March 9, 2014

โมเดลการวิจัยและพัฒนา : R&D Model



        การวิจัยและพัฒนา หรือ ที่เรียกว่า R&D เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ ในการสร้าง นวัตกรรมใหม่ ๆ หรือ องค์ความรู้ใหม่  ในบ้านเราการวิจัยทางการศึกษาจะรู้จักกันคือ  "The Borg Model" ซึ่งพัฒนาโดย Borg & Gall (1971)  หาต้นฉบับอ่านได้ค่อนข้างยาก (มีแต่อ้างต่อ ๆ กันมา) 
        อีกโมเดล คือ "The Hood Model" พัฒนาโดย   Hood ในปี 1973 (อันนี้ยังพอหาต้นฉบับอ่านได้ครับ
        ส่วนโมเดลสุดท้ายนิยมใช้กันพอสมควร โดยเฉพาะ การสร้างนวัตกรรมในเทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เขียนยังเห็นมีการใช้ในด้าน  "การพัฒนาหลักสูตรใหม่"  ด้วย เรียกว่า "Four-D Model : A Model for Instructional Development" พัฒนาโดย Thiagarajan และคณะ (1974)  
      ขณะเดียวกันในภาคปฏิบัติ หรือ Practical R&D Model  ผู้เขียนสังเคราะห์ใหม่ จากประสบการณืในการทำวิจัย R&D และการดูแลดุษฎีนิพนธ์ ของ นศ.ป.เอก

      



ผู้เขียนแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้ครอบคลุม กระบวนการวิจัยทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน
                  ระยะที่ 1 R1D1  เป็นระยะของ Pre-Study คือเริ่มทำการทบทวนวรรณกรรม  เพื่อทำ Concept paper  ผู้เขียนมองว่า ควรจัดทำในรูปแบบการวิจัย ในลักษณะ "Documentary research" ( "R1") ดีกว่าการทำแค่ทบทวนวรรณกรรมหรือ การศึกษาเอกสารและงาานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                  เช่น  การพัฒนาโมเดล "โรงเรียนนวัตกรรม"   
                          สร้างรูปแบบการพัฒนาครูพันธ์ุใหม่ที่สอดคล้องกับทักษะของ นร.ในศตวรรษที่ 21 
                         การพัฒนาพาราไดม์ผู้ประกอบการสถานศึกษาแบบมืออาชีพ(Professional Edupreneur-Education+Entrepreneur)  
                          การสร้างระบบวัดความสำเร็จของความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธรูปแบบใหม่ (Creating New Moedl of Strategic Leadership Scorecard) 
                          พัฒนากลยุทธใหม่ - Deveolping Disruptive Innovation Strategy for A New University
                           ฯลฯ

                  หลังจากนั้น พัฒนาขึ้นมาเป็นแนวทางหรือ ร่างต้นแบบ-  "Draft Prototype" เพื่อนำไปยืนยันกับ ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิ  ได้ "Draft Prototype" (D1) ที่สมบูรณ์ก่อนจะนำไปสู่ ขั้นตอนต่อไป
  
                 
                  ระยะที่ 2  R2D2  เป็นการนำร่างต้นแบบ ไป ศึกษาวิจัยในขนาดเล็ก " R2" เพื่อให้ได้ "Prototype"  หรือ ผู้เขียนเรียกว่า  "Predicted Prototype"  เช่น นำไป ทำ "Pilot site"   "Feasibility study"   "Focus group" 
                  หลังจากนั้นจึงปรับและพัฒนาเป็น  "Prototype" ("D2")
     

                 ระยะที่ 3  R3D3 เป็นขั้นตอนสุดท้าย คือการขยายผลโดยนำ  "Prototype" มาทดสอบด้วยการทำวิจัยในขนาดใหญ่ (R3) อาจทำได้ทั้งวิจัยเชิงปริมาณ หรือ เชิงคุณภาพ 
                 วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล  ใน สารสนเทศที่ได้ (เกือบจะเป็นความรู้ใหม่) ไปทำการยืนยันโดยใช้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน16 คน (ตามหลักของเทคนิคเดลฟาย)  (D3)
                 พอดำเนินการสรุปผลวิจัย และอภิปรายผล จึงได้  "ความรู้ใหม่ในต้นแบบ" ที่วิจัยหรือ ศึกษามาตั้งแต่เริ่มแรกในระยะที่ 1 
                     
                 
                 บางที่ อาจจะแยก ส่วนท้ายตรงนี้มาเป็น ระยะที่ 4 Conclusion & Discussion ก็ได้ คือ  การสรุปและอภิปรายผล (แล้วแต่เงื่อนไขของสถาบัน)  ส่วนผู้เขียน ไม่ติดรูปแบบการวิจัยแบบดั้งเดิม ที่ต้องมี 5 บท บางที่ ยังเขียนรายงานการวิจัยในลักษณะ  "Creative Research Report หรือ Commercial Research Report" (ในรูปแบบ พ็อกเก็ตบุ๊คกึ่งวิชาการ) 

   
                 เป็นไปตามสัญญาว่าจะอธิบาย รูปแบบกระบวนการวิจัยและพัฒนา ที่เรียกว่า "R&D Model" 
               
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081
       

                  

























No comments: