February 25, 2014

การปฎิรูปอุดมศึกษาในอนาคต

(ภาพจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=556781)

               การศึกษาบ้านเราโดยเฉพาะอุดมศึกษา มีพัฒนาการทั้งด้านดีและไม่ดี  กับมีจุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ  จัดสัมมนา  เวทีถกกันจัง ผลเป้นอย่างไรไม่ทราบ
              สภาพปัจจุบันของอุดมศึกษาไทย (ได้ข้อมูลมาจากการสัมมนาทางวิชาการ: มองอนาคตอุดมศึกษาไทย และอุดมศึกษาไทย 2025 ) เป็นดังนี้
              1) ความคาดหวังของสังคม ต้องการให้เป้นผู้ชี้นำและหาทางออกให้สังคมยามที่ชาติบ้านเมืองพบทางตัน และสร้างผลผลิตคือบัณฑิตให้มีความเป็นคน รักชาติรักแผ่นดิน
               2) การแข่งขันทางการศึกษา เพื่อแย่งชิงผู้เข้าเรียนทำให้ คุณภาพการศึกษาต่ำลงจนกลายเป็นข้ออ้างอันชอบธรรม ที่พูดกันตลอด ว่า "คุณภาพต้องนำการศึกษา" โดยเฉพาะ สกอ. สมศ. กพร. อาจมองแบบโซ่ตรวนกลายเป็นฉุดรั้งอุดมศึกษา
                3) คุณภาพ อ.เก่า อ.ใหม่  ทิศทางข้างหน้า ต้องมี"ตำแหน่งทางวิชาการเท่านั้นหรือ ประเทศจึงพัฒนา   มีแล้วไม่สร้างทฤษฎีมีไปก็เท่านั้น ยังไงก็เป็น "อาณานิคมทางปัญญา" เหมือนเดิม ???? 
               ฯลฯ
           สรุปสุดท้าย   คุณภาพ  ประสิทธิภาพ  การเข้าถึง และ การรับใช้สังคมและประเทศชาติ

           Vincent-lancrin,S. (2008) ใน "Higher Education to 2030" บอกว่า "การปฎิรูปการศึกษาในอนาคต" ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

            -ปัจจัยด้านความต้องการของสังคมต่อการศึกษาระดับอุดมศึกษา
            -ปัจจัยด้านการขยายตัวของอุดมศึกษา
             -ปัจจัยด้านการเอาทุนจากเอกชนและรูปแบบ วิธีการบริหารแบบเอกชนเข้ามาใช้ในกิจกรรมภาครัฐ
             -ปัจจัยด้านกองทุนที่สนับสนุนการศึกษาระดับอุดมศึกษา
              -ปัจจัยด้านการก้าวเข้าสู่การเป็นนานาชาติ
              -ปัจจัยด้านวิจัยวิชาการ
              -ปัจจัยด้านการพัฒนาทักษะต่าง ๆ  

            ผู้เขียนเชื่อว่า บรรดาผู้กำหนดนโยบายอุดมศึกษา คงได้อ่านกันหมดแล้ว แต่เราไม่เห็น 

            -วิธีการจัดการศึกษาใหม่ ๆ  ทั้งด้านการพัฒนาหลักสูตร การสร้างหลักสูตรใหม่ ที่ตรงกับความต้องการของคนในศตวรรษที่ 21 (แต่พูดกันเยอะะ)
            - รูปแบบของ "นวัตกรรมใหม่   โมเดลธุรกิจใหม่ของ มหาวิทยาลัย หรือ คณะที่่จะแข่งขันกับนานาชาติ และพัฒนาการศึกษาเพื่อลูกหลานในอนาคต

            - อะไรคือ DNA ที่เป็น New trait ของ มหา'ลัย ที่เป็นส่วนราชการ ซึ่งจะสามารถแข่งกับมหา'ลัยที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือ มหา'ลัยออนไลน์ ที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

              อุดมศึกษาไทยจะไปไหน หรือ แค่เวทีสัมมนา  เราจะไป AEC  แต่ขณะที่ Asian U ชั้นนำอย่าง NUS NTU  ก้าวไปด้วยนวัตกรรมใหม่ในการเรียนการสอน เช่น Transnational Education  MOOC เป็นต้น
             เรากำลังขายความคิดเรื่่อง STEM   คงมีบาง มหา'ลัยทำได้  แต่ต้องไม่ลืมว่า ทำไม มหา'ลัยในยุโรป จึง รับเด็ก STEM (STEM Students) แล้วสอนให้มี ทักษะ STEM (STEM Skills)  ต้องกลับไปดูรากการศึกษาของเขา  แล้วจึงจะรู้ว่าเขาเอา STEM มาแข่งกับ มหา'ลัยในสหรัฐ และ มหา'ลัยในปรเทศเกิดใหม่อย่างเอเซีย ทำไม

            ยิ่ง มหา'ลัย 4ปี  ยิ่งทำยากใหญ่  คงต้อง Transform ไปสู่การเป็น  "มหาวิทยาลัยใหม่ : The New University"  ด้วย  "New DNA"   "New Business Model"
            นี่คือทิศทางใหม่ ต้องมาพูดกัน ในการปฎิรูปอุดมศึกษา.....  "ประเทศไทยต้องการมหาวิทยาลัยใหม่ -ไม่ใช่มหาวิทยาลัยตั้งใหม่ นะครับ"

 ดร.ดนัย เทียนพุฒ

     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081
  

    



No comments: