April 8, 2009

The West Point Way ต้นแบบสร้างผู้นำทางการตลาด โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

ตามที่ผู้เขียนได้เคยบอกไว้ก่อนหน้านี้ ในเรื่องการสร้างผู้นำทางการตลาดไม่ใช่แค่ เข้าอบรมหลักสูตรภาวะผู้นำ (Leadership) แล้วจะเกิดขึ้นมา
นักการตลาดชั้นนำที่ผู้เขียนศึกษาผลงานและชีวิตของท่านนั้น คนแรกคือ นายห้างเทียม โชควัฒนา (อดีตประธานเครือสหพัฒน์) และนายห้างล้อม โอสถานุเคราะห์ (ผู้ก่อตั้ง บริษัทโอสถสภา เต็กเฮงหยู) ในรุ่นหลังๆ จะมีคุณวิโรจน์ ภู่ตระกูล อาจารย์มานิต รัตนสุวรรณ
ส่วนเรื่อง การสร้างผู้นำ ผู้เขียนศึกษาของ โรงเรียนนายร้อย West Point กับ บริษัท GE (General Electirc)


ในการสร้างผู้นำของโรงเรียนนายร้อยเวสทต์ ปอยท์ จะมีลักษณะดังนี้


จากหนังสือ The West Point Way of Leadership โดย Col.Larry R. Donnitorne (Ret.) (1994) แปลและเรียบเรียงโดย วี ประสงค์ บริษัทคู่แข่งจำกัด (2538) มีสาระในการสร้างผู้นำที่ผู้เขียนสรุปมาใช้ได้ดังนี้

ในขั้นศูนย์ เป็น "ปฏิบัติการรื้อถอนก่อนการปลูกสร้าง"
การเป็นผู้ตาม ต้องปฏิบัติตามคำสั่งโดยยินยอม เสียสละความเป็นตัวของตัวเองชั่วขณะ เพื่อจะได้อุทิศตนเองอย่างราบคาบ เรียนรู้ฝึกฝนคุณธรรมประจำสถาบัน
ผู้ตาม คือ ผู้ที่รู้จักควบคุมตนเอง ควบคุมอัตตาให้อยู่ภายใต้คุณธรรม

วิธีการ ที่ใช้ในขั้นศูนย์ของโรงเรียนผู้นำทางทหารเวสต์ปอยท์ จะมีวิธีการดังนี้
(1) วันปฐมนิเทศ "R-Day" (Reception Day) เป็นการปฏิบัติการรื้อถอนก่อนการปลูกสร้างคือ ลดอัตตา เข้าสู่นอร์มใหม่ของสถาบัน เช่น
ลอกคราบความเป็นตัวตนของน้องใหม่ ทุกคนจะเหมือนกันหมด
ทุกอย่างจะเป็นตารางเวลาแน่นอน
เร่งรีบทำทุกอย่างที่ได้รับการบอกเล่าอย่างว่องไวที่สุด
น้องใหม่แต่ละคนมุ่งมั่นจะทำตามคำสั่งของรุ่นพี่ ซึ่งเข้ามาแทนที่ความ-
ปรารถนาส่วนตัวของพวกเขา เหลือแต่ความพยายามที่ทำตัวให้ดูดีที่สุดเมื่อพวกเขาเข้าทำ พิธีสาบานตน เป็นการปิดท้ายวิธีการในวันนั้น
ผลได้ เป็นการเปลี่ยนวิธีคิดเรื่องง่ายๆ เสียใหม่ บุคลิกภาพจะเปลี่ยนไปจากที่เคยคับแคบก็กลายเป็นสนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น
ทั้งหมดเป็นการฝึกทักษะเบื้องต้นของการเป็นผู้นำคือ การรู้จักควบคุมตนเอง


(2) เรียนรู้กฏระเบียบและข้อดีของการปฏิบัติตาม หมายถึง นักเรียนใหม่จะมี
ข้อมูลต้องจำ จำนวนมาก
งานหลายอย่างที่ต้องทำให้เสร็จ
ไม่มีเวลาเหลือที่จะคิดทำอะไรตามใจตัว
"รู้ว่าหน้าที่คืออะไร และทำอย่างไรให้ถูกกฏระเบียบได้ถูกต้องทันที"
ผลได้ การเคารพเชื่อฟังและการลงมือทำด้วยตนเอง

(3) ตั้งอกตั้งใจอย่างถึงแก่น ลูกน้องมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด เขาจึงควรตั้งอกตั้งใจฟังคำสั่งให้ดีและควรมีสมาธิในขณะที่กำลังทำงาน
(4) ทำความสำเร็จให้เป็นนิสัยประจำตัว หัวใจสำคัญคือ นายทหารทุกคนควรถูกคาดหวังให้เป็นผู้ประสบความสำเร็จต้อง "ไม่มีข้อแก้ตัวครับผม" กับการทำงานที่ด้อยคุณภาพ
(5) สอนคนอื่นให้รู้จักให้รางวัลตัวเอง ผู้ตามที่ดีคือ ผู้ที่รู้จักผลักดันตนเอง มีความมั่นใจในความสามารถของตนเองในการทำงานการมีจุดมุ่งหมายและการรู้จักคุณค่า ของตนเอง
หัวหน้า ต้องหลีกเลี่ยงการให้รางวัลลูกน้องพร่ำเพรื่อ เพราะ
- ลูกน้องจะเห็นคุณค่าในงานที่ทำสำเร็จน้อยเกินไป
- จะทำให้ลูกน้องยึดติดกับรางวัลตอบแทน
(6) ปลูกฝังคุณธรรมของกลุ่มให้อยู่ในตัวแต่ละบุคคล เป็นการเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของพวกเขา ขนบธรรมเนียมจะถูกเล็คเชอร์ในเรื่อง เกียรติคุณแห่งการเป็นทหาร เพื่อให้พวกเขาเกิดความเคารพและศรัทธาในขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมาและเคารพว่า พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งใน "เส้นสายสีเทาอันยืดยาว"
(7) ทำความรู้จักกับงานของคุณ คือรู้หน้าที่ของแต่ละคนตั้งแต่เรื่องเล็กที่สุดขึ้นไป
(8) จงเห็นคุณค่าของรายละเอียด เป็นการฝึกฝนให้คุ้นเคยกับรายละเอียด เป็นการฝึกฝนที่ดีสำหรับการเป็นผู้นำ เพราะการพยายามเอาชนะรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ให้ได้นี้
สอนให้นักเรียนรู้ว่าการทำอะไรให้สมบูรณ์แบบนั้นเริ่มได้ตั้งแต่เรื่องง่ายๆ
จบหลักสูตร การเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา
รางวัล คือ น้องใหม่ได้รับการเรียกชื่อแรก ความเคารพนับถือและการยอมรับจากพวกพ้องเดียวกัน

สรุปแล้ว ลำดับขั้นของวิถีการสร้างผู้นำ West Point จะเป็นดังนี้


เป็นไงบ้างครับ! เนื้อหาเหล่านี้มีคุณค่าสูงยิ่งต่อธุรกิจที่คิดจะอบมรมเรื่อง
ภาวะผู้นำของธุรกิจ และโดยเฉพาะผู้เขียนประยุกต์สู่การสร้างผู้นำทางการตลาด เพราะต้องการให้นักขาย นักการตลาดพันธุ์ใหม่ มีความพิเศษต่างจากองค์กรธุรกิจทั่วไป

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants

1 comment:

Unknown said...

เดรียนท่าน ดร.ดนัย เทียนพุฒ ครับ
ผมเห็นด้วยกับหลักสูตรนี้ทุกประการ แต่เนื่องจากวินัยทางทหารเขาชัดเจนและเคร่งครัดในตัวเอง อำนาจการบริหาร สั่งการ ตัดสินใจ มีอยู่ตามขั้นบังคับบัญชาเป็นที่ยอมรับ ทำอย่างไรจึงจะสามารถมาใช้ในสังคมไทย โดยเฉพาะระบบราชการไทยซึ่งเป็นระบบบริการประชาชนอาจจะต้องรอผลการพิจารณาของตุลาการ (สูงสุดด้วย) เพราะแต่ละคนในระบบราชการซึ่งมีหน้าที่ให้บริการก็ไม่มีเวลาที่จะมาสนใจในเรื่องผลประโยชน์ขององค์การ คิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเอง ยิ่งหันไปมองผู้นำองค์การก็มาจากระบบอุปถัมภ์ต่อๆกันมา(ทายาทอุปถัมภ์เกิน50เปอร์เซ็นต์มั๊ง:อันนี้คิดเองตามความรู้สึก:เพราะข้อมูลที่พอมีคือ 50:50 เพราะองค์การยังดำรงคงอยู่ได้)