February 14, 2014

ต้อนรับ นศ.ป.เอก รุ่นที่ 10 มซจ. สู่วิชา EAD 7205 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธฯ ภาคเรียนที่ 2/2556



         วิชา EAD 7205 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธเพื่อการจัดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา แต่เดิมหลักสูตรบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ คณะศึกษาศาสตร์ มซจ. ในรุ่นที่ 7 นั้น ผู้เขียนรับผิดชอบสอนในส่วนของ การบริหารการเปลี่ยนแปลง
          โดยส่วนแรก ผศ.ดร.วินิจ เกตุขำ  ท่านรับผิดชอบสอนในส่วน ความเป็นผู้นำทางการศึกษา
           สิ่งที่เป็นประสบการณ์ในภาคสนาม ที่ผู้เขียนเพิ่มเข้ามา คือ การศึกษาดูงาน  รร. ตชด.สิงคโปร์ฯ ในสมเด็จพระเทพ ที่จังหวัดจันทบุรี (ได้ประสบการณ์เป็นอย่างมากในด้านการบริหารการศึกษา)  และดูงาน รร.มหิดลวิทยานุสรณ์  (เฉพาะผู้เขียนยังไม่ค่อยเห็นความแตกต่างที่ น่าสนใจมากนัก)

           พอมาถึง ป.เอก ในรุ่นที่ 8 ผู้เขียนได้รับผิดชอบ เนื้อหา ประมาณ 70-80 %  กับ อจ. อีกท่าน (คณบดีให้มาช่วย) เลยให้ สอนทางด้านกลยุทธและ นวัตกรรมของผู้นำ  (แต่ผู้เขียนยังมองว่าไม่เติมเต็มตามที่ผู้เขียนอยากได้)  และสิ่งที่เปลี่ยนมาก ๆ คือ
           1. เนื้อหา  จัดเนื้อหา เป็นโมดูล 1. ปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำ   2. ความเป็นผู้นำแห่งวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ 3.ความเป็นผู้นำเชิงนวัตกรรม /ผู้ประกอบการ และ  4.ความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง
           และสรุปทิศทางและบริบทในการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
           2. วิธีสอน  ใช้ แนวคิดใหม่ ด้วย CBL -Challenge Based Learning (การเรียนรู้บนความท้าทาย)
                งานกลุ่ม  การจัดทำ โครงร่างการวิจัย 3 บท ตามเนื้อหา
                งานห้อง  จัดทำ Pocket book  ตามแนวคิด CBL เพื่อวัดความรู้ผู้เรียน
                งานแบบฝึกหัด  สำหรับวัดความรู้ตลอดเทอม
                งานภาคสนาม  เป็นการศึกษาดูงาน 1) รร.นายร้อย จปร. และ ลงฝึกภาคสนาม   2) ดูงานการเป็นผู้นำชุมชน ที่ ไร่นาสวนเกษตร ของคุณเอนก จิวะรัตน์  อ.กะปง จ.พังงา  และ 3) ดูงานและการบรรยายพิเศษ คณะแพทย์ศาสตร์ มอ.  กับ บจก. โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต  อ.หาดใหญ่

          ทั้งหมดนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จาก การสอน นศ.ป.เอก รุ่น ที่ 7 มาสู่ ป.เอกรุ่นที่ 8  มซจ. ในวิชานี้
           สิ่งที่ผู้เขียนคาดหวัง คือ  ความเป็นผู้นำเขิงกลยุทธ ของนศ.ป.เอก รุ่นที่ 8 น่าจะได้ประมวลจากเนื้อหา  การศึกษาดูงานที่มีทั้ง รร.อินเตอร์  งานชุมชน และภาคเอกชน เชื่อมโยงความรู้มาสู่งานต่าง ๆ ที่ทำในชั้น จนเกิดความรู้ในตัว นศ. ที่ใช้ CBL เป็นหลักการเรียนรู้สำคัญ และเน้นมาทางธุรกิจมากขึ้น
          เพราะเราทราบกันดีว่า  การศึกษาไทยที่จัดกันอยู่ในระบบปัจจุบันนั้นล้มเหลว จึงต้องหาวิธีการใหม่
       
         ก้าวเข้ามาสู่ ป.เอกรุ่นที่ื 9  ได้ปรับเนื้อหา ให้เข้มขึ้น และผู้เขียนมารับผิดชอบ 90 %    ปรับเนื้อหาให้มากขึ้น โดยทบทวนเรื่องเครื่องมือใหม่ทางการจัดการเข้ามา นอกนั้นผู้เขียนสอนให้เต็มตามที่ต้องการพร้อมกับแบบฝึกหัดจาก บทเรียนจริงทางทฤษฎีผู้นำในประเทศไทย
          งานวิจัย ปรับจากการทำ โครงร่าง 3 บท มาเป็น   "งานศึกษาอิสระ รายกลุ่มแทน"
           การดูงาน ปรับเป็น ศึกษาดูงาน รร. British International School Phuket   ดูงานผู้นำชุมชน (เวลามากขึ้นเป็น 1 วัน) และ บริษัทใกล้เคียงกัน
           เพิ่มการบรรยายพิเศษ เชิญ ท่าน อดีตนายกชวน  หลีกภัย  มาบรรยายพิเศษ"ชวนคิด ชวนรู้ ชวนเพลิน ประสบการณ์การเป็นผู้นำประเทศ"


           ส่วนเนื้อหา ก็ผสมระหว่าง ธุรกิจกับการศึกษา แต่ ให้ดูตัวอย่างที่กว้างมากกว่าการศึกษา
           ซึ่งน่าเสียดาย นศ. บางคน ไม่มีทักษะในการเชื่อมโยงความรู้ และการสังเคราะห์ความรู้ จึงบ่นว่าไม่ค่อยเำี่กี่ยวกับการศึกษา   ยังคิดยากในการปรับใช้กับสิ่งที่อยู่ในสถาบันการศึกษา....
         
            จนมีผลต่อ ป.เอกรุ่นที่ 10 ซึ่งผู้เขียนต้องปรับ ไปเนื้อหากว่า  40  % สู่บริบทเก่า ๆ  คือ เน้นการศึกษาให้มากขึ้นตามนโยบายมหา'ลัย (เนื่องจาก ( 1)การ Feedback ของ นศ. บางคนไปยังผู้บริหารที่คิดว่าเนื้อหาวิชามันไกลไปจาก ตัวเองซึ่งอยู่ในระบบการศึกษา (2) ไม่มองว่าระบบการศึกษามันล้มเหลวทั้งประเทศ ตั้งแต่ปฎิรูป รอบที่ 1 จนเข้า รอบที่ 2 ก็ดูท่าจะไม่รอด (3) ขณะที่ การศึกษาในสิงคโปร์ ก็ปรับใหม่  มองว่า โรงเรียนคือ บริษัท  ผู้อำนวยการหรือ ครูใหญ่คือ CEO  ครูคือ I+E  หมายถึง  Innovator+ Entrepreneur  บ้านเมืองเขาจึงพัฒนาการศึกษาไปไกลมาก  "Thinking Schools, Learning Nation"     มหา'ลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ปัจจุบันทิ้งห่าง มหา'ลัยในประเทศไทยไปเป็น "Global University" ขณะที่ นศ. บ้านเรามองแต่กรอบแคบ ๆ บริบทเก่า ๆ แค่ รร.  มหา'ลัย  สถาบันการศึกษา)    
       
              แต่ความสำเร็จจากการใช้ CBL-Challenge Based Learning   ทำให้ผู้เขียนมีการ  RE-Model ของ CBL แล้วปรับใช้ใน ธุรกิจ2-3 แห่ง เช่น หลักสูตรของสถาบันพระปกเกล้า และ อีก 2 -3 ในหน่วยงานภาครัฐ
            จนผู้เขียนถอดรหัสความรู้ของ CBL ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย และเพิ่งเขียนเป็นหนังสือเรื่องนี้ออกมา  "การเรียนรู้บนความท้าทาย"
       




สำหรับใน ป.เอกรุ่นที่ 10 ต้องมีการปรับใหม่

เนื้อหาต้องเปลี่ยนแปลง ไปใกล้เคียงกับ ป.เอก รุ่นที่ 7+ 8   โดยต้องมาเน้นการศึกษาเกือบ 50 % มีผู้สอนอีกท่าน

สำหรับผู้เขียนปรับเนื้อหาให้เป็น  "Transnational Education" มากขึ้น เพื่อชดเชยในส่วนที่หายไป

การดูงาน  ปรับใหม่เป็น การเข้ารับการฝึกอบรม " Strategic Leadership in Education" กับ รร. BIS(P) ที่ภูเก็ต และการดูงาน รร.
งาน พ็อกเก๊ตบุ๊ค  แบบเดิมของชั้นปรับทางเลือกในส่วน สอบปลายภาครายบุคคลแทน ตามที่ นศ. สนใจ
การสอบปลายภาค เป็น  TAKE HOME EXAM  หรือ การเขียน Pocket book ภายใต้แนวคิดของ CBL

ในส่วนที่ผู้เขียนเพิ่มเข้ามาโดยเฉพาะคือ แนวทางการทำวิจัยหรือ Dissertation ในขอบเขต "ความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ"

ความเข้มข้นในส่วนผู้เขียน ยังคงเหมือนเดิม.......

เราใช้วิธีการใหม่  "การเรียนรู้บนความท้าทาย" ครับ

เราเป็นมืออาชีพที่เรียกว่า "จินตวิศวกรความรู้ (Knowledge Imagineer)"  เพราะ  "เราสร้างคน (We build people)" ครับ

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081
   


No comments: