January 15, 2011

การนำเสนอและวิเคราะห์การดูงาน ของ นศ. ป.เอก รุ่นที่ 7 มซจ. วิชา Strategic Leadership -2

                                                 (รูปที่ รร.มหิดลวิทยานุสรณ์)







ทรรศนะของ ดร.ดนัย เทียนพุฒเกี่ยวกับ บทสรุปของการวิเคราะห์

 รร.ตชด.สิงคโปร์แอร์ไลน์สเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ 
 ในส่วนแรก ความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ  (คลิก) หรืออ่านได้ ตามลิงค์


ส่วนที่สอง การจัดการศึกษาและบริหารหลักสูตร
หากเข้าธรรมชาติของ รร.ประถมศึกษา ในเรื่องโครงการอาหารกลางวัน  น่าจะมีมานานแล้ว
...ครั้งแรกที่ ผู้เขียนเข้ารับราชการบรรจุเป็น อาจารย์ 1 ระดับ 3 เข้าไปสอนวิชาคณิตศาสตร์ ที่ รร.ศีลาจารพิพัฒน์ ซึ่งเป็น รร. สังกัดกรมสามัญ และ มีบริเวณบางส่วนยังใช้ร่วมกับ รร.เวตวัน(วัดเชิงหวาย) เป็น รร.ประถมศึกษา ที่นี่เอง ผู้เขียนได้รู้จักโครงการอาหารกลางวันที่ทาง รร.มีการจัดทำให้และขายนร. ในราคาถูก(น่าจะขาย) สำหรับผู้เขียน เป็น อาจารย์ที่ รร.ศีลาฯ ก็มาทานทุกวัน ด้วยความที่ทั้ง 2 รร. ครู-อาจารย์ สนิดสนมกัน ในราคา 10-20 บาท ต่อหนึ่งมื้อ (อิ่ม)....
    ดังนั้นจึงไม่แปลกใจในเรื่องโครงการอาหารกลางวัน
แต่ที่น่าสนใจคือ การให้ นร. ทำมาหากินประกอบอาชีพ(ฝึกประสบการณ์) เข้าบูรณาการกับหลักสูตรปกติของ สพฐ. 
และความจำกัดด้านงบประมาณที่ ได้ค่าอาหารต่อหัววันละ 13 บาท ทำให้ครูใหญ่ต้องคิดหาวิธีบริหารจัดการให้มี อาหารกลางวันทาน และมี เงิน ใช้จ่ายใน รร.  โครงการพระราชดำริจึงเป็นทางออก พร้อมเป้าหมายของ รร. ที่ต้องการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการที่ นร. ส่วนใหญ่จบแล้วไม่ได้เรียนต่อ การเรียนรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพจึงเป็นหลักสำคัญของการจัดการศึกษา
ของ รร.

สิ่งที่วิเคราะห์ ได้1. หมายความว่า จะต้องมีการศึกษาหลักสูตรและ ดูว่า จะเชื่อมโยงวิชาที่เรียน กับ โลกอาชีพและการทำมาหากินได้ในลักษณะใด
2. และโครงการโลกอาชีพดังกล่าว เป็นพระปรีชาและความฉลาดของ สมเด็จพระเทพฯ ที่ให้ มี 8 โครงการพระราชดำริในการเป็นกลไก ขับเคลื่อนโลกอาชีพและการทำมาหากินกับ โลกความรู้ ได้อย่างลงตัว
 
สำหรับโครงการพระราชดำริ
1)โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน




เรือนเพาะเห็ดนางฟ้า


                                    โรงเลี้ยงไก่ ซึ่ง CPF จำหน่ายพันธุ์ให้ในราคาถูก
















เนื่องจากการรดน้ำของ นร. ที่รับผิดชอบ ต้องมีเวรกันมาคอยดูแลต้นไม้ที่ปลูก ทุกวัน ทาง รร.ตชด.ฯ  จึงคิดวิธีใหม่ โดยการใชระบบน้ำหยด ทำให้ไม่เป็นภาระมาดูแล และต้นไ้ม้จะได้น้ำตลอดเวลา
(ในรูป นศ. ป.เอก มซจ. ที่ไปดูงาน ไม่ใช่ น้อง ๆ นร. ที่ รร. )






2)โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    
3)โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4)โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ
5)โครงการฝึกอาชีพ
6)โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดิน





นร. ชั้นโต (พี่) ในแต่ละวันจะมีหน้าที่มาเติมสารไอโอดิน เพื่อให้ทุกคน (น้อง ๆ) ได้ดื่มกัน

7)โครงการส่งเสริมสหกรณ์
   (ลงรูปไว้ในตอนแรกแล้ว)
8)โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร


   สำหรับโครงการอาหารกลางวัน ทาง รร. จะได้แม่ครัว ที่เป็นผู้ปกครองเด็ก ในชุมชน มีเวร จัดตารางกันมาทำอาหารกลางวัน






สูตรอาหาร "ไข่" พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพฯ


                
   ก่อน ที่น้อง ๆ นร. ณ รร.ตชดฯ จะทานอาหารกลางวัน ต้องกล่าวคำปฏิญาณ แสดงถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพฯ



 ระบบการเรียนการสอนที่นี่ มีระบบ พี่ดูแลน้องตามที่ครูได้ให้งานไว้
 และที่ครู จะมีทั้งที่เป็น ข้าราชการจาก  ครู -ตชด. ครูที่เป็นคุรุทายาท ซึ่งจบจาก รร.ตชด. ได้ทุนไปศึกษากลับมาสอนที่ รร. และครูอัตราจ้าง   
นี่คือ หลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทของความเป็นจริงในประเทศไทย อาจจะดีกว่า การมีคณะกรรมการ รร. หรือ สถานศึกษา แต่ไม่เวิรคก์ เพราะไม่ได้คิดเรื่องเหล่านี้ และเชื่อ กระทรวงศึกษา หรือ นักวิชาการในห้องแอร์ทั้งหลาย
(ยังมีต่อ)

No comments: