ดังนั้น ธุรกิจระดับโลก เช่น GE Wal-Mart Microsoft Sony Toyata GM Ford
Nokia ฯลฯ บริษัทเหล่านี้จะมีผู้ที่ทำการศึกษาและนำเสนอบทเรียนหรือเบื้องหลังออกมาอย่างต่อเนื่อง
คำถามที่เป็นประเด็นสำคัญก็คือ อะไรคือ ปัจจัยที่ทำให้องค์กรเหล่านี้ประสบความสำเร็จ
ซึ่งคำตอบในเรื่องเหล่านี้มีการอธิบายกันไว้อย่างมาก เช่น เป็นเพราะ CEO หรือ ภาวะผู้นำบ้าง เป็นเพราะนวัตกรรมบ้าง เป็นเพราะการทุ่มในเรื่องของคนบ้าง (พัฒนาความรู้) เป็นเพราะก้าวเข้าไปสู่ธุรกิจได้ก่อนคนอื่น ฯลฯ
องค์กรที่ปรึกษาธุรกิจหรือสถาบันการศึกษา ดูจะเป็นสิ่งที่เกิดมาควบคู่กับองค์กรธุรกิจระดับโลกที่ประสบความสำเร็จ
หากผู้บริหารธุรกิจได้มีโอกาสศึกษาผลวิจัย ผลการสำรวจหรือการศึกษาดูงานจากต่างประเทศจะพบว่า
- จะมีหน่วยงานสาธารณะหรือหน่วยงานด้านบริการทางการศึกษาเข้ามาศึกษาและ จัดอันดับ จัดกลุ่มบริษัทชั้นนำระดับโลกต่างๆ เหล่านี้ว่าประสบความสำเร็จด้วยปัจจัยอะไรบ้าง
- สิ่งที่เราพบเห็นกันก็คือ อันดับดังกล่าวได้รับการยอมรับและมีความน่าเชื่อถือที่สูง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะใช้ข้อมูลทั้งด้านเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทเรียนขององค์กรที่ปรึกษาธุรกิจ จะมีบทบาทและชี้นำองค์กร
ธุรกิจที่สูงและสูงมากกว่าสถาบันการศึกษาเพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจแบบ "ทันที" (Real Time) จึงมีความเหมาะสมและทันสมัยกว่าองค์ความรู้จากโลกสถาบันการศึกษา
วิธีการคิดเชิงกลยุทธ
ผู้เขียนพบว่า การศึกษาดูงานหรือการเรียนรู้จากองค์กรที่ประสบความสำเร็จเป็นสิ่งที่ดี และมีประโยชน์กับธุรกิจต่างๆ เป็นอเนกอนันต์ แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญและเชื่อว่าสำคัญอย่างยิ่งคือ
(1) ผู้บริหารธุรกิจระดับสูง หรือองค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้มี "วิธีการคิดเชิงกลยุทธ" อย่างไร และสามารถเรียนรู้ในวิธีการดังกล่าวได้หรือไม่ หรือเป็นสิ่งเฉพาะขององค์กรธุรกิจนั้นๆ ที่ไม่สามารถเลียนแบบได้
(2) มีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า "ความสามารถหลักของธุรกิจ" (Core Competencies) ซึ่งเรียกกันใหม่ในปัจจุบันว่า "สมรรถภาพขององค์กร" (Organizational Capability) เป็นสิ่งที่ คู่แข่งขันไม่สามารถลอกเลียนแบบได้หรือทำได้ดีเท่ากับองค์กรธุรกิจชั้นนำ
ดังนั้นแสดงให้เห็นว่า ตรรกของการศึกษาหรือดูงาน หรือเรียนรู้จากองค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าองค์กรธุรกิจที่แห่แหนไปศึกษาดูงานหรือ เรียนรู้จากองค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ถ้าหากองค์กรธุรกิจของตนเองไม่มี "วิธีการคิดเชิงกลยุทธ" หรือสร้างให้เกิด การคิดเชิงกลยุทธขึ้นในองค์กรของผู้บริหารธุรกิจ
วิธีการคิดเชิงกลยุทธ (Strategic Thinking Process) จึงเป็นกระบวนการสำคัญขององค์กรธุรกิจที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จ แล้วอะไรที่อยู่ในองค์ประกอบของวิธีการคิดเชิงกลยุทธ
ผู้เขียนคงต้องย้อนกลับไปว่า ในการคิดเชิงกลยุทธ (Strategic Thinking) มีโมเดลของการคิดเชิงกลยุทธอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ
ส่วนแรก การสร้างทัศนภาพ (Scenario Generation) เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับ ฉากภาพหรือทัศนภาพของธุรกิจว่า แรงขับทางกลยุทธอะไรจึงจะทำให้ฉากภาพหรือทัศนภาพ นั้นประสบความสำเร็จ
ส่วนที่สอง คือ โมเดลความคิด (Mental Model) เป็นการสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างทางความคิดของธุรกิจขึ้นมาโดยศึกษาจาก เหตุการณ์ณ์ธุรกิจ กำหนดรูปแบบของเหตุการณ์ ธุรกิจแล้วจึงสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างทางความคิด หลังจากนั้นจึงนำไปทดสอบกับเงื่อนไข ขององค์กร จนกระทั่งเกิดเป็น "โมเดลความคิด" ขึ้นมาในที่สุด
เรื่องราวของ "วิธีการคิดเชิงกลยุทธ" ไม่ใช่การไปค้นหาว่า
- ในลักษณะของผู้บริหารธุรกิจแบบไหนจึงจะมีวิธีการคิดเชิงกลยุทธ
- ต้องไปเรียนรู้การคิดทางบวก หรือทักษะการคิด แม้จะช่วยได้แต่ไม่ใช่หัวใจสำคัญ
- การเข้าไปศึกษาดูงานหรือเรียนรู้จากองค์กรที่ประชาสัมพันธ์ตนเองตลอดเวลา
หรือองค์กรที่อิงกับผู้นำทางการเมือง หรือองค์กรที่ป็นกลุ่มทุนผูกขาด ก็เป็น "แวบ!" หนึ่งเท่านั้น เพราะคงไม่มีใครเปิดเผย "เคล็ดวิชา" ของตนเองให้คนอื่น (ธุรกิจอื่น) ได้เรียนรู้เพราะโลกธุรกิจเต็มไปด้วยการแข่งขัน
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
No comments:
Post a Comment