ในวันที่ 23 มี.ค.57 การสอนวิชา EAD7205 Strategic Leadership .... วันนี้เป็นครั้งที่ 3 (ทางการ) แม้ว่าเวลาทั้งวิชา จะมีไม่มาก เพราะต้องมีการสอนร่วม (ทำให้เนื้อหาหลัก ๆ และกิจกรรมเสริมประสบการณ์ นศ.ป.เอก ที่ผู้เขียนตั้งใจหายไป เช่น การทำ CBL เป็นพ็อกเก็ตบุ๊ค รวมบทความวิชาการของ นศ. การเพิ่ม Trip ดูงานที่มากขึ้น) และต้องเตรียมเดินทางไป ดูงานกับเรียนรู้ที่ รร. BISP จังหวัดภูเก็ต
ตอนเช้า นศ. พระบุญมี ได้สอบถามผู้เขียนว่าจะอ่านหนังสืออะไรดีทำให้พัฒนา ภาษาอังกฤษได้เร็ว
ผู้เขียนตอบ พระท่านไปว่า หนังสืออ่าน พวกไวยากรณ์ บทสนทนา ตามที่เขาอ่านกันก็ได้ แต่สำหรับผู้เขียนจะอ่าน
- หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ อ่านให้หมดทั้งฉบับ แล้วค่อยอ่านฉบับใหม่
- ฟังวิทยุ ที่เป็น ภาษาอังกฤษ
และ ฝึกการใช้ อีเมล์โต้ตอบภาษาอังกฤษกับเพื่อน
-หากเป็นไปได้ไปเรียน British Council AUA ทำนองนี้
หลังจากนั้นได้พูดคุยเรื่อง การปรับระบบ หรือการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของ รร. ในฮ่องกง โดยใช้โมเดล IQEA
(Improving the Quality of Education for All) ซึ่งน่าสนใจ ใน 4 องค์ประกอบ 1) Goal & Priorities 2) Management Arrangments 3) Classroom Arrangments และ 4)Quality of School Experience
(คงไม่คิดบ้องตื้น แบบให้สอบจบทุกระดับการศึกษา ประถม มัธยม ป.ตรี ป.โท ป.เอก มันจะโง่กันทั้งระบบการศึกษาหรืออย่างไรไม่่รู้ จึงต้องสอบจบ ตัวประกันคุณภาพ... มันสิ้นคิดกันที่จะหาวิธีพัฒนาไม่ได้แล้วหรือไงบ้านเรา)
โดยทีกระบวนการสอนของเขาเน้น An Inquiry driven process ซึ่งได้ถาม นศ. ว่า กระบวนการนี้ ช่วยให้ นศ.เกิดอะไร
คำตอบที่ไม่ยากเกินไป Inquiry เป็นส่วนหนึ่งของการคิดแบบวิทยาศาสตร์ และเอาวงจร การเรียนรู้แบบ Inquiry มาอธิบาย
พร้อมทั้ง ให้เห็นทั้งกระบวนการที่ นร. จะเกิดการคิดวิเคราะห์ คิดแบบมีเหตุผล และ แบบวิทยาศาสตร์ได้ และระบบการศึกษาของเขารองรับกัน เมื่อเข้า มหาวิทยาลัย ก็มีมหาวิทยาลัย HK Science & Technology มารองรับ (ไม่เหมือนบ้านเรา เรียนเป็นแท่ง ๆ สอบเป็นท่อน ๆ แล้วบอกเน้นคิดวิเคราะห์ ชั้น ป.6 สทศ. ออกข้อสอบถามว่า ศิลปินแห่งชาติ ปีนี้ ชื่ออะไร มันคิดวิเคราะห์ มากเลย)
หลังจากนั้น ได้พูดคุย ถึงระบบการศึกษาของประเทศเกาหลีใต้ (ได้รับความอนุเคราะห์จากรุ่นน้องที่ไปสัมมนาที่เกาหลีเอาหนังสือระบบอาชีวะ มาฝากว่าเขามีฐานการคิดและพัฒนาการอย่างไร เกาหลีเหนือ อาจมีเป้าหมายการศึกษาคนละแบบ เลยไม่ได้นำมาเปรียบเทียบ)
ผมนำมาเล่าให้ฟังพร้อมวิเคราะห์ และสนทนากับ นศ. ครับ
(ภาพรวมระบบการศึกษาของเกาหลี จากหนังสือข้างต้นครับ)
อีกภาพที่น่าสนใจคือ บทบาทของครูใน รร. มี 4บทบาท ได้อภิปรายแลกเปลี่ยนกับ นศ. ในแต่ละบทบาท แล้วเราจึงรู้ว่าทำไมเด็กเขาถึงเก่ง และได้คะแนน PISA สูงกว่าเด็กสิงคโปร์อีกครับ (บ้านคงต้องเปลี่ยน รมต. ศธ อีกหลายคน และ ยุบ พวกองค์กร ส. การศึกษาบ้านเราอาจดีขึ้นครับ )
ในช่วงก่อนพักเที่ยง ก็กลับมาที่ การทำ Dissertation ในขอบเขตวิชานี้ พร้อมกับมาทบทวนกันใหม่
1. ความสนใจในการวิจัย (Research interest)
เป็นยังไง หลังจากคราวก่อน ได้คุยไปแล้ว บางคนเดินหน้าต่อ บางคนเปลี่ยนใหม่ บางคนไม่ได้ทำอะไร
2. การเชื่อมโยงกับ ปัญหาการวิจัย หรือ โจทย์วิจัยอย่างไร (Research problem) พร้อมอธิบายด้วยภาพนี้ ทั้งยังสรุป ว่าปัญหาในการทำวิจัยมีกี่ประเภท
และแนะนำ การทำ literature Review จากความสนใจในการวิจัยด้วยเทคนิคการ ค้น Key words เพื่อให้ได้ คำถามในการวิจัย หรือ ข้อมูลประกอบในการเขียนปัญหาการวิจัย
4. สุดท้าย อธิบายงานที่จะไป ปิดชั้นเรียนที่ภูเก็ต หลังจากการศึกษาดูงานในช่วง 27-30 มี.ค.57 คือการทำ Concept paper มาพูดคุยกัน
พร้อมแจกตัวอย่าง แนวทาง โครงร่างการวิจัยฉบับย่อ กับบทความวิจัยที่ผู้สอนจะไปทำ Proceeding ในการประชุมทางวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ วันที่ 24-25 เม.ย.57 นี้
ทุกคน ร้องกันว่าจะทันหรือ ...CBL ครับ "การเรียนรู้บนความท้าทาย" คือ เป้าหมายของวิชานี้ และ พัฒนาให้ นศ. ป.เอก เดินไปสู่เส้นทางการทำวิจัยของตนเอง
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า