August 17, 2008

ดัชนีความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ :CSR

ในอดีตเราคงจำกันได้ว่ามีช่วงหนึ่งที่บูมมากในเรื่อง การตลาดสีเขียว (Green
Marketing) คือ เป็นแนวคิดที่นำเอาสิ่งแวดล้อม เอาธรรมชาติมาเป็นตัวตั้งในการทำธุรกิจ
หรืออธิบายง่ายๆ ก็คือ ทำธุรกิจโดยไม่ไปทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขณะที่ปัจจุบันมีการเรียกร้องกันมากขึ้นเพื่อให้ธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคม
# แนวคิดดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่าส่งเสริมเพราะแสดงให้เห็นถึงการเอื้ออาทรต่อ
เพื่อนร่วมชาติหรือมวลมนุษยชาติ
#การรับผิดชอบต่อสังคม แม้บางส่วนเป็นความต้องการของผู้บริหารที่อาจต้องการประเด็นอื่นซ่อนเร้นเข้ามา เช่น เป็นการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร (Corporate Image Building) เพราะตีข่าวให้ดังทั้งๆ ที่ธุรกิจจริงๆ ก็ขายเพิ่มราคาขึ้นอยู่เรื่อยๆ ตามการเติบโตของเศรษฐกิจแล้วตัดเงินบางส่วนมาบริจาค
แม้ว่าจะมีวาระหรือวัตถุประสงค์แอบแฝงซ่อนเร้น คงจะหาธุรกิจที่ยากมากเมื่อ
ตั้งกิจการขึ้นมาแล้วบอกว่าจะทำเพื่อสังคม
ผู้เขียนจะขออ้างคำพูดของ CEO/MD ของธนาคารกสิกรไทย (นสพ.โพสต์ทูเดย์
วันอังคารที่ 11 พ.ย.46 หน้า B12 ในคอลัมน์ Bank Notes)
" ……ผู้ถือหุ้นเขาไม่สนใจว่าจะต้องรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไร ขอเพียงแต่ว่า
มีกำไรเป็นคำตอบสุดท้าย…..
ลูกค้า พนักงาน หรือสังคมส่วนใหญ่ที่อาจจะต่อว่าผมรุนแรงได้ แต่ท้ายที่สุด
มีแต่ผู้ถือหุ้นเท่านั้นที่ไล่ ซีอีโอออกได้…"
ประเด็นที่ผู้เขียนสนใจก็คือ ทำไมผู้บริหารธุรกิจไม่ลดราคาสินค้าลงเพื่อช่วยสังคม
แทนที่จะนำเงินจากกำไรไปบริจาคเพื่อสังคม
ทั้งนี้ก็เพราะว่า ถ้าราคาสินค้าถูกลง ประชาชนคนยากจนก็จะได้มีเงินเหลือมากขึ้น
ใช้ชีวิตได้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น คนที่อาจจะไม่มีโอกาสซื้อสินค้านั้นๆ ก็อาจจะมีโอกาสได้ซื้อมากขึ้น

ตัวอย่างที่ดีจากรัฐบาลก็คือ โครงการบ้านเอื้ออาทร เป็นบ้านเพื่อคนจน อันนี้ของ
แท้ไม่ต้องรอบริจาคแต่ซื้อได้ในราคาคนจน สิ่งนี้น่าจะเรียกว่า"รับผิดชอบต่อสังคม" ไม่ใช่เป็น "การสร้างภาพลักษณ์องค์กรเพื่อสังคม"

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants

No comments: