March 8, 2014

2 มีค57 ว่าด้วยเรื่องอะไรใน Strategic Leadership


              ในอาทิตย์ที่แล้ว พอดี นศ.ว่างเนื่องจาก อจ.อีกท่านติดมาสอนไม่ได้ ผู้เขียนเลยขอเวลา นศ.มาพูดคุยแทนที่จะปล่อยว่างไปเปล่า ๆ (คงมีงานมอบหมาย)

               เรื่องแรก งานประจำเทอม ที่ผู้เขียนปรับใหม่ แทนที่จะเป็นการสอบ แบบเดิม ๆ (Paper and pencil test: The Old Traditional Measurement) น่าจะใช้น้อยลง เพราะการสอบวัดที่ทำกันเป็นเรื่องความจำ อย่างมากก็ได้แค่นำไปใช้ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้สอนที่ออกข้อสอบ
                ปรับมาเป็นความท้าทายใหม่ ตามแนวคิดการเรียนรู้บนความท้าทาย (CBL: Challenge based learning) โดย นศ. ทำงาน 2 อย่างเป็นทางเลือก
                 1) การเขียน หนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ค 1 เล่ม  จำนวน 15 เรื่อง ที่เป็นประมวลความรู้ในรายวิชาที่เรียน เกี่ยวกับ Strategic Leadership   หากสามารถนำเสนอให้สำนักพิมพ์รับตีพิมพืได้ จะได้ เกรด A
                 2) TAKE HOME  EXAM  เป็นการนำแนวทางของ CBL  มาใช้ในการจัดทำงาน ด้าน"ความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ (Strategic Leadership)"  ตามตัวอย่างแนวทางที่ให้ไว้ ในลักษณะ เหมือนงานกึ่งวิจัย 
                   -เริ่มตั้งแต่ Big Idea ด้านความเป็นผู้นำ  
                   -คำถามสำคัญ
                   -ความท้าทาย
                   แล้วทำการ เขียน "ความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ"  ในความคิดของ นศ.  และทบทวนวรรณกรรม ตั้งแต่ปี 1990- 2025
                   -จึงสังเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นผู้นำ มาใน 4  ด้าน ต่อไปนี้
                       1) แนวคิด  2)รูปแบบ/โมเดล 3)วิธีการพัฒนา 4)การวัดความสำเร็จ
                   - นำตัวอย่างแบบประเมินความเป็นผู้นำ 2 แบบไป ประเมิน ความเป็นผู้นำมาอย่างละ 5 คน พร้อมบันทึกภาพการทำแบบประเมินมาด้วย  
                   -สรุป รายงานการจัดทำ   หากดำเนินการในลักษณะนี้ ก็จะได้เกรด A เช่นกัน




                 เรื่องต่อมา  การวิจัยและพัฒนา (R&D) จะมีกระบวนการจัดทำอย่างไร ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผู้เขียน จัดทำโมเดลให้เห็น (ปกติเป็นการบรรยาย หรือ เขียนคร่าว ๆ ให้ นศ.) แต่ครั้งนี้ เปิดประสบการณ์ใหม่ เขียนให้ดูเลยว่า มีวิธีการทำอย่างไร
                 

                 เรื่องสุดท้าย Disrupting Class  เป็นการมองใหม่ในระบบการศึกษา ว่าหากต้องการ โรงเรียนนวัตกรรม -โรงเรียนสร้างสรรค์ จะมีวิธีการใช้ "ทฤษฎีนวัตกรรมฝ่าทะลวง (Disruptive Innovation Theory)" ในระบบการศึกษาไทยได้อย่างไร ทั้งระดับโรงเรียน  สถาบันการศึกษา-มหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งในระดับ การแข่งขันทางการศึกษาของชาติ

                ท้าทายมาก ๆ สำหรับ การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นการเปลี่ยนแปลงชนิดรวดเร็จมาก
                พร้อมกับ การเตรียมตัวไปดูงานและเรียนรู้แบบ "Transnational Education" ที่ ฺBISP -รร.นานาชาติบริติช  ภูเก็ต  ปลายเดือนมีนาที่จะภึงนี้

                เป็นการเรียนรู้ที่ก้าวขึ้นมาอีกระดับ แม้ว่า จะมี ชั่วโมงบรรยาย สำหรับผู้เขียน เพียง 4 ครั้ง ครึ่ง ซึ่งพยายามจัดให้เกิดประสบการณ์ในการเรียนรู้ของ นศ.ป.เอก ให้ได้มากที่สุด  (อาจจะคิดคนละแบบกับ หลาย ๆ มหา'ลัย ที่คิดแบบเดิม ๆ ต้องการให้ประยุกต์เข้ากับตัวอย่างทางการศึกษาในระดับพื้นฐานให้มาก ๆ )
                ในขณะที่ผู้เขียนมองการศึกษา ไปสู่โลกของความจริงทางธุรกิจมากขึ้น  "การศึกษาต้องเกิดการเรียนรู้ ไปสู่โลกธุรกิจ เพราะ ธุรกิจก้าวหน้าเร็วกว่า  เป็นไปได้ยากที่การศึกษาจะพัฒนาแซงหน้าธุรกิจ"
                นี่คือหัวใจของระดับอุดมศึกษาที่บอกว่าทำไม อุดมศึกษาจึงต้องการสิ่่งที่เรียกว่า         "ความเป็นอิสระทางวิชาการ (Academic Autonomy)"

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081
                 

No comments: