January 25, 2011

โมเดลการวิจัยและการพัฒนา (Research n Development Model)


การเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา หรือ โดยเฉพาะในระดับดุษฎีบัณฑิต หลาย ๆ มหา'ลัย พยายามผลักดันให้ นศ. ทำงานวิจัย หรือ ดุษฎีนิพนธ์ ที่เรียกว่า "การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)" 

สิ่งที่เป็นคำถามสำหรับผู้เขียนเสมอมา (ทั้งที่ในขณะศึกษาระดับปริญญาเอก และจบมาแล้ว พร้อมกับการสอนในปัจจุบันนี้)

คำถามแรก  หากต้องการให้ นศ.ป.เอก. ทำวิจัย ในลักษณะของการริเริ่มใหม่ ๆ หรือ เรื่องใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใครทำ

ข้อสงสัย    1. แล้ว ใครจะมีความรู้ในเรื่องที่เราทำ หรือให้ความเห็นได้ หากเป็นเรื่องใหม่จริง -ก็จะมีคนรู้ได้อย่างไรเพราะว่ายังใหม่ไม่มีใครทำ
                 2. เมื่อจบมาแล้ว คำตอบที่ชัดมาก คือ ยังเหมือนเดิมไม่มีใครรู้ แม้กระทั่งกรรมการสอบ  แต่กรรมการแต่ละท่านใช้ประสบการณ์ ใช้ความเชี่ยวชา่ญทางเนื้อหาเดิม และ กระบวนการวิจัยตรวจสอบ-สืบสวนหาตรรกของความรู้ 

คำถามต่อมา  การทำวิจัย หรือ ดุษฎีนิพนธ์ และ การเรียนความรู้ใหม่ ที่เรียกว่า Dissertation  สามารถสร้างหลักการ และทฤษฎีขององค์ความรู้ในศาสตร์ของสาขาวิชาเหล่านั้นได้จริงหรือ 
       หรือ เป็นการพูดให้เห็นว่าหลักสูตรการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพ (ชอบพูดกันมาก-คุณภาพการ
ศึกษาเนี่ย  แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไม่มีแล้วให้เปิดการเรียนการสอนทำไม)

ข้อสงสัย  อย่างนั้น การวิจัยและพัฒนา (R & D) ช่วยแก้ปัญหานี้ได้จริงหรือไม่สำหรับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา หรือ ปริญญาเอกที่เปิดกันแทบทุกมหา'ลัยไทย (บางคนก็บินไปคาบปริญญาจากแดนไกล มาบอกว่า เรามีแล้วนะ)

อย่างนั้นลองมหาความจริงกันว่า การวิจัยและพัฒนา (R&D) จริง ๆ แล้วทำแบบไหน ทำได้กี่โมเดลจึงจะบอกได้ว่า งานวิจัยนั้น สร้าง --New Product Development ยิ่งทางการศึกษา ที่เรียกว่า  New Education Products 

พบกันใหม่ ตอนต่อไป

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ

โทร 029301133

No comments: