April 8, 2009

CEO ควรอยู่ในตำแหน่งกี่ปี โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

เรามักจะได้ยิน CEO ส่วนใหญ่มักจะพูดกันว่า
"ผมจะเป็น CEO 4 ปีหรือ 2 ปีก็พอแล้วจะลาออก"
"ผมจะเป็น CEO 8 ปีเพื่อทำให้บริษัทกลายเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้"

สมัยที่ผู้เขียนเริ่มทำงานใหม่ๆ มีความสงสัยว่า ผู้บริหารระดับสูงอายุ 50 ปีขึ้นไป พอหมดวาระหรือเกษียณอายุแล้วจะไปทำอะไรต่อนะ!
หลังจากนั้นไม่นานผู้เขียนได้ฟังการปราศรัยหาเสียงของ ส.ส.(สมาชิกสภาผู้เแทนฯ) พบว่าคุณสมบัติของ ส.ส.ส่วนใหญ่จะอายุเกิน 60 ปี
จึงได้พบความจริงว่า พวกผู้ใหญ่ที่เกษียณอายุจากราชการหรือบริษัทเอกชน ยังมีสายอาชีพใหม่ที่ไม่มีขีดจำกัดเรื่องอายุคือ ไปเป็นผู้แทนฯ


ประเด็นที่ 1 ทำไมบริษัทจึงให้ผู้บริหารเกษียนอายุที่ 50,55, 60ปี
ในปัจจุบันเราจะพบว่าบริษัทส่วนใหญ่จะมีการให้เกษียณอายุของผู้บริหารที่อายุ 50, 55, 60 ปี และถ้าจะมีโครงการเกษียณก่อนกำหนด (Earyly Retired) ก็ที่อายุ 45 ปี ทั้งนี้ในหลักการบริหารหรือเรื่องของภาวะผู้นำจะอยู่ที่

# ขีดความสามารถของคนมีจำกัดไปตามอายุขัย ไม่ใช่ว่ายิ่งแก่มากจะเก่งมาก
ซึ่งในหลักทางการแพทย์บอกว่า คนอายุ 60 ปีสมองไม่เจริญเติบโตแล้ว แต่ใช้บ่อยๆ ก็ยังคง มีประสิทธิภาพ (ยังคงทำงานได้) ดังนั้นการที่จะคิดสิ่งใหม่ๆ กล้าทำในสิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ยากในคนที่วัยเกิน 60 ปีไปแล้ว


#โลกธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การที่จะติดตามสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและ นำวิทยาการใหม่ๆ มาใช้จะเป็นสิ่งที่ต้องใช้พลังและความทุ่มเทเป็นอย่างมาก
ดังนั้น องค์กรทั้งหลายจึงต้องการคนหนุ่ม คนที่มีพลังในการทุ่มเทที่มากกว่าเพราะคนที่อาวุโสใช้เวลาในการตัดสินใจนาน ความกล้าเสี่ยงต่ำ อะไรที่เกินขอบเขตหรือ ประสบการณ์ที่มีจะไม่ตัดสินใจแต่รอให้เวลาตัดสิน

# ลูกค้าหรือผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงเห็นบริษัทหลายๆ แห่ง
- ที่ปิดกิจการก็เพราะยังคงผลิตสินค้าและขายในสินค้าเดิมๆ เพิ่มใหม่ก็ในแบบเดิมๆ เนื่องจากความภูมิใจในความสำเร็จหรือชื่นชมผลิตภัณฑ์หรือสินค้าในอดีตของตน
- บริษัทที่แข่งขันได้ยากเพราะ พยายามผลิตสินค้าให้ตรงตามที่ผู้บริโภคต้องการหรือพูดง่ายๆ ว่าตอบสนองความตามความต้องการของตลาด
ซึ่งเป็นความโชคร้ายเพราะ CEO/MD หรือนักการตลาดทุกคนก็คิดอย่างนี้เหมือนกันหมด เพราะทุกคนเฮโลผลิตสินค้าออกมา จึงทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง ทุกคนก็เลยต้องลดราคา ในการขายทำให้บริษัทแข่งขันได้ยากขึ้น
- บริษัทที่สร้างให้เกิดตลาดเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคก่อนคนอื่น ซึ่งเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จมากกว่าบริษัทที่กล่าวมาข้างต้น

องค์การมหาชนที่ตั้งขึ้นโดยวัตถุประสงค์เฉพาะของประเทศไทย เราจะพบว่าตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดจะกำหนดอายุเกษียณไว้ที่ 65 ปี ในขณะที่ประธานบอร์ดหรือ องค์การมหาชนกำหนดอายุเกษียณไว้ที่ 70 ปี
น่าทึ่ง!! และน่าสนใจเป็นอย่างมาก เหมือนๆ ตั้งไว้รอคนเก่งๆ ที่เกษียณมาแล้วให้มาดำรงตำแหน่ง


บริษัทที่จะแข่งขันได้ดีจึงต้องการ CEO ที่มีอายุเท่าไหร่กันแน่ และ CEO ควรอยู่ในตำแหน่งกี่ปีจึงจะเหมาะสม


ประการที่ 2 CEO ที่จะถูกทดแทนตำแหน่ง

Chuck Lucier และคณะได้สรุปสาเหตุที่ CEOs ล้มเหลว ซึ่งเป็นผลการสำรวจ
ของ Booz Allen Hamilton ในนิตยสาร Strategy & Business issue 28 (Why CEOs Fall)
จาก 2500 บริษัทมีผลดังนี้

ข้อสรุปสำคัญคือ CEOs ในตัวอย่างทั้งจากตารางและจากรายงานจากปี 1995ถึงปี 2001
- อัตราการลาออกของ CEOs ในธุรกิจหลักๆ เพิ่มขึ้นเป็น 53%
- จำนวนของ CEOs ที่ออกเพราะผลประกอบการด้านการเงินแย่ จำนวนเพิ่มขึ้น 130%
- โดยเฉลี่ย CEOs จะอยู่ในตำแหน่งโดยจำนวนปีลดลงจาก 9.5 ปีเหลือ 7.3 ปี
- อายุเฉลี่ยของ CEOs ทุกอุตสาหกรรมอยู่ที่ 50 ปี

ผู้เขียนเห็นว่า ข้อมูลเหล่านี้น่าสนใจมากสำหรับหน่วยงานทั้งภาครัฐ (โดยเฉพาะองค์การมหาชนและบอร์ดของรัฐวิสาหกิจ) และภาคเอกชน มิฉะนั้นสิ่งที่ทางการฝันในเรื่อง
การบริหารจัดการที่ดี (Good Corporate Governance) คงจะเกิดขึ้นยากมาก การอบรมการสร้างวิธีเป็นองค์กรที่ดี โดยลงโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์ คงไม่ช่วยให้เห็นได้หาก CEOs ขององค์กรเหล่านั้นไม่อยู่ในมาตรฐานที่จะเปรียบเทียบได้กับสากล


CEO Scorecard เป็นเครื่องมือใหม่ที่น่าจะสมบูรณ์ในการพิจารณาความสำเร็จ
ทั้งด้านผลประกอบการของธุรกิจและความสามารถของ CEO ตามที่ผู้เขียนได้อธิบายมาก่อน-
หน้านี้แล้วแทนที่จะตอบว่า….ผมจะเป็น CEO ของบริษัทนี้ 8 ปี……...


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants

No comments: