April 8, 2009

CEO Capital

ปัจจุบัน CEO ของบริษัทใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเป็นตำแหน่งที่หลายๆ คนไม่อยากบอกใคร ทั้งนี้ ก็เพราะว่าไม่แน่ใจว่าในอนาคตจะมีอันเป็นไปหรือไม่ หรืออาจจะต้องปิดฉากชีวิต เพราะความไม่ โปร่งใสของตนเองที่ร่วมมือกับ CFO (Chief Finalcial Officer) ตบแต่งบัญชีกับคู่ค้าสำคัญ ก็คือ ผู้ตรวจสอบบัญชี และเปิดเผยต่อเหล่าสาธารณชน จนเหล่า "แมลงเม่า" หรือ "นักลงทุน" พากันหลงเชื่อเข้าซื้อหุ้น แล้วความจริงก็มาเปิดเผยในเวลาต่อมาว่า "โกง"

ความหมายของ "CEO Capital" ก็เปรียบเสมือน "ยี่ห้อหรือตราสินค้า" หรือบางครั้งก็ยังเรียก อีกว่าเป็น "ยี่ห้อของผู้นำ" (Leadership Brand)

หากจะใช้ "CEO Capital" ในภาษาไทย คงจะใช้คำว่า "ทุนซีอีโอ" การที่เปรียบ CEO เหมือนตราสินค้า ทั้งนี้ ก็เพราะว่าทุกคนรู้จักยี่ห้อต่อไปนี้เป็นอย่างดี เช่น Steve Jobs, Bill Gates, michael Dell, Charles Schwab, Richard Branson (Virgin Megastores)

CEO จึงเป็นเครื่องหมายแห่งความเชื่อใจ (Trustmarks) ดังนั้น เราจึงพบ CEO หลายๆ คนในธุรกิจบ้านเรา จะมีลักษณะดังต่อไปนี้

Image Building CEO เป็นลักษณะของ "CEO แบบสร้างภาพ" คือ ชอบที่จะให้ข่าวคราว ของบริษัท ชอบที่จะมาแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะจนกระทั่งกลายเป็น "แหล่งข่าว" ที่สำคัญของบรรดา "กระจิบข่าว" ที่ไม่รู้จะเขียนอะไรดีก็จะขอคุย ขอสัมภาษณ์ ก็เป็นอันสมหวัง (ไม่แห้ว) ทั้ง 2 ฝ่าย


Real CEO ลักษณะของ "CEO ที่แท้จริง" หากผู้บริหารธุรกิจได้มีโอกาสรู้จัก CEO ของบริษัท ที่เก่งมากๆ จะพบว่า จะเปิดเผยตัว หรือแสดงตนในที่สาธารณะก็เฉพาะเท่าที่จำเป็น เท่านั้น หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ
การที่จะต้อง "Focus" หรือผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ จะมีเวลามานั่งประชาสัมพันธ์ หรือลงรูปโฆษณา ตนเองในหน้าหนังสือพิมพ์ หรือวงการนิตยสารได้สักแค่ไหนกัน

มักจะมีบุคคลที่เป็น "มือประชาสัมพันธ์" หรือคนที่จะเป็นตัวแทนไปออกงานมอบรางวัล รับโล่ห์

ประเด็นของเรื่องจึงอยู่ที่ว่า เมื่อธุรกิจก้าวเข้ามาในยุคของทุนทางปัญญา (IC : Intellectual Capital) ซึ่งมีประเด็น ถกเถียงกันว่า "ยี่ห้อของซีอีโอ" เป็น "สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ แต่มีมูลค่าแห่งราคาของความเชื่อใจ"

แล้วอะไรจึงจะบอกได้ว่า ยี่ห้อของซีอีโอ เป็นทุนซีอีโอที่มีมูลค่าล่ะ!!!

1. การพิจารณาผลสำเร็จของ CEO ตามมิติของการวัดผลด้านการเงิน (Financial & Non-Financial Measurement)

การพิจารณาผลสำเร็จ CEO ดังที่ว่ามานี้ก็คือ เรื่องของการประเมินองค์กรแบบสมดุล (BSC : The Balanced Scorecard) สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องมี "ความสามารถของผู้นำ" (Leadership Competencies)

2. ความสามารถของผู้นำ (Leadership Competencies)

เรื่องของความสามารถของผู้นำ (Leadership Competencies) ผู้เขียนบทความ (ดนัย เทียนพุฒ) ได้พัฒนาความสามารถของผู้นำขึ้นมาใหม่ สำหรับการจัดทำโมเดล ความสามารถของผู้บริหาร (ECM : The Executive Competency Model) ดังรูปต่อไปนี้

สิ่งเหล่านี้คือ การก้าวเข้ามาสู่เรื่องของ "CEO Capital" ที่เริ่มพูดถึงกันในปัจจุบันว่าสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง และอาจทำให้ CEO ต้องมีทั้งความแท้จริง ผสมกับการกำหนดภาพลักษณ์ในยี่ห้อ CEO ด้วย

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants<>

No comments: