February 18, 2011

อนาคตการอุดม (ชรา) ศึกษาไทย

ผมเห็นข่าวการปลดอธิการ มร. ด้วยประเด็นของ การต่ออายุผู้ที่เกษียณราชการแล้วให้ทำงานต่อ....
ความจริงเราจะพบว่า คงไม่เกี่ยวกับชีวิตเราท่าน แต่ที่น่าสนใจคงเป็นการศึกษาของชาติมากกว่า


อยากหยิบประเด็นของการอุดมศึกษาของจีนมาให้เห็น ก่อน ปี 1993
-การขาดแคลนงบประมาณของการอุดมศึกษาเป็นปัญหาใหญ่ แต่การจัดสรรงบประมาณไม่เท่าเทียมกัน
-การไม่สามารถจัดการและใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่และสมเหตุสมผล
-ที่่ร้ายที่สุดมีการสร้างมหา'ลัยขึ้นซ้ำซ้อนอย่างไม่หยุดหย่อน แม้จะมีเงินมากเท่าไรก็แก้ปัญหาไม่ได้
-การควบคุมอย่างเข้มงวดมากเกินไปเพราะเชื่อในเรื่องคุณภาพที่ต้องมาจากการควบคุุม

จึงนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาของจีน มีทั้งปรับใหม่ ยุบมหา'ลัย ลดการใช้งบประมาณที่ซ้ำซ้อน เพราะมีภาควิชาที่เหมือนกันเยอะมาก จึงซื้อของ-อุปกรณ์เหมือนกันแต่ใช้ไม่คุ้มค่า

อุดมศึกษาไทย มีปัญหาแบบจีนข้างต้นในปัจจุบัน
1. เดิมที่การเปิดหลักสูตรมีน้อย หรือไม่มากนักโดยกระจุกตัวอยู่กับ ม.ของรัฐ 24 แห่ง แต่เมื่อการศึกษาเบ่งบาน เกิด ม.ของรัฐ มีสาขาทั่วประเทศ  ม.ราชภัฏ ม.ราชมงคล  ม.เอกชน  ทำให้มีการเปิดหลักสูตรต่าง ๆ มากมาย
หน่วยงานที่คุมด้านนโยบายจึงอ้าง "คุณภาพ"  เพื่อการควบคุม โดยทุกหลักสูตรต้องมีกรรมการหลักสูตรประจำ 5 คน โดยหวังว่าจะเป็นการหยุดการเกิด-เปิดหลักสูตรใหม่ เพราะ มหา'ลัยทั้งหลายคงไม่มีทางมีศักยภาพที่จะทำได้เพราะใช้คนเยอะ

แต่ผลกับเป็นตรงกันข้าม ได้หลักสูตรใหม่และศักยภาพใหม่ 5 คน(มีศักยภาพจริงหรือไม่ไม่รู้) นั่นคือสาเหตุหลักของนโยบายที่ทำลายคุณภาพอุดมศึกษาด้วยตัวนโยบายเอง

2. หากทุกท่านจำได้ อุดมศึกษาไทยมีการฉายภาพถึงความรุนแรงของการที่จะมี อาจารย์ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญจะเกษียณ อายุ จำนวนมาก และไม่สารถเตรียมรองรับได้ทันการ
จึงเสนอให้มีการต่ออายุ อาจารย์ที่มีความรู้และความสามารถตามความจำเป็นอีก 5 ปี
ผลที่เกิดขึ้น
- อาจารย์ที่ มีตำแหน่งทางวิชาการ รศ. จะได้ต่ออายุ 5 ปี โดยต้องมีความเชี่ยวชาญจริงและไม่ทำหน้าที่บริหาร
-แต่ในสภาพจริงอาจไม่เป็นตามข้างต้น และ มีที่ทำด้านบริหารแต่เรียกเป็นอย่างอื่น หรือ อย่างกรณีของการกลับมาสมัครใหม่ในตำแหน่งบริหาร จึงเกิดปัญหามากมาย

การอุดมศึกษาจึงเต็มไปด้วย กลุ่มสืบทอดอำนาจ (ทางวิชาการ) ที่อยู่ในวัยชราเป็นส่วนใหญ่ จึงน่าจะเรียก อุดม(ชรา)ศึกษา
เราจึงไม่เห็นพัฒนาการศึกษาในเชิงสร้างสรค์ มีแต่ประดิษฐกฎหมาย สารพัดควบคุมการศึกษาให้ง่อยเปลี้ยและไม่พัฒนา เกิดองค์กรอิสระมากมายที่ต่างหางานทำ สร้างระบบ(ทะเลาะกัน) มีกฎหมาย จน
คุณภาพที่คาดหวังไม่เกิดขึ้น

แต่ในอีกด้านต้องยอมรับว่าบุคลากรและผู้บริหารอุดมศึกษาที่เกษียณแล้วและทำงานในอุดมศึกษามีศักยภาพสูงก็ยังมีอยู่ด้วย

อนาคตการอุดมศึกษาไทย จึงต้องปฏิรูปบด้วยแนวทางใหม่ที่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นอยู่ มิฉะนั้นจะเป็น "อุดม(ชรา)การศึกษาไทย"

No comments: