November 13, 2012

จะเขียน "โครงร่างการเขียนความรู้(Dissertation)" ในระดับปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท ...ได้อย่างไร


         การเขียนโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) เป็นอะไรที่ทำให้ ผู้วิจัย และผู้ที่กำลังศึกษาในระดับ บัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะปริญญาเอก นั่งคิดแล้วคิดอีก ไม่เป็นอันทำอย่างอื่นได้
         การที่ทำหน้าที่ เป็น อ.ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ หรือ Supervisor ก็ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายนัก  หากต้องการเป็น "A Good Supervisor"  สำหรับ นศ.ที่ทำดุษฎีนิพนธ์
        แนวทางต่อไปนี้ "How to write a Dissertation/Thesis Proposal ...part 1"  น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้การพัฒนา "การเขียนความรู้ (Dissertation)" ของบรรดาลูกศิษย์ที่รัก ได้ส่งโครงร่างการวิจัยได้เร็วขึ้น และผ่านได้อย่างไม่ยากนัก




 ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081

September 19, 2012

PhD.Strategic Leadership Program

การนำ นศ.ป.เอก หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา และภาวะผู้นำ ที่ดร.ดนัย เทียนพุฒ เป็นผู้สอนในวิชา Strategic Leadership รุ่น 8 ม.เซนต์จอห์น ไปศึกษาดูงาน ที่ รร.นายร้อย จปร. (เขาชะโงก) พร้อม ลงภาคสนามฝึกกลยุทธ และ ทดสอบกำลังใจ เมื่อวันที่ 11-12 ส.ค.55

ช่วง เช้า เข้าชมพิพิธภัณฑ์ อาคาร รร.จปร.100ปี พร้อมชมวีดีทัศน์ ความเป็นมาของ โรงเรียน

ช่วงบ่าย ฟังบรรยายสรุป การจัดการศึกษาและหลักสูตร การสร้างนายทหารสัญญาบัตร









ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการและที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

September 16, 2012

ความรู้เหลือใช้จากธุรกิจสู่อุดมศึกษาไทย




  ความเชื่อตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ว่า มหา’ลัยเป็น “ศูนย์รวมของสรรพความรู้ (Knowledge Database)" มีมาอย่างต่อเนื่องคงเป็นสภาพที่เราสามารถเห็นกันได้ในประเทศกำลังพัฒนา  ซึ่งในประเทศไทยที่เรียกกันว่า “อุดมศึกษาไทย” คงมีสภาพเช่นนี้มาตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน
  ความจริงแล้วธุรกิจมีองค์ความรู้ (Body of Knowledge) ที่ยิ่งใหญ่และพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด  ไม่ว่าจะเป็น GE, GM, Ford, Google, Microsoft, Apple บริษัทเหล่านี้สอนให้มหา’ลัยรู้ว่าโลกความจริงของธุรกิจเขากำลังทำอะไรอยู่และเสนอเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ใหม่อะไรที่มหา’ลัยจะต้องเดินตาม
  ยิ่งกรณีของ Nonaka กับ Takauchi ที่ศึกษาบริษัทญี่ปุ่นแล้วเขียนเป็นตำรับตำราออกมาว่า บริษัทญี่ปุ่นเหล่านี้สร้างความรู้กันได้อย่างไร หรือ Knowledge-Creating Company จนกระทั่งโด่งดังว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการจัดการความรู้(KM: Knowledge Management)
  สิ่งเหล่านี้บ่งบอกได้ชัดเจนว่า ธุรกิจมีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
• คงไม่แปลกใจอย่าง Kotler, Porter Kaplan & Norton ที่สร้างเทคนิคและทฤษฎีด้านการตลาด การแข่งขันของประเทศ กลยุทธออกมาจนธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ให้การยอมรับนำไปใช้อย่างกว้างขวาง เพราะมีความเป็นอาจารย์มหา'ลัย ที่แตกต่างจากบ้านเรา
เหตุผลสำคัญที่มีสิ่งเหล่านี้ได้เพราะ(1) โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์ของผู้-บริโภค ฯลฯ ที่มีมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนทำให้ธุรกิจชั้นนำต้องก้าวไปสู่การพัฒนาและสร้างความรู้ขึ้นมาใช้เอง
(2) ธุรกิจที่อาจจะรอไม่ได้ในต่างประเทศจะอาศัยห้องแลปที่ก้าวล้ำหน้าของมหา’ลัยได้ช่วยสร้างความรู้ให้ธุรกิจ  ซึ่งยังประโยชน์ให้อาจารย์ในมหา’ลัยได้ลงมาจาก “หอคอยงาช้าง” ได้ยืนสูดอากาศกลิ่นไอของโลกความจริงทางธุรกิจ
      ความรู้เหลือใช้จากธุรกิจสู่อุดมศึกษาไทย      เมื่อผู้เขียนรับผิดชอบในการเป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจเพื่อทำในสิ่งใหม่ๆ ที่ธุรกิจต้องการได้  ไม่ว่าจะเป็นวิธีการสร้างวิสัยทัศน์ด้วยเทคนิคใหม่ๆ เช่น Scenario Analysis (เก่าแล้วในต่างประเทศ)  การใช้  Business Model (โมเดลธุรกิจ) ในการวิเคราะห์ธุรกิจใหม่ให้กับธุรกิจ  การจัดทำกลยุทธแนวใหม่ด้วย BSC & KPIs และ BOS ที่บูรณาการอย่างลงตัวหรือแม้กระทั่งการสร้าง KS (Knowledge Sharing) ด้วยเทคนิค Knowledge Cafe, KM Mind Map และ AAR (After Action Review)
  ทั้งหมดเหล่านี้ ผู้เขียนไม่เคยได้เรียนรู้หรือต้องเข้าไปเรียนจากสถาบันอุดมศึกษาไทยเลย   ถ้าจะแบ่งระดับของความรู้ที่ธุรกิจมีอยู่จะพอสรุปได้เป็น 3 ระดับ
  ระดับสูงสุด คือ สินทรัพย์ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital Asset) ซึ่งเป็นสิ่งที่สุดยอดของมนุษยชาติที่จะใช้สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจที่มีจะต้องมีการวิจัย
ทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ในรูปของ “โมเดลทางความรู้”
    ที่ไม่เผยแพร่ไปสู่ภายนอกเพราะเป็น “รหัสลับนวัตกรรม” เมื่อใช้ไปจนล้าสมัยและมีสิ่งใหม่ที่ดีกว่า สมบูรณ์กว่าก็จะปล่อย สินทรัพย์ทางความรู้ (KA) ที่ล้าสมัยนี้ให้มหา’ลัยได้เรียนรู้และนำไปทดลองใช้ในการเรียนการสอน
  ระดับรอง  เป็นสิ่งทรัพย์ความรู้ (Knowledge Asset: KA) ที่ธุรกิจได้สังเคราะห์ขึ้นมาใน 4 รูปแบบด้วยกันคือ (1) Routine KA เช่น โนว์-ฮาว์ของการปฏิบัติงานในแต่ละวันของแต่ละคนหรือองค์กร (2) Experimental KA ความรู้ที่เป็นประสบการณ์ของแต่ละคน (3) Systemic KA ระบบและแพคเกจของความรู้ที่อยู่ในรูปเอกสาร คู่มือ ฐานข้อมูล สิทธิบัตรหรือไลเซนส์ และ (4) Conceptual KA เป็นความรู้ที่กระจ่างชัดโดยผ่านออกมาในลักษณะภาพ (Image) สัญลักษณ์ (Symbol) และตัวความรู้ (Knowledge) เช่น แนวคิดผลิตภัณฑ์ ดีไซน์ มูลค่าของแบรนด์

  ระดับล่าง คือ พอร์ตโฟลิโอความรู้ ซึ่งจะมี “โบรกเกอร์ความรู้ (Knowledge Broker)"เป็นผู้จัดแจงที่จะเลือกความรู้เหลือใช้ (Waste Knowledge/Useless Knowledge) เผยแพร่ออกมาหรือให้มหา’ลัยได้นำไปศึกษาค้นคว้าหรือทดลองใช้ แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่ล้ำหน้าหรือทันสมัยกว่าสิ่งที่มหา’ลัยมีอยู่
  ดังนั้น อุดมศึกษาไทย หากยังจะเดินตามกรอบการศึกษาไทยอีก 15 ปีข้างหน้า ท่าทางคงจะไม่ไปไหนเพราะมหา’ลัยโลกที่จะสร้างองค์ความรู้ได้นั้นส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 150 ปีขึ้นไป  มีอาจารย์ที่มักจะเกษียณจากธุรกิจเข้ามาเป็นผู้สอน  ไม่ใช่ประเภทเรียนรวดเดียว 3 ม้วนจบ (ป.ตรี-ป.โท-ป.เอก) กว่าจะใช้งานได้ความรู้ที่มีก็เก่าเก็บเสียแล้ว

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการและที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

September 6, 2012

วิจัยเพื่อพัฒนาโมเดลใหม่ หรือ รูปแบบใหม่ (New Model)

   
           ทำวิจัยให้เป็นเรื่องง่าย ๆ  หาก ต้องการ สร้างหรือ พัฒนา "โมเดลใหม่ หรือ รูปแบบใหม่ (New Model)" ในองค์ความรู้ขององค์กร หรือ ธุรกิจ
           อ่าน บทเรียนจากประสบการณ์วิจัย ของ ดร.ดนัย เทียนพุฒ




ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการและที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com


August 6, 2012

ว่าด้วยปรัชญาความเป็นผู้นำ


                          (นศ. ป.เอก รุ่น 7  มซจ. ไปดูงานที่ รร.มหิดลวิทยานุสรณ์)

 ในการสอนวิชา Strategic Leadership  สำหรับ นศ.ป.เอก ที่ มซจ. ต้องยอมรับว่า นศ. ป.เอก แต่ละรุ่น มีความตั้งใจ และมุ่งั่นในการศึกษาอยู่ในระดับ ที่สูงทีเดียว

ช่วงของเมษายน ปี ก่อน ได้หารือ ร่วมกับ ผศ.ดร.วินิจ เกตุขำ ที่เป็นผู้สอนหลักในวิชานี้ ว่า สิ่งที่เรายังติดใจกันในเรื่อง ความเป็นผู้นำ (Leadership) คือ

-ระบบการศึกษาของเรา ยังไม่มีทฤษฎีความเป็นผู้นำของไทย ที่สร้างขึ้นและใช้กันเอง
-การพัฒนา นศ. ระดับบัณฑิตศึกษา ยังก้าวไปอีกพอสมควรที่ จะสร้างผู้นำเก่ง ๆ ให้เป็นผลผลิตทางการศึกษาที่ดี

เราได้แลกเปลี่ยนสนทนา และ พยายามวิธีการในการสร้าง ทฤษฎีความเป็นผู้นำ (Theory of Leadership)  และได้ทิศทางคร่าว ๆ เพื่อเสริมให้ นศ.ระดับปริญญาเอกดังนี้่

1. คงต้อง เรียนในเรื่อง "ปรัชญาความเป็นผู้นำ"
อ่าน  ....บทความว่าด้วย "ปรัชญาความเป็นผู้นำ" ได้ครับ
2. คงต้องเสริมการศึกษาดูงาน ให้ มีมากขึ้น เพื่อให้ นศ.ป.เอก มีมุมุมองที่กว้างและหลากหลายมากขึ้น
3. หาวิธีการสอนแบบใหม่ ในชั้นเรียน ที่สามารถบูรณาการ ได้ ทั้ง  องค์ความรู้ทางหฤษฎี  การวิจัย  และ การสร้างความท้าทายสำหรับผู้นำ

ทั้งหมด นี้ เป็นจุดเริ่มต้นให้ีการ นำเรื่อง ปรัชญาความเป็นผู้นำ มาสอนนวิชานี้ และ วิธีการใหม่ที่ใช้ ซึ่งเป็นความสำเร็จจากธุรกิจระดับโลก  คือ  "การเรียนรู้บนความท้าทาย (Challenge based learning)"


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com


Strategic Leadership : การเรียนรู้บนความท้าทาย (CBL: Challenge based learning)



ในการสอนวิชา Strategic Leadership เพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต การบริหารศึกษาและ ภาวะผู้นำที่ ม.เซนต์จอห์น ในเทอม นี้ (ปี 2555)
 
ผู้เขียนได้ปรับเนื้อหาและแนวการสอนให้ทัน กับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ให้มากยิ่งขึ้นจากประสบการณ์ในฐานะที่ปรึกษาธุรกิจ    ผู้นำทางกลยุทธธุรกิจ และการบริหารคน

อย่างแรกเลย  ด้วยผู้เขียนเห็นว่า นศ. ป.เอก จะได้เรียนวิชา การวิเคราะห์ทฤษฎีภาวะผู้นำและการบริหารมาแล้ว จึงไม่น่าจะทำการสอนซ้ำ ควรสอนอะไรที่แตกต่างออกไปจากที่เคยเรียนมา

จึงได้วาง เนื้อหาเป็น  Module 1)  ปรัชญาความเป็นผู้นำ
                                   Module  2) Strategic Visionary Leadership
                                   Module 3) Strategic Innovative/Entrepreneurial Leadership
                                   Module 4) Strategic Change Leadership 
  โดยที่ในโลกความเป็นจริง ของผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาไป ต้องไปนำองค์กรในเรื่องเหล่านี้

อย่างที่สอง   วิธีการสอน จึงได้ออกแบบให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แนวใหม่ คือ  นำแนวคิดของ "การเรียนรู้บนความท้าทาย -Challenge based learning (CBL)" เข้ามาใช้แทนการสอนแบบ Problem based learning ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ใหม่ของประเทศ (เพราะติดกับดักแต่ปัญหา)

แล้วยังเสริมประสบการณ์ในการเรียนรู้ ด้วย
แนวคิดเสริมสมอง  เรื่อง  Military Leadership in 21st Century
1) การศึกษาดูงานในภาคปฏิบัติ โดยการ ไปศึกษาดูงาน รร. นายร้อยพระจุลจอมเกล้า พร้อมเข้าฝึกภาคสนามทดสอบ กำลังใจและความรู้
ในโครงการศึกษาดูงาน นี้ นศ. ต้อง สรุป CBL  ที่ได้ นำเสนอให้กับผู้เขียน 
การเรียนรู้จาก Best practices
2)  การเรียนรู้บทเรียนแห่งความเป็นเลิศ
    -ศึกษาดูงาน ความสำเร็จของ การบริหาร คณะแพทย์ มอ.
    -การศึกษาวิธีการจัดการ บริษัท ส่งออกชั้นนำ ที่ อ.หาดใหญ่
    -การดูงาน ไร่นาสวนเกษตร ที่ประสบความสำเร็จ  อ.กะปง ที่ จังหวัดพังงา

ทั้ง 3 กรณี นศ. ต้อง ส่งสรุป CBL พร้อมกับ การนำ 8 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง (Kotter) ประยุกต์กับโจทย์ของจริง ว่าจะใช้ได้อย่างไรมีไอเดียอะไรบ้าง   ส่งให้กับผู้เขียน

อย่างสุดท้าย  การวัดความสำเร็จของการเรียนรู้

1)  นศ. ยังต้องส่ง CBL ของแต่ละโมดูล พร้อม บทความ 1 เรื่อง ซึ่งสุดท้าย จะนำไปรวบรวมเป็น Pockbook   ส่ง เป็น งาน Mid-Term (ตามหลักการของ หน่วยงานทะเบียนที่ให้กรอกว่าต้องมีคะแนน Mid-Term) 
2)  Term paper ที่จะต้องส่ง งานวิจัย 3 บท ตาม Module 2-4 หรือ อาจจะทำจนเสร็จเลยก็ได้ 

พร้อม การนำเสนอ ก่อน สอบ Final
ทั้งหมดนี้เป็น "ความท้าทายทางการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต"  ที่มักไม่ค่อยจะเกิดขึ้นได้ง่ายนักกับ ระบบการศึกษาไทย  ที่ท่องบ่นกันแต่เรื่อง คุณภาพและมาตรฐาน (ชาติไหน)


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

May 25, 2012

การบริหาร HR : ก้าวใหม่สู่อนาคต




ผู้เขียนได้สังเคราะห์ การบริหาร HR ว่าในอนาคต จะมีแนวคิดและรูปแบบเป็นอย่างไร
โดยพิจารณาจาก 2 มิติด้วยกัน คือ มิติแรก ด้านการเป็นทรัพย์สินที่จับต้องได้ (Tangible Asset)  กับ ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้  (Intangible Asset)  กับ มิติของ วิวัฒนาการการบริหารคน อดีต -ปัจจุบัน-อนาคต ดังรูป





ทิศทางในอนาคต ต้องเป็นการแปลงรูป (Transformation)  HR ไปเป็น HR Super Connector ซึ่งเปลี่ยนทั้ง เนื้อหา (คน ผลงาน สารสนเทศและงาน)  ( HR Super Connector อ่านได้ที่  http://hrthailand.blogspot.com/2012/01/new-4-trends-in-hr-2012.html)

กับ กระบวนการ(การจัดวาง การบูรณาการ และนวัตกรรม) และโมเดลใหม่การจัดการและการวัดทุนมนุษย์ คือการจัดการทุนมนุษย์ให้เป็นสินทรัพย์(ทรัพย์สิน) เชิงกลยุทธ (แนวคิด  จุดมุ่ง  จัดการและการวัด)

ซึ่งเป็นก้าวใหม่ที่ท้าทายของการบริหาร HR


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com



April 25, 2012

การบริหาร HR เป็นทั้งศาสตร์ ศิลป์และฝีมือ


                                                        (ล่องแม่น้ำไรน์ ที่ เยอรมัน )

ในวันที่ 21 เม.ย.55 ผู้เขียนได้เปิดเรียนวิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา สำหรับ นศ. M.Ed.  หลักสูตรการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ

ได้อธิบายให้เห็นถึงคำ 3 คำ คือ  (1)การบริหาร (2) ทรัพยากรมนุษย์ และ (3) การศึกษา

 อ่านบทสรุปได้  ของการบริหารที่ เป็น ทั้ง ศาสตร์ ศิลป์ และฝีมือ  พร้อมทั้ง ทรัพยากรมนุษย์หรือ ทรัพยากรบุคคล ที่ผู้เขียนมีมุมมองอย่างไร

ส่วนการศึกษา ล้มเหลวมาแล้ว 1 ทศวรรษ และกำลังเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 มา ระยะหนึ่ง ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตถึงการศึกษาชาติว่า
 -วิสัยทัศน์ ที่ต้องการให้คนไทยทุกคนเรียนรู้ตลอดชีวิตฯ   ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปได้ เพราะ คนไทย มีตั้ง 67 ล้านคน กระทรวงศึกษา จะดูแลทุกคนได้อย่างไร  เช่น แม่ค้าขายของในตลาด จะไปเรียนรู้อะไรตลอดชีวิต
- การทดสอบของเด็ก ผลปรากฎว่า โอเน็ต เด็กส่วนใหญ่โดยคะแนนต่ำกว่าเฉลี่ย  แต่โรงเรียนผ่านการประเมินของ สมศ. แสดงว่า การประเมินของ สมศ. ไม่ได้ช่วยอะไรในการพัฒนาการศึกษาให้ดีขึ้น ทำไปแบบเปลืองงบประมาณ
-ที่เราโทษว่าการศึกษาไม่มีคุณภาพ และคิดว่าครูไม่พัฒนา น่าจะมองใหม่ว่า  เราอาจไม่รู้ความต้องการและพฤติกรรมของเด็กอย่างแท้จริงว่าเด็ก ในศตวรรษที่ 21 ต้องการเรียนรู้อย่างไร  เราคิดเอาเองว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น
 -ผู้กำหนดนโยบายการศึกษา ควรเอาคนรุ่นใหม่ (ไม่ใช่มีแต่ สว. (สูงวัย))ที่ทันกับโลกสมัยใหม่มาร่วมกำหนดนโยบายการศึกษา ไม่ใช่อยู่ในมือของ "คนที่มองโลกด้วยสายตาเก่า ๆ  สายตาที่ไม่เข้าใจโลกสมัยใหม่"  อาจทำให้การศึกษามีหวังในอนาคตได้


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com


เอกสารประกอบการบรรยาย HRM in Ed.:  การบริหาร HR 01






Case Study :บมจ. ทรูคอปอเรชั่น โดย นศ.MBA






April 24, 2012

HRM Case Analysis งานของ นศ. M.Ed. วิชา HRM in Ed. 3/2554



HRM Case Analysis  งานของ นศ. M.Ed. วิชา HRM in Ed. 3/2554


งาน "HRM Case Analysis"  กิจกรรมกลุ่ม 3 คน

งานหลัก:


I. ให้ นศ.เลือกสถานศึกษา มา 1 สถานศึกษา ..สำหรับเทอมนี้ให้เลือก  มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (Autonomous State University)

II. ทำการศึกษาสถานศึกษาด้านการบริหาร HR  

     โดยการรวบรวมข้อมูล เอกสารและ สัมภาษณ์ key Informants(บุคคลสำคัญ)หากเป็นไปได้ของสถานศึกษา เพื่อความสมบูรณ์ของงาน  
   2.1 บรรยาย ภาพรวมของ สถานศึกษาที่เลือกมาศึกษา เช่น  
        ประวัติ-ความเป็นมา   ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ โครงสร้างการบริหารองค์กร รวมทั้งแผนงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว    
   2.2  วิเคราะห์สรุปให้เห็น การบริหาร HR  ทิศทาง นโยบาย การบริหาร HR  โครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบ และสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ด้านการบริหาร HR  (ปัญหาและอุปสรรค)

III. ข้อเสนอของกลุ่มในเชิงหลักการบริหาร HR เพื่อให้มีโซลูชันต่อปัญหา หรือ แนวทางใหม่ที่เหมาะสมกับ สถานศึกษาที่เลือกมาเป็นกรณีศึกษา

รายงานที่ส่ง ในครั้งที่ 4 ของการบรรยาย
  
   3.1  Clip VDO  ที่เป็น Total Conclusion  ของทั้งหมด
   3.2  ส่ง CD  Clip VDO พร้อม รายงานฉบับสมบูรณ์ 


   ส่งในสัปดาห์ที่ 4(การเรียนในครั้งที่ 4) ของการบรรยาย

อ้างอิง 
   4.1 แหล่งข้อมูล
   4.2 หนังสือ -เอกสาร เชิงวิชาการที่ใช้จัดทำข้อเสนอ 

ดร.ดนัย เทียนพุฒ : ผู้บรรยาย และรับผิดชอบรายวิชา 

21 เม.ย.55 

April 14, 2012

กรณีศึกษากลยุทธ บมจ.ซิงเกอร์

         การจัดการเชิงกลยุทธ ซึ่งเป็นงานกลุ่มของ นศ. MBA รุ่นที่ 5   ม.ธนบุรี นำมาเผยแพร่เพื่อให้ได้มีกรณีตัวอย่างการจัดทำแผน   กลยุทธธุรกิจกลยุทธบริษัท ซิงเกอร์ จำกัด (มหาชน)

March 31, 2012

CAR (Classroom Action Research) -2


                                       






  ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com





CAR : Classroom Action Research การวิจัยในชั้นเรียน





วันที่ 31 มี.ค.55 -1 เม.ย.55 ผู้เขียนได้รับเชิญให้มาเป็นวิทยากรในโครงการสัมมนาปลายภาค  ภาคเรียนที่ 2/2554 นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์รุ่นที่ 6/1 หัวข้อ สื่อ/นวัตกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย  ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ณ โรงแรมแกรนด์ปาร์ค  จ.นครศรีธรรมราช

บังเอิญต้องทำหน้าที่ ประธานการเปิดโครงสัมมนาฯ สิ่งที่ผมเน้นในตอนเปิดสัมมนา คือ เป้าหมายการศึกษา ง่าย ๆ คือ คนเก่ง คนดี มีความสุข และเติบโตเป็นพลเมืองดี

คนเก่งในความหมายผม คือ คิดริเริ่ม  วางแผน ตัดสินใจ และลงมือทำ  สิ่งที่น่าห่วงคือ ผลการสอบโอเน็ต เด้ก ม6 . ค่าเฉลี่ยทุกวิชา ตกมาเกินกว่าทศวรรษแล้วใน 5 วิชาหลัก ดังนั้นการปูพื้นฐานที่เด็กปฐมวัยในเรื่องความเก่งจึงสำคัญมาก

คนดี ในทัศนะผม คนดี เด็กต้องมี Role Model  ที่ใกล้ตัวเขา คือ พ่อ-แม่ และคนในครอบครัว  กับ ที่โรงเรียน คือ ครู เพราะเด็กเขาเห็นทุกวัน  การศึกษาต้องมีวิธีการสอนศีลธรรมในโรงเรียน ทำทุกชั้นเหมือนกัน  สอนทุกวัน  ทุกสัปดาห์ ๆ ละเรื่อง วันจันทร์พูด หลักการ เช่น เมตตาในพรหมวิหาร 4 วันอังคาร ให้เขียนเรื่องราวเมมตาในตรอบตรัวมาเป็นตัวอย่าง  วันพุธ มาแสดงบทบาทสมมติ ในเรืองที่เขียนได้ดี วันพฤหัสไปแข่งขันในเวทีโรงเรียนคัดเลือกที่ยอดเยี่ยมมาจากทุกชั้น  วันศุกร์สรุปบทเรียนในช้ันของตนเอง อย่างนี้ถึงจะเกิดศีลธรรมในหัวใจเด็ก

มีความสุข การมีความสุขคือ ความสุขที่ได้มาเรียน ความสุขที่ขาดไม่ได้หากไม่ได้มาเรียน และห้องเรียน ครูต้องจัดอย่างไรเด็กถึงจะมีความสุข  ต้องทำวิจัยในชั้นเรียนให้รู้ว่าเด็กต้องการเรียนแบบไหน ไม่ใช่แบบที่ผู้ใหญ่ สูงอายุอยากให้เป็น

ได้ทั้ง 3 อย่างนี้เด็กถึงจะเติบโตมาเป็นพลเมืองดี  ความจริงก็แค่หลักการง่าย ๆ คือ
"ศีล  สมาธิ และปัญญา" ก็แค่นั้นเอง "การศึกษาของชาติไทย"


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

March 13, 2012

การบริหาร HR -โรงแรมลองบีช (งานของ นศ. MBA)

งานของ นศ. MBA วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์หัวหิน 
ผู้จัดทำ  1.นางอนงค์นาถ พุทธิกรณ์
               2.นางปุณณดา พานิชเจริญ
               3.นส.พิสิริ ธนาลฎาภา 
               4.นส.จันทร์เพ็ญ พระสงฆ์

การบริหาร HR-โรงแรมลองบีช
                                     


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com



January 19, 2012

บรรยายพิเศษ Marketing 3.0 ที่ ม.รัตนบัณฑิต



         วันนี้รับเชิญไปบรรยายพิเศษ ให้ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด ม.รัตนบัณฑิต ช่วงเช้าในเรื่อง Marketing 3.0 ตามแนวคิดของ Kotler  นักศึกษาเข้าฟังร่วม 300 คน (ทุกชั้นปี)




          สาระหลัก ๆ คือ  ทำไมจึงเป็นการตลาด 3.0 (เปลี่ยนจาก 2.0 มาเป็น 3.0) หัวใจ ของ การเปลี่ยนจาก 4Ps ไปสู่ 4 Cs การคิดเรื่อง 3i Model  การสร้างภารกิจ ที่ประกอบด้วย Mind-Heart-Spirit และจบด้วย ความเชื่อ 10ประการเพื่อให้ การตลาด3.0 ประสบความสำเร็จ


 ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com