สิ่งที่เป็นดี เอ็น เอ ใหม่ขององค์กรที่ผู้เขียนพูดถึงนั้นคือ เรื่องราวของ “วิถีชีวิตของธุรกิจ” (The Business Way of Life) ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ในเรื่องของ “คุณค่าใหม่ขององค์กร”
ประเด็นที่เป็นคำถามและน่าสนใจเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจไทยที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายคือ
- ทำไมธุรกิจที่มีประวัติความสำเร็จมาอย่างยาวนานนับร้อยปี ไม่ว่าจะเป็นบริษัทอุตสาหกรรมด้านวัสดุ-ก่อสร้าง พลังงานหรืออุตสาหกรรมการธนาคารถึงไม่ติดอันดับบริษัทที่มีความสำเร็จในระดับโลก เช่น 1 ใน 50 ของบริษัทในฟอร์จูน 500
- หรือเป็นเพราะว่าธุรกิจชั้นนำของคนไทย ไม่ได้ศึกษาและทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในทฤษฎีการจัดการธุรกิจหรือเครื่องมือทางกลยุทธธุรกิจ จึงไม่สามารถนำพาธุรกิจสู่การเป็นบริษัทชั้นนำที่โดดเด่นในระดับโลกให้เกิดขึ้นมาได้
ในเดือน พ.ย. 2549 ผู้เขียนได้รับมอบหมายจาก ธนาคาร A ให้เป็นผู้สื่อสารหลักในเรื่องคุณค่าขององค์กร (Corporate Value) ที่กำหนดขึ้นมาโดยถือเป็น วิถีชีวิตของธุรกิจ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับพนักงานทุกระดับในธนาคาร A ซึ่งในวิธีการพัฒนา คุณค่าขององค์กรที่เรียกว่า วิถีชีวิตของธุรกิจเป็นวิธีการใหม่ที่พัฒนาบนพื้นฐานของแนวคิดการจัดการที่เน้นความสามารถ (Competency Based Manage-ment) โดยที่ผู้เขียนเชื่อว่าจะเป็นวิธีการที่แตกต่างไปจากวิธีการเดิมในอดีตที่จัดทำเป็นข้อความคุณค่าขององค์กร (Corporate Value Statement) เพื่อให้ทุกคนได้ยึดถือปฏิบัติ
พื้นฐานแนวคิดแห่งความสำเร็จของธุรกิจ
การศึกษาเรื่องความสำเร็จขององค์กรในอดีตนั้นดูเหมือนว่าแนวคิดของ การแสวงหาความเป็นเลิศหรือ IN SEARCH OF EXCELLENCE (1982) จะเป็นฐานแนวคิดที่ใช้ได้ ผู้เขียนได้ลองจัดทำสรุปตารางเปรียบเทียบระหว่าง ทฤษฎี 7’S ของแมคคินเซย์กับผลการศึกษาของทอม ปีเตอร์ กับโรเบิร์ต วอเตอร์แมนจาก “การแสวงหาความเป็นเลิศ” ไว้ดังนี้
และสิ่งที่ค้นพบอีกคือ ความเชื่อมั่นในคุณค่าที่เป็นแรงผลักดันทางกลยุทธขององค์กร จะมีความเชื่อมั่นในสิ่งต่อไปนี้
- ความเชื่อมั่นในการเป็นองค์กรที่ดีที่สุด
- ความเชื่อมั่นในความสำคัญของการทำงานอย่างละเอียดรอบคอบ
- ความเชื่อมั่นในความสำคัญของคน
- ความเชื่อมั่นในคุณภาพและบริการที่ดีเลิศ
- ความเชื่อมั่นว่าพนักงานส่วนใหญ่เป็นนักคิดค้น อดทนต่อความล้มเหลว
- ความเชื่อมั่นในความสำคัญของการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ
- ความเชื่อมั่นอย่างเปิดเผยและยอมรับในความสำคัญของการขยายธุรกิจและ
ผลกำไร
และแนวคิดสุดท้ายในยุคนี้มาจาก การคิดเชิงกลยุทธ (Strategic Vision) โดย Robert M. (1993) ได้วิจัยและศึกษาจากธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ สรุปว่า “ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้นั้นจะมีส่วนหนึ่งที่เป็นแรงขับทางกลยุทธ (Strategic Driving Forces) ที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ซึ่งสิ่งนั้นคือ คุณค่าร่วมขององค์กร (Share Values)
คุณค่าร่วมขององค์กรคืออะไร?
คำถามที่ธุรกิจต้องการคำตอบต่อมาคือ “แล้วคุณค่าร่วมขององค์กรหรืออะไรล่ะ?!”
คุณค่าร่วมขององค์กร เป็นความสัมพันธ์ที่อธิบายถึง สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ สิ่งที่เป็นสาระ สำคัญที่ต้องคำนึงถึงสำหรับธุรกิจระดับโลกคือ การกำหนดคุณค่าที่สามารถใช้เป็น อันดับความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์กร |
การกำหนดทิศทางของธุรกิจหรือการจัดการเชิงกลยุทธที่มาจากความเชื่อในคุณค่าของสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือวิถีชีวิตของธุรกิจที่เป็น คุณค่าร่วมขององค์กรจะมีคุณค่าต่อการดำเนินกลยุทธอยู่ 4 ลักษณะด้วยกันคือ
ประการแรก เป็นการสะท้อนให้พนักงานและผู้บริหารทุกคน ตลอดจนผู้ที่เป็นหุ้นส่วนธุรกิจได้เห็นถึงปรัชญา อุดมการณ์ หรือเอกลักษณ์ที่มั่นคงและรับรู้ได้
ประการต่อมา องค์กรสามารถใช้คุณค่าดังกล่าวเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจสำหรับทุกหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างสอดคล้องภายใต้วิสัยทัศน์ ภารกิจและกลยุทธองค์กร
ประการที่สาม เหล่าพนักงานและผู้บริหารจะได้มีหลักยึดที่ชัดเจนและถือปฏิบัติโดยไม่เกิดความสับสนเพื่อการปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
ประการสุดท้าย ทุกคนในองค์กรจะรู้สึกมุ่งมั่นผูกพัน (Commitment) พร้อมกับการร่วมแรงร่วมใจและทุ่มเทให้กับการดำเนินธุรกิจให้สำเร็จอย่างต่อเนื่องและตลอดไป
ครับ!! พอธุรกิจก้าวเข้าสู่รุ่งอรุณใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 อะไรคือ แนวคิดหรือทฤษฎีที่ธุรกิจชั้นนำระดับโลกได้นำเข้ามาเป็น แสงส่องทางเพื่อสร้างวิถีชีวิตของธุรกิจ คงต้องทำความรู้จักสิ่งที่เรียกว่า อุดมคติหลัก (Core Ideologies) ที่จะทำให้ธุรกิจกลายเป็น “องค์กรที่ดีสู่ดีที่สุด” (Good to Great)
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
****New Business Knowlegde Network By Dr.Danai Thieanphut
1. Business Management : http://biz2all.blogspot.com/
2. Family Business : http://drdanai.blogspot.com/
3. สถาบันการจัดการความรู้แห่งประเทศไทย : http://thekmthailand.blogspot.com/
4. DNTConsultants Training Program : http://dnttraining.blogspot.com/
No comments:
Post a Comment