March 7, 2014

มหาวิทยาลัยเฟิร์สคลาส เส้นทางเดินที่น่าสนใจ

การพยายามผลักดันให้มหา'ลัยไทย ก้าวสู่การเป็นมหา'ลัยติดอันดับระดับโลก (Academic Ranking of World Universities :ARWU) โดยพยายามแบ่งเป็นกลุ่ม ให้มีกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า "มหาวิทยาลัยวิจัย"


World
Rank
Institution*Country
/Region
National
Rank
Total
Score
Score on
1Harvard University
1
100
100
2Stanford University
2
72.6
40
3University of California, Berkeley
3
71.3
67.8
4Massachusetts Institute of Technology (MIT)
4
71.1
68
5University of Cambridge
1
69.6
79.1
6California Institute of Technology
5
62.9
47.8
7Princeton University
6
61.9
52.9
8Columbia University
7
59.8
66.1
9University of Chicago
8
57.1
60.9
10University of Oxford
2
55.9
51.8
(อ้างจาก http://www.shanghairanking.com/ARWU2013.html)





แต่ถ้าดูอันดับกันจริง ๆ จะเห็นว่า มหาวิทยาลัยวิจัย ที่เป็น "Elite Research University" จริงๆ นั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน  และที่สำคัญการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำระดับแนวหน้านั้น มีต้นทุนที่สูงในการลงทุนและรักษาระดับการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก จึงปรับการบริหารจัดการหรือ แปรรูปมหาวิทยาลัยให้เป็นเหมือนบริษัท มากกว่าที่จะบริหารให้เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ(ม.ที่เป็นส่วนราชการ แบบบ้านเรา) หรือ อยู่ในกำกับของรัฐ 

และในโลกความจริงไม่ว่ามหาวิทยาลัยกลุ่มไหนก็ตามในทั้ง 4กลุ่ม (แบ่งแบบประเทศไทย) ก็ต้องทำวิจัยทั้งนั้น และมหาวิทยาลัยวิจัยจะมีความคุ้มค่า จริงหรือ ที่จะพยายามไต่อันดับไปสู่ระดับโลก ด้วยพื้นฐานการพัฒนาที่แตกต่างกัน  และภายใต้การกำกับดูแลจากองค์กรทางการศึกษาของรัฐ ที่ มองมหา'ลัยไทย แบบร้าน 7-11 ต้องเหมือนกันหมด จะต่างก็อยู่ที่ ทำเลที่ตั้งและสินค้าที่ให้บริการตามพื้นที่ (เหมือนเช่น มหา'ลัยวิจัย, มหา'ลัย 4 ปี, วิทยาลัยชุมชนฯลฯ) ทั้ง ๆ ที่   " One Size Does not Fit All"

Kelly,  Devin, & James. (2007)ได้กล่าวถึงหลักการเป็นมหาวิทยาลัยเฟิร์สคลาส 9 ประการ ใน “Statement on the scholarship of teaching and learning in the University of Melbourne and a reference guide to good practice” ว่าประกอบด้วย 
 1) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และการสร้างการตื่นตัวในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา 
 2)การสร้างความเข้มข้นในการค้นคว้าวิจัย และศึกษาหาความรู้เพื่อส่งต่อและเผยแพร่วัฒนธรรมนี้ไปสู่การเป็นกิจกรรมปกติสำหรับการเรียนการสอน 
 3) การสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับสังคม และสภาพแวดล้อมที่เป็นบริบทแห่งการเรียนรู้
 4) การเรียนรู้จากวัฒนธรรมที่หลากหลายจากนานาชาติ 
 5) การมีความชัดเจนในการช่วยเหลือสนับสนุนบุคลากรในการพัฒนาต่อยอดในการเรียนรู้ 
 6) การสร้างความชัดเจนในมาตรฐาน รวมถึงการคาดหวังในการเรียนรู้ 
 7) การมีวงจรการเรียนรู้ ค้นคว้า และทดลองที่ครบถ้วนสมบูรณ์ 
 8) การมีสถานที่ที่มีคุณภาพสูงเพื่อการเรียนรู้ แหล่งสนับสนุนและเทคโนโลยี 
 และ 9) ความเหมาะสมของหลักสูตร

หากพิจารณาตาม 9 ข้อข้างต้น มหา'ลัย ก็น่าจะสามารถก้าวสู่มหา'ลัยระดับชั้นนำของโลกได้ 
แต่ต้องเปลี่ยนวิธีบริหารและควบคุมนโยบายการศึกษาในระดับอุดมศึกษาใหม่ ไม่บริหาร "อุดมศึกษาแบบ ร้าน 7-11"  ขณะที่ร้าน 7-11 ยังมีการบริหารที่พัฒนามากกว่า เพราะสามารถไปซื้อ ห้างแมคโคร ที่เป็นระดับโลกได้  

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

No comments: