เมื่อละเอียดแล้ว จึงเข้าใจสิ่งนั้นได้” ความหมายของคำนี้ก็คือ ต่อสิ่งใดก็ตามจังต้องสังเกตซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงจะสามารถจำแนกแยกแยะมันได้ถูก

.....กลยุทธ์ที่ 14 ยืมซากคืนชีพ กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ผู้ที่มีความสามารถและมีบทบาทนั้น จะใช้อย่างผลีผลามมิได้ ส่วนผู้ที่ไร้ความสามารถ ก็มักจะมาของความช่วยเหลือจากเรา การใช้ผู้ที่ไร้ความสามารถ มิใช้เพราะว่าเราต้องการจะใช้เขา หากแต่เพราะเขาต้องการพึ่งเรา คำว่า “เด็กไร้เดียงสา” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ไร้เดียงสา”

.....กลยุทธ์ที่ 15 ล่อเสือออกจากถ้ำ กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลอันเป็นเงือนไขตามธรรมชาติ เช่น หนาว ร้อน ฝน แจ้ง เป็นต้น ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างและเพิ่มความยากลำบากให้กับข้าศึก ในขณะเดียวกัน ก็ใช้ภาพลวงที่เราจงใจสร้างขึ้น ล่อให้ข้าศึกออกจากแนวป้องกัน หลังจากนั้นก็โจมตีหรือทำลายเสีย

.....กลยุทธ์ที่ 16 แสร้งปล่อยเพื่อจับ กลยุทธ์นี้หมายความว่า ถ้าบีบคั้นจนเกินไปนัก สุนัขก็จักสู้อย่างจนตรอก ปล่อยข้าศึกหนี ก็จักทำลายความเหิมเกริมของข้าศึกได้ ทว่าต้องไล่ตามอย่าละ เพื่อบั่นทอนกำลังของข้าศึกให้กระปลกกะเปลี้ย ครั้นเมื่อสิ้นเรี่ยวแรงใจก็มิคิดต่อสู้ด้วยแล้ว จึงจับ อันเป็นการรบที่ไม่เสียเลือดเนื้อ อีกทั้งทำให้ข้าศึกแตกสลายไปเอง

.....กลยุทธ์ที่ 17 โยนกระเบื้องล่อหยก กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้สิ่งที่คล้ายคลึงกันไปล่อข้าศึก ให้ข้าศึกต้องอุบายพ่ายแพ้ไป การใช้กลยุทธ์นี้ กำหนดขึ้นตามสภาพรูปธรรมของข้าศึก ในตำราพิชัยสงครามชื่อ "ร้อยยุทธการพิสดาร การรบที่ได้ประโยชน์” กล่าวไว้ว่า “เมื่อประมือกับข้าศึก ขุนพลฝ่ายตรงข้ามโง่เง่ามิรู้พลิกแพลง จักล่อด้วยประโยชน์ เขาละโมบในประโยชน์ มิรู้ผลร้าย ก็ซุ่มทหารลอบตีได้ ข้าศึกจักพ่ายนี้คือ “ล่อด้วยประโยชน์”

.....กลยุทธ์ที่ 18 จับโจรเอาหัวโจก กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จักต้องตีข้าศึกในจุดที่เป็นหัวโจของกองทัพ เพื่อสลายพลังของข้าศึก “มังกรสู้บนปฐพี ก็อับจนหมดหนทาง” เปรียบประดุจมังกรในทะเล ขึ้นมาสู้กับศัตรูบนพื้นแผ่นดิน ก็จักปราชัยแก่ข้าศึกโดยง่าย คำนี้เดิมพบใน “คัมภีร์อี้จิง ดิน” ซึ่งแฝงความนัยว่า “จับโจรให้เอาตัวหัวโจก” อันเป็นกลอุบายใช้วิธี “ตีงูให้ตีหัว” เพื่อสยบข้าศึกอย่างหนึ่ง กลยุทธ์ติดพัน “เมื่อเกิดศึกชุลมุน พึงตีหัวใจเป็นสำคัญ ลวงข้าศึกให้หย่อนการป้องกัน สยบข้าศึกด้อยอ่อนพิชิตแข็ง”

.....กลยุทธ์ที่ 19 ถอนฟืนใต้กระทะ กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อเปรียบเทียบกำลังกันแล้ว มิเหนือกว่าข้าศึก พิงหาทางบันทอนความฮึกเหิมลงเสีย “ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ” ตามคำอธิบายของ “คัมภีร์ 64 ทิศ ปฏิบัติ” “น้ำ” หมายถึงความแกร่ง “ฟ้า” หมายถึงความอ่อน รวมแล้วหมายความว่า เอาอ่อนชนะแข็ง ซึ่งก็คือพึงใช้วิธีอ่อนพิชิตแข็ง ฉกฉวยโอกาสทำลายกำลังส่วนหนึ่งของข้าศึกไปเสีย ให้พ่ายไปสิ้นในภายหลัง

.....กลยุทธ์ที่ 20 กวนน้ำจับปลา กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกเกิดความปั่นป่วนในกองทัพของตน เราจักต้องฉวยโอกาสความวุ่นวาย มิรู้ที่จะทำประการใดของข้าศึกนี้ แย่งยึดเอาผลประโยชน์มา หรืออีกนัยหนึ่ง “เอาชัยจากคงวามปั่นป่วน” ดุจดังพายุฝนกระหน่ำยามค่ำคืน ที่ต่ำก็จักขังน้ำ ผู้คนจักเข้าสู่นิทรารมณ์ อันเป็นปกติวิสัยของธรรมชาติมนุษย์

.....กลยุทธ์ที่ 21 จักจั่นลอกคราบ กลยุทธ์นี้มีความหวายว่า รักษาไว้ซึ่งแนวรบเยี่ยงเดิม ให้ดูน่าเกรงขามเหมือนเก่า ฝ่ายมิตรก็มิสงสัย ฝ่ายข้าศึกมิกล้าผลีผลาม ครั้นแล้ว จึงถอนตัวอย่างปกปิด เคลื่อนกำลังหลักให้หลบเลี่ยงไป “เลี่ยงเพื่อสลาย ลวง” คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ลวง” “เลี่ยง” ก็คือหลบหลีก “ลวง” ก็คือทำให้งงงวย นี้นับเป็นกลยุทธ์ถอยทัพอย่างไม่กระโตกกระตาก เพื่อเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ หรือหลีกเลี่ยงความสูญเสียอย่างหนึ่ง

.....กลยุทธ์ที่ 22 ปิดประตูจับโจร กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อข้าศึกอ่อนแอจำนวนน้อย พึงโอบล้อมแล้ว ทำลายเสียให้สิ้น เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เราในภายหลัง “ปล่อย มิเป็นคุณซึ่งติดพัน” มาจาก “คัมภีร์อีกจิง ปล่อย” “ปล่อย” ในที่นี้หมายถึงการแตกกระจายออกเป็นกองเล็กกองน้อยของข้าศึก กำลังก็อ่อนเปลี้ยจนไร้สมรรถนะที่จะสู้รบแล้ว “ติดพัน” หมายถึงการไล่ติดตามไม่ลดละทั้งใกล้และไกล “มิเป็นคุณซึ่งติดพัน” ก็คือ ต่อข้าศึกกองเล็กกองน้อย ปล่อยให้หนีไปได้ แม้จะเล็ก แต่ก็สามารถย้อยกลับมาสร้างความยุ่งยากแก่เรา จนเราต้องไล่ติดตามเพื่อทำลายเสีย เช่นนี้มิเป็นประโยชน์แก่เรา

.....กลยุทธ์ที่ 23 คบไกลตีใกล้ กลยุทธ์นี้หมายความว่า เมื่อถูกจำกัดโดยสภาพแวดล้อม ควรตีเอาข้าศึกที่อยู่ใกล้ตัว จึงจะเป็นประโยชน์แก่ตน โจมตีข้าศึกที่อยู่ไกล จักเป็นผลร้ายแก่ตน “เปลวไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง” หมายความว่า การผูกมิตรนั้น แม้ความคิดเห็นจะไม่ตรงกัน ก็สามารถที่จะร่วมมือกันได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ต่าง” ความว่า “เปลวไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง บุรุษจักร่วมกันเพราะความผิดแผก” ดังนั้น ต่อข้าศึกใกล้และไกล พึงมีนโยบายที่แตกต่างกัน นี้เป็นกลยุทธ์ที่ผูกมิตรกับรัฐไกล เพื่อเอาชัยต่อรัฐใกล้อย่างหนึ่ง

.....กลยุทธ์ที่ 24 ยืมทางพรางกล กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ประเทศเล็กที่อยู่ในระหว่าง 2 ประเทศใหญ่เมื่อถูกข้าศึกบังคับให้สยบอยู่ใต้อำนาจ เราพึงให้ความช่วยเหลือโดยพลัน เพื่อให้ประเทศที่ถูกข่มเหงเชื่อถือ ต่อประเทศที่ตกอยู่ในความยากลำบาก การช่วยเหลือแต่เพียงทางวาจา มิได้มีการกระทำที่เป็นจริง ย่อมจะได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่รอดความช่วยเหลือ กลยุทธ์ร่วมรบ “เมื่อร่วมรบด้วยพันธมิตร พึงให้ได้อำนาจบัญชาการ ทั้งฝ่ายเราและศัตรู”

.....กลยุทธ์ที่ 25 ลักขื่อเปลี่ยนเสา กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อกำลังที่ร่วมรบด้วยข้าศึกกับเราหรือต่อข้าศึกจักต้องหาทางเปลี่ยนแปลงแนวรบฝ่ายนั้นอยู่เสมอ ถอดถอนเคลื่อนย้ายกำลังสำคัญของฝ่ายนั้นไป รอให้ฝ่ายนั้นอ่อนแอต้องประสบกับความพ่ายแพ้จึงฉวยโอกาสแปรกำลังฝ่ายนั้น ให้กลายมาเป็นของเรา แล้วควบคุมกำลังของฝ่ายนั้นไว้ใต้การบัญชา

.....กลยุทธ์ที่ 26 ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อผู้ที่เข้มแข็งกว่าหรือรัฐใหญ่รังแกผู้ที่อ่อนแอหรือรัฐเล็กแล้ว ก็ควรจะใช้วิธีการตักเตือนให้เกรงกลัว ถ้าแม้นเราแสดงความเข้มแข็งให้ประจักษ์ ก็จักได้รับการสนับสนุนจากผู้อ่อนแอ ถ้าเรากล้าใช้ความรุนแรง ก็จักเป็นที่ยอมรับนับถือแก่ผู้อ่อนแอ “แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ” เดิมมาจาก “คัมภีร์อี้จิง แม่ทัพ” ความเต็มว่า "แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ นี้คือหนทางปกครองแผ่นดินราษฎรจึงขึ้นต่อ”

.....กลยุทธ์ที่ 27 แสร้งทำบอแต่ไม่บ้า กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ยอมแสร้งทำเป็นโง่ มิเคลื่อนไหว อย่าทำเป็นสู่รู้ทำบู่มบ่าม คำว่า “ดุจดั่งอสนีบาตหยุดฟาดฟัน” เก็บความมาจาก “คัมภีร์อี้จิง หยุด” ความว่า “อสนีบาตฤดูหนาวแฝงกายอยู่ใต้พื้นพสุธา จักแผดร้องก้องนภาคราฤดูใบไม้ผลิ” ซึ่งความหมายว่า ผู้ที่มีสติปัญญามิพึงแสดงตัว แต่พึงเตรียมการทั้งปวงอย่างลับๆ ประหนึ่งคมดาบอยู่ในฝัก มิปรากฏให้เห็น ครั้งเมื่อถึงกาลอันควร ก็จักคำรนคำรามเหมือนสายฟ้า ที่จะกระหน่ำพสุธาให้แตกสลายไปฉะนั้น

.....กลยุทธ์ที่ 28 ขึ้นบ้านชักบันได กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จงใจเปิดจุดอ่อนให้ข้าศึกเห็น สร้างเงื่อนไขและล่อหลอกให้ข้าศึกเข้าตี ครั้นแล้วตัดขาดส่วนหน้าที่คอยสมทบ และส่วนหลังที่เป็นกำลังหนุน บีบให้ข้าศึกเข้าไปในปากถุงที่เปิดอ้าไว้รับหรือในวงล้อมหลุมพรางที่วางดักไว้ “เจอพิษ มิควรที่” มีใน “คัมภีร์อี้จิง ขบ” เปรียบประดุจเคี้ยวกระดูกหรือเนื้อเหนี่ยว รังแต่จะทำให้ฟันชำรุดเสียหาย หรือเหมือนดั่งมักได้ในสิ่งที่มิควรได้ ย่อมจักนำมาซึ่งความวิบัติฉะนั้น

.....กลยุทธ์ที่ 29 ต้นไม้ผลิดอก กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้แนวรบของมิตรมาสร้างแนวรบที่เป็นประโยชน์แต่เราขึ้น แม้กำลังจะน้อย แต่ก็สามารถทำให้ดูเหมือนใหญ่โต ดุจเดียวกับนกอินทรีที่ผกผินอยู่ในอากาศ ปีกขนกางเหยียดมีท่วงท่าน่าเกรงขาม

.....กลยุทธ์ที่ 30 สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเปิดช่องให้สอดแทรก ควรแทรก กุมจุดสำคัญหรือหัวใจของอีกฝ่ายไว้ “ค่อยผันสู่ชัยชนะ” พบได้ใน “คัมภีร์อี้จิง รุก” ซึ่งมีความเต็มว่า “สรรพสิงในใต้หล้า เคลื่อนอย่างใจร้อนจักเสีย สงบแต่คล้อยตามจักได้ ค่อยๆผันไปช้าๆ จักเป็นคุณ เคลื่อนดังนี้จึงจะมีผล” อันหมายความว่า การตอกลิ้มเข้าไปในฝ่ายตรงข้าม เพื่อยึดอำนาจการบัญชาการนั้น จัดต้องค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้จึงจะบรรลุซึ่งชัยชนะได้ กลยุทธ์ยามพ่าย “เมื่อกำลังเราอ่อนแอ แต่ศัตรูกล้าแข็งฮึกห้าว พึงรีบถอยโดยเร็ว ที่ถอยใช้แพ้ แต่เตรียมตีโต้กลับเมื่อพร้อม

.....กลยุทธ์ที่ 31 กลสาวงาม กลยุทธ์นี้หมายความว่า สำรับข้าศึกที่มีกำลังเข้มแข็ง พึงสยบแม่ทัพเสียก่อน ต่อแม่ทัพที่เฉลียวฉลาด ก็โจมตีจุดอ่อนทางใจ ให้มีอุปสรรค ส่วนแม่ทัพที่ย่อนย่อท้อแท้ ไพร่พลที่กำลังถดถอย ก็จักเสื่อมโทรมแพ้พ่ายไปเอง

.....กลยุทธ์ที่ 32 กลปิดเมือง กลยุทธ์นี้หมายความว่า กำลังเราอ่อนยิ่งจงใจแสดงให้เห็นว่า มิได้มีการป้องกันเลย ทำให้ข้าศึกฉงนสนเท่ห์ ในสภาวะที่ข้าศึกมีกำลังมาก เรามีน้อย การใช้กลยุทธ์เช่นนี้ ก็มีความพิสดารพันลึกเป็นทวีคูณ “ท่ามกลางแข็งกับอ่อน” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง แก้” ใช้ควบกับคำว่า “พิสดาร ซ่อนพิสดาร” ซึ่งหมายความว่า ในขณะที่ข้าศึกแข็งแรงเราอ่อน ให้จัดกำลังโดยใช้กลยุทธ์ “กลวงยิ่งทำกลวง” แสดงให้เห็นถึงความพิสดารในกลศึกที่ข้าศึกคาดคิดไม่ถึง

.....กลยุทธ์ที่ 33 กลไส้ศึก กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกสร้างอุบายเพื่อให้ฝ่ายเราเกิดแตกแยก เราก็พึงซ้อนกลสร้างแผนลวงให้ข้าศึกเกิดร้าวฉาน ให้ข้าศึกระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน ที่เราสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้ “มีผู้แฝงอยู่ภายใน ไม่เสียหายแก่เรา” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ช่วย” หมายความว่า เนื่องจากมีการช่วยเหลือมาจากภายในของข้าศึก จึงเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายเรา เราจึงมีความมั่นใจที่จะตีข้าศึกให้ย่อยยับไป

.....กลยุทธ์ที่ 34 กลทุกข์กาย กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า โดยสามัญสำนึก คนเราทุกคนไม่ทำร้ายตัวเองหากบาดเจ็บ ก็เชื่อว่าคงถูกทำร้าย ถ้าแม้นสามารถทำเท็จให้เป็นจริง ให้ศัตรูเชื่อไม่สงสัย กลอุบายก็จะสัมฤทธิ์ผล ทว่าการทำให้ศัตรูเชื่อ ก็พึงเข้าใจในจุดอ่อนของศัตรู ทำเท็จให้จริงจัง ให้เชื่อจริงแท้ “อาศัยจุดอ่อนแห่งจิต ลู่ตามจึงพิชิต” คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ปิด” หมายความว่า อาศัยความไร้เดียงสาของทารก ล่อหลอกโดยโอนอ่อนผ่อนตามไปก็จังลวงให้บรรลุประสงค์ได้

.....กลยุทธ์ที่ 35 กลลูกโซ่ กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อกำลังศัตรูเข้มแข็งกว่าหลายเท่า จักปะทะด้วยมิได้เป็นอันขาด พึงใช้กลอุบายนานา ให้ศัตรูต่างถ่วงรั้งซึ่งกันและกันทำลายความแกร่งของศัตรู หรือร่วมมือกับพลังต่างๆทั้งมวล ร่วมกันโจมตี เพื่อขจัดความฮักเหิมของศัตรูไป “แม่ทัพผู้ปรีชา จักได้ฟ้าอนุเคราะห์” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง แม่ทัพ” อันความหมายว่า แม่ทัพผู้ปรีชา ย่อมสามารถจะบัญชาการศึกได้อย่างคล่องแคล่วดุจดั่งคล้อยตาม “ความประสงค์ของฟ้า” จักต้องได้รับชัยชนะเป็นมั่นคง

.....กลยุทธ์ที่ 36 หนีคือยอดกลยุทธ์ กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อรบกับข้าศึก หากข้าศึกแข็งเราอ่อน อาจจะถอยร่นอย่างรวดเร็ว เพื่อหลบเลี่ยงการปะทะเสียก่อน ดังที่มีคำกล่าวไว้ใน “คัมภีร์อี้จิง แม่ทัพ” ว่า “ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม” ซึ่งชี้ชัดว่า การถอยหนี่ในการทำสงครามนั้น มิใช้ความผิดพลาด หากแต่เป็นเรืองธรรมดาเสียสามัญในการรบที่มักจะพบเห็นเสมอ การถอนเช่นนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายในยามที่เราเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และเพื่อชิงโอกาสตอบโตภายหลังมิใช่ถอยหนีอย่างพ่ายแพ้หมดรูป ตีโต้กลับมิได้อีก ในตำราพิชัยสงครามชื่อ “ไหวหนานจื่อ ฝึกการยุทธทหาร” เคยกล่าวไว้ว่า “แข็งจึงสู้ อ่อนก็หนี” ในตำราพิชัยสงครามอีกเล่มหนึ่งชื่อ “ปิงฝ่าหยวนจีได้” ก็กล่าวไว้ว่า “แม้นหลบแล้วรักษาไว้ได้ ก็พึงหลบ” ใน “ซุนจื่อ บทกลยุทธ์” ก็กล่าวไว้เช่นกันว่า “แข็งพึงเลี่ยงเสีย”

ที่มา: palungjit.com เวบพระพุทธศาสนาอันดับ1ของโลก

No comments: