November 29, 2010

Strategic Leadership : การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา @Kainan High School of Commerce & Industry -TAIWAN


เมื่อ ดร.ดนัย เทียนพุฒ ไปดูงาน รร.อาชีวะ ชั้นนำของประเทศไต้หวัน ปี 2009

 
ผอ. รร Kainan High School of Commerce and Industry กล่าวต้อนรับคณะ นศ. ป.เอก บริหารการ
ศึกษาและภาวะผู้นำ ม.เซนต์จอห์น ที่เข้าดูงานและเยี่ยมชม



ผอ. รร. ได้พาเข้าชมห้องแสดงอุปกรณ์ดนตรี เครื่องเล่น และแผ่นเสียง ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งส่วนใหญ่ทาง รร.Kainan ได้บำรุงรักษาและสามารถเล่นใช้งานได้





1.ประเด็นสำคัญ อะไรคือความสำเร็จของการทำให้ นร. ระดับ อาชีวะ ไม่ไปใช้พลังส่วนเกินตีกัน
(ไต้หวันก็ตีกันแบบบ้านเรา)
2. ทำไม รร. แห่งนี้ต้องมีห้องแล็ป และพิพิธภัณฑ์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีคุณค่าทางการศึกษาอย่างไร
3. อุปกรณ์เหล่านี้ยังใช้งานได้ทั้ง ๆ ที่เป็นของสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  มีอะไรที่ทำให้เป็นเช่นนั้นได้
เพราะอะไร






นร.ที่ Kainan ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาใหม่ ซึ่งเป็นปลาที่คนไต้หวันนิยมทานมาก ราคาแพง แต่สีไม่สวย

ทีม นร. ที่คิดค้นปลาพันธุ์ใหม่ (สีใหม่ที่สวยงามน่า
ทาน)  รูปด้านล่างครับ (ผมดูงาน นะ..ครับ ไม่ใช่
อาจารย์และ นร. ที่นั่น)

ความจริงก็น่าทำนะครับ เงินเดือนอาจารย์ วุฒิ ป.ตรี เริ่มต้นเดือนละ 25,000 บาท





































สรุปการบรรยาย
วันที่ 14 พ.ย.53
1.Strategic Leadership : Change Change Change !!!
วันที่ 21พ.ย.53
2.Fuji Inter'l Kindergarten : การเปลี่ยนแปลงการศึกษาระดับ Early Childhood
3.Strategic Leadership : การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ที่ Laosong Primary School -TAIWAN

4.Strategic Leadership : การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา @Kainan High School of Commerce & Industry -TAIWAN

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ
โทร 029301133

November 27, 2010

Strategic Leadership : การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ที่ Laosong Primary School -TAIWAN


ในการบรรยาย วิชา Strategic Leadership for Change Management in Education ให้กับ นศ. ป.เอก หลักสูตรบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ เทอม 2/2553 ซึ่งได้เล่าค้างถึงการดูงานที่ประเทศไต้หวัน โดยเฉพาะที่ Laosong Primary School เป็น รร. ที่ในอดีตมีนักเรียนมากที่สุดในโลก คือ ปี 1966 มี นร. มากถึง 11,110 คน ปัจจุบันได้พบกับจำนวน นร. ที่ลดลงและพยายามแก้ปัญหาดังกล่าวอยู่

แล้วการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่นี่มีอะไร
1. รร. แห่งนี้ได้รางวัลชนะเลิศด้านคุณธรรม -จริยธรรม
คณะผู้บริหาร และ อาจารย์ (ที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้) สรุปให้ฟังว่า วิธีการปลูกฝังและสร้างจริยธรรมให้เกิดใน รร. เริ่มด้วยวิธีการ
 -คณะครูจะมาประชุมกัน ว่า ในแต่ละสัปดาห์ จะนำคุณธรรม-จริยธรรมเรื่องใดมาสอนให้กับ นร.
โดยจะกำหนดเป็น ธีม สำหรับแต่ละสัปดาห์
- ทุกชั้นเรียนพอวันจันทร์ของสัปดาห์ คุณครูจะพูดถึงหลักจริยธรรม เช่น  พรหมวิหาร 4 โดยหยิบเรื่อง
เมตตามาก่อน  แล้วมอบเป็นการบ้าน ให้ นร. ไปเขียนเรียงความเกี่ยวกับความเมตตา โดยมีตัวอย่างที่บ้าน เพื่อน หรือ ในชุนชม 
  วันอังคาร นร. จะมาส่งเรียงความเรื่องความเมตตา ครูจะช่วยดูความถูกต้อง
  วันพุธ ครูจะถูกมอบหมาย ให้ นร. มาแสดงบทบาทสมมติ (Role play) ในเรื่องความเมตตา
  วันพฤหัส  นร. ทีมใดที่ เรียงความ แสดงบทบาทสมมติได้ดี  จะได้รับการเลือกให้มาแสดงหน้าเวที่ ณ สนามประชุมตอนเช้าของ รร. ในวันพฤหัส  
   วันศุกร์ จะเป็นการสรุปเรื่องราวทั้งหมดของ คุณธรรม-จริยธรรม
  
2. การมีระบบ จิตอาสาสำหรับช่วยกิจกรรม รร. 
  -เด็กนร. ชั้นใดที่อ่อนวิชาอะไร เช่น เด็กบางคน คณิตศาสตร์ เรียนไม่เก้่งและไม่เข้าใจ จะมีพ่อแม่ที่จิตอาสา เช่น เป็น หมอ วิศวะ มาช่วยติวและสอนให้
  -รร. มีพิพิธภัณฑ์ยาจีน อยู่ใน รร.  ซึ่ง รร. ก็ตั้งอยู่ในเขตชุมชนที่อนุรักษ์วัฒนธรรม ด้วย จึงเป็นการเชื่อม รร. กับชุมชน และทางชุมชนจะมีจิตอาสามาช่วยงาน รร. โดยเฉพาะ พิพิธภัณฑ์ ทั้งในการต้อนรับ การดูแล และการพาเยี่ยมชม

3. หน้าต่างความรู้ 
 ธรรมชาติของเด็ก ๆ มักจะชอบเดินแล้วเอามือละ สิ่งของ ทาง รร. จึงทำเป็น เหมือนห้องแถว ทีมีหน้าต่างให้เด็ก เอามือละได้ พอหน้าต่างเปิด(หมุนได้)  จะมีเรื่องราวที่จะสอนให้เด็กอ่านไปจนครบทุกหน้าต่าง เป็นที่สนุกสนาน (ดังรูปข้างล่าง)


































ช่วงเริ่มต้นดูงานได้มีบรรยายสรุปให้ฟังก่อนตามที่เล่าไว้ข้างต้น



ทาง รร. ได้นำเสนอ สไลด์ภาพ ของ รร. Laosong ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


บรรยากาศในชั้นเรียน  มีอยู่ชั้นหนึ่งครูสอนเป็นคนไทย เด็ก ๆ ร้องทักเรา "สวัสดีครับ"




4.สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจของเด็ก ๆ ๆ
ดร.ดนัย ผมว่า รร. ที่ประสบความสำเร็จในไต้หวัน จะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ มีพิพิธภัณฑ์
เพราะสิ่งนี้เป็นอารยธรรม ความคิดความอ่าน ที่ บรรพบุรุษได้เหนื่อยยากและสร้างขึ้น จึงเป็นแรงบันดาล
ใจอย่า่งดีที่จะสร้างให้  " เด็ก ๆๆ มีฝัน ฝันที่จะก้าวไปเอื้อมคว้าหยิบดาว.."



สรุปการบรรยาย
วันที่ 14 พ.ย.53
1.Strategic Leadership : Change Change Change !!!
วันที่ 21พ.ย.53
2.Fuji Inter'l Kindergarten : การเปลี่ยนแปลงการศึกษาระดับ Early Childhood
3.Strategic Leadership : การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ที่ Laosong Primary School -TAIWAN


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ
โทร 029301133

November 25, 2010

Fuji Inter'l Kindergarten : การเปลี่ยนแปลงการศึกษาระดับ Early Childhood

ดร.ดนัย เทียนพุฒ ได้เล่าเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ให้ นศ.ป.เอก หลักสูตรบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ วิชา Strategic Leadership foe Change Management in Education เมื่อวันที่ 21 พ.ย.53 ซึ่งได้เริ่มพูดเรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นครั้งที่ 2  ในช่วงก่อนเบรคแรก ได้ยกตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษา ของประเทศญี่ปุ่น ยกตัวอย่างความสำเร็จของ รร. อนุบาล Fuji Inter'l Kindergarten  กับความสำเร็จของ รร.ประถม(Lao Song Elementary & Primary School) และ อาชีวศึกษา (Kainan High School of Commerce and Industry) (จะเล่าต่อในภายหลังในบล็อก) ของประเทศไต้หวัน

หลังจากนั้น ได้ บรรยายเรื่อง ทำไมถึงต้องเปลี่ยนแปลง  วัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งมอบหมายการบ้านให้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ของ บริษัท ซีพี-เมจิ ด้วยแนวคิด The Heart of Change ของ John Kotter  หรือ ที่เรียกว่า  8 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงซึ่งนิยมใช้ทางธุรกิจทั่วโลก และเป็นวิธีการที่ ผมใช้ให้คำปรึกษากับธุรกิจและสอนในหลักสูตร Public program (ส่งเป็นแบบงานเดี่ยว)

รร. Fuji Kindergarten (ขอเรียกย่อ ๆ )
มีการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาได้อย่างไร

(นำมาจาก http://goo.gl/ba3Wv)


Message from Founder - Mr Kazuaki Fujiwara
 ผู้ก่อตั้งโรงเรียน
 Mr Kazuaki Fujiwara

1.แรกบันดาลใจ
"  Once I was deeply involved in The International Society for Intelligence Education (ISIE) which does research and educate for cultivating children’s intelligence.  Mr. J. P. Guilford is the president of ISIE and the emeritus professor of psychology in University of Southern California. We worked on his well-know “Structure of Intellect” theory.  What I have learned is intelligence develops when stimulated from outside and such external stimuli are effective only for children less than six years of age (kindergarten age)."

2. แนวคิดของการก่อสร้าง รร. เกิดมาจาก
...การคิดถึงความฝันของเด็ก ที่อยากมีบ้านบนต้นไม้ ไว้นั่งเล่น ทำอะไรที่เป็นความสนุกสนาน
   กับการได้ไปนั่งอยู่บนหลังคาบ้าน มีลมเย็น ๆ และ พักทายคนที่ผ่านไปมา...
จึงเกิดแนวคิด ที่จะทำหลังคา รร. ให้เป็น สนามเด็กเล่น (ดังรูปข้างล่าง)
 และใช้ทำกิจกรรมทุกอย่าง  ประชุมสอนพุดคุยกันตอนเช้า  กิจกรรมของโรงเรียน
   ตรงกลาง เป็นบริเวณที่ออกกำลังกาย ทำกิจกรรม  การเรียนการสอน

3.ห้องเรียน ที่เป็นเหมือน Hub ของสนามบิน
 ...ครูใหญ่ของ รร. นึกถึงห้องเรียนที่เป็นรูปแบบมีชีวิต  แบบ สนามบิน คือ คนเดินทางแต่ละคณะ แต่ละคน มากันเต็มสนามบิน ต่างคนต่างคุยกัน แ่ต่คุยกันรู้เรื่องไม่ได้สนใจคนอื่น..
   ...ห้องเรียน ของโลกชีวิต ที่อยู่ใต้หลังคาซึ่งเป็นแบบบ้านต้นไ้ม้ เป็นสนามเด็กเล่นไปด้วย และที่ประชุมของ รร. ดังนั้นภายใต้หลังคาดังกล่าวห้องเรียนจึงเป็นโลกแห่งความสนุกสนาน ไม่มีฝากั้น กลุ่มใครของครูคนไหน   วิชาอะไรในแต่ละชั้นก็จะสอนกันในสิ่งที่เรียกว่าห้อง (รูปแบบชั้นเรียน และโปรแกรมการเรียนดูได้ข้างล่าง)
 ...ครูจะต้องมีจิตวิทยา และเทคนิคการสอนที่เก่งมาก เพื่อดึงความสนใจของเด็กให้อยู่กับครูให้ได้

ทั้งหนดนี้ได้ นำให้  Fuji Inter'l Kindergarten ประสบความสำเร็จและกล่าวถึงทั่วโลก ถือเป็นตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษา ระดับอนุบาล-เด็กเล็ก (Early Childhood) ที่น่าศึกษาและไปเยี่ยมชมเป็นอย่างยิ่ง

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
บันทึกการสอน
25 พ.ย.53

เวบไซทของโรงเรียน http://www.fujikindergarten.com.au/home.htm
Fire Services class to Fuji Kindergarten, Gold Coast,Queensland

Fuji International Kindergarten is one of the Long Day Care Centres on the Gold Coast, where children between the age of 6 weeks to six years, from over 35 different cultural backgrounds, gather together to play and learn.

Programs
Children learn through a variety of developmentally appropriate activities and materials, emphasising practical learning experiences. 
The program provides:

a)    a clear set of goals related to promoting developmental skills in children
b)    allows for observation and assessment of the children’s individual needs and interests
c)    nurtures each child’s self-esteem, from different cultures, values, minority groups, disabilities and children with other special needs
d)    meets the individual needs of children from different cultures, values, minority groups, disabilities and children with other special needs
e)    is flexible, balanced, responsive to the child’s present ability, interests and emerging skills at a pace to suit the child’s capabilities
f)    focus on the readiness of the 3 Rs: writing and arithmetic
The daily program information is displayed for parents to read and is sensitive to the parent’s wishes for their children while they are at the Child Care Centre.

Our daily programs incorporate a wide variety of creative experiences which include:

•    Musical appreciation and dance
•    Health, nutrition and cooking
•    Environmental awareness, gardening, their own vegetable, herbs and flower garden
•    Carpentry
•    Clay
•    Physical education 
•    Painting and pasting
•    Science
•    Language and stories
•    Experiences combined with free play, indoors and outdoors, including swimming
•    Japanese language

A brief overview of each section of our centre from Momo (babies)Ume (Toddlers)Bara (Young Learners) , Kiku (Junior Kindy)Yuri (Junior Kindy)Sumire (Pre-school), and Satsuki (Prep) will give you a little more insight into the individual programming relevant to the age of the children.


(นำมาจาก http://bentply.tumblr.com/post/41240520/tezuka-architects-up-on-the-roof)

FUJI KINDERGARTEN [Tokyo]

(นำมาจาก http://www.takenaka.co.jp/majorworks_e/japan/educati/majorworks_fuji_kindergarten)




Ring Around the Rosy

The revolutionary design of Fuji Kindergarten, by Japan's Takaharu + Yui Tezuka architects, dispenses with the notion of traditional classrooms and the distinction between indoor and outdoor space, using a rooftop oval design that is an integral part of the school.

(ทั้งเนื้อหาและรูปนำมาจาก  http://images.businessweek.com/ss/07/12/1214_asia_design_awards/source/4.htm)

Fuji Kindergarten, Tokyo, Japan, Tezuka Architects, Fuji kindergarten exterior views. (1801-45252 / TEA-FUJI-0010 © View Pictures Ltd)

(นำมาจาก http://www.superstock.co.uk/stock-photos-images/1801-45252)


Types of Classes
A brief overview of each section of our centre from Momo (babies), Ume (Toddlers), Bara (Young Learners) ,Kiku (Junior Kindy), Yuri (Junior Kindy), Sumire (Pre-school), and Satsuki (Prep) will give you a little more insight into the individual programming relevant to the age of the children.

Momo Room (Babies)

In Momo room we believe every child has a right to be respected for their individuality and uniqueness. They have the right to learn in their own pace.We believe children who learn in their needs: will grow to feel safe, happy and confident. They will learn to respect diversity of race and environments, feeling and reactions.

We believe that by offering various ways for children to express themselves, they will learn to do so in a positive manner.
We endeavour to offer a stimulating program where children can learn in an unhurried way, though fun, play and interactions with peers and adults.

•    Social/Emotional Dev.
•    Language Dev.
•    Cognitive Dev.
•    Physical Dev.
•    Self Help Skills
•    Environment
•    Creative

Communication with families will be regular and open to provide continuity of care. 

Ume Room (Toddlers)

In Ume room we aim to make your child feel secure, comfortable and happy in an environment which is much like a second home. This is achieved by spending time having one-on-one contact with your child throughout the day, and encouraging parent participation.

Activities include:

•    Story time
•    Sand, water play
•    Outdoor play
•    Singing songs (including various body/finger movement songs)
•    Art times- play dough and various painting activities
•    Hand-eye coordination activities, puzzles

Bara Room (Young Learners)

In Bara room we aim to keep a sense of wonder alive by providing experience that promote and develop feelings. Your child is at the age where they thrive on discovery and learning. So we provide activities that promote:

•    Self discovery
•    Social/emotional development
•    Cognitive development which enables them to develop
•    Thinking and reasoning abilities
•    Fine and gross motor (small and large muscle
Development) and one of the most – PLAY.

Play is a child’s life, and the means by which they come to understand the world they live in.


Kiku Room (Junior Kindy)

While your child is in our care, we aim to make your child’s day as comfortable and enjoyable as possible. This is achieved by stories, singing, dancing, perceptual motor activities, art and craft, outdoor experiences and most important-FUN.

During the time spent in our Kiku room we will be working towards achieving many goals these include:

•    Basic self-help skills (toileting, feeding beginning of responsibility)
•    Basic knowledge of manners and respect
•    Developing social skills
•    Extending vocabulary
•    Primary colour recognition
•    Counting skills of 1-10
•    Increasing concentrating span
•    Experimentation through a variety of different medium
•    Developing self-worth and confidence
•    Define and promote sentence formation
•    Developing social skills by interaction


Yuri Room (Junior Kindy)

  During your child’s day in Yuri room, we aim to help your child feel secure in an environment which is much like a second home. This is achieved by singing, dancing language activities, stories, perceptual motor activities, art and craft, multi-culturalism and outdoor experiences. While this is our aim, we also try to help your child extend their development in the following areas:

•    Social/ emotional Development
•    Physical Development
•    Intellectual Development
•    Creativity
•    Technology


Sumire Room (Pre-school Kindy)

As teachers it is our responsibility to observe the children in our care to assess their abilities, skills and development needs.

Through observation we are able to develop Care and Education program that best meets the needs of the children.

The Sumire room program is based on Learning Centres, which provide a base topic or theme that is the centre of the program. All areas of development are planned though activities and experiences based on the Learning Centres.

Learning centres enable the children to become creative thinkers and lovers of learning, as they explore and participate in many different activities and experiences. Thus allowing our children to continue to develop and grow as unique individuals.

Satsuki Room (Prep)

In Satsuki room our main goal is to get our child ready for the challenge of school. This is achieved in a program which both challenges and extends the children’s abilities. Activities such as pre-writing skills, recognising their name, letters, sounds and numbers, cutting skills, and extending their concentration span are just some of the areas we develop in preparation for school.

We study different cultures though food, music and books as a daily part of our program. Creativity is encouraged though dancing, singing, many different art and craft experiences, carpentry, visitors to the centre and excursions.

Our aim is for your children’s day to be filled with fun and laughter, friends and joy, and for them to come away with the skills they need, to be happy, healthy and confident individuals who are prepared for their first year of school.
( Ref:http://goo.gl/HXvha)

November 20, 2010

แบบทดสอบ วิชา HRM in Ed 2/2553 สำหรับวันที่ 21 พ.ย. 53





แบบทดสอบ วิชา HRM in Ed 2/2553  สำหรับวันที่ 21 พ.ย. 53
ผู้สอน ดร.ดนัย เทียนพุฒ
ป.โท บริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ  
ม.เซนต์จอห์น

โจทย์ ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม

ตอบคำถาม ก่อนเข้าเรียนหรือ ส่งภายใน เวลา 13.15 น. งานรายบุคคล
1.โดยรวมแล้วท่านมีทัศนะเกี่ยวกับบทความนี้อย่างไร โดยจงวิจารณ์อย่างกว้างขวาง
 และท่านเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร
2.ในด้านการบริหารการศึกษาท่านคิดว่าจะมีอะไร ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

ตอบภายหลังจากที่ได้รับความรู้แล้ว หลังพักเบรค  เวลา 14.45 น. งานกลุ่ม 5-6 คน
3.ตามหลักวิชา HR ที่ท่านได้เรียนรู้มาท่านคิดว่า “คนเลือกองค์กร องค์กรเลือกคน”
กลุ่มท่านจะมีแนวทางอย่างไร
-การกำหนดปรัชญา และหลักปฏิบัติในด้านการรับคนขององค์กร (ทั่วไป และด้านการศึกษา)
-กรณีนี้ (ตามที่ได้อ่าน ตย.ของแต่ละบริษัท) ท่านจะมีวิธีดำเนินการอย่างในการรับคน ที่เป็น
Gen C/Gen i/Gen Net (คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันและอนาคตที่จะเข้ามาทำงานในองค์กร)

--------------------------------------------------------------------------
คนเลือกองค์กร องค์กรเลือกคน ธุรกิจเปิดเกมรุกหมายตาว่าที่พนักงาน

(อ้างจาก
วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4263  ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02edu01181153&sectionid=0222&day=2010-11-18)

แม้ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตปริญญาตรีจบจากสถาบันการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3-4 แสนคน แต่ความขาดแคลนแรงงานที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจยังคงเป็นหนังเรื่องยาวที่แก้ไม่จบ จากการผลิตบัณฑิตไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงานที่เกิดขึ้นพร้อมกับปัญหาการว่างงาน

ถึงธุรกิจขนาดใหญ่จะมีความได้เปรียบในการคัดเลือกบุคลากรระดับหัวกะทิก่อนใคร เนื่องจากคนเก่งย่อมต้องการทำงานในบริษัทที่มีความมั่นคง แต่ก็ยังมีการแย่งชิงกันอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะที่วันนี้คนเก่งกลับเป็นผู้เลือกองค์กรที่ตนเองอยากเข้าทำงาน องค์กรจึงต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้น

ไฉไล โกมารกุล ณ นคร ที่ปรึกษาบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท โอสถสภา จำกัด กล่าวว่า ตอนนี้การว่าจ้างในตลาดแรงงานเป็นของคนที่เรียนจบมากกว่าบริษัท เพราะขณะนี้คนที่เรียนจบจะเป็นผู้เลือกองค์กร ต่างจากสมัยก่อนที่บริษัทเป็นผู้เลือก ขณะนี้หลายบริษัทจึงต้องจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนในแบบที่ต้องการมากยิ่งขึ้น

"อย่างเรา มีโครงการผู้จัดการฝึกหัดในระดับปริญญาโทให้มาเรียนรู้งาน 18 เดือน เพื่อฝึกให้ก้าวไปสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูง เพราะหลายองค์กรก็พยายามหากลุ่มคนเดียวกัน ทำให้เกิดการแย่งชิงคนในตลาด" 

นอกจากนี้ยังมีอีกโครงการของโอสถสภาที่เพิ่งจบไปหมาด ๆ "Osotspa Talent Camp" ที่จัดต่อเนื่องมากว่า 3 ปี โดยคัดเลือกเด็กหัวกะทิที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยปีสุดท้าย จากทั่วประเทศมาเข้าค่ายทำกิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ การตลาด การขาย การผลิต รวมถึงการวางแผนสื่อ จากผู้บริหารของโอสถสภา โดยมีจุดประสงค์ข้อหนึ่งเพื่อต้องการค้นหาเพชรเม็ดงามที่จะมาเป็นว่าที่พนักงานขององค์กรในอนาคต


"เราจะมีทีมงานเข้าไปประชาสัมพันธ์กิจกรรมแบบเชิงรุก ในแต่ละมหาวิทยาลัยและมีการจัดประชุมให้ทราบเกี่ยวกับโครงการ ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บของเราและเว็บมหาวิทยาลัย นักศึกษาที่สามารถร่วมกิจกรรมต้องมีเกรดเฉลี่ย 2.5 ขึ้นไป มีประวัติในการทำกิจกรรมและดูมีความ มุ่งมั่นในการทำงาน และเด็กที่ผ่านค่ายนี้ก็จะเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่เราจะให้ติดต่อมาสัมภาษณ์ เมื่อมีตำแหน่งว่าง ซึ่งขณะนี้ได้รับเข้าทำงานแล้ว 2 คน และเข้าก็ทำงานได้เป็นที่น่าพอใจอย่างมาก" ไฉไลกล่าว

นอกเหนือจากการตอบโจทย์ด้านการสรรหาบุคลากร การทำกิจกรรมกับเด็กยังทำให้ได้เรียนรู้พฤติกรรมของคนรุ่นใหม่มากขึ้น


"เราอยู่มา 120 ปี มีวิวัฒนาการของผลิตภัณฑ์ ขยายไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไลฟ์สไตล์มากขึ้น โครงการนี้จะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของโอสถสภาให้รู้จักมากกว่าบริษัทที่ผลิตยา และได้เรียนรู้พฤติกรรมคนรุ่นใหม่ระหว่างทำกิจกรรม ขณะที่เด็กที่เข้าร่วมโครงการก็จะรู้สึกดีต่อแบรนด์และทำหน้าที่ไม่ต่างจากทูตเมื่อเราต้องการความช่วยเหลือหรืออย่างน้อยอยากให้เขารู้สึกว่าเราเป็นองค์กรหนึ่งที่อยู่ในใจ" ไฉไลกล่าว

เช่นเดียวกับธุรกิจขนาดใหญ่ อย่างบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ที่เริ่มมีโครงการลักษณะนี้อย่างจริงจังเป็นครั้งแรก ในชื่อโครงการ "CPF Future Career 2010" ที่เข้าไปให้ความรู้เรื่องการสมัครและสัมภาษณ์งาน รวมถึงรับสมัครนักศึกษาที่กำลังจะจบเข้าทำงานโดยจะจัดกิจกรรมใน 3 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการอาวุโสด้านบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า นอกจากโครงการนี้จะได้คืนประโยชน์ให้กับสถาบันการศึกษาที่มีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตให้ได้งานทำ การที่เราได้เข้ามาคัดเลือกเด็กถึงสถาบัน จะรับรู้ความรู้สึกของเขาอย่างใกล้ชิด ทำให้ความคาใจบางอย่างที่เคยมีหายไปเมื่อเขามีโอกาสเข้ามาทำงานก็จะรู้จักบริษัทเป็นอย่างดี

"จากที่สัมผัสเด็กในพื้นที่ต่าง ๆ มองว่าเราเป็นบริษัทที่ทำงานด้านเกษตรมากกว่าธุรกิจอาหารเราก็ต้องทำหน้าที่เปลี่ยนให้เด็กรู้ ถ้าเราบอกว่าเป็นบริษัทชั้นนำแล้วไม่ต้องแคร์ใครแบบนั้นไม่ได้ เพราะทั้งโลกคือการแข่งขัน แต่เราต้องปรับตนเองอยู่เสมอ การแข่งขันในการชิงตัวเด็กในบางสาขายังมีสูง ใครอยู่นิ่งถอยหลังแน่นอน ต้องก้าวเกินคนอื่นหนึ่งก้าว เช่นเดียวกับงานด้านทรัพยากรบุคคล ที่เราต้องก้าวเกินคนอื่นด้วยเช่นกัน" ปริโสทัตกล่าว

พร้อมกันนั้นองค์กรยังต้องปรับตนเองเพื่อทำงานกับคนยุค Gen Y ด้วย

เขากล่าวด้วยว่า ต้องยอมรับว่าคนที่จะเข้ามาในบริษัทเป็นคน Gen Y ไม่ใช่เด็กปรับตัว แต่องค์กรก็ต้องปรับตัวด้วย 

"ทุกวันนี้ทั้งมหาวิทยาลัยและองค์กรก็ให้ความสำคัญกับคนยุค Gen Y ภาพลักษณ์ของบริษัทเป็นเรื่องที่คนยุค Gen Y ให้ความสนใจ อยู่แล้วก้าวหน้าหรือไม่ เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเขาหรือไม่ อย่างที่เราปรับ คือ สภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม และวิธีการบริหารจัดการว่าคนรุ่นใหม่ชอบแสดงความคิดเห็นที่คนรุ่นก่อนต้องยอมรับ" ปริโสทัตกล่าวทิ้งท้าย

หน้า 31


ผู้บันทึกข้อสอบ  ดร.ดนัย  เทียนพุฒ
วันที่ 20 พ.ย.53

November 16, 2010

Strategic Leadership : Change Change Change !!!


อาทิตย์ที่ผ่านมา 7 พ.ย.53 ดร.ดนัย ได้เริ่มสอนวิชา ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ ฯ  "EAD 7205 Strategic leadership for Change Management in Education  2/ 53" หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ ม.เซนต์จอห์น  โดยสอนร่วมกับ ผศ.ดร.วินิจ (ซึ่งท่าน อจ. บรรยายเปิดชั้นเรียนไป 2 ครั้งก่อนแล้ว)

เนื้อหาที่ ดร.ดนัย รับผิดชอบเป็นเรื่อง  การจัดการด้านการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ซึ่งโดยคร่าว ๆ มีดังนี้
-สรุปให้เห็นถึง ทฤษฎีความเป็นผู้นำที่กำลังเป็นที่สนใจและควรทำวิจัย ได้แก่  "Charismatic Leadership" (ได้มาจากการไปดูงานระบบการศึกษาที่ประเทศไต้หวัน)  "Adaptive Leadership" (บทเรียนที่ได้จากกองทัพ ซึ่ง Fortune ฉบับก่อนหน้านี้ 2-3 ฉบับขึ้นเรื่องของธุรกิจของ สหรัฐฯ กำลังสนใจรับเหล่าทหารที่ผ่านการรบมาเป็นผู้บริหารองค์กร และ Harvard Business Review เดือน พ.ย.53 ก็ชูประเด็นนี้เช่นกัน) กับ อีกแนวคิดล่าสุดคือ "Art  based  Leadership" (ริเริ่มที่ IEDC -Bled School of Management, Slovenia)
-พูดถึง  Triggers of Change ว่ามีอะไรบ้าง โดยเสนอให้เริ่มคิดใหม่มองจากตัวเราออกไป
  (ทั้งจากภายในและภายนอก) องค์กรที่เราทำงานอยู่  และสภาพแวดล้อมที่เรียกว่า PEST พร้อมกับให้ดู Clip VDO เรื่อง Transformers
-หลังจากนั้นให้ดูบทสัมภาษณ์ DD การบินไทย (TG) พูดถึงการเปลี่ยนแปลง TG
  พร้อมการฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มให้ตอบคำถาม
  1)ท่านได้อะไรจาก วีดีโอ
  2) การเปลี่ยนแปลงองค์กรสำคัญอย่างไร
  3) ทัศนะของ นักศึกษา ป.เอก ในเรื่องนี้ และการนำมาประยุกต์ใช้ในการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ
โทร 029301133

November 3, 2010

HRM Case Analysis การบ้าน นศ. M.Ed. วิชา HRM in Ed. 2/2553 โพสต์ที่นี่


งาน "HRM Case Analysis"  กิจกรรมกลุ่ม 2-3 คน
งานหลัก:
-ให้นศ.เลือกสถานศึกษา มา 1 สถานศึกษา
-ทำการศึกษา โดยการรวบรวมข้อมูล เอกสารและ สัมภาษณ์ key Informants(บุคคลสำคัญ) ของสถานศึกษา
  1.1 เกี่ยวกับ สภาพที่เป็นอยู่จริงในด้านการบริหาร HR ของสถานศึกษา
  1.2  สรุป การบริหาร HR  ทิศทาง นโยบาย การบริหาร HR  โครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบ
               และสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ด้านการบริหาร HR  (ปัญหาและอุปสรรค)
  1.3  ข้อเสนอของกลุ่มในเชิงหลักการบริหาร HR เพื่อ โซลูชันต่อปัญหา หรือ แนวทางใหม่
รายงานที่ส่ง  
   2.1 Clip VDO  ที่เป็น  Total Conclusion   ของข้อ 1.1-1.3
   2.2  ส่ง CD พร้อม รายงานฉบับสมบูรณ์ ในสัปดาห์ที่ 7 ของการบรรยาย



การบ้าน นศ. .M.Ed. วิชา HRM in  Ed. 2/2553  จะโพสต์ที่นี่ ได้ต่อเมื่อ
ส่ง file งานเข้ามาที่ email: DrDanaiT@gmail.com ก่อน
ดร.ดนัย จะดำเนินการต่อให้

รายชื่อ นศ. และกลุ่มที่แจ้งสถานศึกษา
1.โรงเรียนอัญสัมชัญ บางรัก
     กลุ่มนางจินตนา  มนเทียรวิเชียรฉาย และนางสาวมนญาวัณย์  เศรษฐพงศ์ 
        เรื่องการทำรายงาน HRM Case Analysis โดยจัดทำclipสัมภาษณ์ โรงเรียนอัญสัมชัญ บางรัก 


2.  โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครราชสีมา
         clipสัมภาษณ์ โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครราชสีมาโดยมีสมาชิกในกลุ่มดังนี้   
         น.ส.ภูรีวัลคุ์ เวียนสันเทียะ
         น.ส. ดุษณีย์ ชื่นล้วน
         น.ส. เยาวมาลย์ สายสวัสดิ์

3. โรงเรียนเทคนิคพณิชยการเจ้าพระยา ราชเทวี กรุงเทพฯ
         สมาชิกในกลุ่ม คือ
            พระมหาเสถียร
            พระพงศธร กาฬโอฆะ
            พระสมศักดิ์ บุญชู

4. โรงเรียนมหรรณพาราม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
          1.นางสาววรรณวัฒน์ ศรีผลิน 
          2.นางอันนชา ธารมัติ 
          3.นายวัชรดล สกุลวลีธร
5.โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ
          งาน Clip + Paper โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ
            1.สุภาภรณ์            เรืองศรี         
            2.กัญจน์ณาภัทร     สกุลสุขเสฎฐี  
            3.ศิริลักษณ์           เกตุวงศ์     
6. โรงเรียน พิทยพัฒน์ศึกษา แขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
          1.นายบุญญา             ตุลยกุล           รหัส 531414003
          2.นายคงคา               ลอยเจียม        รหัส 531414023
          3.นายบัณฑิตย์           สะมะอุน        รหัส 531414024
7.โรงเรียนเลิศหล้าถนนเกษตร - นวมินทร์
           นางสาวลวรรณ์    ศรีระทัต         531414016
           นางสาวเอื้อมพร   ปลั่งสูงเนิน     531414017
           นางสาวอนามิกา   เศรษฐบุตร     531414021

8. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสิงห์บุรี ( กศน.อำเภอเมืองสิงห์บุรี )
ตั้งอยู่ที่  ถนนสิงห์บุรี ลพบุรี  ตำบลม่วงหมู่  อำเภอเมือง  จังหวัดสิงห์บุรี
             1.     นางอังศนา  สุทธิฤทธิ์  เลขที่  16
             2.     นางสาวสุกัญญา  เมินสันเทียะ  เลขที่
             3.     นางสาววิรากานต์  รุ่งเรือง  
   หมายเหตุ : แนวทางการศึกษาของกลุ่มที่ 8
                                 (1).  สถานศึกษาที่จะทำการศึกษา
                                  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสิงห์บุรี ( กศน.อำเภอเมืองสิงห์บุรี )
                                 ตั้งอยู่ที่  ถนนสิงห์บุรี ลพบุรี  ตำบลม่วงหมู่  อำเภอเมือง  จังหวัดสิงห์บุรี
                                ภารกิจของสถานศึกษา : ทำหน้าที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                                การศึกษานอกระบบ  แบ่งเป็น  หลักสูตร  ได้แก่
                     1).     การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  จัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย  ภาคเรียนที่ 2/2553  มีนักศึกษา  จำนวน  963  คน
                      2).     การศึกษาต่อเนื่อง  จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  หลักสูตรระยะสั้น  ตามความต้องการของชุมชน
                                    การศึกษาตามอัธยาศัย  ได้แก่การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในห้องสมุดประชาชนจังหวัดและ กศน. ตำบล   ซึ่ง กศน.อำเภอเมืองสิงห์บุรี  มีห้องสมุดประชาชนในความรับผิดชอบ  1 แห่ง  และ กศน. ตำบล 8 แห่ง
                                (2).  เอกสารที่จะดำเนินการรวบรวม  ประกอบด้ว
                                       2.ประวัติ  บทบาทหน้าที่ ภารกิจ  จำนวนนักศึกษา  บุคลากร  โครงสร้างการบริหารงาน  แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  แผนปฏิบัติงานประจำปี  สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่าน  แผนบริหารงานบุคลากร
                                        2.ศึกษาเอกสารดังกล่าวข้างต้น  และศึกษาถานการณ์ที่เป็นจริงเกี่ยวกับการบริหารงานบุคลากร  ว่าสอดคล้องกันหรือไม่  อย่างไร
                               (3).  สัมภาษณ์  ผู้บริหารสถานศึกษา  ในประเด็นดังนี้
                                   3.สภาพความเป็นจริงของบุคลากร  ด้านโครงสร้างการบริหารงาน  มีความเหมาะสมหรือไม่  การคัดเลือก  สรรหา  ทำอย่างไร  การพัฒนา  ให้มีความสามารถ  ทำอย่างไร  และมีวิธีการใดให้บุคลากรทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา  และมีความสุข  รวมทั้งสถานศึกษาได้รับการยอมรับจากนักศึกษา  ผู้รับบริการและชุมชน
                                    3.แผนพัฒนาบุคลากร  มีหรือไม่  ทั้งระยะยาว และระยะสั้น  แผนมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานเพียงอย่างเดียว  หรือมุ่งเน้นด้านขวัญ  และกำลังใจ  ควบคู่กัน ดังนี้
                             (4).  สัมภาษณ์หัวหน้างานบุคลากร  ในประเด็น
                                   4.การนำแผน  ไปปฏิบัติ  มีปัญหา  อุปสรรค  หรือไม่อย่างไร
                    4.ผลสำเร็จของแผน  เป็นอย่างไร  ความพึงพอใจ  ทัศนคติ  ของบุคลากร  ที่มีต่อสถานศึกษา  ส่งผลอย่างไรต่อผลสัมฤทธิ์ของงาน
                   4.ความต้องการของบุคลากร  ที่ต้องการให้สถานศึกษาทำอะไรให้  เพื่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
                                  (5).  สรุปการบริหารทรัพยากรของสถานศึกษาในปัจจุบัน  ในประเด็น
                                           5. นโยบาย
                                           5.โครงสร้างการบริหารที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
                                          5.ปัญหา  อุปสรรค
                                          5.ทิศทางการพัฒนา
                                   (6).  ข้อเสนอแนะของกลุ่ม
----------------------------
9.โรงเรียน --กลุ่มโรงเรียนศรีแสงธรรม จ.อุบลราชธานี
1. นายณัฐทพัสส์ หินไชยศรี
2. นายภูมินทร์ เจริญสุข
3. นางสาวสุพัตรา พะเนตรรัมย์
10.โรงเรียน

เห็นชอบโดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ