เรื่องราวของความมีชีวิตของธุรกิจหรือคุณค่าขององค์กร แม้ว่าจะมีการศึกษาเป็นอย่างมากในต่างประเทศ แต่ในทางกลับกันบ้านเรากลับมีให้เห็นไม่มากนัก
ตามที่เกริ่นมาก่อนหน้านี้แล้วว่า ผู้เขียนได้รับผิดชอบในการสื่อสารสิ่งที่เป็น วิถีชีวิตของธนาคาร A ให้ฟังว่า “ธนาคาร A ได้สร้าง วิถีชีวิตของธนาคาร หรือ “The A Bank Life” (ชื่อสมมติแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการจัดการธุรกิจ) โดยเรียกว่า ค่านิยมองค์กร (Corporate Value) ซึ่งเปรียบเสมือนว่า ร่างกายมนุษย์เป็นองค์กร การทำงานร่วมกันเป็นทีมก็เปรียบเหมือนทั้งหัวใจและสมองของธนาคาร A ความร่วมแรงร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวกันของทุกคนในการสร้างค่านิยมขององค์กร จะทำให้ทุกก้าวย่างของธนาคาร A เป็นไปด้วยความมั่งคงและสม่ำเสมอตลอดไป”
ผู้บริหารหลายท่านคงสงสัยว่า สิ่งที่เป็นวิถีชีวิตขององค์กร หรือ ณ ที่ธนาคาร A ได้บอกไว้ข้างต้นอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดและหลักการอะไร หรือเป็นสิ่งที่ผู้เขียนคิดขึ้นมาเอง
ความจริงแล้วนอกจากที่ผู้บริหารหลายๆ ท่านอาจจะรู้มาบ้างว่า ทอม ปีเตอร์และโรเบิรต์ วอเตอร์แมน ได้เคยศึกษาไว้นานแล้วหรือที่รู้จักกันในหนังสือ INSEARCH OF EXCELLENCE
พอมาถึงปัจจุบันประมาณปี’1997 คอลินส์กับพอร์ลาดส์ ได้มีการศึกษาใหม่และสรุปผลการศึกษาออกมาเป็นหนังสือที่ขายดีมากคือ Built to Last ภาษาไทยที่ใช้กันมักจะเรียกว่า องค์กรอมตะ โดยที่ผลการศึกษาพบว่า บริษัทแห่งวิสัยทัศน์ (Visionary Companies) ทั้งหลายซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก อาทิ โบอิ้ง 3M HP P&G The WaltDisney Company Wal-Mart, AMEX บริษัทเหล่านี้มีสิ่งที่เป็นความสำเร็จซึ่งเรียกว่า อุดมคติหลัก (Core Ideologies)
สิ่งที่องค์กรอยากมี เรียนรู้ และรักษาไว้ตลอดไป
บริษัทแห่งวิสัยทัศน์ (Visionary Companies) ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น จะมีสิ่งที่เป็นอุดมคติหลัก หรือคุณค่าที่ยึดถือไว้และปลูกฝังคุณค่าหลักเหล่านี้ไปทั่วทั้งองค์กร พร้อมทั้งสามารถรักษาคุณค่าหลักได้ตลอดไป
คำว่า อุดมคติหลัก (Core Ideologies) จะประกอบด้วยสิ่งที่เรียกว่า
- ค่านิยมหลัก (Core Value) ที่ยืนยงคือ การที่องค์กรจะไม่ยอมทิ้งคุณค่าที่ได้ดำรงไว้เพื่อเพียงกำไรในระยะสั้น
รูปที่ 1 บริษัทแห่งวิสัยทัศน์
-
รูปที่ 2 กลไกการขยับเคลื่อนคุณค่าหลักขององค์กร
เป้าหมาย (Purpose) คือ การดำรงอยู่ขององค์กรไม่ใช่แต่เพียงกำไรระยะสั้น แต่เป็นเป้าหมายของการดำเนินภารกิจต่างหากที่ทุกคนพึงจะไม่ละเลยเป็นอันขาด
จากการศึกษาบริษัทแห่งวิสัยทัศน์พบว่า บริษัทเหล่านี้มีค่านิยมหลัก (Core Value) ที่บอกถึงอุดมคติหลัก (Core Ideologies) เช่น
ผู้เขียนได้เพิ่มบริษัทซัมซุง เข้าไปด้วยเพราะในปัจจุบันซัมซุงที่มีอายุเพียง 60 กว่าปีสามารถก้าวขึ้นเป็นบริษัท Top World ได้และเร็วๆ นี้ (ปี’2006 ไตรมาส 3) มียอดขายโทรทัศน์อันดับ 1 ในยุโรปและอเมริกาเหนือ
โดยสรุปแล้ว สิ่งที่เป็นอุดมคติหลักของบริษัทแห่งวิสัยทัศน์ชั้นนำของโลกพบว่าจะมี
(1) การมุ่งลูกค้า (Customer Focus)
(2) การสื่อสาร (Communication)
(3) การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
(4) ความยืดหยุ่น (Flexibility)
(5) นวัตกรรม (Innovation)
(6) ทักษะวิชาชีพ (Technical)
(7) ภาวะผู้นำ (Leadership)
(8) มุ่งผลสำเร็จ (Result Oriented)
ซึ่งในทางปฏิบัติจะเรียกทั้ง 8 องค์ประกอบข้างต้นนี้ว่า ความสามารถหลัก (Core Competencies) หรือความสามารถทั่วไป (Generic Competencies) ซึ่งหมายถึง สิ่งที่ทุกคนในองค์กรต้องมีไม่ว่าในระดับตำแหน่งใด ทั้งนี้จะเป็นสิ่งที่เกิดมาจากการบูรณาการความรู้ ทักษะ คุณสมบัติส่วนบุคคล (Personal Attribute) จนทำให้งานบรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) หรือมีคุณค่าสูงสุด (Superior Performance)
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
**New Business Knowlegde Network By Dr.Danai Thieanphut
1. Business Management : http://biz2all.blogspot.com/
2. Family Business : http://drdanai.blogspot.com/
3. สถาบันการจัดการความรู้แห่งประเทศไทย : http://thekmthailand.blogspot.com/
4. DNTConsultants Training Program : http://dnttraining.blogspot.com/
No comments:
Post a Comment