March 24, 2014

Strategic Change Leadership ..เส้นทางสู่การทำวิจัยของ นศ.ป.เอก


            ในวันที่ 23 มี.ค.57 การสอนวิชา EAD7205  Strategic Leadership .... วันนี้เป็นครั้งที่ 3 (ทางการ) แม้ว่าเวลาทั้งวิชา จะมีไม่มาก เพราะต้องมีการสอนร่วม (ทำให้เนื้อหาหลัก ๆ และกิจกรรมเสริมประสบการณ์ นศ.ป.เอก ที่ผู้เขียนตั้งใจหายไป เช่น การทำ CBL เป็นพ็อกเก็ตบุ๊ค รวมบทความวิชาการของ นศ. การเพิ่ม Trip ดูงานที่มากขึ้น)  และต้องเตรียมเดินทางไป ดูงานกับเรียนรู้ที่ รร. BISP จังหวัดภูเก็ต
           ตอนเช้า  นศ. พระบุญมี ได้สอบถามผู้เขียนว่าจะอ่านหนังสืออะไรดีทำให้พัฒนา ภาษาอังกฤษได้เร็ว  
          ผู้เขียนตอบ พระท่านไปว่า  หนังสืออ่าน พวกไวยากรณ์ บทสนทนา ตามที่เขาอ่านกันก็ได้ แต่สำหรับผู้เขียนจะอ่าน
          -  หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ อ่านให้หมดทั้งฉบับ  แล้วค่อยอ่านฉบับใหม่
          -  ฟังวิทยุ ที่เป็น ภาษาอังกฤษ
         และ ฝึกการใช้ อีเมล์โต้ตอบภาษาอังกฤษกับเพื่อน
         -หากเป็นไปได้ไปเรียน British Council   AUA ทำนองนี้
         หลังจากนั้นได้พูดคุยเรื่อง การปรับระบบ หรือการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของ รร. ในฮ่องกง โดยใช้โมเดล IQEA
(Improving the Quality of Education for All) ซึ่งน่าสนใจ ใน 4 องค์ประกอบ 1) Goal & Priorities 2) Management Arrangments 3) Classroom Arrangments และ 4)Quality of School Experience

(คงไม่คิดบ้องตื้น แบบให้สอบจบทุกระดับการศึกษา ประถม มัธยม ป.ตรี ป.โท  ป.เอก มันจะโง่กันทั้งระบบการศึกษาหรืออย่างไรไม่่รู้ จึงต้องสอบจบ  ตัวประกันคุณภาพ... มันสิ้นคิดกันที่จะหาวิธีพัฒนาไม่ได้แล้วหรือไงบ้านเรา)



โดยทีกระบวนการสอนของเขาเน้น An Inquiry driven process  ซึ่งได้ถาม นศ. ว่า กระบวนการนี้ ช่วยให้ นศ.เกิดอะไร 

คำตอบที่ไม่ยากเกินไป  Inquiry เป็นส่วนหนึ่งของการคิดแบบวิทยาศาสตร์  และเอาวงจร การเรียนรู้แบบ Inquiry มาอธิบาย


           พร้อมทั้ง ให้เห็นทั้งกระบวนการที่ นร. จะเกิดการคิดวิเคราะห์ คิดแบบมีเหตุผล และ แบบวิทยาศาสตร์ได้ และระบบการศึกษาของเขารองรับกัน เมื่อเข้า มหาวิทยาลัย ก็มีมหาวิทยาลัย HK   Science & Technology มารองรับ (ไม่เหมือนบ้านเรา เรียนเป็นแท่ง ๆ  สอบเป็นท่อน ๆ   แล้วบอกเน้นคิดวิเคราะห์ ชั้น ป.6 สทศ. ออกข้อสอบถามว่า ศิลปินแห่งชาติ ปีนี้ ชื่ออะไร มันคิดวิเคราะห์ มากเลย) 

         
หลังจากนั้น ได้พูดคุย ถึงระบบการศึกษาของประเทศเกาหลีใต้ (ได้รับความอนุเคราะห์จากรุ่นน้องที่ไปสัมมนาที่เกาหลีเอาหนังสือระบบอาชีวะ มาฝากว่าเขามีฐานการคิดและพัฒนาการอย่างไร เกาหลีเหนือ อาจมีเป้าหมายการศึกษาคนละแบบ เลยไม่ได้นำมาเปรียบเทียบ)
ผมนำมาเล่าให้ฟังพร้อมวิเคราะห์ และสนทนากับ นศ. ครับ



(ภาพรวมระบบการศึกษาของเกาหลี จากหนังสือข้างต้นครับ)

          อีกภาพที่น่าสนใจคือ บทบาทของครูใน รร. มี 4บทบาท ได้อภิปรายแลกเปลี่ยนกับ นศ. ในแต่ละบทบาท  แล้วเราจึงรู้ว่าทำไมเด็กเขาถึงเก่ง และได้คะแนน PISA  สูงกว่าเด็กสิงคโปร์อีกครับ (บ้านคงต้องเปลี่ยน รมต. ศธ  อีกหลายคน และ ยุบ พวกองค์กร ส. การศึกษาบ้านเราอาจดีขึ้นครับ ) 


ในช่วงก่อนพักเที่ยง ก็กลับมาที่  การทำ Dissertation  ในขอบเขตวิชานี้  พร้อมกับมาทบทวนกันใหม่
1. ความสนใจในการวิจัย (Research interest) 
   เป็นยังไง หลังจากคราวก่อน ได้คุยไปแล้ว บางคนเดินหน้าต่อ  บางคนเปลี่ยนใหม่ บางคนไม่ได้ทำอะไร
2. การเชื่อมโยงกับ ปัญหาการวิจัย หรือ โจทย์วิจัยอย่างไร (Research problem)   พร้อมอธิบายด้วยภาพนี้ ทั้งยังสรุป ว่าปัญหาในการทำวิจัยมีกี่ประเภท



3. ให้ นศ. นำเสนอ  ความสนใจในการวิจัย  ปัญหาการวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ คำถามเลา ๆ ในการวิจัย (Research questions)   พร้อมทั้ง ให้Class ร่วมแสดงความคิดเห็น
   และแนะนำ การทำ literature  Review  จากความสนใจในการวิจัยด้วยเทคนิคการ ค้น Key words  เพื่อให้ได้ คำถามในการวิจัย  หรือ ข้อมูลประกอบในการเขียนปัญหาการวิจัย

4. สุดท้าย อธิบายงานที่จะไป ปิดชั้นเรียนที่ภูเก็ต หลังจากการศึกษาดูงานในช่วง 27-30 มี.ค.57 คือการทำ  Concept paper มาพูดคุยกัน
    พร้อมแจกตัวอย่าง แนวทาง โครงร่างการวิจัยฉบับย่อ  กับบทความวิจัยที่ผู้สอนจะไปทำ Proceeding  ในการประชุมทางวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ วันที่ 24-25 เม.ย.57 นี้

    ทุกคน ร้องกันว่าจะทันหรือ  ...CBL  ครับ  "การเรียนรู้บนความท้าทาย"  คือ เป้าหมายของวิชานี้  และ พัฒนาให้ นศ. ป.เอก  เดินไปสู่เส้นทางการทำวิจัยของตนเอง

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

March 23, 2014

การสนทนากลุ่ม (Focus group) เรื่อง กลยุทธ์การจัดการทุนมนุษย์สำหรับมหาวิทยาลัยใหม่: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต


     มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จัดการสนทนากลุ่ม (Focus group) เรื่อง กลยุทธ์การจัดการทุนมนุษย์สำหรับมหาวิทยาลัยใหม่: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 
     โดยคณะผู้วิจัย ประกอบด้วย ดร.ดนัย เทียนพุฒ หัวหน้าทีมวิจัย และคณะ ดร.สุริยะ เจียมประชานรากร ดร.จิรัสย์ ศิรศิริรัศม์ และดร.ราเชนทร์ บุญลอยสง เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการจัดการทุนมนุษย์ที่กำหนดทิศทาง และบริบทของมหาวิทยาลัยใหม่ ภายใต้การกำกับของรัฐที่สามารถรอบรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี พ.ศ.2558 และเพื่อสร้างกลยุทธ์การจัดการทุนมนุษย์ สำหรับมหาวิทยาลัยใหม่: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ฯลฯ 
     ณ ห้องประชุมกาหลา โรงแรมสวนดุสิต เพลส เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2556

ภาพที่9
      
ภาพที่1

ภาพที่2

ภาพที่6

ภาพที่7

ภาพที่3

ภาพที่5

ภาพที่8

ภาพที่4

ภาพที่10


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

March 16, 2014

เรื่องเล่า การสอน Strategy + Leadership ป.เอก รุ่นที่ 10 มซจ.16 ม.ค.57


         เรื่องเล่า การสอนวันนี้ เปิดฉากย่อ ๆ  คือ  Strategic Leadership เราต้องคุยกันใน 2 เรื่อง ระหว่าง Strategy กับ Leadership มีความสำคัญอย่างไร เกี่ยวข้องกันขนาดไหน หลังจากนั้น ได้เข้าเรื่องสำคัญคือ 
Strategic Visionary Leadership



               ผู้นำ ต้องมีวิสัยทัศน์ ผู้เขียนจึงคิดคำใหม่  "ความเป็นผู้นำแห่งวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ" นั่นคือที่มาจาก Strategic Visionary กับ Straetgic Leadership   กลยุทธองค์กรหรือธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัย "ความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ"
               แล้วบรรยายต่อ ในเรื่อง  "โรงเรียนนวัตกรรม  โรงเรียนสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยนวัตกรรม" มีคำสำคัญต้องทำความเข้าใจดังนี้
               1. Edupreneur ( Educator + Entrepreneur) ผู้ประกอบการสถานศึกษา หรือ เจ้าของ รร. หรือ มหาวิทยาลัย
               2. Principal  ในระดับ รร.  ที่เป็นครูใหญ่   ถ้าระดับมหาวิทยาลัย คือ อธิการบดี


               ทั้ง 2 ระดับนี้  ต้องการ ความเป็นผู้นำแบบผู้ประกอบการสถานศึกษา
               หลังจากนั้นจึงอธิบาย เรื่อง ของ Competitive Advantage,  Highly Innovative School , Managing Change และ  Professional Development  ค่อยมามอง องค์กรภายใต้ความเป็นระบบ (Context-Input-Process (ตัวองค์กร) -Output -Outcome)

               สรุปแล้วเราต้องการ New DNA, New Traits, New Model สำหรับ โรงเรียนนวัคกรรม  โรงเรียนสร้างรรค์
               ได้ยกตัวอย่าง การมีวิสัยทัศน์ และมองฝันของเด็กที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบจัดการเรียนในระดับอนุบาลของ รร. Fuji Kindergarten School
                       


Tezuka Architects-Fuji Kindergarten
(ทั้ง 3 รูปจาก  http://www.architonic.com/aisht/fuji-kindergarten-tezuka-architects/5100019)


(อ้างจาก  http://educationinjapan.wordpress.com/2010/04/06/fuji-kindergarten-japans-most-beautiful-kindergarten/)

  ต่อด้วยการจัดการศึกษาในระดับ พื้นฐานการศึกษา ด้วยรูปแบบของ Adaptive Leadership ของครูใหญ่ รร. ตชด.สิงคโปร์แอร์ไลน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพ จ.จันทบุรี ทีสามารถปรับการเรียนรู้ได้สำเร็จจากทรัพยากรทางการศึกษาที่จำกัด  นำพระราชดำริ ใน 8โครงการมาจัดการเรียนการสอน   ทำให้โลกความรู้กับโลกความจริงมาเจอกันด้วยการฝึกอาชีพ



 สุดท้าย การ Transforming Universities ด้วยแนวคิดของ Kotter  ที่มี 8 ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลง 


   ช่วงบ่าย เป็น ไฮไลท์ ครับ นำ CBL มาใช้ในการทำ ดุษฎีนิพนธ์ ได้อย่างไร
  1. ให้เวลา นศ. 5 นาที เขียน Big Idea  เกี่ยวกับความสนใจในการทำวิจัย หรือ เรื่องที่อยากทำเป็นดุษฎีนิพนธ์
   2. การถกแถลง (Discusion & Conclusion) โดยให้ นศ. นำBig Idea ที่เขียนเล่าให้ชั้นฟัง ใครมีความเห็นเสนอได้
   เช่น  นศ.คนแรก  สนใจความเป็นผู้นำของ ผอ.โรงพยาบาล ให้พูดเกี่ยวกับความสนใจออกมา
   ผู้เขียนใช้คำถามช่วย เช่น  อะไรคือ ความเป็นผู้นำที่เป็นรูปธรรม ที่จะจับต้องได้
         -ไม่ให้คิดว่า มีความสามารถอะไร  มีปัจจัยอะไร หรือ องค์ประกอบอะไร
         -ไม่เอา ทฤษฎีความเป็นผู้นำ ที่เรียน ต่อ ๆ มาแบบเดิม ๆ  มาอธิบาย
   ถามต่อว่า ถ้าแบ่ง รพ. เป็น 2 ส่วน ภายใน กับภายนอก
   ภายใน ผู้นำต้องทำอะไรเป็นรูปธรรม ถึงขับเคลื่อน รพ. ได้คิดอะไรได้บ้าง
   ภายนอก  ต้องการอะไร จาก รพ. ที่เกิดมาจากการกระทำของผู้นำ
                             
   นศ. ได้ตอบคำถามและ ภายใต้การชี้แนะ  ภายในคำตอบคือ  "กลยุทธประกันคุณภาพ"  และ
ภายนอกคือ "บริการเป็นเลิศ"
   3. ผู้เขียน สรุป  อาทิตย์หน้า ไปทบทวนวรรณกรรมมา แล้ว คิดคำถามเกี่ยวกับความสนใจในการวิจัยนี้ มา 3 คำถาม                                                

  นศ. คนที่2   Big Idea  คือความสนใจ นวัตกรรมใหม่ ในการเรียนการสอน ของ รร.  โดยมองว่า นร. ขาด 3R (Reading Writing  Arithemetic)  กับต้องมี อีก 7 C

  ผู้เขียนถามว่า ทำไม นร. ไม่อ่าน หนังสือ
  นศ. ตอบว่า เล่มเกมส์ ไม่สนใจ ฯลฯ
  วิธีการใหม่ผู้เขียน ถามกลับ ว่า ทำไมเด็กเล่นเกมส์
  นศ. ทั้งห้อง ช่วยกันตอบ  1) สนุก   2) ท้าทาย  3) คิดว่าจะแข่งยังไง
  ผู้เขียน สรุป  ทำยังไงให้ เด็กอ่าน ได้คำตอบหรือยัง
  ผู้เขียนถามต่อ  ทำไม่เด็กไม่เขียน
   นศ. ตอบกันเยอะครับ (ทั้งที่ มาเรียนไม่ครบด้วยความจำเป็น)
          ไปพิมพ์คอมฯ  เขียนไม่ได้  ไม่รู้จะเริ่มยังไง
   ผู้เขียนถามต่อว่า พวกเรา เรียนวิธีจดโน๊ตมาจากไหน  (Note-Taking)
   นศ. บอกว่าเกิดเอง ไม่มีใครสอน          
   สรุปขั้นที่ 1  สอนวิธีการจดบันทึก
          ขั้นที่ 2 ฝึกฝน ให้เขียน สั้น ๆ ไม่เกิน ครึ่งถึง 1 หน้า ให้เขียนมาเล่าให้เพื่อนฟัง
          ขั้นที่ 3 รางวัลจูงใจ ในสิ่งที่ทำสำเร็จ
   สุดท้าย ผู้เขียนถามต่อ ทำไมเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์ ไม่เก่งคิด
          ฯลฯ  (ไม่ชอบทกคน)
          ผู้เขียนให้คำตอบ 1.เด็กไม่ได้เรียน  Critical Thinking
               2. เด็กไม่ได้เรียนรู้ วิธีการใช้เหตุผล หรือ ตรรก ...Reasoning /Logic Thinking    

 ผู้เขียน สรุป  เราไปทบทวนวรรณกรรม แบบนี้ The New 3 Rs บวกกับ  Bloom's Taxonomy New  Version  นศ. จะได้งานวิจัยที่น่าสนใจ และเป็นนวัตกรรมจริง ๆ  (นศ.เองก็ดีใจกระตือรือร้นอย่างเห็นได้ชัดว่ามีแนวทาง)

(*แต่ไม่ใช่บอกว่าการเรียนการสอนล้มเหลวเพราะครูไม่ปรับตัว ...คำตอบมันง่ายไป เห็นเลยว่า ต้องทุ่มงบประมาณอบรมพัฒนาครู เป็นพันล้าน แน่ ๆผลก็คงเหมือนเดิม  แต่มีคนรวยแน่ ๆ เช่นกัน)

 แล้วผู้เขียนก็ดำเนินลักษณะนี้ จนครบทุกคน

 วันนี้ คงเป็นวันที่ นศ.ป.เอก อยากเรียนต่อ และเห็นแสงสว่างเกิดขึ้น ไม่งั้นก็ยังคิดอะไรไม่ออก ขาดจุดมุ่ง  ฯลฯ กลับบ้านไปด้วยความเหนื่อย และหมดแรง ...
..... แต่ ผมเห็น นศ.ทุกคนมีสีหน้าผ่องใสขึ้นและ ยิ้มได้ก่อนออกจากชั้นเรียนกลับบ้าน ....  


 เทอมนี้ เราปรับวิธีการสอนให้ นศ. มุ่งสู่การทำวิจัยมากขึ้น ครับ 

 หัวใจสำคัญของวิชาหลักในการเรียน ของ นศ.ป.เอก มีเป้าหมายสำคัญคือ เอาความรู้ที่เรียนไปสนับสนุนการทำดุษฎีนิพนธ์  ผู้สอน-อาจารย์ ต้องเป็น  "จินตวิศวกรความรู้-Knowledge Imagineer"  และ "ผู้สร้างสรรค์เกมความรู้ -Knowleadge Play Maker"  จึงส่ง นศ. ถึงฝั่งได้อย่างสนุก  และสนใจที่จะ "รักในความรู้"




ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081

March 9, 2014

โมเดลการวิจัยและพัฒนา : R&D Model



        การวิจัยและพัฒนา หรือ ที่เรียกว่า R&D เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ ในการสร้าง นวัตกรรมใหม่ ๆ หรือ องค์ความรู้ใหม่  ในบ้านเราการวิจัยทางการศึกษาจะรู้จักกันคือ  "The Borg Model" ซึ่งพัฒนาโดย Borg & Gall (1971)  หาต้นฉบับอ่านได้ค่อนข้างยาก (มีแต่อ้างต่อ ๆ กันมา) 
        อีกโมเดล คือ "The Hood Model" พัฒนาโดย   Hood ในปี 1973 (อันนี้ยังพอหาต้นฉบับอ่านได้ครับ
        ส่วนโมเดลสุดท้ายนิยมใช้กันพอสมควร โดยเฉพาะ การสร้างนวัตกรรมในเทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เขียนยังเห็นมีการใช้ในด้าน  "การพัฒนาหลักสูตรใหม่"  ด้วย เรียกว่า "Four-D Model : A Model for Instructional Development" พัฒนาโดย Thiagarajan และคณะ (1974)  
      ขณะเดียวกันในภาคปฏิบัติ หรือ Practical R&D Model  ผู้เขียนสังเคราะห์ใหม่ จากประสบการณืในการทำวิจัย R&D และการดูแลดุษฎีนิพนธ์ ของ นศ.ป.เอก

      



ผู้เขียนแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้ครอบคลุม กระบวนการวิจัยทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน
                  ระยะที่ 1 R1D1  เป็นระยะของ Pre-Study คือเริ่มทำการทบทวนวรรณกรรม  เพื่อทำ Concept paper  ผู้เขียนมองว่า ควรจัดทำในรูปแบบการวิจัย ในลักษณะ "Documentary research" ( "R1") ดีกว่าการทำแค่ทบทวนวรรณกรรมหรือ การศึกษาเอกสารและงาานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                  เช่น  การพัฒนาโมเดล "โรงเรียนนวัตกรรม"   
                          สร้างรูปแบบการพัฒนาครูพันธ์ุใหม่ที่สอดคล้องกับทักษะของ นร.ในศตวรรษที่ 21 
                         การพัฒนาพาราไดม์ผู้ประกอบการสถานศึกษาแบบมืออาชีพ(Professional Edupreneur-Education+Entrepreneur)  
                          การสร้างระบบวัดความสำเร็จของความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธรูปแบบใหม่ (Creating New Moedl of Strategic Leadership Scorecard) 
                          พัฒนากลยุทธใหม่ - Deveolping Disruptive Innovation Strategy for A New University
                           ฯลฯ

                  หลังจากนั้น พัฒนาขึ้นมาเป็นแนวทางหรือ ร่างต้นแบบ-  "Draft Prototype" เพื่อนำไปยืนยันกับ ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิ  ได้ "Draft Prototype" (D1) ที่สมบูรณ์ก่อนจะนำไปสู่ ขั้นตอนต่อไป
  
                 
                  ระยะที่ 2  R2D2  เป็นการนำร่างต้นแบบ ไป ศึกษาวิจัยในขนาดเล็ก " R2" เพื่อให้ได้ "Prototype"  หรือ ผู้เขียนเรียกว่า  "Predicted Prototype"  เช่น นำไป ทำ "Pilot site"   "Feasibility study"   "Focus group" 
                  หลังจากนั้นจึงปรับและพัฒนาเป็น  "Prototype" ("D2")
     

                 ระยะที่ 3  R3D3 เป็นขั้นตอนสุดท้าย คือการขยายผลโดยนำ  "Prototype" มาทดสอบด้วยการทำวิจัยในขนาดใหญ่ (R3) อาจทำได้ทั้งวิจัยเชิงปริมาณ หรือ เชิงคุณภาพ 
                 วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล  ใน สารสนเทศที่ได้ (เกือบจะเป็นความรู้ใหม่) ไปทำการยืนยันโดยใช้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน16 คน (ตามหลักของเทคนิคเดลฟาย)  (D3)
                 พอดำเนินการสรุปผลวิจัย และอภิปรายผล จึงได้  "ความรู้ใหม่ในต้นแบบ" ที่วิจัยหรือ ศึกษามาตั้งแต่เริ่มแรกในระยะที่ 1 
                     
                 
                 บางที่ อาจจะแยก ส่วนท้ายตรงนี้มาเป็น ระยะที่ 4 Conclusion & Discussion ก็ได้ คือ  การสรุปและอภิปรายผล (แล้วแต่เงื่อนไขของสถาบัน)  ส่วนผู้เขียน ไม่ติดรูปแบบการวิจัยแบบดั้งเดิม ที่ต้องมี 5 บท บางที่ ยังเขียนรายงานการวิจัยในลักษณะ  "Creative Research Report หรือ Commercial Research Report" (ในรูปแบบ พ็อกเก็ตบุ๊คกึ่งวิชาการ) 

   
                 เป็นไปตามสัญญาว่าจะอธิบาย รูปแบบกระบวนการวิจัยและพัฒนา ที่เรียกว่า "R&D Model" 
               
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081
       

                  

























March 8, 2014

2 มีค57 ว่าด้วยเรื่องอะไรใน Strategic Leadership


              ในอาทิตย์ที่แล้ว พอดี นศ.ว่างเนื่องจาก อจ.อีกท่านติดมาสอนไม่ได้ ผู้เขียนเลยขอเวลา นศ.มาพูดคุยแทนที่จะปล่อยว่างไปเปล่า ๆ (คงมีงานมอบหมาย)

               เรื่องแรก งานประจำเทอม ที่ผู้เขียนปรับใหม่ แทนที่จะเป็นการสอบ แบบเดิม ๆ (Paper and pencil test: The Old Traditional Measurement) น่าจะใช้น้อยลง เพราะการสอบวัดที่ทำกันเป็นเรื่องความจำ อย่างมากก็ได้แค่นำไปใช้ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้สอนที่ออกข้อสอบ
                ปรับมาเป็นความท้าทายใหม่ ตามแนวคิดการเรียนรู้บนความท้าทาย (CBL: Challenge based learning) โดย นศ. ทำงาน 2 อย่างเป็นทางเลือก
                 1) การเขียน หนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ค 1 เล่ม  จำนวน 15 เรื่อง ที่เป็นประมวลความรู้ในรายวิชาที่เรียน เกี่ยวกับ Strategic Leadership   หากสามารถนำเสนอให้สำนักพิมพ์รับตีพิมพืได้ จะได้ เกรด A
                 2) TAKE HOME  EXAM  เป็นการนำแนวทางของ CBL  มาใช้ในการจัดทำงาน ด้าน"ความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ (Strategic Leadership)"  ตามตัวอย่างแนวทางที่ให้ไว้ ในลักษณะ เหมือนงานกึ่งวิจัย 
                   -เริ่มตั้งแต่ Big Idea ด้านความเป็นผู้นำ  
                   -คำถามสำคัญ
                   -ความท้าทาย
                   แล้วทำการ เขียน "ความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ"  ในความคิดของ นศ.  และทบทวนวรรณกรรม ตั้งแต่ปี 1990- 2025
                   -จึงสังเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นผู้นำ มาใน 4  ด้าน ต่อไปนี้
                       1) แนวคิด  2)รูปแบบ/โมเดล 3)วิธีการพัฒนา 4)การวัดความสำเร็จ
                   - นำตัวอย่างแบบประเมินความเป็นผู้นำ 2 แบบไป ประเมิน ความเป็นผู้นำมาอย่างละ 5 คน พร้อมบันทึกภาพการทำแบบประเมินมาด้วย  
                   -สรุป รายงานการจัดทำ   หากดำเนินการในลักษณะนี้ ก็จะได้เกรด A เช่นกัน




                 เรื่องต่อมา  การวิจัยและพัฒนา (R&D) จะมีกระบวนการจัดทำอย่างไร ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผู้เขียน จัดทำโมเดลให้เห็น (ปกติเป็นการบรรยาย หรือ เขียนคร่าว ๆ ให้ นศ.) แต่ครั้งนี้ เปิดประสบการณ์ใหม่ เขียนให้ดูเลยว่า มีวิธีการทำอย่างไร
                 

                 เรื่องสุดท้าย Disrupting Class  เป็นการมองใหม่ในระบบการศึกษา ว่าหากต้องการ โรงเรียนนวัตกรรม -โรงเรียนสร้างสรรค์ จะมีวิธีการใช้ "ทฤษฎีนวัตกรรมฝ่าทะลวง (Disruptive Innovation Theory)" ในระบบการศึกษาไทยได้อย่างไร ทั้งระดับโรงเรียน  สถาบันการศึกษา-มหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งในระดับ การแข่งขันทางการศึกษาของชาติ

                ท้าทายมาก ๆ สำหรับ การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นการเปลี่ยนแปลงชนิดรวดเร็จมาก
                พร้อมกับ การเตรียมตัวไปดูงานและเรียนรู้แบบ "Transnational Education" ที่ ฺBISP -รร.นานาชาติบริติช  ภูเก็ต  ปลายเดือนมีนาที่จะภึงนี้

                เป็นการเรียนรู้ที่ก้าวขึ้นมาอีกระดับ แม้ว่า จะมี ชั่วโมงบรรยาย สำหรับผู้เขียน เพียง 4 ครั้ง ครึ่ง ซึ่งพยายามจัดให้เกิดประสบการณ์ในการเรียนรู้ของ นศ.ป.เอก ให้ได้มากที่สุด  (อาจจะคิดคนละแบบกับ หลาย ๆ มหา'ลัย ที่คิดแบบเดิม ๆ ต้องการให้ประยุกต์เข้ากับตัวอย่างทางการศึกษาในระดับพื้นฐานให้มาก ๆ )
                ในขณะที่ผู้เขียนมองการศึกษา ไปสู่โลกของความจริงทางธุรกิจมากขึ้น  "การศึกษาต้องเกิดการเรียนรู้ ไปสู่โลกธุรกิจ เพราะ ธุรกิจก้าวหน้าเร็วกว่า  เป็นไปได้ยากที่การศึกษาจะพัฒนาแซงหน้าธุรกิจ"
                นี่คือหัวใจของระดับอุดมศึกษาที่บอกว่าทำไม อุดมศึกษาจึงต้องการสิ่่งที่เรียกว่า         "ความเป็นอิสระทางวิชาการ (Academic Autonomy)"

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081
                 

March 7, 2014

มหาวิทยาลัยเฟิร์สคลาส เส้นทางเดินที่น่าสนใจ

การพยายามผลักดันให้มหา'ลัยไทย ก้าวสู่การเป็นมหา'ลัยติดอันดับระดับโลก (Academic Ranking of World Universities :ARWU) โดยพยายามแบ่งเป็นกลุ่ม ให้มีกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า "มหาวิทยาลัยวิจัย"


World
Rank
Institution*Country
/Region
National
Rank
Total
Score
Score on
1Harvard University
1
100
100
2Stanford University
2
72.6
40
3University of California, Berkeley
3
71.3
67.8
4Massachusetts Institute of Technology (MIT)
4
71.1
68
5University of Cambridge
1
69.6
79.1
6California Institute of Technology
5
62.9
47.8
7Princeton University
6
61.9
52.9
8Columbia University
7
59.8
66.1
9University of Chicago
8
57.1
60.9
10University of Oxford
2
55.9
51.8
(อ้างจาก http://www.shanghairanking.com/ARWU2013.html)





แต่ถ้าดูอันดับกันจริง ๆ จะเห็นว่า มหาวิทยาลัยวิจัย ที่เป็น "Elite Research University" จริงๆ นั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน  และที่สำคัญการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำระดับแนวหน้านั้น มีต้นทุนที่สูงในการลงทุนและรักษาระดับการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก จึงปรับการบริหารจัดการหรือ แปรรูปมหาวิทยาลัยให้เป็นเหมือนบริษัท มากกว่าที่จะบริหารให้เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ(ม.ที่เป็นส่วนราชการ แบบบ้านเรา) หรือ อยู่ในกำกับของรัฐ 

และในโลกความจริงไม่ว่ามหาวิทยาลัยกลุ่มไหนก็ตามในทั้ง 4กลุ่ม (แบ่งแบบประเทศไทย) ก็ต้องทำวิจัยทั้งนั้น และมหาวิทยาลัยวิจัยจะมีความคุ้มค่า จริงหรือ ที่จะพยายามไต่อันดับไปสู่ระดับโลก ด้วยพื้นฐานการพัฒนาที่แตกต่างกัน  และภายใต้การกำกับดูแลจากองค์กรทางการศึกษาของรัฐ ที่ มองมหา'ลัยไทย แบบร้าน 7-11 ต้องเหมือนกันหมด จะต่างก็อยู่ที่ ทำเลที่ตั้งและสินค้าที่ให้บริการตามพื้นที่ (เหมือนเช่น มหา'ลัยวิจัย, มหา'ลัย 4 ปี, วิทยาลัยชุมชนฯลฯ) ทั้ง ๆ ที่   " One Size Does not Fit All"

Kelly,  Devin, & James. (2007)ได้กล่าวถึงหลักการเป็นมหาวิทยาลัยเฟิร์สคลาส 9 ประการ ใน “Statement on the scholarship of teaching and learning in the University of Melbourne and a reference guide to good practice” ว่าประกอบด้วย 
 1) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และการสร้างการตื่นตัวในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา 
 2)การสร้างความเข้มข้นในการค้นคว้าวิจัย และศึกษาหาความรู้เพื่อส่งต่อและเผยแพร่วัฒนธรรมนี้ไปสู่การเป็นกิจกรรมปกติสำหรับการเรียนการสอน 
 3) การสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับสังคม และสภาพแวดล้อมที่เป็นบริบทแห่งการเรียนรู้
 4) การเรียนรู้จากวัฒนธรรมที่หลากหลายจากนานาชาติ 
 5) การมีความชัดเจนในการช่วยเหลือสนับสนุนบุคลากรในการพัฒนาต่อยอดในการเรียนรู้ 
 6) การสร้างความชัดเจนในมาตรฐาน รวมถึงการคาดหวังในการเรียนรู้ 
 7) การมีวงจรการเรียนรู้ ค้นคว้า และทดลองที่ครบถ้วนสมบูรณ์ 
 8) การมีสถานที่ที่มีคุณภาพสูงเพื่อการเรียนรู้ แหล่งสนับสนุนและเทคโนโลยี 
 และ 9) ความเหมาะสมของหลักสูตร

หากพิจารณาตาม 9 ข้อข้างต้น มหา'ลัย ก็น่าจะสามารถก้าวสู่มหา'ลัยระดับชั้นนำของโลกได้ 
แต่ต้องเปลี่ยนวิธีบริหารและควบคุมนโยบายการศึกษาในระดับอุดมศึกษาใหม่ ไม่บริหาร "อุดมศึกษาแบบ ร้าน 7-11"  ขณะที่ร้าน 7-11 ยังมีการบริหารที่พัฒนามากกว่า เพราะสามารถไปซื้อ ห้างแมคโคร ที่เป็นระดับโลกได้  

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

March 5, 2014

ล่าสุด...มาดูเหตุผลที่ นศ./นร.นานาชาติ Grad School เลือกเรียนที่ไหน ปี 2009-2013



         มาดูการที่ นศ/นร. นานาชาติ ระดับ Grad School เลือกเรียน "จุดหมายปลายทาง" ที่ไหนบ้าง ในปี 2009-2013 โดยมีปัจจัยในการเลือก 10 อย่าง    5 อันดับสาขาที่เลือก ปี 2013 ( FAME , STEM, Inter'l Relations   Commu & Media Study , Law) ประเทศไหนที่เลือกไปเรียน   การเปิดสู่โอกาส อะไรในอีก 10 ปี ของผู้เลือกที่เรียน  และสุดท้าย คนที่เลือกเรียนทำงานอะไรอยู่บ้าง 

(การศึกษาของQS World Grad School Tour Applicant Survey  www.topuniversities.com, Report on  Jan 2014)

                                 









ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081

March 3, 2014

เช้านี้กับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และโรงเรียนสร้างสรรค์



       เมื่อเช้ามีโอกาสได้ไปเยี่ยมและเข้าพบ ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ อาจารย์ที่เคารพ  ณ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์
       ผมตื่นแต่เช้าเพื่อตั้งใจไปก่อนเวลา ซึ่งนัดไว้ 8.00 น. ที่ห้องทำงานท่านอาจารย์  เพราะรถติดและ จะได้ไม่ต้องกังวล พอใกล้เวลา ก็เดินขึ้นอาคาร รปภ. พาไปส่งถึงห้องทำงาน  รอสักพักเลขาบอกว่า ท่านขออีก 15 นาที ระหว่างนั้นก็นั่งนึกอยู่ว่า เราสบายกว่าเพื่อน เพราะมีมานั่งรอก่อนแล้วอีก 2 ท่าน แต่ไปได้มาขอให้ท่านทำอะไรให้ แต่มาเยี่ยมพร้อมนำหนังสือ ใหม่ไปให้ท่านตามที่บอกไว้ เมื่อเจอครั้งก่อน ซึึ่งมาสัมภาษณ์ท่านอาจารย์เพื่อสรุปงานวิจัยของมหาวิทยาลัย (มสด.)

       คิดอยู่ว่า ได้เจอกับ อจ. ครั้งแรกเมื่อไหร่นะ 
     -คงนานทีเดียวครับ เพราะเรียนวิชา ปรัชญาการศึกษา สมัย ป.โท ที่ครุศาสตร์ จุฬา ประทับใจในวิธีสอนของท่าน 
      -หลังจากจบ จากจุฬา ไปทำงาน โดยส่วนตัวผู้เขียนก็ชอบเขียนหนังสืออยู่แล้ว จึง นำหนังสือที่เขียนไป เสนอให้ สนพ.จุฬา จัดพิมพ์ เลยได้พบท่านอจ.  ที่นั่นอีก ท่านอจ. เป็นผู้จัดการ สนพ.  

       ท่านบอกว่า "ไม่ส่งเสริมลูกศิษย์  แล้วจะก้าวหน้าได้อย่างไร ?" 
       ผู้เขียน ได้พิมพ์ ที่ สนพ.จุฬา หลายเล่ม 
       และตอนที่ จัดฝึกอบรมเทคนิคการเป็นวิทยากร ให้กับ ธกส. (ทำงานอยู่ที่นั่น) ได้เชิญท่านมาช่วยสอนด้วย
       เมื่อมีโอกาส ก็ไปเยี่ยมเยือน ท่านอยู่เสมอ ๆ   หลังๆ ทำได้แต่ติดตามผลงานของท่าน อจ.

       จนกระทั่งปีนี้ ทำวิจัยเกี่ยวกับ อุดมศึกษา เลยนึกถึงท่านให้มาเป็นผู้เชี่ยวชาญ ตอน โฟกัสกรุ๊ป ยืนยันผลวิจัย

       วันนี้ (4 มี.ค.57) ท่านอจ.ได้ให้หนังสือ "ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้ทันกับดักของตะวันตก"     
     สรุปได้  7กลุ่มหลักคือ
     1.ทักษะการคิดวิจารณญาณและการประเมิน
     2.ทักษะการคิดวิเคราะห์และสังเคราะหื
     3.ทักษะการคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการ
     4.ทักษะการผลิต และคิดนวัตกรรม
     5.ทักษะการเปลี่ยนแปลงและแก้ปัญหา
     6.ทักษะการสื่อสารและความมั่นใจในตนเอง
     7. ทักษะทางคุณธรรมและความรับผิดชอบ













กับ หนังสือ โรงเรียนสร้างสรรค์


Book

น่าสนใจครับ เป็นงานที่ ท่านอจ.ไพฑูรย์ บอกว่าให้ นศ.ป.เอก เขียน

เหมือนทีผู้เขียนให้ นศ.ป.เอก รุ่น ที่ 8-9 มซจ. เขียน CBL -การเรียนรู้บนความท้าทาย                   เป็นพ็อกเก็ตบุ๊คเช่นเดียวกันเลยครับ




ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081