การศึกษาหรือการนำกรณีศึกษาเรื่องกลยุทธ (Strategy) ไปใช้ประโยชน์ ผู้บริหารธุรกิจจะต้องเข้าใจอย่างหนึ่งคือ
1)การอ่านการฟัง หรือชอบใจในเนื้อหาที่เป็นภาคปฏิบัติหรือเกร็ดความรู้จากอาจารย์
หรือวิทยากร หรือผู้บริหารธุรกิจ โดยเฉพาะ CEO/MD/President ที่มาถ่ายทอดวิทยายุทธชั้นเยี่ยมนั้น สิ่งที่ท่านได้รับต้องบอกให้ทราบกันโดยทั่วไปว่า
# ยังไม่สามารถกล่าวอ้างได้ว่าเป็นทฤษฎีหรือหลักการที่เป็น “สากลทั่วไป” Generality)
# ความสำเร็จขององค์กรหรือธุรกิจเพียง 1-2 แห่งว่ามีการทำอย่างนี้ในบ้านเรา ในซีกของกลุ่มนักคิดหรือกลุ่มที่ปรึกษาธุรกิจให้การยอมรับในระดับที่เป็น “ข้อตกลงเบื้องต้น” (Assumption) หรือ “มีหลักฐานยืนยัน” (Postulate)
2)สิ่งที่นำเสนอซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จขององค์กรหรือธุรกิจนั้นๆ ต้องเรียกว่า เป็น
ประสบการณ์สำคัญของธุรกิจหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Data)
# ตัวอย่างที่หลายๆ องค์กรมีการนำแนวคิดของการประเมินองค์กรแบบสมดุล (BSC: Balanced Scorecard) ไปร่วมกับดัชนีวัดผลสำเร็จธุรกิจ (KPIs: Key Performance Indicators)
# มีทั้งธุรกิจที่ทำได้ตรงตามแนวคิดของ Kaplan กับ Norton (1996, 2001, 2004)
-ไม่สามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จขึ้นมาได้ จะเนื่องจากหลายๆ ปัจจัย
เช่น ตีความไม่ได้ถึงกึ๋น หรือปัญหาด้านวัฒนธรรมองค์กร ฯลฯ
# กับอีกหลายๆ องค์กรที่ใช้เพียงพื้นฐานของแนวคิด BSC & KPIs แต่ปรับให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับองค์กร ซึ่งมีทั้ง
-ปรับได้อย่างลงตัวกับวิธีจัดการกลยุทธขององค์กรและสามารถจัดการกลยุทธ
(Strategic Management) ได้เหมาะสมเช่นกัน
-ปรับได้แต่ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่จะดำเนินการให้เข้าสู่ในขั้นที่ 2 หรือ
ขั้นที่ 3 ของ BSC & KPIs ที่จะประสบความสำเร็จ
ทฤษฎีใหม่ของแผนกลยุทธธุรกิจ
ปัจจุบันตามข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ที่ผู้บริหารธุรกิจได้มีโอกาสอ่าน จะพบว่า
“มีผู้บริหารธุรกิจระดับสูงของกิจการชั้นนำที่มักจะออกมาบอกว่า จะเสนอทฤษฎีใหม่ให้ธุรกิจได้เรียนรู้”
ผู้เขียนเชื่อว่า เราท่านทั้งหลายที่ฟัง-อ่านข่าวดังกล่าวคงอดประหลาดใจไม่ได้ว่า “ทฤษฎี หรือทฤษฎีใหม่” จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ อย่างนั้นหรือ
ตามตำรับตำราที่ผู้เขียนได้มีโอกาสศึกษาจากอาจารย์ของผู้เขียน ท่านจะให้นิยามของทฤษฎีไว้ดังนี้
“สาขาวิชาชีพ หรือความรู้ใดที่จะเป็น “ทฤษฎี” (Theory) ขึ้นมาได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบอยู่ 3 องค์ประกอบหลักคือ
1.จะต้องมีองค์ความรู้ (Body of Knowledge) ของสาขาวิชาหรือศาสตร์ (Science)
นั้นๆ โดยสามารถนำองค์ความรู้ไปสร้างเป็นทฤษฎีที่เป็นข้อความนัยทั่วๆไป หรือมโนทัศน์ของความสัมพันธ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีมากว่าหนึ่งมโนทัศน์ มีนิยาม มีข้อกำหนดและทั้งหมดนี้ใช้อธิบาย ทำความเข้าใจหรือควบคุมปรากฏการณ์หรือสิ่งนั้นๆ ตามธรรมชาติซึ่งสามารถวัดหรือสังเกตได้โดยตรง
2.จะต้องมีศัพท์เฉพาะสาขา/ศาสตร์ (Terminology) เช่น หลักวิชาของการจัดการ
กลยุทธ จะมีศัพท์ที่รู้จักกันคือ วิสัยทัศน์ (Vision) ภารกิจ (Mission) กลยุทธ (Strategy) BSC & KPIs โมเดลธุรกิจ (B-Model)
3.จะต้องมีวิธีการแสวงหาความรู้ (Mode of Inquiry) คือ ต้องมีวิธีวิทยาการ
(Methodology) ของสาขาวิชาหรือศาสตร์นั้น และเนื้อหา (Contents) ของหลักการ ทฤษฎีในสาขาหรือศาสตร์นั้นๆ ด้วยเช่นกัน
Agenda-Area Based Scorecard
โดยปกติในการจัดทำแผนกลยุทธ (Strategic Planning) ซึ่งเดิมทีจะเป็นเรื่องของการ
จัดการ/บริหารกลยุทธ (Strategic Management) แต่ในปัจจุบันได้ขยายขอบเขตของเนื้อหากว้างมากขึ้น
ซึ่งผู้บริหารธุรกิจจะพบเห็นได้จากหลายๆ ธุรกิจที่มักจะบอกว่า เรามีการทำ SWOT Analysis หากท่านลองถามว่ารู้จัก “การวางแผนทัศนภาพ” (Scenario Planning) หรือไม่ ก็จะพบสีหน้าหรือคำตอบแบบงงๆ!!
# แนวคิดของการจัดทำแผนกลยุทธหรือยุทธศาสตร์องค์กรด้วย “Agenda-Area Based Approach” ซึ่งเมื่อประยุกต์แนวคิดการประเมินองค์กรแบบสมดุล (BSC) เพราะดัชนีวัดผลสำเร็จธุรกิจ (KPIs) เข้ามาใช้ ผู้เขียนเรียกใหม่ว่า “Agenda-Area Based Scorecard”
# ควรมีการจัดทำวิเคราะห์ทัศนภาพ (Scenario Analysis) เพื่อจัดทำ “การวางแผน-
ทัศนภาพ” (Scenario Planning) ซึ่งในปัจจุบันผู้เขียนเสนอให้ธุรกิจรู้จักโดยอยู่ในกลุ่มความรู้ใหม่ด้านการคิดเชิงกลยุทธ (Strategic Thinking) ทั้งนี้ก็เพราะว่า ความรู้เพียง การวางแผนกลยุทธ (Strategic Planning) ไม่เพียงพอที่จะกำหนดกลยุทธองค์กรได้อย่างเหมาะสม
# กรอบแนวคิดเชิงประจักษ์ (Empirical Framework) ของการจัดทำแผนกลยุทธธุรกิจแนวใหม่
# วิธีการของ Agenda-Area Based Scorecard
การใช้วิธีการ Agenda-Area Based Scorecard ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่อีกรูปแบบหนึ่งที่
อยู่บนกรอบความคิดเชิงประจักษ์ (Empirical Framework) โดยที่
# การนำวิสัยทัศน์ (Vision) และภารกิจ (Mission) มาแปลไปสู่กลยุทธ (Strategy) โดยแนวคิดของ Balanced Scorecard ตามวิธีการของ Kaplan และ Norton นั้นในทางปฏิบัติยังขาดความลงตัวในบริบทขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย
#การนำโมเดลธุรกิจ (B-Model) เข้ามาใช้ตามวิธีการที่ผู้เขียนพัฒนาขึ้นมาให้กับธุรกิจที่ผู้เขียนเป็นที่ปรึกษาอยู่มีความสมบูรณ์มากและเชื่อมโยงได้ทุกระบบของธุรกิจ
# หากธุรกิจต้องการเปลี่ยนวิธีวางแผนกลยุทธใหม่ โดยมุ่งทีมกลยุทธ (Strategy-Focused Team) หรือลักษณะของกลุ่มผลิตภัณฑ์ (Products Group) การนำวิธีการหรือระบบ Agenda-Area Based Scorecard มาใช้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
สำนักความรู้สำหรับบัณฑิตศึกษาทางธุรกิจ ในด้านการจัดการกลยุทธ การบริหารทรัพยากรบุคคล นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ
August 17, 2008
ทฤษฎีใหม่ของแผนกลยุทธธุรกิจ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment