February 28, 2014

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D ) : แนวคิดเชิงทฤษฎีและโมเดล


     สำหรับผู้ที่ต้องการทำการวิจัยและพัฒนาในองค์กร หรือ  R&D ทางด้านการศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่ศึกษาในระดับปริญญาเอก  มีความสนใจในแนวคิดการวิจัยแบบนี้ แต่ไม่รู้ว้าจะหาทฤษฎีด้าน R & D ที่สามารถสร้างโมเดลการทำ R& D นั้นได้ที่ไหน หรือมีกี่วิธี  จึงทำไปตามการบอกต่อ ๆ มาและเป็นความเข้าใจของตนเอง  ฯลฯ  ผู้เขียนเห็นความสำคัญในการวิจัยแบบ R&D  จึงได้เขียนเรื่องนี้ไว้แต่ เป็นการมองในลักษณะของการเป็นองค๋กรทางสังคมที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ด้วย R&  D
R& D สร้างองค์กรนวัตกรรมทางสังคม

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081

February 25, 2014

การปฎิรูปอุดมศึกษาในอนาคต

(ภาพจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=556781)

               การศึกษาบ้านเราโดยเฉพาะอุดมศึกษา มีพัฒนาการทั้งด้านดีและไม่ดี  กับมีจุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ  จัดสัมมนา  เวทีถกกันจัง ผลเป้นอย่างไรไม่ทราบ
              สภาพปัจจุบันของอุดมศึกษาไทย (ได้ข้อมูลมาจากการสัมมนาทางวิชาการ: มองอนาคตอุดมศึกษาไทย และอุดมศึกษาไทย 2025 ) เป็นดังนี้
              1) ความคาดหวังของสังคม ต้องการให้เป้นผู้ชี้นำและหาทางออกให้สังคมยามที่ชาติบ้านเมืองพบทางตัน และสร้างผลผลิตคือบัณฑิตให้มีความเป็นคน รักชาติรักแผ่นดิน
               2) การแข่งขันทางการศึกษา เพื่อแย่งชิงผู้เข้าเรียนทำให้ คุณภาพการศึกษาต่ำลงจนกลายเป็นข้ออ้างอันชอบธรรม ที่พูดกันตลอด ว่า "คุณภาพต้องนำการศึกษา" โดยเฉพาะ สกอ. สมศ. กพร. อาจมองแบบโซ่ตรวนกลายเป็นฉุดรั้งอุดมศึกษา
                3) คุณภาพ อ.เก่า อ.ใหม่  ทิศทางข้างหน้า ต้องมี"ตำแหน่งทางวิชาการเท่านั้นหรือ ประเทศจึงพัฒนา   มีแล้วไม่สร้างทฤษฎีมีไปก็เท่านั้น ยังไงก็เป็น "อาณานิคมทางปัญญา" เหมือนเดิม ???? 
               ฯลฯ
           สรุปสุดท้าย   คุณภาพ  ประสิทธิภาพ  การเข้าถึง และ การรับใช้สังคมและประเทศชาติ

           Vincent-lancrin,S. (2008) ใน "Higher Education to 2030" บอกว่า "การปฎิรูปการศึกษาในอนาคต" ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

            -ปัจจัยด้านความต้องการของสังคมต่อการศึกษาระดับอุดมศึกษา
            -ปัจจัยด้านการขยายตัวของอุดมศึกษา
             -ปัจจัยด้านการเอาทุนจากเอกชนและรูปแบบ วิธีการบริหารแบบเอกชนเข้ามาใช้ในกิจกรรมภาครัฐ
             -ปัจจัยด้านกองทุนที่สนับสนุนการศึกษาระดับอุดมศึกษา
              -ปัจจัยด้านการก้าวเข้าสู่การเป็นนานาชาติ
              -ปัจจัยด้านวิจัยวิชาการ
              -ปัจจัยด้านการพัฒนาทักษะต่าง ๆ  

            ผู้เขียนเชื่อว่า บรรดาผู้กำหนดนโยบายอุดมศึกษา คงได้อ่านกันหมดแล้ว แต่เราไม่เห็น 

            -วิธีการจัดการศึกษาใหม่ ๆ  ทั้งด้านการพัฒนาหลักสูตร การสร้างหลักสูตรใหม่ ที่ตรงกับความต้องการของคนในศตวรรษที่ 21 (แต่พูดกันเยอะะ)
            - รูปแบบของ "นวัตกรรมใหม่   โมเดลธุรกิจใหม่ของ มหาวิทยาลัย หรือ คณะที่่จะแข่งขันกับนานาชาติ และพัฒนาการศึกษาเพื่อลูกหลานในอนาคต

            - อะไรคือ DNA ที่เป็น New trait ของ มหา'ลัย ที่เป็นส่วนราชการ ซึ่งจะสามารถแข่งกับมหา'ลัยที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือ มหา'ลัยออนไลน์ ที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

              อุดมศึกษาไทยจะไปไหน หรือ แค่เวทีสัมมนา  เราจะไป AEC  แต่ขณะที่ Asian U ชั้นนำอย่าง NUS NTU  ก้าวไปด้วยนวัตกรรมใหม่ในการเรียนการสอน เช่น Transnational Education  MOOC เป็นต้น
             เรากำลังขายความคิดเรื่่อง STEM   คงมีบาง มหา'ลัยทำได้  แต่ต้องไม่ลืมว่า ทำไม มหา'ลัยในยุโรป จึง รับเด็ก STEM (STEM Students) แล้วสอนให้มี ทักษะ STEM (STEM Skills)  ต้องกลับไปดูรากการศึกษาของเขา  แล้วจึงจะรู้ว่าเขาเอา STEM มาแข่งกับ มหา'ลัยในสหรัฐ และ มหา'ลัยในปรเทศเกิดใหม่อย่างเอเซีย ทำไม

            ยิ่ง มหา'ลัย 4ปี  ยิ่งทำยากใหญ่  คงต้อง Transform ไปสู่การเป็น  "มหาวิทยาลัยใหม่ : The New University"  ด้วย  "New DNA"   "New Business Model"
            นี่คือทิศทางใหม่ ต้องมาพูดกัน ในการปฎิรูปอุดมศึกษา.....  "ประเทศไทยต้องการมหาวิทยาลัยใหม่ -ไม่ใช่มหาวิทยาลัยตั้งใหม่ นะครับ"

 ดร.ดนัย เทียนพุฒ

     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081
  

    



February 17, 2014

การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21

หนังสือเล่มนี้แนะนำ ให้ นศ.ป.เอก รุ่นที่10วิชา EAD7205 อ่าน ว่าการศึกษาไทยที่ล้มเหลวจะมีทางออกอย่างไรครับ  ต้อง อ่านครับ

ดร.ดนัย เทียนพุฒ

February 16, 2014

16 กพ.57 เปิดความรู้วันแรก EAD 7205 "Strategic Leadership"





         วันแรกของวิชา EAD 7205  ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธเพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
         ผู้เขียนได้เล่าถึง ความเป็นมาของวิชานี้และ การเปลี่ยนแปลงที่มีมาตลอดตั้งแต่ ป.เอก รุ่นที่ 7-10
         (อ่านเพิ่มเติม ได้ที่  ต้อนรับ นศ.ป.เอก รุ่นที่ 10 มซจ. สู่วิชา EAD 7205  ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธฯ  ภาคเรียนที่ 2/2556 )
          หลังจากนั้นได้ บรรยายถึงแนวทางการเรียนด้วย  "การเรียนรู้บนความท้าทาย (CBL-Challenge Based Learning) มีความเป็นมาอย่างไรแล้วทำไมถึงนำมาใช้
          การเรียนรู้ ด้วย "Evidence based learning" ที่ลงภาคสนาม แล้วทำไมจึงสนใจที่จะให้ นศ. ไป เข้าโปรแกรมการฝึกอบรมที่จัดขึ้นโดยเฉพาะที่  British International School Phuket (BISP) ในเรื่อง Strategic Leadership in Education (3 วัน บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ) พร้อมการดูงาน  ซึ่งผู้เขียนเรียกว่าเป็นการศึกษาแบบ "Transnational Education"
          การอธิบายถึงแนวทางการวัดผลการเรียนรู้ มี 2 ทางเลือก คือ 
       
           1) ให้เขียนหนังสืิอ พ๊อกเก็ตบุ๊ค  1 เล่ม มี 15 บท บทละ 3 หน้า A4  ครึ่งหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรมที่จะทำดุษฎีนิพนธ์  อีก ครึ่งเป็น ความรู้ที่ประมวลได้จากวิชานี้
           2) หากไม่ถนัด  ให้ทำ "TAKE HOME EXAM" ซึ่งจะอธิบายในเช้าวันที่ 2 มี.ค.57 (โดยให้แนวทางไปศึกษามาก่อน)  แนวทางนี้ก็ได้ เกรด A เช่นกันหากมีการนำไปทดลองทำในขนาดเล็ก ๆ หรือ เป็นกรณีศึกษามาส่ง

           ผู้เขียนไม่เน้น การสอบวัดแบบดั้งเดิม แต่ท้าทายผู้เรียน ทั้ง 2 แนวทาง โดยเฉพาะแนวทางแรก หากตีพิมพ์จำหน่ายได้ ให้เกรด A (เพราะการศึกษาในระดับนี้ต้องประมวลความรู้ได้ และ มีสำนักพิมพ์รับพิมพ์แสดงว่าผ่านการการันตีแล้ว)
       
           ว่าด้วยคำว่า  Strategic Leadership 

            Strategy  ให้ นศ.  ช่วยขยายความว่าคืออะไร
            -การจัดการศึกษาซึ่งมีการปฎิรูปรอบ 2 ถ้าใช้วิธีเดิม (กลยุทธ)จะมีโอกาสสำเร็จไหม
            -Mission คือ อะไร  มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
             ให้ นศ.แสดงความคิดเห็น  พร้อม ยกตัวอย่าง   "The Concept of School"  ว่าเป็นอย่างไร ใครเข้าใจบ้าง
              ถาม นศ. ถึง ครูคือใคร  ทำหน้าที่อะไร    Inspiration ?    Knowledge Play Maker ?  เข้าใจไหมว่าเป็นหน้าที่ของครู
             ยกตัวอย่าง  การปฎิรูปการศึกษาของ สิงคโปร์ ที่วางวิสัยทัศน์ ว่า  " Thinking Schools, Learning Nation"  เป็นอย่างไรบ้าง
              สรุปสุดท้าย ถาม นศ. ว่า ประเทศไทย มีตำรากลยุทธ หรือไม่ เลยเล่าเกี่ยวกับ "ตำราพิไชยสงครามไทย" ให้เป็นเกร็ดความรู้
            Leadership   ถาม นศ. ว่า หนังสือ ความเป็นผู้นำที่ดีที่สุดในโลก ที่ต้องอ่าน คือ หนังสืออะไร
            ผู้เขียน เล่าเรื่องเราของ  Xenophon   แล้วสรุปว่า Drucker แนะนำให้อ่านหนังสือเล่มนี้ เพราะดีที่สุดในโลกเรื่องความเป็นผู้นำ
            พร้อม กับอีกเล่ม ที่ควรอ่านคือ  Power Ambition  Glory   เขียนโดย Steve Forbes และ  John  Prevas
           กับหนังสือทางการศึกษาที่ควรอ่านว่า (หากการศึกษาไทยล้มเหลว) จะมีวิธีเรียนรู้แบบใหม่อย่างไร คือ  How learning works (มีแปลเป็นภาษาไทยด้วย)
           และขอบเขตที่ผู้เขียนรับผิดชอบ โดยจะเน้น  Strategic Visionary Leadership,  Strategic Innovation Leadership  และ Strategic Change Leadership

           สรุปในตอนท้าย วิชานี้ ยังมีอีกอย่างคือ  แนวทางการทำวิัจัยหรือ Dissertation ในขอบเขต ของ Strategic Leadership
          -ยกเรื่องของปัญหาในการวิจัยที่มีมาเกิดจากอะไรบ้าง
          -พูดถึง A New Theory of Leadership  ( A New Model) ที่ ฝากเป็นการบ้านให้แบ่งกันไปค้นคว้ามาคุยกัน วันที่ 16 มี.ค.56
          -ความมุ่งมั่นและการวางแผนทำ ดุษฎีนิพนธ์ ต้องทำกันอย่างไรบ้าง การอ่าน  การเขียน การจัดสรรเวลา
           และทิ้งประเด็นว่า  จะทำวิจัยแบบ "R&D" ด้านความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ ฯ  เรื่องอะไรที่น่าสนใจทำเป็นดุษฎีนิพนธ์ จะควรมองอย่างไร  โดยขยายความย่อ ๆ ก่อนที่จะลงลึกในคราวหน้าที่จะเจอกัน

PS: 1.Thinking Schools, Learning Nation

   
     

       
      2.แนวทางการทำวิจัยตามขอบเขตวิชา (วันแรก)
     




ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081
         

February 14, 2014

ต้อนรับ นศ.ป.เอก รุ่นที่ 10 มซจ. สู่วิชา EAD 7205 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธฯ ภาคเรียนที่ 2/2556



         วิชา EAD 7205 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธเพื่อการจัดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา แต่เดิมหลักสูตรบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ คณะศึกษาศาสตร์ มซจ. ในรุ่นที่ 7 นั้น ผู้เขียนรับผิดชอบสอนในส่วนของ การบริหารการเปลี่ยนแปลง
          โดยส่วนแรก ผศ.ดร.วินิจ เกตุขำ  ท่านรับผิดชอบสอนในส่วน ความเป็นผู้นำทางการศึกษา
           สิ่งที่เป็นประสบการณ์ในภาคสนาม ที่ผู้เขียนเพิ่มเข้ามา คือ การศึกษาดูงาน  รร. ตชด.สิงคโปร์ฯ ในสมเด็จพระเทพ ที่จังหวัดจันทบุรี (ได้ประสบการณ์เป็นอย่างมากในด้านการบริหารการศึกษา)  และดูงาน รร.มหิดลวิทยานุสรณ์  (เฉพาะผู้เขียนยังไม่ค่อยเห็นความแตกต่างที่ น่าสนใจมากนัก)

           พอมาถึง ป.เอก ในรุ่นที่ 8 ผู้เขียนได้รับผิดชอบ เนื้อหา ประมาณ 70-80 %  กับ อจ. อีกท่าน (คณบดีให้มาช่วย) เลยให้ สอนทางด้านกลยุทธและ นวัตกรรมของผู้นำ  (แต่ผู้เขียนยังมองว่าไม่เติมเต็มตามที่ผู้เขียนอยากได้)  และสิ่งที่เปลี่ยนมาก ๆ คือ
           1. เนื้อหา  จัดเนื้อหา เป็นโมดูล 1. ปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำ   2. ความเป็นผู้นำแห่งวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ 3.ความเป็นผู้นำเชิงนวัตกรรม /ผู้ประกอบการ และ  4.ความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง
           และสรุปทิศทางและบริบทในการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
           2. วิธีสอน  ใช้ แนวคิดใหม่ ด้วย CBL -Challenge Based Learning (การเรียนรู้บนความท้าทาย)
                งานกลุ่ม  การจัดทำ โครงร่างการวิจัย 3 บท ตามเนื้อหา
                งานห้อง  จัดทำ Pocket book  ตามแนวคิด CBL เพื่อวัดความรู้ผู้เรียน
                งานแบบฝึกหัด  สำหรับวัดความรู้ตลอดเทอม
                งานภาคสนาม  เป็นการศึกษาดูงาน 1) รร.นายร้อย จปร. และ ลงฝึกภาคสนาม   2) ดูงานการเป็นผู้นำชุมชน ที่ ไร่นาสวนเกษตร ของคุณเอนก จิวะรัตน์  อ.กะปง จ.พังงา  และ 3) ดูงานและการบรรยายพิเศษ คณะแพทย์ศาสตร์ มอ.  กับ บจก. โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต  อ.หาดใหญ่

          ทั้งหมดนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จาก การสอน นศ.ป.เอก รุ่น ที่ 7 มาสู่ ป.เอกรุ่นที่ 8  มซจ. ในวิชานี้
           สิ่งที่ผู้เขียนคาดหวัง คือ  ความเป็นผู้นำเขิงกลยุทธ ของนศ.ป.เอก รุ่นที่ 8 น่าจะได้ประมวลจากเนื้อหา  การศึกษาดูงานที่มีทั้ง รร.อินเตอร์  งานชุมชน และภาคเอกชน เชื่อมโยงความรู้มาสู่งานต่าง ๆ ที่ทำในชั้น จนเกิดความรู้ในตัว นศ. ที่ใช้ CBL เป็นหลักการเรียนรู้สำคัญ และเน้นมาทางธุรกิจมากขึ้น
          เพราะเราทราบกันดีว่า  การศึกษาไทยที่จัดกันอยู่ในระบบปัจจุบันนั้นล้มเหลว จึงต้องหาวิธีการใหม่
       
         ก้าวเข้ามาสู่ ป.เอกรุ่นที่ื 9  ได้ปรับเนื้อหา ให้เข้มขึ้น และผู้เขียนมารับผิดชอบ 90 %    ปรับเนื้อหาให้มากขึ้น โดยทบทวนเรื่องเครื่องมือใหม่ทางการจัดการเข้ามา นอกนั้นผู้เขียนสอนให้เต็มตามที่ต้องการพร้อมกับแบบฝึกหัดจาก บทเรียนจริงทางทฤษฎีผู้นำในประเทศไทย
          งานวิจัย ปรับจากการทำ โครงร่าง 3 บท มาเป็น   "งานศึกษาอิสระ รายกลุ่มแทน"
           การดูงาน ปรับเป็น ศึกษาดูงาน รร. British International School Phuket   ดูงานผู้นำชุมชน (เวลามากขึ้นเป็น 1 วัน) และ บริษัทใกล้เคียงกัน
           เพิ่มการบรรยายพิเศษ เชิญ ท่าน อดีตนายกชวน  หลีกภัย  มาบรรยายพิเศษ"ชวนคิด ชวนรู้ ชวนเพลิน ประสบการณ์การเป็นผู้นำประเทศ"


           ส่วนเนื้อหา ก็ผสมระหว่าง ธุรกิจกับการศึกษา แต่ ให้ดูตัวอย่างที่กว้างมากกว่าการศึกษา
           ซึ่งน่าเสียดาย นศ. บางคน ไม่มีทักษะในการเชื่อมโยงความรู้ และการสังเคราะห์ความรู้ จึงบ่นว่าไม่ค่อยเำี่กี่ยวกับการศึกษา   ยังคิดยากในการปรับใช้กับสิ่งที่อยู่ในสถาบันการศึกษา....
         
            จนมีผลต่อ ป.เอกรุ่นที่ 10 ซึ่งผู้เขียนต้องปรับ ไปเนื้อหากว่า  40  % สู่บริบทเก่า ๆ  คือ เน้นการศึกษาให้มากขึ้นตามนโยบายมหา'ลัย (เนื่องจาก ( 1)การ Feedback ของ นศ. บางคนไปยังผู้บริหารที่คิดว่าเนื้อหาวิชามันไกลไปจาก ตัวเองซึ่งอยู่ในระบบการศึกษา (2) ไม่มองว่าระบบการศึกษามันล้มเหลวทั้งประเทศ ตั้งแต่ปฎิรูป รอบที่ 1 จนเข้า รอบที่ 2 ก็ดูท่าจะไม่รอด (3) ขณะที่ การศึกษาในสิงคโปร์ ก็ปรับใหม่  มองว่า โรงเรียนคือ บริษัท  ผู้อำนวยการหรือ ครูใหญ่คือ CEO  ครูคือ I+E  หมายถึง  Innovator+ Entrepreneur  บ้านเมืองเขาจึงพัฒนาการศึกษาไปไกลมาก  "Thinking Schools, Learning Nation"     มหา'ลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ปัจจุบันทิ้งห่าง มหา'ลัยในประเทศไทยไปเป็น "Global University" ขณะที่ นศ. บ้านเรามองแต่กรอบแคบ ๆ บริบทเก่า ๆ แค่ รร.  มหา'ลัย  สถาบันการศึกษา)    
       
              แต่ความสำเร็จจากการใช้ CBL-Challenge Based Learning   ทำให้ผู้เขียนมีการ  RE-Model ของ CBL แล้วปรับใช้ใน ธุรกิจ2-3 แห่ง เช่น หลักสูตรของสถาบันพระปกเกล้า และ อีก 2 -3 ในหน่วยงานภาครัฐ
            จนผู้เขียนถอดรหัสความรู้ของ CBL ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย และเพิ่งเขียนเป็นหนังสือเรื่องนี้ออกมา  "การเรียนรู้บนความท้าทาย"
       




สำหรับใน ป.เอกรุ่นที่ 10 ต้องมีการปรับใหม่

เนื้อหาต้องเปลี่ยนแปลง ไปใกล้เคียงกับ ป.เอก รุ่นที่ 7+ 8   โดยต้องมาเน้นการศึกษาเกือบ 50 % มีผู้สอนอีกท่าน

สำหรับผู้เขียนปรับเนื้อหาให้เป็น  "Transnational Education" มากขึ้น เพื่อชดเชยในส่วนที่หายไป

การดูงาน  ปรับใหม่เป็น การเข้ารับการฝึกอบรม " Strategic Leadership in Education" กับ รร. BIS(P) ที่ภูเก็ต และการดูงาน รร.
งาน พ็อกเก๊ตบุ๊ค  แบบเดิมของชั้นปรับทางเลือกในส่วน สอบปลายภาครายบุคคลแทน ตามที่ นศ. สนใจ
การสอบปลายภาค เป็น  TAKE HOME EXAM  หรือ การเขียน Pocket book ภายใต้แนวคิดของ CBL

ในส่วนที่ผู้เขียนเพิ่มเข้ามาโดยเฉพาะคือ แนวทางการทำวิจัยหรือ Dissertation ในขอบเขต "ความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ"

ความเข้มข้นในส่วนผู้เขียน ยังคงเหมือนเดิม.......

เราใช้วิธีการใหม่  "การเรียนรู้บนความท้าทาย" ครับ

เราเป็นมืออาชีพที่เรียกว่า "จินตวิศวกรความรู้ (Knowledge Imagineer)"  เพราะ  "เราสร้างคน (We build people)" ครับ

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081
   


February 6, 2014

การบริหาร HR ธุรกิจโรงแรม



 




การนำเสนองานของ นศ. MBA  กรณีตัวอย่าง การบริหาร HR


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

February 1, 2014

การบริหาร HR ของธุรกิจ SMEs ขนมหวาน


                                         
                                         

การนำเสนองานของ นศ. MBA  กรณีตัวอย่าง การบริหาร HR



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com