เรื่องเล่า การสอนวันนี้ เปิดฉากย่อ ๆ คือ Strategic Leadership เราต้องคุยกันใน 2 เรื่อง ระหว่าง Strategy กับ Leadership มีความสำคัญอย่างไร เกี่ยวข้องกันขนาดไหน หลังจากนั้น ได้เข้าเรื่องสำคัญคือ
Strategic Visionary Leadership
แล้วบรรยายต่อ ในเรื่อง "โรงเรียนนวัตกรรม โรงเรียนสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยนวัตกรรม" มีคำสำคัญต้องทำความเข้าใจดังนี้
1. Edupreneur ( Educator + Entrepreneur) ผู้ประกอบการสถานศึกษา หรือ เจ้าของ รร. หรือ มหาวิทยาลัย
2. Principal ในระดับ รร. ที่เป็นครูใหญ่ ถ้าระดับมหาวิทยาลัย คือ อธิการบดี
ทั้ง 2 ระดับนี้ ต้องการ ความเป็นผู้นำแบบผู้ประกอบการสถานศึกษา
หลังจากนั้นจึงอธิบาย เรื่อง ของ Competitive Advantage, Highly Innovative School , Managing Change และ Professional Development ค่อยมามอง องค์กรภายใต้ความเป็นระบบ (Context-Input-Process (ตัวองค์กร) -Output -Outcome)
สรุปแล้วเราต้องการ New DNA, New Traits, New Model สำหรับ โรงเรียนนวัคกรรม โรงเรียนสร้างรรค์
ได้ยกตัวอย่าง การมีวิสัยทัศน์ และมองฝันของเด็กที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบจัดการเรียนในระดับอนุบาลของ รร. Fuji Kindergarten School
(ทั้ง 3 รูปจาก http://www.architonic.com/aisht/fuji-kindergarten-tezuka-architects/5100019)
ต่อด้วยการจัดการศึกษาในระดับ พื้นฐานการศึกษา ด้วยรูปแบบของ Adaptive Leadership ของครูใหญ่ รร. ตชด.สิงคโปร์แอร์ไลน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพ จ.จันทบุรี ทีสามารถปรับการเรียนรู้ได้สำเร็จจากทรัพยากรทางการศึกษาที่จำกัด นำพระราชดำริ ใน 8โครงการมาจัดการเรียนการสอน ทำให้โลกความรู้กับโลกความจริงมาเจอกันด้วยการฝึกอาชีพ
สุดท้าย การ Transforming Universities ด้วยแนวคิดของ Kotter ที่มี 8 ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลง
ช่วงบ่าย เป็น ไฮไลท์ ครับ นำ CBL มาใช้ในการทำ ดุษฎีนิพนธ์ ได้อย่างไร
1. ให้เวลา นศ. 5 นาที เขียน Big Idea เกี่ยวกับความสนใจในการทำวิจัย หรือ เรื่องที่อยากทำเป็นดุษฎีนิพนธ์
2. การถกแถลง (Discusion & Conclusion) โดยให้ นศ. นำBig Idea ที่เขียนเล่าให้ชั้นฟัง ใครมีความเห็นเสนอได้
เช่น นศ.คนแรก สนใจความเป็นผู้นำของ ผอ.โรงพยาบาล ให้พูดเกี่ยวกับความสนใจออกมา
ผู้เขียนใช้คำถามช่วย เช่น อะไรคือ ความเป็นผู้นำที่เป็นรูปธรรม ที่จะจับต้องได้
-ไม่ให้คิดว่า มีความสามารถอะไร มีปัจจัยอะไร หรือ องค์ประกอบอะไร
-ไม่เอา ทฤษฎีความเป็นผู้นำ ที่เรียน ต่อ ๆ มาแบบเดิม ๆ มาอธิบาย
ถามต่อว่า ถ้าแบ่ง รพ. เป็น 2 ส่วน ภายใน กับภายนอก
ภายใน ผู้นำต้องทำอะไรเป็นรูปธรรม ถึงขับเคลื่อน รพ. ได้คิดอะไรได้บ้าง
ภายนอก ต้องการอะไร จาก รพ. ที่เกิดมาจากการกระทำของผู้นำ
นศ. ได้ตอบคำถามและ ภายใต้การชี้แนะ ภายในคำตอบคือ "กลยุทธประกันคุณภาพ" และ
ภายนอกคือ "บริการเป็นเลิศ"
3. ผู้เขียน สรุป อาทิตย์หน้า ไปทบทวนวรรณกรรมมา แล้ว คิดคำถามเกี่ยวกับความสนใจในการวิจัยนี้ มา 3 คำถาม
นศ. คนที่2 Big Idea คือความสนใจ นวัตกรรมใหม่ ในการเรียนการสอน ของ รร. โดยมองว่า นร. ขาด 3R (Reading Writing Arithemetic) กับต้องมี อีก 7 C
ผู้เขียนถามว่า ทำไม นร. ไม่อ่าน หนังสือ
นศ. ตอบว่า เล่มเกมส์ ไม่สนใจ ฯลฯ
วิธีการใหม่ผู้เขียน ถามกลับ ว่า ทำไมเด็กเล่นเกมส์
นศ. ทั้งห้อง ช่วยกันตอบ 1) สนุก 2) ท้าทาย 3) คิดว่าจะแข่งยังไง
ผู้เขียน สรุป ทำยังไงให้ เด็กอ่าน ได้คำตอบหรือยัง
ผู้เขียนถามต่อ ทำไม่เด็กไม่เขียน
นศ. ตอบกันเยอะครับ (ทั้งที่ มาเรียนไม่ครบด้วยความจำเป็น)
ไปพิมพ์คอมฯ เขียนไม่ได้ ไม่รู้จะเริ่มยังไง
ผู้เขียนถามต่อว่า พวกเรา เรียนวิธีจดโน๊ตมาจากไหน (Note-Taking)
นศ. บอกว่าเกิดเอง ไม่มีใครสอน
สรุปขั้นที่ 1 สอนวิธีการจดบันทึก
ขั้นที่ 2 ฝึกฝน ให้เขียน สั้น ๆ ไม่เกิน ครึ่งถึง 1 หน้า ให้เขียนมาเล่าให้เพื่อนฟัง
ขั้นที่ 3 รางวัลจูงใจ ในสิ่งที่ทำสำเร็จ
สุดท้าย ผู้เขียนถามต่อ ทำไมเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์ ไม่เก่งคิด
ฯลฯ (ไม่ชอบทกคน)
ผู้เขียนให้คำตอบ 1.เด็กไม่ได้เรียน Critical Thinking
2. เด็กไม่ได้เรียนรู้ วิธีการใช้เหตุผล หรือ ตรรก ...Reasoning /Logic Thinking
ผู้เขียน สรุป เราไปทบทวนวรรณกรรม แบบนี้ The New 3 Rs บวกกับ Bloom's Taxonomy New Version นศ. จะได้งานวิจัยที่น่าสนใจ และเป็นนวัตกรรมจริง ๆ (นศ.เองก็ดีใจกระตือรือร้นอย่างเห็นได้ชัดว่ามีแนวทาง)
(*แต่ไม่ใช่บอกว่าการเรียนการสอนล้มเหลวเพราะครูไม่ปรับตัว ...คำตอบมันง่ายไป เห็นเลยว่า ต้องทุ่มงบประมาณอบรมพัฒนาครู เป็นพันล้าน แน่ ๆผลก็คงเหมือนเดิม แต่มีคนรวยแน่ ๆ เช่นกัน)
แล้วผู้เขียนก็ดำเนินลักษณะนี้ จนครบทุกคน
วันนี้ คงเป็นวันที่ นศ.ป.เอก อยากเรียนต่อ และเห็นแสงสว่างเกิดขึ้น ไม่งั้นก็ยังคิดอะไรไม่ออก ขาดจุดมุ่ง ฯลฯ กลับบ้านไปด้วยความเหนื่อย และหมดแรง ...
..... แต่ ผมเห็น นศ.ทุกคนมีสีหน้าผ่องใสขึ้นและ ยิ้มได้ก่อนออกจากชั้นเรียนกลับบ้าน ....
เทอมนี้ เราปรับวิธีการสอนให้ นศ. มุ่งสู่การทำวิจัยมากขึ้น ครับ
หัวใจสำคัญของวิชาหลักในการเรียน ของ นศ.ป.เอก มีเป้าหมายสำคัญคือ เอาความรู้ที่เรียนไปสนับสนุนการทำดุษฎีนิพนธ์ ผู้สอน-อาจารย์ ต้องเป็น "จินตวิศวกรความรู้-Knowledge Imagineer" และ "ผู้สร้างสรรค์เกมความรู้ -Knowleadge Play Maker" จึงส่ง นศ. ถึงฝั่งได้อย่างสนุก และสนใจที่จะ "รักในความรู้"
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
Line ID : thailand081
No comments:
Post a Comment